วันนี้ (28 พ.ค.) ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการกลับคำเพื่อเข้ามารับตำแหน่งอีกครั้งหนึ่งของนายกรัฐมนตรีด้วยข้ออ้างที่ว่าต้องการเข้ามาแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ล้วนเป็นข้ออ้างที่ฟังไม่ขึ้น ซึ่งกล่าวได้ว่าเป็นรัฐบาลที่สร้างปัญหาขึ้นมา แล้วปล่อยให้ปัญหาหมักหมม การตระบัดสัตย์ ด้วยข้ออ้างกลับเข้ามาทำงานของนายกฯ นั้น แท้ที่จริงเป็นเพราะต้องการเข้ามาด้วยเหตุผลทางการเมืองดังต่อไปนี้
1. เพื่อใช้อำนาจหน้าที่ในฐานะนายกนำงบประมาณไปใช้สร้างความนิยมทางการเมือง เพื่อหวังผลชัยชนะในการเลือกตั้ง แล้วกลับเข้ามารักษาอำนาจเต็มตัวอีกครั้ง
2. รักษาอำนาจปัจจุบันให้มั่นคงเข้มแข็งเพื่อต้านทานแรงตรวจสอบอย่างจริงจัง จากกรณีการทุจริตเชิงนโยบาย ผลประโยชน์ทับซ้อนต่าง ๆ รวมถึงความเคลือบแคลงใจในการซื้อขายหุ้นชินคอร์ป
3. เพื่อปรับเปลี่ยนอนุมัติโครงการใหญ่ ๆ บางโครงการข้ออ้างว่าแก้ไขปัญหาแต่มีผลประโยชน์แฝงซ่อนเร้นอยู่มาก
นายองอาจตั้งข้อสงสัยถึงสภาวะราคาน้ำมันว่า จากหลายปีที่ผ่านมาราคาน้ำมันได้มีแนวโน้มสูงขึ้นมาโดยตลอด แต่รัฐบาลไม่ได้นำปัจจัยนี้มาเป็นส่วนหนึ่งในการกำหนดนโยบายเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบในวงกว้างแต่สิ่งที่รัฐบาลทำกลับตรึงราคาน้ำมัน เพื่อนโยบายประชานิยม อีกทั้งกำหนดนโยบายสวนทางกับความเป็นจริง โดยเลือกที่จะตรึงราคาน้ำมัน โดย 1 ปีก่อนการเลือกตั้งปี 2548 รัฐบาลต้องเป็นหนี้กองทุนน้ำมันเกือบแสนล้านและต้องชดเชยราคาอีกเดือนละ 2,600 ล้านบาท ทำให้กลไกของตลาดต่าง ๆ ต้องบิดเบือน โดยในปี 2548 ปีเดียวราคาน้ำมันขึ้นถึง 32 ครั้ง
นายองอาจกล่าวต่อไปว่าเงินคงคลังลดลงจาก 88,000 ล้านบบาทเมื่อสิ้นเดือนสิงหาคม 2548 เหลือเพียง 40,000 ล้านบาทในสิ้นเดือนมีนาคม 2549 เหตุใดรัฐบาลจึงไม่มีเงินคงคลังเพียงพอทั้งที่ในระยะเวลาที่ผ่านมารัฐบาลได้ให้คำรับรองว่าเศรษฐกิจที่ผ่านมานั้นประเทศไทยมีเศรษฐกิจที่ดีขึ้นมาก โดยเฉพาะในปี 2548 รัฐบาลมีรายได้จากการจัดเก็บภาษีถึง 937,149.468 ล้านบาท มากที่สุดในรอบ 6 ปี แม้แต่รัฐมนตรีกระทรวงการคลังในช่วงนั้นยังกล่าวว่ารัฐเก็บภาษีได้ทะลุเป้า ตั้งแต่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 ทุก ๆ อย่างน่าจะดูสดใสไปหมดสำหรับเศรษฐกิจของประเทศไทย
รายได้ของรัฐบาลที่มีการจัดเก็บได้ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ปี 2545 สามารถจัดเก็บภาษีได้ 867,712.50 ล้านบาท ปี 2546 เก็บได้ 1,008,934.38 ล้านบาท ปี 2547 จัดเก็บได้ 1,156,712.50 ล้านบาท ปี 2548 เก็บได้ 1,314,397.70 ล้านบาท และปี 2549 เฉพสะ 3 เดือนแรกของปีงบประมาณ จัดเก็บได้ 5,699.18 ล้านบาท
ขณะที่รัฐบาลได้ตั้งงบประมาณรายจ่ายไว้ดังนี้ ปี 2545 งบประมาณ 1,023,000 ล้านบาท ในปี 2546 ตั้งงบไว้ที่ 999,900 ล้านบาท ปี 2547 งบประมาณ 1,028,000 ล้านบาท ปี 2548 งบประมาณ 1,200,000 ล้านบาท และปี 2549 ตั้งงบประมาณไว้ที่ 1,360,000 ล้านบาท
สิ่งที่เกิดขึ้นช่วงปลายปี 2548 กระทรวงการคลังต้องขอมติครม.เพื่อเพิ่มการออกตั๋วเงินคงคลังอีก 80,000 ล้านบาท รวมเพดานกู้ทั้งหมด 250,000 ล้านบาท จากเดิมที่มีเพดานเงินกู้ที่ 170,000 ล้านบาท ซึ่งวิธีนี้กลับเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหาเงินคงคลังร่อยหรอของรัฐบาลชุดนี้ นายองอาจกล่าว
ในปี 2549 งบประมาณแผ่นดินที่จะนำมาใช้ติดขัดเพราะเบิกเงินไม่ได้หรือเบิกจ่ายล่าช้า มีภาวะหนี้สาธารณะที่เพิ่มสูงขึ้น พ.ต.ท.ทักษิณ ได้สร้างหนี้สินให้กับประเทศเพิ่มขึ้นสูงจากปีแรกที่เข้ามาบริหารประเทศ โดยในปี 2545 ประเทศไทยมีตัวเลขหนี้สาธารณะ 2,943,008.40 ล้านบาท ปี 2546 มีหนี้สาธารณะ 2,930,041.52 ล้านบาท ปี 2547 มีหนี้สาธารณะ 3,126,554.16 ล้านบาท และในปี 2548 มีหนี้สาธารณะ 3,296,039.33 ล้านบาท
นายองอาจระบุว่า รัฐบาลไม่ควรกล่าวโทษต่อราคาน้ำมันและสภาวะทางการเมือง แต่ปัจจัยเหล่านี้เป็นปัจจัยที่รัฐบาลควรนำมาคิดคำนวณในการตัดสินใจก่อนนำนโยบายต่าง ๆ มาใช้ สิ่งที่เกิดขึ้นกับภาวะเศรษฐกิจในวันนี้เราจึงควรต้องไปดูนโยบายต่าง ๆ ของรัฐบาลในปีสองปีที่ผ่านมาว่ามีการมีการใช้จ่ายเงินอย่างไร อันเป็นสาเหตุที่ทำให้เงินคงคลังหมดประเทศ อย่างนโยบายทัวร์นกขมิ้นของท่านนายกฯ ในช่วงก่อนจะมีการเลือกตั้ง ซึ่งงบประมาณสำหรับนโยบายนี้ได้ตั้งไว้สูงถึง 5.3 หมื่นล้านบาท โดยสำนักงบประมาณและสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ได้ปรับลดลงจำนวน 8,000 ล้านบาท เหลือ 4.5 หมื่นล้านบาท 160 โครงการ เนื่องจากบางโครงการขาดความพร้อมในการดำเนินการ ไม่มีการทบทวนถึงผลได้ผลเสียของโครงการ ทำผิดระบบการใช้จ่ายงบประมาณของประเทศ
โดยนายองอาจกล่าวในตอนท้ายว่า หากคิดว่าไม่มีใครในประเทศที่จะสามารถแก้ไขสิ่งที่ท่านนายกฯ ได้ทำทิ้งไว้ได้ ก็คงเป็นเรื่องที่น่าเศร้าสำหรับประเทศไทย ที่ไม่มีใครที่จะแก้ปัญหาของชาติได้นอกจากท่านนายกฯ คนเดียว ทั้ง ๆ ที่ในความเป็นจริงแล้ว ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นล้วนเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจากการบริหารงานผิดพลาดที่มีท่านนายกฯ เป็นผู้นำทำให้เกิดขึ้นทั้งสิ้น
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 29 พ.ค. 2549--จบ--
1. เพื่อใช้อำนาจหน้าที่ในฐานะนายกนำงบประมาณไปใช้สร้างความนิยมทางการเมือง เพื่อหวังผลชัยชนะในการเลือกตั้ง แล้วกลับเข้ามารักษาอำนาจเต็มตัวอีกครั้ง
2. รักษาอำนาจปัจจุบันให้มั่นคงเข้มแข็งเพื่อต้านทานแรงตรวจสอบอย่างจริงจัง จากกรณีการทุจริตเชิงนโยบาย ผลประโยชน์ทับซ้อนต่าง ๆ รวมถึงความเคลือบแคลงใจในการซื้อขายหุ้นชินคอร์ป
3. เพื่อปรับเปลี่ยนอนุมัติโครงการใหญ่ ๆ บางโครงการข้ออ้างว่าแก้ไขปัญหาแต่มีผลประโยชน์แฝงซ่อนเร้นอยู่มาก
นายองอาจตั้งข้อสงสัยถึงสภาวะราคาน้ำมันว่า จากหลายปีที่ผ่านมาราคาน้ำมันได้มีแนวโน้มสูงขึ้นมาโดยตลอด แต่รัฐบาลไม่ได้นำปัจจัยนี้มาเป็นส่วนหนึ่งในการกำหนดนโยบายเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบในวงกว้างแต่สิ่งที่รัฐบาลทำกลับตรึงราคาน้ำมัน เพื่อนโยบายประชานิยม อีกทั้งกำหนดนโยบายสวนทางกับความเป็นจริง โดยเลือกที่จะตรึงราคาน้ำมัน โดย 1 ปีก่อนการเลือกตั้งปี 2548 รัฐบาลต้องเป็นหนี้กองทุนน้ำมันเกือบแสนล้านและต้องชดเชยราคาอีกเดือนละ 2,600 ล้านบาท ทำให้กลไกของตลาดต่าง ๆ ต้องบิดเบือน โดยในปี 2548 ปีเดียวราคาน้ำมันขึ้นถึง 32 ครั้ง
นายองอาจกล่าวต่อไปว่าเงินคงคลังลดลงจาก 88,000 ล้านบบาทเมื่อสิ้นเดือนสิงหาคม 2548 เหลือเพียง 40,000 ล้านบาทในสิ้นเดือนมีนาคม 2549 เหตุใดรัฐบาลจึงไม่มีเงินคงคลังเพียงพอทั้งที่ในระยะเวลาที่ผ่านมารัฐบาลได้ให้คำรับรองว่าเศรษฐกิจที่ผ่านมานั้นประเทศไทยมีเศรษฐกิจที่ดีขึ้นมาก โดยเฉพาะในปี 2548 รัฐบาลมีรายได้จากการจัดเก็บภาษีถึง 937,149.468 ล้านบาท มากที่สุดในรอบ 6 ปี แม้แต่รัฐมนตรีกระทรวงการคลังในช่วงนั้นยังกล่าวว่ารัฐเก็บภาษีได้ทะลุเป้า ตั้งแต่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 ทุก ๆ อย่างน่าจะดูสดใสไปหมดสำหรับเศรษฐกิจของประเทศไทย
รายได้ของรัฐบาลที่มีการจัดเก็บได้ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ปี 2545 สามารถจัดเก็บภาษีได้ 867,712.50 ล้านบาท ปี 2546 เก็บได้ 1,008,934.38 ล้านบาท ปี 2547 จัดเก็บได้ 1,156,712.50 ล้านบาท ปี 2548 เก็บได้ 1,314,397.70 ล้านบาท และปี 2549 เฉพสะ 3 เดือนแรกของปีงบประมาณ จัดเก็บได้ 5,699.18 ล้านบาท
ขณะที่รัฐบาลได้ตั้งงบประมาณรายจ่ายไว้ดังนี้ ปี 2545 งบประมาณ 1,023,000 ล้านบาท ในปี 2546 ตั้งงบไว้ที่ 999,900 ล้านบาท ปี 2547 งบประมาณ 1,028,000 ล้านบาท ปี 2548 งบประมาณ 1,200,000 ล้านบาท และปี 2549 ตั้งงบประมาณไว้ที่ 1,360,000 ล้านบาท
สิ่งที่เกิดขึ้นช่วงปลายปี 2548 กระทรวงการคลังต้องขอมติครม.เพื่อเพิ่มการออกตั๋วเงินคงคลังอีก 80,000 ล้านบาท รวมเพดานกู้ทั้งหมด 250,000 ล้านบาท จากเดิมที่มีเพดานเงินกู้ที่ 170,000 ล้านบาท ซึ่งวิธีนี้กลับเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหาเงินคงคลังร่อยหรอของรัฐบาลชุดนี้ นายองอาจกล่าว
ในปี 2549 งบประมาณแผ่นดินที่จะนำมาใช้ติดขัดเพราะเบิกเงินไม่ได้หรือเบิกจ่ายล่าช้า มีภาวะหนี้สาธารณะที่เพิ่มสูงขึ้น พ.ต.ท.ทักษิณ ได้สร้างหนี้สินให้กับประเทศเพิ่มขึ้นสูงจากปีแรกที่เข้ามาบริหารประเทศ โดยในปี 2545 ประเทศไทยมีตัวเลขหนี้สาธารณะ 2,943,008.40 ล้านบาท ปี 2546 มีหนี้สาธารณะ 2,930,041.52 ล้านบาท ปี 2547 มีหนี้สาธารณะ 3,126,554.16 ล้านบาท และในปี 2548 มีหนี้สาธารณะ 3,296,039.33 ล้านบาท
นายองอาจระบุว่า รัฐบาลไม่ควรกล่าวโทษต่อราคาน้ำมันและสภาวะทางการเมือง แต่ปัจจัยเหล่านี้เป็นปัจจัยที่รัฐบาลควรนำมาคิดคำนวณในการตัดสินใจก่อนนำนโยบายต่าง ๆ มาใช้ สิ่งที่เกิดขึ้นกับภาวะเศรษฐกิจในวันนี้เราจึงควรต้องไปดูนโยบายต่าง ๆ ของรัฐบาลในปีสองปีที่ผ่านมาว่ามีการมีการใช้จ่ายเงินอย่างไร อันเป็นสาเหตุที่ทำให้เงินคงคลังหมดประเทศ อย่างนโยบายทัวร์นกขมิ้นของท่านนายกฯ ในช่วงก่อนจะมีการเลือกตั้ง ซึ่งงบประมาณสำหรับนโยบายนี้ได้ตั้งไว้สูงถึง 5.3 หมื่นล้านบาท โดยสำนักงบประมาณและสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ได้ปรับลดลงจำนวน 8,000 ล้านบาท เหลือ 4.5 หมื่นล้านบาท 160 โครงการ เนื่องจากบางโครงการขาดความพร้อมในการดำเนินการ ไม่มีการทบทวนถึงผลได้ผลเสียของโครงการ ทำผิดระบบการใช้จ่ายงบประมาณของประเทศ
โดยนายองอาจกล่าวในตอนท้ายว่า หากคิดว่าไม่มีใครในประเทศที่จะสามารถแก้ไขสิ่งที่ท่านนายกฯ ได้ทำทิ้งไว้ได้ ก็คงเป็นเรื่องที่น่าเศร้าสำหรับประเทศไทย ที่ไม่มีใครที่จะแก้ปัญหาของชาติได้นอกจากท่านนายกฯ คนเดียว ทั้ง ๆ ที่ในความเป็นจริงแล้ว ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นล้วนเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจากการบริหารงานผิดพลาดที่มีท่านนายกฯ เป็นผู้นำทำให้เกิดขึ้นทั้งสิ้น
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 29 พ.ค. 2549--จบ--