นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ สรุปผลการดำเนินการบริหารจัดการหนี้ของภาครัฐประจำเดือนพฤศจิกายน 2549 พร้อมทั้งสถานะหนี้สาธารณะล่าสุด ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2549 ดังนี้
1. การปรับโครงสร้างหนี้ของภาครัฐ
1.1 ในเดือนพฤศจิกายน 2549 :-
ด้านต่างประเทศ
กระทรวงการคลังได้ปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้ต่างประเทศวงเงินรวม 25,116 ล้านบาท โดยการชำระคืนเงินกู้ ECP (Euro Commercial Paper) ที่ใช้เป็น Bridge Financing ในการ Refinance เงินกู้ FRN (Floating Rate Note) ก่อนครบกำหนด 500 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือเทียบเท่า 18,345 ล้านบาท และ Refinance เงินกู้ ECP ที่ใช้เป็น Bridge Financing ในการ Refinance เงินกู้จากธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (Japan Bank for International Cooperation : JBIC) วงเงิน 21,700 ล้านเยน โดยการออกพันธบัตรเงินบาท 6,700 ล้านบาท และใช้งบชำระหนี้สมทบ 71 ล้านบาท ผลจากการดำเนินงานดังกล่าวทำให้สามารถลดยอดหนี้คงค้างได้รวม 18,416 ล้านบาท และลดภาระดอกเบี้ยได้รวม 810 ล้านบาท
ด้านในประเทศ
กระทรวงการคลังได้ปรับโครงสร้างหนี้โดยการแปลงตั๋วเงินคลังที่ออกเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ จำนวน 12,000 ล้านบาท เป็นพันธบัตรระยะยาว เพื่อเป็นการเพิ่ม Benchmark Bond อายุ 7 ปี และ 10 ปี ในส่วนรัฐวิสาหกิจ ประกอบด้วยการทางพิเศษแห่งประเทศไทยและธนาคารอาคารสงเคราะห์ได้กู้เงินในประเทศเพื่อ Roll Over หนี้เดิมรวม 4,000 ล้านบาท
1.2 ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณ 2550
ด้านต่างประเทศ
กระทรวงการคลังได้ปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้ต่างประเทศ โดยชำระคืนก่อนครบกำหนด 18,416 ล้านบาท และ Refinance เงินกู้ ECP ซึ่งใช้เป็น Bridge Financing ในการทำ Refinance เงินกู้ JBIC ด้วยเงินบาท 6,700 ล้านบาท ผลจากการดำเนินงานดังกล่าวทำให้สามารถลดยอดหนี้คงค้างได้รวม 18,416 ล้านบาท และลดภาระดอกเบี้ยได้รวม 810 ล้านบาท
ด้านในประเทศ
กระทรวงการคลังได้ปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศโดยการแปลงตั๋วเงินคลังที่ออกเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ จำนวน 24,000 ล้านบาท เป็นพันธบัตรระยะยาว และ Roll Over ตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรเพื่อชดใช้ความเสียหายให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF1) 10,000 ล้านบาท
2. การกู้เงินของภาครัฐ
2.1 ในเดือนพฤศจิกายน 2549 :-
กระทรวงการคลังได้ออกพันธบัตรเพื่อชดใช้ความเสียหายให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ระยะที่สอง (FIDF3) ซึ่งได้รับเงินจากการประมูลพันธบัตรในเดือนนี้ 7,500 ล้านบาท โดยเป็นพันธบัตรออมทรัพย์ 500 ล้านบาท และพันธบัตรรัฐบาลกรณีพิเศษ 7,000 ล้านบาท
สำหรับการกู้เงินต่างประเทศ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้กู้เงินเพื่อจัดซื้อเครื่องบิน วงเงิน 117.2 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือเทียบเท่า 4,293 ล้านบาท และ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้กู้เงิน 300 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือเทียบเท่า 11,250 ล้านบาท ซึ่งได้รับการยกเว้นให้ไม่ต้องอยู่ภายใต้กรอบเพดานเงินกู้ของแผนการบริหารหนี้สาธารณะ โดยกำหนดให้เป็นวงเงินกู้นอกแผนการกู้เงินปกติ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในเชิงพาณิชย์และสามารถแข่งขันกับบริษัทเอกชนได้
2.2 ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณ 2549
กระทรวงการคลังได้กู้เงินในประเทศโดยการออกพันธบัตร FIDF3 รวม 12,000 ล้านบาท และรัฐวิสาหกิจได้กู้เงินต่างประเทศวงเงินรวม 29,690 ล้านบาท ซึ่งเป็นการกู้นอกแผนการก่อหนี้ต่างประเทศ
3. การชำระหนี้ของภาครัฐ
3.1 ในเดือนพฤศจิกายน 2549 :-
กระทรวงการคลังได้ดำเนินการชำระหนี้จากงบประมาณ 24,074 ล้านบาท เป็นการชำระคืนเงินต้น 19,056 ล้านบาท ดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมรวม 5,018 ล้านบาท
3.2 ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณ 2549
กระทรวงการคลังได้ชำระคืนต้นเงินกู้ ดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมจากงบประมาณรวม 30,264 ล้านบาท
สถานะหนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2549
ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2549 มีจำนวน 3,213,282 ล้านบาท หรือร้อยละ 41.14 ของ GDP เป็นหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง 1,970,204 ล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 907,881 ล้านบาท หนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน 265,481 ล้านบาท และหนี้ขององค์กรของรัฐอื่น 69,716 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหนี้สาธารณะลดลง 19,868 ล้านบาท โดยหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงเพิ่มขึ้น 2,500 ล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน หนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ และหนี้องค์กรของรัฐอื่นลดลง 3,592 ล้านบาท 8,033 ล้านบาท และ 10,743 ล้านบาท ตามลำดับ
หนี้สาธารณะจำแนกได้เป็นหนี้ต่างประเทศ 489,826 ล้านบาท หรือร้อยละ 15.24 และหนี้ในประเทศ 2,723,457 ล้านบาท หรือร้อยละ 84.76 และเป็นหนี้ระยะยาว 2,661,495 ล้านบาท หรือร้อยละ 82.83 และหนี้ระยะสั้น 551,787 ล้านบาท หรือร้อยละ 17.17 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 103/2549 19 ธันวาคม 49--
1. การปรับโครงสร้างหนี้ของภาครัฐ
1.1 ในเดือนพฤศจิกายน 2549 :-
ด้านต่างประเทศ
กระทรวงการคลังได้ปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้ต่างประเทศวงเงินรวม 25,116 ล้านบาท โดยการชำระคืนเงินกู้ ECP (Euro Commercial Paper) ที่ใช้เป็น Bridge Financing ในการ Refinance เงินกู้ FRN (Floating Rate Note) ก่อนครบกำหนด 500 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือเทียบเท่า 18,345 ล้านบาท และ Refinance เงินกู้ ECP ที่ใช้เป็น Bridge Financing ในการ Refinance เงินกู้จากธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (Japan Bank for International Cooperation : JBIC) วงเงิน 21,700 ล้านเยน โดยการออกพันธบัตรเงินบาท 6,700 ล้านบาท และใช้งบชำระหนี้สมทบ 71 ล้านบาท ผลจากการดำเนินงานดังกล่าวทำให้สามารถลดยอดหนี้คงค้างได้รวม 18,416 ล้านบาท และลดภาระดอกเบี้ยได้รวม 810 ล้านบาท
ด้านในประเทศ
กระทรวงการคลังได้ปรับโครงสร้างหนี้โดยการแปลงตั๋วเงินคลังที่ออกเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ จำนวน 12,000 ล้านบาท เป็นพันธบัตรระยะยาว เพื่อเป็นการเพิ่ม Benchmark Bond อายุ 7 ปี และ 10 ปี ในส่วนรัฐวิสาหกิจ ประกอบด้วยการทางพิเศษแห่งประเทศไทยและธนาคารอาคารสงเคราะห์ได้กู้เงินในประเทศเพื่อ Roll Over หนี้เดิมรวม 4,000 ล้านบาท
1.2 ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณ 2550
ด้านต่างประเทศ
กระทรวงการคลังได้ปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้ต่างประเทศ โดยชำระคืนก่อนครบกำหนด 18,416 ล้านบาท และ Refinance เงินกู้ ECP ซึ่งใช้เป็น Bridge Financing ในการทำ Refinance เงินกู้ JBIC ด้วยเงินบาท 6,700 ล้านบาท ผลจากการดำเนินงานดังกล่าวทำให้สามารถลดยอดหนี้คงค้างได้รวม 18,416 ล้านบาท และลดภาระดอกเบี้ยได้รวม 810 ล้านบาท
ด้านในประเทศ
กระทรวงการคลังได้ปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศโดยการแปลงตั๋วเงินคลังที่ออกเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ จำนวน 24,000 ล้านบาท เป็นพันธบัตรระยะยาว และ Roll Over ตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรเพื่อชดใช้ความเสียหายให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF1) 10,000 ล้านบาท
2. การกู้เงินของภาครัฐ
2.1 ในเดือนพฤศจิกายน 2549 :-
กระทรวงการคลังได้ออกพันธบัตรเพื่อชดใช้ความเสียหายให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ระยะที่สอง (FIDF3) ซึ่งได้รับเงินจากการประมูลพันธบัตรในเดือนนี้ 7,500 ล้านบาท โดยเป็นพันธบัตรออมทรัพย์ 500 ล้านบาท และพันธบัตรรัฐบาลกรณีพิเศษ 7,000 ล้านบาท
สำหรับการกู้เงินต่างประเทศ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้กู้เงินเพื่อจัดซื้อเครื่องบิน วงเงิน 117.2 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือเทียบเท่า 4,293 ล้านบาท และ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้กู้เงิน 300 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือเทียบเท่า 11,250 ล้านบาท ซึ่งได้รับการยกเว้นให้ไม่ต้องอยู่ภายใต้กรอบเพดานเงินกู้ของแผนการบริหารหนี้สาธารณะ โดยกำหนดให้เป็นวงเงินกู้นอกแผนการกู้เงินปกติ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในเชิงพาณิชย์และสามารถแข่งขันกับบริษัทเอกชนได้
2.2 ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณ 2549
กระทรวงการคลังได้กู้เงินในประเทศโดยการออกพันธบัตร FIDF3 รวม 12,000 ล้านบาท และรัฐวิสาหกิจได้กู้เงินต่างประเทศวงเงินรวม 29,690 ล้านบาท ซึ่งเป็นการกู้นอกแผนการก่อหนี้ต่างประเทศ
3. การชำระหนี้ของภาครัฐ
3.1 ในเดือนพฤศจิกายน 2549 :-
กระทรวงการคลังได้ดำเนินการชำระหนี้จากงบประมาณ 24,074 ล้านบาท เป็นการชำระคืนเงินต้น 19,056 ล้านบาท ดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมรวม 5,018 ล้านบาท
3.2 ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณ 2549
กระทรวงการคลังได้ชำระคืนต้นเงินกู้ ดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมจากงบประมาณรวม 30,264 ล้านบาท
สถานะหนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2549
ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2549 มีจำนวน 3,213,282 ล้านบาท หรือร้อยละ 41.14 ของ GDP เป็นหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง 1,970,204 ล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 907,881 ล้านบาท หนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน 265,481 ล้านบาท และหนี้ขององค์กรของรัฐอื่น 69,716 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหนี้สาธารณะลดลง 19,868 ล้านบาท โดยหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงเพิ่มขึ้น 2,500 ล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน หนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ และหนี้องค์กรของรัฐอื่นลดลง 3,592 ล้านบาท 8,033 ล้านบาท และ 10,743 ล้านบาท ตามลำดับ
หนี้สาธารณะจำแนกได้เป็นหนี้ต่างประเทศ 489,826 ล้านบาท หรือร้อยละ 15.24 และหนี้ในประเทศ 2,723,457 ล้านบาท หรือร้อยละ 84.76 และเป็นหนี้ระยะยาว 2,661,495 ล้านบาท หรือร้อยละ 82.83 และหนี้ระยะสั้น 551,787 ล้านบาท หรือร้อยละ 17.17 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 103/2549 19 ธันวาคม 49--