ของชำร่วยและเครื่องประดับเซรามิค : แนวโน้มพอใช้
ปี 2547 ตลาดของชำร่วยและเครื่องประดับเซรามิคมีการแข่งขันค่อนข้างสูง เนื่องจากผู้ประกอบการรายใหญ่ใช้กลยุทธ์ลดราคาเพื่อแข่งขันกับผู้ค้ารายอื่นและสินค้านำเข้าจากจีน ซึ่งมีราคาถูกกว่า สำหรับปี 2547 การนำเข้าของชำร่วยและเครื่องประดับเซรามิคมีมูลค่า 55.5 ล้านบาท ขยายตัวจากปี 2546 ร้อยละ 3.2 สินค้านำเข้าส่วนใหญ่ร้อยละ 78.2 มาจากจีน ด้านการส่งออกมีมูลค่า 1,273.3 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 14.4 เป็นผลจากภาวะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าสำคัญคือสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ชะลอตัวลง ทำให้มูลค่าส่งออกใน 2 ตลาดนี้ลดลงร้อยละ 38. 3 และ 9.2 ส่วนตลาดที่ขยายตัวสูงได้แก่ กลุ่มอาเซียน และสหภาพยุโรป ขยายตัวร้อยละ 36.4 และ 18.5 ตามลำดับ
ปี 2548 คาดว่าตลาดในประเทศจะยังต้องแข่งขันค่อนข้างสูงกับสินค้านำเข้าจากจีน และอินโดนีเซีย ขณะที่ผู้ผลิตไทยต้องเผชิญกับภาวะต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้นตามราคาน้ำมัน และการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ทำให้ต้องปรับราคาสูงขึ้น อย่างไรก็ดี สินค้าของไทยมีข้อได้เปรียบในด้านรูปแบบ และคุณภาพของสินค้าที่เหนือกว่า กลยุทธ์การตลาด คือ ต้องหลีกเลี่ยงการแข่งกับสินค้าระดับล่างจากจีน โดยหันไปพัฒนาผลิตภัณฑ์และหาเอกลักษณ์เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าของตนเอง ทางด้านการส่งออกของชำร่วยและเครื่องประดับเซรามิค คาดว่าจะชะลอตัวต่อไปอีก
ปัจจัยสนับสนุน
๏ รัฐบาลจัดให้มีโครงการจัดการและปรับปรุงกระบวนการผลิตเพื่อลดต้นทุนการผลิตในอุตสาหกรรมเซรามิค
๏ การสนับสนุนของรัฐบาลในการร่วมงานแสดงสินค้ายังต่างประเทศ รวมทั้งสร้างช่องทางและนักการตลาดมากขึ้น
๏ โครงการยกระดับคุณภาพวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์สำหรับอุตสาหกรรมขนาดย่อมในแหล่งผลิตใน ภูมิภาค
๏ สถาบันการศึกษาต่าง ๆ มีการผลิตบัณฑิตด้านเซรามิคมากขึ้น ทำให้มีบุคลากรที่มีความรู้และมีศักยภาพมากขึ้น
ปัจจัยเสี่ยง
๏ ของชำร่วย และเครื่องประดับ เป็นผลิตภัณฑ์ที่เปลี่ยนแปลงเคลื่อนไหวตามรายได้ และรสนิยม
๏ การนำเข้าของชำร่วยและเครื่องประดับเซรามิคจากจีนโน้มสูงขึ้น
๏ ผู้ประกอบการ SMEs ขาดระบบการจัดการที่ดี และมีข้อจำกัดในการลงทุนด้านเครื่องจักร
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-
ปี 2547 ตลาดของชำร่วยและเครื่องประดับเซรามิคมีการแข่งขันค่อนข้างสูง เนื่องจากผู้ประกอบการรายใหญ่ใช้กลยุทธ์ลดราคาเพื่อแข่งขันกับผู้ค้ารายอื่นและสินค้านำเข้าจากจีน ซึ่งมีราคาถูกกว่า สำหรับปี 2547 การนำเข้าของชำร่วยและเครื่องประดับเซรามิคมีมูลค่า 55.5 ล้านบาท ขยายตัวจากปี 2546 ร้อยละ 3.2 สินค้านำเข้าส่วนใหญ่ร้อยละ 78.2 มาจากจีน ด้านการส่งออกมีมูลค่า 1,273.3 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 14.4 เป็นผลจากภาวะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าสำคัญคือสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ชะลอตัวลง ทำให้มูลค่าส่งออกใน 2 ตลาดนี้ลดลงร้อยละ 38. 3 และ 9.2 ส่วนตลาดที่ขยายตัวสูงได้แก่ กลุ่มอาเซียน และสหภาพยุโรป ขยายตัวร้อยละ 36.4 และ 18.5 ตามลำดับ
ปี 2548 คาดว่าตลาดในประเทศจะยังต้องแข่งขันค่อนข้างสูงกับสินค้านำเข้าจากจีน และอินโดนีเซีย ขณะที่ผู้ผลิตไทยต้องเผชิญกับภาวะต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้นตามราคาน้ำมัน และการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ทำให้ต้องปรับราคาสูงขึ้น อย่างไรก็ดี สินค้าของไทยมีข้อได้เปรียบในด้านรูปแบบ และคุณภาพของสินค้าที่เหนือกว่า กลยุทธ์การตลาด คือ ต้องหลีกเลี่ยงการแข่งกับสินค้าระดับล่างจากจีน โดยหันไปพัฒนาผลิตภัณฑ์และหาเอกลักษณ์เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าของตนเอง ทางด้านการส่งออกของชำร่วยและเครื่องประดับเซรามิค คาดว่าจะชะลอตัวต่อไปอีก
ปัจจัยสนับสนุน
๏ รัฐบาลจัดให้มีโครงการจัดการและปรับปรุงกระบวนการผลิตเพื่อลดต้นทุนการผลิตในอุตสาหกรรมเซรามิค
๏ การสนับสนุนของรัฐบาลในการร่วมงานแสดงสินค้ายังต่างประเทศ รวมทั้งสร้างช่องทางและนักการตลาดมากขึ้น
๏ โครงการยกระดับคุณภาพวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์สำหรับอุตสาหกรรมขนาดย่อมในแหล่งผลิตใน ภูมิภาค
๏ สถาบันการศึกษาต่าง ๆ มีการผลิตบัณฑิตด้านเซรามิคมากขึ้น ทำให้มีบุคลากรที่มีความรู้และมีศักยภาพมากขึ้น
ปัจจัยเสี่ยง
๏ ของชำร่วย และเครื่องประดับ เป็นผลิตภัณฑ์ที่เปลี่ยนแปลงเคลื่อนไหวตามรายได้ และรสนิยม
๏ การนำเข้าของชำร่วยและเครื่องประดับเซรามิคจากจีนโน้มสูงขึ้น
๏ ผู้ประกอบการ SMEs ขาดระบบการจัดการที่ดี และมีข้อจำกัดในการลงทุนด้านเครื่องจักร
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-