สรุปภาวะการค้าไทย-อินเดียระหว่างเดือน ม.ค.- ก.ย.2548

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday November 17, 2005 13:46 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1.  อินเดียเป็นตลาดนำเข้าสำคัญอันดับ 22 ของโลก โดยมีมูลค่าการนำเข้า 97,312,729,185 ล้านเหรียญ
สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.71 ในขณะที่เป็นตลาดส่งออกอันดับที่ 28 มูลค่า 75,630,585,967 ล้านเหรียญสหรัฐ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.63 (ม.ค.-ธ.ค. 2547)
2. แหล่งผลิตสำคัญที่อินเดียนำเข้าในปี 2548 (ม.ค.-มิ.ย.) ได้แก่
- สวิตเซอร์แลนด์ ร้อยละ 7.06 มูลค่า 4,444.760 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 109.07
- จีน ร้อยละ 6.28 มูลค่า 3,950.240 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 48.15
- สหรัฐฯ ร้อยละ 5.27 มูลค่า 3,315.480 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.22
- เบลเยี่ยม ร้อยละ 4.47 มูลค่า 2,814.672 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.71
ไทยอยู่อันดับที่ 23 ร้อยละ 0.82 มูลค่า 513.258 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 56.18
3. เศรษฐกิจอินเดียขยายตัวร้อยละ 8.1 ในไตรมาส 2 สินค้าอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.30 จากร้อยละ
8.6 ในไตรมาสที่แล้ว ภาคบริการมีสัดส่วนมากกว่าครึ่งหนึ่งของ GDP ขยายตัวร้อยละ 9.8 และผลการผลิตภาค
การเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 2 อย่างไรก็ตามรัฐบาลจะต้องเร่งสร้างสาธารณูปโภค-พื้นฐานและลดข้อจำกัดในการ
ทำธุรกิจด้วย
4. อินเดียเป็นตลาดส่งออกอันดับที่ 16 ของไทย โดยมีสัดส่วนร้อยละ 1.36 ของมูลค่าการส่งออก 1,118.98
ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 65.49 (ม.ค-ก.ย 2548) หรือคิดเป็นร้อยละ 68.06 ของเป้าหมายการส่งออก
5.การค้าระหว่างประเทศไทย-อินเดีย
มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐ
2545 2546 2547 2547 2548 อัตราการขยายตัว (ร้อยละ)
2545 2546 2547 2548
(ม.ค.-ก.ย.) (ม.ค.-ก.ย) (ม.ค.-ก.ย)
มูลค่าการค้า 1,184.82 1,508.48 2,049.16 1,571.89 2,102.35 2.66 27.32 35.84 33.75
สินค้าออก 413.71 638.58 913.58 676.16 1,118.98 -14.36 54.36 43.06 65.49
สินค้าเข้า 771.12 869.90 1,135.58 895.73 983.37 14.92 12.81 30.54 9.78
ดุลการค้า -357.41 -231.31 -222.00 -219.57 135.61 90.20 -35.28 -4.03 -
6. สินค้าไทยส่งออกไปอินเดีย (ม.ค.-ก.ย 2548) 25 อันดับแรกมีสัดส่วนรวมกันร้อยละ 84.45 ของมูลค่า
การส่งออกโดยรวมไปตลาดนี้ สินค้าสำคัญที่มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นเกินกว่าร้อยละ 1000 มี 1 รายการ สินค้า
สำคัญที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นเกินกว่าร้อยละ 100 มี 7 รายการ และสินค้าที่มีมูลค่าลดลงเกินกว่าร้อยละ 20 มี
2 รายการ
สถิติการส่งออกสินค้าไทยไปอินเดียที่มีมูลค่าการเปลี่ยนแปลงสูง ม.ค.-ส.ค. 2548
มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าการ %เปลี่ยนแปลง สัดส่วน ร้อยละ2548
ตลาด อันดับที่ เปลี่ยนแปลง เปลี่ยนแปลง เปลี่ยนแปลง ม.ค.-ก.ย 2547 ม.ค.-ก.ย
ม.ค.-ก.ย 47 ม.ค.-ก.ย 48
1. สินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกไปอินเดียเพิ่มขึ้นสูงมากกว่า
ร้อยละ 100 มี 8 รายการ
(1) เม็ดพลาสติก 1 50.00 139.63 89.63 179.29 7.66 12.48
(2) เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบและส่วนประกอบ 3 21.67 76.67 54.94 252.86 2.98 6.85
(3) เครื่องรับวิทยุและส่วนประกอบ 4 35.71 75.29 39.58 110.83 6.39 6.73
(4) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ 7 21.10 59.38 38.28 181.45 3.62 5.31
(5) เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ 13 8.70 20.26 11.56 132.96 1.41 1.81
(6) ผลิตภัณฑ์อลูมิเนียม 14 7.05 20.09 13.04 185.14 1.10 1.80
(7) หลอดภาพโทรทัศน์สี 19 3.01 15.86 12.85 426.67 0.52 1.42
2. สินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกไปอินเดีย ลดลงมากกว่า
ร้อยละ 20 มี 2 รายการ
(1) เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ 8 64.68 36.31 -28.37 -43.86 8.24 3.25
(2) เส้นใยประดิษฐ์ 17 22.98 16.28 -6.70 -29.15 2.98 1.46
รวบรวมโดย : ศูนย์สารสนเทศการค้าระหว่างประเทศ
จากสถิติการส่งออกดังกล่าวมีข้อสังเกต ดังนี้
เม็ดพลาสติก (HS. 3901) ETHYLENE, PRIMARY FORM
อินเดีย นำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ 10 มูลค่า 6.237 ล้านเหรียญสหรัฐ มีสัดส่วนร้อยละ 4.53
เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.26 ด้านการนำเข้าจากตลาดโลกของอินเดีย มูลค่า 137.565 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ
24.75 นำเข้าจากซาอุดิอาระเบีย สหรัฐสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เป็นหลัก (ม.ค.-มิ.ย. 2548)
เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบและส่วนประกอบ (HS. 8408) COMPRESSION-IGNITION
อินเดีย นำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ 1 มูลค่า 30.253 ล้านเหรียญสหรัฐ มีสัดส่วนร้อยละ 36.08
เพิ่มขึ้นร้อยละ 775.81 ด้านการนำเข้าจากตลาดโลกของอินเดีย มูลค่า 83.853 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ
125.41 นำเข้าจาก ไทย เกาหลีใต้ สหรัฐฯ เป็นหลัก (ม.ค.-มิ.ย. 2548)
เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ (HS. 8527) Radiobroadcst Recvers
อินเดีย นำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ 6 มูลค่า 1.230 ล้านเหรียญสหรัฐ มีสัดส่วนร้อยละ 3.60
เพิ่มขึ้นร้อยละ 84.39 ด้านการนำเข้าจากตลาดโลกของอินเดีย มูลค่า 34.144 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ
59.47 นำเข้าจาก จีน เยอรมนี มาเลเซีย เป็นหลัก (ม.ค.-มิ.ย. 2548)
เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ (HS. 84) MACHINERY
อินเดีย นำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ 13 มูลค่า 114.896 ล้านเหรียญสหรัฐ มีสัดส่วนร้อยละ 2.14
เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.00 ด้านการนำเข้าจากตลาดโลกของอินเดีย มูลค่า 5,368.906 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 36.76 นำเข้าจาก เยอรมนี จีน สหรัฐฯ เป็นหลัก (ม.ค.-มิ.ย. 2548)
เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ (HS. 8415) Air Conditioning
อินเดีย นำเข้าจากไทยอันดับที่ 3 มูลค่า 15.017 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 90.16 ด้าน
การนำเข้าจากตลาดโลกของอินเดีย มูลค่า 99.947 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 51.47 นำเข้าจาก จีน
เกาหลีใต้ ไทย เป็นหลัก (ม.ค.-มิ.ย. 2548)
ผลิตภัณฑ์อลูมิเนียม (HS. 76) Aluminum
อินเดีย นำเข้าจากไทยอันดับที่ 10 มูลค่า 9.131 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 103.18 ด้าน
การนำเข้าจากตลาดโลกของอินเดีย มูลค่า 292.127 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.46 เข้าจาก อิหร่าน
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ จีน เป็นหลัก (ม.ค.-มิ.ย. 2548)
หลอดภาพโทรทัศน์สี (HS. 854011) COL CAT-RAY TV TUBE
อินเดีย นำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ 3 มูลค่า 5.292 ล้านเหรียญสหรัฐ มีสัดส่วนร้อยละ 14.52
ด้านการนำเข้าจากตลาดโลกของอินเดีย มูลค่า 36.451 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 35.10 นำเข้าจาก
มาเลเซีย เกาหลีใต้ ไทย เป็นหลัก (ม.ค.-มิ.ย. 2548)
7. ข้อมูลเพิ่มเติมและข้อคิดเห็นเรื่องการค้าระหว่างไทย-อินเดีย
บริษัทวิจัยการตลาดรายใหญ่ของโลก บริษัทรีเสิร์ชแอนด์มาร์เกตส์ ได้ระบุรายงานว่าอินเดียมีปัจจัย
ประชากรที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งมีแนวโน้มจะแซงหน้าจีนก่อนปี 2573 และมีปัจจัยแวดล้อมให้อินเดีย เป็นประเทศใน
อุดมคติของอุตสาหกรรมการผลิตต้นทุนต่ำ โดยอินเดียเองก็หวังจะเป็นตัวเลือกแรกของประเทศที่คิดจะขยายฐาน
การผลิตไปยังประเทศอื่นนอกจากจีน นอกจากนี้อินเดียยังมีความโดดเด่นในภาคอุตสาหกรรมผลิตซอฟต์แวร์ สินค้า
ไอที และภาคบริการ
รายงานของบริษัทรีเสิร์ช-แอนด์มาร์เกตส์ยังระบุอีกว่าอินเดียได้กลายเป็นตลาดมือถือใหญ่อันดับ 3
รองจากสหรัฐฯ และจีน และมีความเป็นไปได้ว่าภายในปี 2006 อินเดียจะกลายเป็นฐานการผลิตที่ใหญ่ที่สุดของ
โลก ซึ่ง 2 ปีที่ผ่านมาตลาดมือถือในอินเดียขยายตัวกว่าร้อยละ 60 โดยมีโนเกียเป็นผู้ครองตลาดรายใหญ่ที่สุด
ด้วยสัดส่วนร้อยละ 59 รองลงมาคือซัมซุง (13%) และโมโตโรลา (7%)
เมื่อเดือนกันยายน 2548 ที่ผ่านมาคณะกรรมการส่งเสริมศักยภาพอุตสาหกรรมการผลิต แห่งชาติของ
อินเดียได้ออกสมุดปกขาวว่าด้วย "ยุทธศาสตร์แห่งประเทศอุตสาหกรรมการผลิต" โดยมีเป้าหมายเพื่อแย่งชิง
ตำแหน่งศูนย์กลางอุตสาหกรรมการผลิตกับประเทศจีน เนื่องจากเห็นว่าเป็นหนทางที่จะสามารถแก้ปัญหาคนว่างงาน
และยกระดับชีวิตเกษตรกรนับล้านคน ทั้งนี้อดีตผู้แทนการค้าสหรัฐฯ ซึ่งปัจจุบันดำรงค์ตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบัน
ยุทธศาสตร์เศรษฐกิจแห่งวอชิงตัน นายไคลด์ วี เพรสโทวิตซ์ ให้ความเห็นว่า ภายในปี 2050 จีนและอินเดียจะ
มีอิทธิพลในองค์กรระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยคาดว่าจีดีพีของทั้งสองประเทศข้างต้นอาจจะแซงหน้าสหรัฐ
ซึ่งจะส่งผลให้ทั้งสองมีอิทธิพลมากกขึ้นเรื่อยๆ ในองค์การค้าโลก (WTO) กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF)
ธนาคารโลก (World Bank) และองค์กรระหว่างประเทศทั้งหมด
สมาคมผู้ผลิตสินค้าเทคโนโลยีสารสนเทศของอินเดีย (MAIT) ได้วิเคราะห์ว่าอุปสงค์ขนาดใหญ่ของ
อินเดียเป็นแรงหนุนให้อุตสาหกรรมการผลิตเติบโต โดยอินเดียขณะนี้เปรียบเหมือนจีนเมื่อสิบปีที่แล้ว ที่มีผู้บริโภค
ขนาดใหญ่รออยู่ แต่อินเดียมีข้อได้เปรียบจีนในเรื่อง "การเปิดกว้าง" ที่มากกว่าทั้งนี้รายงานประจำปีของ
เวิลด์อีโคโนมิกระบุว่า ขีดความสามารถทางการแข่งขันของจีนตกลงมา 3 อันดับ มาอยู่อันดับที่ 49 ขณะที่อินเดีย
ขยับขึ้นมา 5 อันดับมาอยู่อันดับที่ 50 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าอินเดียอาจจะมีศักยภาพในการแข่งขันแซงหน้าจีนได้ใน
อนาคต อย่างไรก็ดีอินเดียมีจุดอ่อนในเรื่องระบบสาธารณูปโภคค่อนข้างสูง อีกทั้งอินเดียต้องเร่งปรับปรุงระบบ
คมนาคม โครงสร้างพื้นฐาน และการลงทุนด้านพลังงาน เพื่อส่งเสริมการขยายตัวของธุรกิจในประเทศ ในขณะ
เดียวกันอินเดียจะต้องและส่งเสริมและเพิ่มอัตราการออม ให้มีระดับสูงขึ้น พร้อมกับต้องพัฒนาและแก้ไขปัญหาความ
แตกต่างในสังคม เพิ่มระบบการศึกษาให้ประชากรได้รับอย่างทั่วถึง
เอกอัคราชทูต ณ กรุงนิวเดลี นายจีรนะศักดิ์ ธเนศนันท์ เปิดเผยภายหลังจากเสร็จสิ้นการสัมมนา
โอกาสการค้าและการลงทุนที่จัดขึ้น ณ เมืองนิวเดลี บุมไบ และเจนไน ประเทศอินเดียเมื่อวันที่ 18-24 กันยายน
2548 ที่ผ่านมาว่า ท่าทีการเจรจา FTA ไทย - อินเดียในสินค้ารายการที่เหลือกว่า 5,000 รายการอาจจะไม่
ราบรื่นนัก เนื่องจากนักธุรกิจอินเดียวิตกว่าจะเกิดการแทรกแซงตลาดจากประเทศที่สามเรื่องแหล่งกำเนิดสินค้า
ที่ไม่ต้องการให้ไทยเป็นทางผ่านของสินค้าให้กับอีกประเทศหนึ่งเพื่อส่งมาขายยังประเทศอินเดีย โดยขณะนี้ภาค
เอกชนอินเดียรู้สึกเป็นห่วงความรู้สึกของกลุ่มทุนเกาหลีที่เข้ามาลงทุนอยู่ในอินเดียมากเป็นอันดับหนึ่ง เพราะถือเป็น
กลุ่มทุนที่เข้าไปสร้างความเจริญกับอินเดียมากในเวลานี้ซึ่งมีส่วนทำให้จีดีพีของอินเดียเติบโต 6-8% ต่อปี ส่งผล
ให้เศรษฐกิจโตเป็นอันดับ 3 ของโลก ดังนั้นเมื่อไทย-อินเดียเปิด FTA จะเอื้อต่อสินค้าญี่ปุ่นที่ตั้งฐานการผลิตอยู่
ที่ประเทศไทยเป็นจำนวนมากขณะนี้
เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) นายไฟโรจน์ สัญญะเดชากุลเปิดเผย
ว่าสมอ.จะลงนามบันทึกความเข้าใจ (เอ็มโอยู) กับสำนักงานมาตรฐานแห่งอินเดีย เพื่อร่วมมือสร้างกลไกภาคี
ให้สามารถปฏิบัติงานร่วมกันด้านมาตรฐานสินค้า การรับรองการวัด การทดสอบและการอำนวยความสะดวก
รวมถึงการแบ่งปันความชำนาญ ซึ่งจะลงนามในช่วงการประชุมคณะกรรมการเจรจาเขตการค้าเสรี (เอฟทีเอ)
ไทย-อินเดีย ในเดือนพฤศจิกายนนี้ โดยสินค้าที่ไทยเสนอให้ทำมาตรฐานร่วม (เอ็มอาร์เอ) มี 6 รายการ
ได้แก่ ซีเมนต์ เตารีด เตาไฟฟ้า ถังแก๊ส หลอดไฟ สวิตช์ไฟฟ้า สายไฟฟ้า
ที่มา: http://www.depthai.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ