รัฐบาลไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมผู้แทนผู้นำในเครือข่ายของผู้นำเพื่อสนับสนุนการปฏิรูปสหประชาชาติ ครั้งที่ 2 ซึ่งจัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนกระบวนการเจรจาประเด็น
การปฏิรูปสหประชาชาติที่นครนิวยอร์กและประเด็นการปฏิรูปสหประชาชาติต่างๆ ที่รัฐสมาชิกยังตกลงกันไม่ได้ อาทิ การยกร่างอนุสัญญาว่าด้วยการก่อการร้ายที่ครอบคลุมทุกด้าน การพัฒนาและการปฏิรูปคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม (ECOSOC) การปฏิรูปคณะมนตรีความมั่นคง (UNSC) และการปฏิรูป
การบริหารจัดการองค์การสหประชาชาติ (Management Reform) ทั้งนี้ ฝ่ายไทยมีความคาดหวังที่จะผลักดันประเด็นการพัฒนาและการปฏิรูป ECOSOC เพื่อให้สหประชาชาติดำเนินการอนุวัติเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals - MDGs) อย่างมีประสิทธิภาพและเห็นผล ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อรัฐสมาชิกทั้งมวล โดยเฉพาะในระดับรากหญ้า ผู้แทนของนายกรัฐมนตรีไทยในการประชุมผู้แทนผู้นำฯ คือ ดร. สรจักร เกษมสุวรรณ ที่ปรึกษาของ ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รองนายกรัฐมนตรีฯ
เครือข่ายผู้นำฯ เป็นข้อริเริ่มของนาย Gran Persson นายกรัฐมนตรีสวีเดน ประกอบด้วยผู้นำของประเทศจากทุกภูมิภาครวม 14 ประเทศ ได้แก่ อาร์เจนตินา อังกฤษ แคนาดา อียิปต์ กาบอง อินเดีย อินโดนีเซีย เม็กซิโก ไนจีเรีย แอฟริกาใต้ สวีเดน ไทย ตุรกี และยูเครน ประเทศเหล่านี้เป็นประเทศที่มีบทบาทแข็งขันในกระบวนการเจรจาที่นครนิวยอร์ก ดังนั้น จึงเป็นที่คาดหวังว่า ผลการประชุมผู้แทนผู้นำฯ ครั้งที่ 2 ที่กรุงเทพฯ จะส่งสัญญาณทางการเมืองไปยังนครนิวยอร์ก เพื่อให้รัฐสมาชิกร่วมกันเจรจาประเด็นที่คั่งค้างเพื่อให้การปฏิรูปสหประชาชาติดำเนินไปอย่างราบรื่นและประสบผลสำเร็จ ซึ่งจะเสริมสร้างให้สหประชาชาติดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความน่าเชื่อถือต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-สส-
การปฏิรูปสหประชาชาติที่นครนิวยอร์กและประเด็นการปฏิรูปสหประชาชาติต่างๆ ที่รัฐสมาชิกยังตกลงกันไม่ได้ อาทิ การยกร่างอนุสัญญาว่าด้วยการก่อการร้ายที่ครอบคลุมทุกด้าน การพัฒนาและการปฏิรูปคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม (ECOSOC) การปฏิรูปคณะมนตรีความมั่นคง (UNSC) และการปฏิรูป
การบริหารจัดการองค์การสหประชาชาติ (Management Reform) ทั้งนี้ ฝ่ายไทยมีความคาดหวังที่จะผลักดันประเด็นการพัฒนาและการปฏิรูป ECOSOC เพื่อให้สหประชาชาติดำเนินการอนุวัติเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals - MDGs) อย่างมีประสิทธิภาพและเห็นผล ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อรัฐสมาชิกทั้งมวล โดยเฉพาะในระดับรากหญ้า ผู้แทนของนายกรัฐมนตรีไทยในการประชุมผู้แทนผู้นำฯ คือ ดร. สรจักร เกษมสุวรรณ ที่ปรึกษาของ ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รองนายกรัฐมนตรีฯ
เครือข่ายผู้นำฯ เป็นข้อริเริ่มของนาย Gran Persson นายกรัฐมนตรีสวีเดน ประกอบด้วยผู้นำของประเทศจากทุกภูมิภาครวม 14 ประเทศ ได้แก่ อาร์เจนตินา อังกฤษ แคนาดา อียิปต์ กาบอง อินเดีย อินโดนีเซีย เม็กซิโก ไนจีเรีย แอฟริกาใต้ สวีเดน ไทย ตุรกี และยูเครน ประเทศเหล่านี้เป็นประเทศที่มีบทบาทแข็งขันในกระบวนการเจรจาที่นครนิวยอร์ก ดังนั้น จึงเป็นที่คาดหวังว่า ผลการประชุมผู้แทนผู้นำฯ ครั้งที่ 2 ที่กรุงเทพฯ จะส่งสัญญาณทางการเมืองไปยังนครนิวยอร์ก เพื่อให้รัฐสมาชิกร่วมกันเจรจาประเด็นที่คั่งค้างเพื่อให้การปฏิรูปสหประชาชาติดำเนินไปอย่างราบรื่นและประสบผลสำเร็จ ซึ่งจะเสริมสร้างให้สหประชาชาติดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความน่าเชื่อถือต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-สส-