‘อภิสิทธิ์’ นำแกนนำพรรคลงพื้นที่เยี่ยมชมการเรียนการสอนโรงเรียนมัธยมประชานิเวศน์ พร้อมร่วมเสวนาโต๊ะกลมภายใต้หัวข้อ ‘นโยบายการศึกษาไทยในอนาคต’
วันนี้ (15 ส.ค.49) เวลา 10.30 น.นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ พร้อมคณะอาทิ น.พ.บุรณัชย์ สมุทรักษ์ กรรมการบริหารพรรค ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช ดร.ผุสดี ตามไท กรรมการบริหารพรรค นายนราพัฒน์ แก้วทอง กรรมการบริหารพรรค นายอัลวาร์ สาและ คณะทำงานด้านเศรษฐกิจของพรรค และนายองอาจ คล้ามไพบูลย์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ได้เดินทางเยี่ยมชมโรงเรียนมัธยมประชานิเวศน์ โดยการเดินทางไปเยี่ยมครั้งนี้ได้เข้าเยี่ยมชมการเรียนการสอนของนักเรียนด้วย หลังจากนั้นได้ร่วมเสวนาโต๊ะกลมร่วมกับตัวแทนนักเรียนในหัวข้อเรื่อง “นโยบายการศึกษาในไทยในอนาคต”
ภายหลังการเสวนา นายอภิสิทธิ์ ได้แถลงข่าวว่าวาระประชาชนด้านการศึกษาที่พรรคกำลังดำเนินการอยู่ นอกจาหวันนี้แล้วจะมีกิจกรรมต่อเนื่องตลอดสัปดาห์ เพื่อให้เห็นภาพรวมของปัญหาด้านการศึกษา ซึ่งเป็นสิ่งที่พรรคต้องผลักดันต่อไป เบื้องต้นมีเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวาระการศึกษาที่คาบเกี่ยวกับเรื่องของสาธารณสุข ซึ่งจะมีการดำเนินกิจกรรมในสัปดาห์หน้าต่อไป
แต่โดยภาพรวมแล้วหากประเทศไทยไม่จริงจังกับการลงทุนในเรื่องการพัฒนาคน ซึ่งเป็นปัญหาว่าประเทศชาติ จะส่งผลให้ไม่สามารถพัฒนาเศรษฐกิจได้อย่างยั่งยืน ไม่สามารถสร้างสังคมที่สันติสุข และจะไม่สามารถมีระบบการเมืองที่มีคุณภาพได้ เพราะฉะนั้นการลงทุนเรื่องคนมีความสำคัญมาก
ปัญหาที่เรามองเห็นขณะนี้มีตั้งแต่ต้นทางไปจนถึงปลายทาง ปัญหาต้นทางคือปัญหาไอคิว ที่ได้ศึกษาวิจัยสำรวจมาพบว่าถ้าเด็กเล็กไม่ได้รับการพัฒนาในเรื่องของสมอง ไม่ได้รับการดูแลให้มีความพร้อมในเรื่องนี้แล้วก็เป็นเรื่องยากในการที่จะพัฒนาตัวเองขึ้นมาให้ทันคนอื่นได้ เพราะฉะนั้นวาระสำคัญที่จะต้องผลักดันคือเรื่องของการดูแลเด็กเล็ก ซึ่งในสัปดาห์หน้าพรรคจะมีการนำเสนอเรื่องของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
แต่อย่างไรก็ตามเมื่อเข้าสู่ระบบการศึกษาที่เป็นการศึกษาขั้นพื้นฐาน สิ่งที่เราพบขณะนี้ก็คือปัญหาความไม่เทาเทียมกันซึ่งมีทั้ง 2 ลักษณะคือ 1. ความไม่เท่าเทียมในเรื่องของโอกาส ยังมีเด็กจำนวนมากโดยเฉพาะพื้นที่ที่ห่างไกลจะไม่มีโอกาส และในที่สุดก็ไม่สามารถที่จะเรียนจนจบ ม.ปลายได้
ถามว่าปัญหาเกิดขึ้นจากอะไรนั้น คำตอบก็คือข้อจำกัดของครอบครัว โดยเฉพาะเมื่อเข้าสู่วัยที่จะเรียน ม.ปลาย ครอบครัวจำนวนหนึ่งจะตัดสินไม่ให้เด็กเรียนต่อเพราะว่าจะให้เด็กเข้าสู่การทำงานเพื่อหารายได้เพราะคิดว่าการส่งลูกเรียนต่อ จะเสียสองต่อ คือ เด็กหารายได้ไม่ได้ด้วยแถมยังค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ตรงนี้จำเป็นต้องมีการแก้ไขอย่างเร่งด่วน จึงเป็นที่มาที่เราพยายามเน้นย้ำว่าเรื่องของการศึกษาฟรีจะต้องเป็นเรื่องที่ทำให้เป็นจริง ไม่ใช่เป็นเพียงสิทธิที่เขียนเอาไว้ลอยๆ ในกฎหมาย หรือแม้กระทั่งในรัฐธรรมนูญ
“เราสำรวจมา พบว่า ค่าใช้จ่ายที่มีการเรียกเก็บจากนักเรียนอาจจจะอยู่ที่ประมาณถึง 2,000 บาท จากการสำรวจมาโรงเรียนต่างๆเรียกเก็บอะไรบ้าง เราก็จะพบว่า นักเรียนจะมีค่าประกันอุบัติเหตุ ค่าวัสดุการเรียน หรือตำรา และรายการต่างๆไม่ว่าจะเป็นอินเตอร์เน็ต จะเป็นกระเป๋าสุขภาพ ชุดลูกเสือ ชุดพละ แม้กระทั่งการจัดเก็บเพิ่มเติมในเรื่องขอสาธารณูปโภคอย่างที่นี่บางรายการก็เก็บจากนักเรียน บางรายการก็ไปทำเรื่องของผ้าป่าการศึกษาหรือการระดมจาคณะกรรมการโรงเรียน ซึ่งในที่สุดก็เท่ากับว่าที่เราพูดว่าเรียนฟรีนั้นไม่ได้เรียนฟรีจริง และก็ค่าใช้จ่ายเหล่านี้เมื่อไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการเล่าเรียน ซ้ำร้ายคือผู้ที่มีสิทธิเบิกค่าเล่าเรียนก็ไปเบิกไม่ได้ ตรงนี้เป็นจุดที่มีการประเมินอยู่ และก็ในส่วนของกรุงเทพมหานคร ผมก็ได้เคยประกาศไปแล้วว่า กรุงเทพมหานครก็ถือว่าเป็นนโยบายที่จะจัดเรื่องนี้และได้สำรวจออกมาก็จะเป็นจำนวนว่า โดยเฉลี่ย 500 — 1,000 บาทต่อเทอมก็จะต้องมีการจัดงบประมาณเพิ่มเติม” นายอภิสิทธิ์ กล่าว
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวต่อว่า นอกจากนั้นก็อาจต้องมีการบริหารจัดการในบางเรื่อง โดยเฉพาะเรื่องของตำราเรียนที่พรรคเชื่อว่าจะประหยัดค่าใช้จ่ายได้ค่อนข้างมาก นี่ก็เป็นเรื่องที่มีความสำคัญ เพราะฉะนั้นการศึกษาขั้นพื้นฐานที่พรรคต้องการที่จะผลักดันให้เกิดขึ้นให้ได้ก็คือความเท่าเทียมกันในเรื่องของโอกาส
ส่วนที่ 2 คือปัญหาเรื่องคุณภาพ ซึ่งเมื่อมีการสำรวจออกมาจะพบว่า ถ้าเฉลี่ยในกรุงเทพฯ ความสามารถของเด็กเวลาถูกทดสอบ ซึ่งในการทดสอบในระดับนานาชาติทักษะบางวิชา เช่น คณิตศาสตร์ พบว่าเฉพาะเด็กในกรุงเทพฯ จะเทียบเคียงได้กับประเทศสหรัฐฯ แต่ก็ยังแพ้อีกหลายประเทศไม่ว่าจะเป็นเกาหลี ญี่ปุ่น อย่างนี้เป็นต้น แต่ว่าถ้าเราดูทั่วประเทศแล้ว เรายังมีช่องว่างอยู่อีกมาก ซึ่งหมายถึงความจำเป็นที่จะต้องลงทุน ลงทุนทั้งในเรื่องของบุคลากร ลงทุนในเรื่องของกระบวนการในการที่จะมาปรับปรุงหลักสูตร ลงทุนในเรื่องของสิ่งอำนวยความสะดวกหรือเรื่องของอุปกรณ์ต่างๆ “ เพราะฉะนั้น การลงทุนในเรื่องของคุณภาพก็จะต้องเกิดขึ้นนอกเหนือจากรัฐจะมีบทบาทแล้ว เราต้องการที่จะเห็นความร่วมมือในลักษณะเครือข่ายมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นจากภาคธุรกิจเอกชน ไม่ว่าจะเป็นระหว่างสถานศึกษากันเอง” หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 15 ส.ค. 2549--จบ--
วันนี้ (15 ส.ค.49) เวลา 10.30 น.นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ พร้อมคณะอาทิ น.พ.บุรณัชย์ สมุทรักษ์ กรรมการบริหารพรรค ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช ดร.ผุสดี ตามไท กรรมการบริหารพรรค นายนราพัฒน์ แก้วทอง กรรมการบริหารพรรค นายอัลวาร์ สาและ คณะทำงานด้านเศรษฐกิจของพรรค และนายองอาจ คล้ามไพบูลย์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ได้เดินทางเยี่ยมชมโรงเรียนมัธยมประชานิเวศน์ โดยการเดินทางไปเยี่ยมครั้งนี้ได้เข้าเยี่ยมชมการเรียนการสอนของนักเรียนด้วย หลังจากนั้นได้ร่วมเสวนาโต๊ะกลมร่วมกับตัวแทนนักเรียนในหัวข้อเรื่อง “นโยบายการศึกษาในไทยในอนาคต”
ภายหลังการเสวนา นายอภิสิทธิ์ ได้แถลงข่าวว่าวาระประชาชนด้านการศึกษาที่พรรคกำลังดำเนินการอยู่ นอกจาหวันนี้แล้วจะมีกิจกรรมต่อเนื่องตลอดสัปดาห์ เพื่อให้เห็นภาพรวมของปัญหาด้านการศึกษา ซึ่งเป็นสิ่งที่พรรคต้องผลักดันต่อไป เบื้องต้นมีเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวาระการศึกษาที่คาบเกี่ยวกับเรื่องของสาธารณสุข ซึ่งจะมีการดำเนินกิจกรรมในสัปดาห์หน้าต่อไป
แต่โดยภาพรวมแล้วหากประเทศไทยไม่จริงจังกับการลงทุนในเรื่องการพัฒนาคน ซึ่งเป็นปัญหาว่าประเทศชาติ จะส่งผลให้ไม่สามารถพัฒนาเศรษฐกิจได้อย่างยั่งยืน ไม่สามารถสร้างสังคมที่สันติสุข และจะไม่สามารถมีระบบการเมืองที่มีคุณภาพได้ เพราะฉะนั้นการลงทุนเรื่องคนมีความสำคัญมาก
ปัญหาที่เรามองเห็นขณะนี้มีตั้งแต่ต้นทางไปจนถึงปลายทาง ปัญหาต้นทางคือปัญหาไอคิว ที่ได้ศึกษาวิจัยสำรวจมาพบว่าถ้าเด็กเล็กไม่ได้รับการพัฒนาในเรื่องของสมอง ไม่ได้รับการดูแลให้มีความพร้อมในเรื่องนี้แล้วก็เป็นเรื่องยากในการที่จะพัฒนาตัวเองขึ้นมาให้ทันคนอื่นได้ เพราะฉะนั้นวาระสำคัญที่จะต้องผลักดันคือเรื่องของการดูแลเด็กเล็ก ซึ่งในสัปดาห์หน้าพรรคจะมีการนำเสนอเรื่องของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
แต่อย่างไรก็ตามเมื่อเข้าสู่ระบบการศึกษาที่เป็นการศึกษาขั้นพื้นฐาน สิ่งที่เราพบขณะนี้ก็คือปัญหาความไม่เทาเทียมกันซึ่งมีทั้ง 2 ลักษณะคือ 1. ความไม่เท่าเทียมในเรื่องของโอกาส ยังมีเด็กจำนวนมากโดยเฉพาะพื้นที่ที่ห่างไกลจะไม่มีโอกาส และในที่สุดก็ไม่สามารถที่จะเรียนจนจบ ม.ปลายได้
ถามว่าปัญหาเกิดขึ้นจากอะไรนั้น คำตอบก็คือข้อจำกัดของครอบครัว โดยเฉพาะเมื่อเข้าสู่วัยที่จะเรียน ม.ปลาย ครอบครัวจำนวนหนึ่งจะตัดสินไม่ให้เด็กเรียนต่อเพราะว่าจะให้เด็กเข้าสู่การทำงานเพื่อหารายได้เพราะคิดว่าการส่งลูกเรียนต่อ จะเสียสองต่อ คือ เด็กหารายได้ไม่ได้ด้วยแถมยังค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ตรงนี้จำเป็นต้องมีการแก้ไขอย่างเร่งด่วน จึงเป็นที่มาที่เราพยายามเน้นย้ำว่าเรื่องของการศึกษาฟรีจะต้องเป็นเรื่องที่ทำให้เป็นจริง ไม่ใช่เป็นเพียงสิทธิที่เขียนเอาไว้ลอยๆ ในกฎหมาย หรือแม้กระทั่งในรัฐธรรมนูญ
“เราสำรวจมา พบว่า ค่าใช้จ่ายที่มีการเรียกเก็บจากนักเรียนอาจจจะอยู่ที่ประมาณถึง 2,000 บาท จากการสำรวจมาโรงเรียนต่างๆเรียกเก็บอะไรบ้าง เราก็จะพบว่า นักเรียนจะมีค่าประกันอุบัติเหตุ ค่าวัสดุการเรียน หรือตำรา และรายการต่างๆไม่ว่าจะเป็นอินเตอร์เน็ต จะเป็นกระเป๋าสุขภาพ ชุดลูกเสือ ชุดพละ แม้กระทั่งการจัดเก็บเพิ่มเติมในเรื่องขอสาธารณูปโภคอย่างที่นี่บางรายการก็เก็บจากนักเรียน บางรายการก็ไปทำเรื่องของผ้าป่าการศึกษาหรือการระดมจาคณะกรรมการโรงเรียน ซึ่งในที่สุดก็เท่ากับว่าที่เราพูดว่าเรียนฟรีนั้นไม่ได้เรียนฟรีจริง และก็ค่าใช้จ่ายเหล่านี้เมื่อไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการเล่าเรียน ซ้ำร้ายคือผู้ที่มีสิทธิเบิกค่าเล่าเรียนก็ไปเบิกไม่ได้ ตรงนี้เป็นจุดที่มีการประเมินอยู่ และก็ในส่วนของกรุงเทพมหานคร ผมก็ได้เคยประกาศไปแล้วว่า กรุงเทพมหานครก็ถือว่าเป็นนโยบายที่จะจัดเรื่องนี้และได้สำรวจออกมาก็จะเป็นจำนวนว่า โดยเฉลี่ย 500 — 1,000 บาทต่อเทอมก็จะต้องมีการจัดงบประมาณเพิ่มเติม” นายอภิสิทธิ์ กล่าว
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวต่อว่า นอกจากนั้นก็อาจต้องมีการบริหารจัดการในบางเรื่อง โดยเฉพาะเรื่องของตำราเรียนที่พรรคเชื่อว่าจะประหยัดค่าใช้จ่ายได้ค่อนข้างมาก นี่ก็เป็นเรื่องที่มีความสำคัญ เพราะฉะนั้นการศึกษาขั้นพื้นฐานที่พรรคต้องการที่จะผลักดันให้เกิดขึ้นให้ได้ก็คือความเท่าเทียมกันในเรื่องของโอกาส
ส่วนที่ 2 คือปัญหาเรื่องคุณภาพ ซึ่งเมื่อมีการสำรวจออกมาจะพบว่า ถ้าเฉลี่ยในกรุงเทพฯ ความสามารถของเด็กเวลาถูกทดสอบ ซึ่งในการทดสอบในระดับนานาชาติทักษะบางวิชา เช่น คณิตศาสตร์ พบว่าเฉพาะเด็กในกรุงเทพฯ จะเทียบเคียงได้กับประเทศสหรัฐฯ แต่ก็ยังแพ้อีกหลายประเทศไม่ว่าจะเป็นเกาหลี ญี่ปุ่น อย่างนี้เป็นต้น แต่ว่าถ้าเราดูทั่วประเทศแล้ว เรายังมีช่องว่างอยู่อีกมาก ซึ่งหมายถึงความจำเป็นที่จะต้องลงทุน ลงทุนทั้งในเรื่องของบุคลากร ลงทุนในเรื่องของกระบวนการในการที่จะมาปรับปรุงหลักสูตร ลงทุนในเรื่องของสิ่งอำนวยความสะดวกหรือเรื่องของอุปกรณ์ต่างๆ “ เพราะฉะนั้น การลงทุนในเรื่องของคุณภาพก็จะต้องเกิดขึ้นนอกเหนือจากรัฐจะมีบทบาทแล้ว เราต้องการที่จะเห็นความร่วมมือในลักษณะเครือข่ายมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นจากภาคธุรกิจเอกชน ไม่ว่าจะเป็นระหว่างสถานศึกษากันเอง” หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 15 ส.ค. 2549--จบ--