แนวโน้มของอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาส 1 ปี 2549 คาดว่าน่าจะมีการปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสที่ 4 ปี 2548 เนื่องจากบริษัทต่างๆ เริ่มกลับมาผลิตใหม่อีกครั้งหลังจากหยุดยาวในช่วงเทศกาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้ความเย็น เช่น เครื่องปรับอากาศ พัดลม ตู้เย็น เนื่องจากบริษัทต่างๆ ต้องเร่งผลิตเพื่อจำน่ายในช่วงฤดูร้อน ส่วนอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาส 1 ปี 2549 คาดว่าจะทรงตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ปี 2548 โดย SIA ประมาณการณ์ว่าจะเปลี่ยนแปลงจากไตรมาสก่อนเพียงร้อยละ 1 ซึ่งเป็นภาวะปกติของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่จะทรงตัวต่อเนื่องจากช่วงปลายปี แต่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนน่าจะมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น โดย SIA คาดการณ์ว่าในปี 2549 มูลค่าการจำหน่าย Semiconductor จะเพิ่มขึ้นถึง 245 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 7.9 เมื่อเทียบกับปีก่อน เพราะมีปัจจัยสนับสนุนหลายประการ เช่น สถานการณ์ทางเศรษฐกิจโดยรวมยังคงเป็นไปด้วยดี และกำลังการผลิตที่มีอยู่ก็เพียงพอกับความต้องการที่ขยายตัวขึ้น อีกทั้งปริมาณสินค้าคงคลังในช่วงปลายปี 2548 ได้ลดต่ำลงกว่าระดับเป้าหมายที่ตั้งไว้แล้ว
นอกจากนี้อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ยังมีปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญภายในประเทศจากรัฐบาลที่มีนโยบายชัดเจนในการผลักให้ไทยเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในภูมิภาคเอเชีย โดยได้มีการปรับปรุงนโยบายและสิทธิประโยชน์ส่งเสริมการลงทุน เพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ (FDI) โดยมุ่งเน้นการสร้างให้เกิด Value Creation มากขึ้นโดยสิทธิประโยชน์ที่ปรับปรุงใหม่นี้จะครอบคลุมทั้งกรณีที่เป็นโครงการลงทุนปกติ กรณีที่เป็นโครงการลงทุนต่อเนื่องระยะยาว และกรณีที่เป็นโครงการที่ดำเนินการอยู่เดิม ประกอบกับขณะนี้กระทรวงการคลังได้มีการปรับลดภาษีนำเข้าสำหรับอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ผลิตในประเทศ ซึ่งการที่ไทยมีนโยบายที่ชัดเจนเช่นนี้จะส่งผลดีต่อการตัดสินใจของนักลงทุนที่จะพิจารณาเลือกให้ไทยเป็นฐานการผลิตที่น่าสนใจมากกว่าประเทศอื่นๆ
อย่างไรก็ตามยังมีปัจจัยเสี่ยงที่ต้องจับตา ได้แก่ ปัจจัยราคาน้ำมันที่ยังคงผันผวนและอยู่ในระดับสูง เนื่องจากปัญหานิวเคลียร์ของประเทศอิหร่าน ซึ่งหากหากปัญหารุนแรงขึ้นคาดว่าโอกาสที่ราคาน้ำมันจะขึ้นไปแตะระดับ 70-75 เหรียญฯหสรัฐต่อบาร์เรลมีโอกาสเป็นไปได้สูงมาก ซึ่งจะส่งผลต่อการเติบโตของการบริโภคสินค้าไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์โดยรวมของโลกให้ลดลงกว่าที่คาดการณ์ได้ รวมถึงกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมที่ประเทศต่างๆมีแนวโน้มใช้เป็นข้อกีดกันทางการค้ามากขึ้น เช่น ระเบียบ ROHs ของสหภาพยุโรปที่จะมีผลในเดือน ก.ค. ปี 49 นี้ โดยระเบียบดังกล่าวได้กำหนดให้ผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่จะวางจำหน่ายในสหภาพยุโรปจะต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและห้ามใช้สารเคมีอันตรายรวม 6 ชนิด ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อระเบียบดังกล่าวมีผลบังคับใช้จะส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตขนาดกลางและขนาดเล็กที่ไม่สามารถปรับตัวได้อย่างแน่นอน โดยจะทำให้สูญเสียตลาดในส่วนนี้ไป
นอกจากนี้อีกปัญหาเกี่ยวกับระเบียบดังกล่าวที่จะต้องเผชิญนอกเหนือจากการต้องปรับปรุงกระบวนการผลิต (หาสารทดแทนต่างๆ) คือปัญหาระบบ Material Declaration เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีมาตรฐานในการส่งข้อมูลที่แน่นอนระหว่างโรงงานผลิตและ Supplier (บริษัทต่างเลือกรูปแบบมาตรฐานเอง) โดยมาตรฐานดังกล่าวรวมถึงรูปแบบของข้อมูล วัตถุดิบที่ต้องรายงาน รูปแบบของรายงาน และระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างบริษัทต่างๆตลอด Supply chain ซึ่งระบบดังกล่าวปัจจุบันใช้เวลาประมาณ 30-40 ชั่วโมง อย่างไรก็ตามในขณะนี้ทราบว่าบริษัทอิเล็กทรอนิกส์ชั้นนำต่างๆมีความพยายามในการกำหนดรูปแบบการแจ้งวัตถุดิบให้เป็นมาตรฐานซึ่งคาดว่าจะช่วยลดระยะเวลาในส่วนนี้ลงได้
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
นอกจากนี้อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ยังมีปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญภายในประเทศจากรัฐบาลที่มีนโยบายชัดเจนในการผลักให้ไทยเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในภูมิภาคเอเชีย โดยได้มีการปรับปรุงนโยบายและสิทธิประโยชน์ส่งเสริมการลงทุน เพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ (FDI) โดยมุ่งเน้นการสร้างให้เกิด Value Creation มากขึ้นโดยสิทธิประโยชน์ที่ปรับปรุงใหม่นี้จะครอบคลุมทั้งกรณีที่เป็นโครงการลงทุนปกติ กรณีที่เป็นโครงการลงทุนต่อเนื่องระยะยาว และกรณีที่เป็นโครงการที่ดำเนินการอยู่เดิม ประกอบกับขณะนี้กระทรวงการคลังได้มีการปรับลดภาษีนำเข้าสำหรับอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ผลิตในประเทศ ซึ่งการที่ไทยมีนโยบายที่ชัดเจนเช่นนี้จะส่งผลดีต่อการตัดสินใจของนักลงทุนที่จะพิจารณาเลือกให้ไทยเป็นฐานการผลิตที่น่าสนใจมากกว่าประเทศอื่นๆ
อย่างไรก็ตามยังมีปัจจัยเสี่ยงที่ต้องจับตา ได้แก่ ปัจจัยราคาน้ำมันที่ยังคงผันผวนและอยู่ในระดับสูง เนื่องจากปัญหานิวเคลียร์ของประเทศอิหร่าน ซึ่งหากหากปัญหารุนแรงขึ้นคาดว่าโอกาสที่ราคาน้ำมันจะขึ้นไปแตะระดับ 70-75 เหรียญฯหสรัฐต่อบาร์เรลมีโอกาสเป็นไปได้สูงมาก ซึ่งจะส่งผลต่อการเติบโตของการบริโภคสินค้าไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์โดยรวมของโลกให้ลดลงกว่าที่คาดการณ์ได้ รวมถึงกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมที่ประเทศต่างๆมีแนวโน้มใช้เป็นข้อกีดกันทางการค้ามากขึ้น เช่น ระเบียบ ROHs ของสหภาพยุโรปที่จะมีผลในเดือน ก.ค. ปี 49 นี้ โดยระเบียบดังกล่าวได้กำหนดให้ผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่จะวางจำหน่ายในสหภาพยุโรปจะต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและห้ามใช้สารเคมีอันตรายรวม 6 ชนิด ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อระเบียบดังกล่าวมีผลบังคับใช้จะส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตขนาดกลางและขนาดเล็กที่ไม่สามารถปรับตัวได้อย่างแน่นอน โดยจะทำให้สูญเสียตลาดในส่วนนี้ไป
นอกจากนี้อีกปัญหาเกี่ยวกับระเบียบดังกล่าวที่จะต้องเผชิญนอกเหนือจากการต้องปรับปรุงกระบวนการผลิต (หาสารทดแทนต่างๆ) คือปัญหาระบบ Material Declaration เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีมาตรฐานในการส่งข้อมูลที่แน่นอนระหว่างโรงงานผลิตและ Supplier (บริษัทต่างเลือกรูปแบบมาตรฐานเอง) โดยมาตรฐานดังกล่าวรวมถึงรูปแบบของข้อมูล วัตถุดิบที่ต้องรายงาน รูปแบบของรายงาน และระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างบริษัทต่างๆตลอด Supply chain ซึ่งระบบดังกล่าวปัจจุบันใช้เวลาประมาณ 30-40 ชั่วโมง อย่างไรก็ตามในขณะนี้ทราบว่าบริษัทอิเล็กทรอนิกส์ชั้นนำต่างๆมีความพยายามในการกำหนดรูปแบบการแจ้งวัตถุดิบให้เป็นมาตรฐานซึ่งคาดว่าจะช่วยลดระยะเวลาในส่วนนี้ลงได้
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-