คำถาม : โอกาสในการส่งออกรถยนต์ของไทยไปซาอุดีอาระเบียเป็นอย่างไร
คำตอบ : ซาอุดีอาระเบียเป็นตลาดส่งออกรถยนต์สำคัญอันดับ 2 ของไทย รองจากออสเตรเลีย ด้วยมูลค่าส่งออกสูงราว 470 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2548 และขยายตัวต่อเนื่องไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 ต่อปี ตั้งแต่ปี 2545 จนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้ จากศักยภาพของซาอุดีอาระเบียซึ่งเป็นประเทศผู้ผลิตและผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่อันดับ 1 ของโลก ประกอบกับเป็นตลาดรถยนต์ใหญ่ที่สุดในกลุ่มประเทศความร่วมมืออ่าวอาหรับ..(A).. (Gulf Cooporation Council : GCC) และประชากรมีกำลังซื้อสูงด้วยรายได้เฉลี่ยต่อหัว 11,520 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี ในช่วงปี 2545-2548 ตามการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจ (เฉลี่ยร้อยละ 5.8 ต่อปี ในช่วงปี 2547-2548) ทำให้คาดว่าการส่งออกรถยนต์ของไทยไปซาอุดีอาระเบียยังมีแนวโน้มขยายตัวในเกณฑ์สูงอย่างต่อเนื่อง และมีโอกาสขยายส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้น จากปัจจุบันที่มีส่วนแบ่งตลาดเพียงร้อยละ 1 เทียบกับญี่ปุ่น ซึ่งมีส่วนแบ่งตลาดสูงถึงร้อยละ 37 เยอรมนี ร้อยละ 17 และสหรัฐฯ ร้อยละ 14
ข้อมูลที่น่าสนใจของตลาดรถยนต์ในซาอุดีอาระเบีย มีดังนี้
* การผลิต ปัจจุบันมีผู้ผลิตรถยนต์ในซาอุดีอาระเบียเพียง 2 ราย คือ บริษัท The National Automobile Industry Company ซึ่งร่วมทุนกับบริษัทของเยอรมนีผลิตรถบรรทุกขนาดใหญ่ภายใต้ตราสินค้าMercedes-Benz และบริษัท Al Jomaih Company ซึ่งร่วมทุนกับบริษัท General Motors ของสหรัฐฯ ผลิตรถโดยสาร ส่งผลให้รถยนต์นั่งที่จำหน่ายในซาอุดีอาระเบียเกือบทั้งหมดต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ทั้งนี้ ปัจจุบันซาอุดีอาระเบียนำเข้ารถยนต์ราว 350,000 คันต่อปี แบ่งเป็นรถยนต์ใหม่ 300,000 คัน ที่เหลืออีก 50,000 คัน เป็นรถยนต์ใช้แล้ว โดยรัฐบาลซาอุดีอาระเบียได้ปรับลดภาษีนำเข้ารถยนต์เหลือร้อยละ 5 (จากเดิมร้อยละ 12) ตั้งแต่ปี 2546
* รสนิยม รถยนต์ที่ชาวซาอุดีอาระเบียนิยม คือ รถยนต์นั่งขนาดใหญ่ เนื่องจากครอบครัวของชาวซาอุดีอาระเบียมีจำนวนสมาชิกเฉลี่ยสูงถึง 8 คน อีกทั้งซาอุดีอาระเบียเป็นผู้ผลิตและผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ของโลก ทำให้ได้รับผลกระทบไม่มากนักจากราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้น สำหรับรถยนต์ใหม่ที่ได้รับความนิยมส่วนใหญ่เป็นรถยนต์ของญี่ปุ่น อาทิ Toyota, Nissan, Mazda และ Honda รองลงมา คือ รถยนต์ของเยอรมนี อาทิ BMW และ Mercedesและรถยนต์ของสหรัฐฯ สำหรับรถยนต์ใช้แล้วที่ได้รับความนิยม คือ รถยนต์ของสหรัฐฯ อาทิ Jeep ทั้งนี้ ความต้องการรถยนต์ใช้แล้วมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2545 เป็นต้นมา โดยในปี 2547 มูลค่าจำหน่ายรถยนต์ใช้แล้วในซาอุดีอาระเบียสูงราว 390 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 13
* ช่องทางการจำหน่าย ผู้จัดจำหน่ายรถยนต์นำเข้าในซาอุดีอาระเบีย คือ ผู้นำเข้า อาทิ Abdul Latif Jamill Group จัดจำหน่ายรถยนต์นำเข้าจากญี่ปุ่น เช่น Lexus, Toyota และ Daihatsu บริษัท Al Hamrani จัดจำหน่ายรถยนต์ Nissan ของญี่ปุ่น บริษัท Al Jazeera Group จัดจำหน่ายรถยนต์นำเข้าจากสหรัฐฯ เช่น Ford และ Lincoln บริษัท Alesayi Motors จัดจำหน่ายรถยนต์นำเข้า Mitsubishi ของญี่ปุ่น
* การกำหนดราคาจำหน่ายรถยนต์ รถยนต์ส่วนใหญ่ที่จำหน่ายในซาอุดีอาระเบียเป็นการนำเข้าจากต่างประเทศ โดยผู้นำเข้าจะกำหนดราคาจำหน่ายสูงขึ้นร้อยละ 15 จากราคารถยนต์นำเข้าบวกค่าขนส่งและเบี้ยประกันภัย
นอกเหนือจากการมุ่งเจาะตลาดรถยนต์ในซาอุดีอาระเบียแล้ว ผู้ส่งออกไทยยังสามารถใช้ซาอุดีอาระเบียเป็นประตูเพื่อกระจายสินค้าไปยังกลุ่มประเทศในทวีปแอฟริกา และประเทศอื่น ๆ ในแถบตะวันออกกลาง เพื่อขยายตลาดส่งออกรถยนต์ให้กว้างไกลออกไป ทั้งนี้ ปัจจุบันราวร้อยละ 10 ของจำนวนรถยนต์ที่ซาอุดีอาระเบียนำเข้าได้กระจายไปยังประเทศในทวีปแอฟริกา อาทิ ซูดาน จิบูตี และเอริเทรีย และประเทศอื่น ๆ ในตะวันออกกลาง เช่น เยเมน โอมาน กาตาร์ ซาอุดีอาระเบีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
หมายเหตุ..(A).. กลุ่มประเทศความร่วมมืออ่าวอาหรับ (Gulf Cooperation Council : GCC) มีสมาชิกทั้งหมด 6 ประเทศ คือ บาห์เรน คูเวต
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย กรกฎาคม 2549--
-พห-
คำตอบ : ซาอุดีอาระเบียเป็นตลาดส่งออกรถยนต์สำคัญอันดับ 2 ของไทย รองจากออสเตรเลีย ด้วยมูลค่าส่งออกสูงราว 470 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2548 และขยายตัวต่อเนื่องไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 ต่อปี ตั้งแต่ปี 2545 จนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้ จากศักยภาพของซาอุดีอาระเบียซึ่งเป็นประเทศผู้ผลิตและผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่อันดับ 1 ของโลก ประกอบกับเป็นตลาดรถยนต์ใหญ่ที่สุดในกลุ่มประเทศความร่วมมืออ่าวอาหรับ..(A).. (Gulf Cooporation Council : GCC) และประชากรมีกำลังซื้อสูงด้วยรายได้เฉลี่ยต่อหัว 11,520 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี ในช่วงปี 2545-2548 ตามการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจ (เฉลี่ยร้อยละ 5.8 ต่อปี ในช่วงปี 2547-2548) ทำให้คาดว่าการส่งออกรถยนต์ของไทยไปซาอุดีอาระเบียยังมีแนวโน้มขยายตัวในเกณฑ์สูงอย่างต่อเนื่อง และมีโอกาสขยายส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้น จากปัจจุบันที่มีส่วนแบ่งตลาดเพียงร้อยละ 1 เทียบกับญี่ปุ่น ซึ่งมีส่วนแบ่งตลาดสูงถึงร้อยละ 37 เยอรมนี ร้อยละ 17 และสหรัฐฯ ร้อยละ 14
ข้อมูลที่น่าสนใจของตลาดรถยนต์ในซาอุดีอาระเบีย มีดังนี้
* การผลิต ปัจจุบันมีผู้ผลิตรถยนต์ในซาอุดีอาระเบียเพียง 2 ราย คือ บริษัท The National Automobile Industry Company ซึ่งร่วมทุนกับบริษัทของเยอรมนีผลิตรถบรรทุกขนาดใหญ่ภายใต้ตราสินค้าMercedes-Benz และบริษัท Al Jomaih Company ซึ่งร่วมทุนกับบริษัท General Motors ของสหรัฐฯ ผลิตรถโดยสาร ส่งผลให้รถยนต์นั่งที่จำหน่ายในซาอุดีอาระเบียเกือบทั้งหมดต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ทั้งนี้ ปัจจุบันซาอุดีอาระเบียนำเข้ารถยนต์ราว 350,000 คันต่อปี แบ่งเป็นรถยนต์ใหม่ 300,000 คัน ที่เหลืออีก 50,000 คัน เป็นรถยนต์ใช้แล้ว โดยรัฐบาลซาอุดีอาระเบียได้ปรับลดภาษีนำเข้ารถยนต์เหลือร้อยละ 5 (จากเดิมร้อยละ 12) ตั้งแต่ปี 2546
* รสนิยม รถยนต์ที่ชาวซาอุดีอาระเบียนิยม คือ รถยนต์นั่งขนาดใหญ่ เนื่องจากครอบครัวของชาวซาอุดีอาระเบียมีจำนวนสมาชิกเฉลี่ยสูงถึง 8 คน อีกทั้งซาอุดีอาระเบียเป็นผู้ผลิตและผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ของโลก ทำให้ได้รับผลกระทบไม่มากนักจากราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้น สำหรับรถยนต์ใหม่ที่ได้รับความนิยมส่วนใหญ่เป็นรถยนต์ของญี่ปุ่น อาทิ Toyota, Nissan, Mazda และ Honda รองลงมา คือ รถยนต์ของเยอรมนี อาทิ BMW และ Mercedesและรถยนต์ของสหรัฐฯ สำหรับรถยนต์ใช้แล้วที่ได้รับความนิยม คือ รถยนต์ของสหรัฐฯ อาทิ Jeep ทั้งนี้ ความต้องการรถยนต์ใช้แล้วมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2545 เป็นต้นมา โดยในปี 2547 มูลค่าจำหน่ายรถยนต์ใช้แล้วในซาอุดีอาระเบียสูงราว 390 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 13
* ช่องทางการจำหน่าย ผู้จัดจำหน่ายรถยนต์นำเข้าในซาอุดีอาระเบีย คือ ผู้นำเข้า อาทิ Abdul Latif Jamill Group จัดจำหน่ายรถยนต์นำเข้าจากญี่ปุ่น เช่น Lexus, Toyota และ Daihatsu บริษัท Al Hamrani จัดจำหน่ายรถยนต์ Nissan ของญี่ปุ่น บริษัท Al Jazeera Group จัดจำหน่ายรถยนต์นำเข้าจากสหรัฐฯ เช่น Ford และ Lincoln บริษัท Alesayi Motors จัดจำหน่ายรถยนต์นำเข้า Mitsubishi ของญี่ปุ่น
* การกำหนดราคาจำหน่ายรถยนต์ รถยนต์ส่วนใหญ่ที่จำหน่ายในซาอุดีอาระเบียเป็นการนำเข้าจากต่างประเทศ โดยผู้นำเข้าจะกำหนดราคาจำหน่ายสูงขึ้นร้อยละ 15 จากราคารถยนต์นำเข้าบวกค่าขนส่งและเบี้ยประกันภัย
นอกเหนือจากการมุ่งเจาะตลาดรถยนต์ในซาอุดีอาระเบียแล้ว ผู้ส่งออกไทยยังสามารถใช้ซาอุดีอาระเบียเป็นประตูเพื่อกระจายสินค้าไปยังกลุ่มประเทศในทวีปแอฟริกา และประเทศอื่น ๆ ในแถบตะวันออกกลาง เพื่อขยายตลาดส่งออกรถยนต์ให้กว้างไกลออกไป ทั้งนี้ ปัจจุบันราวร้อยละ 10 ของจำนวนรถยนต์ที่ซาอุดีอาระเบียนำเข้าได้กระจายไปยังประเทศในทวีปแอฟริกา อาทิ ซูดาน จิบูตี และเอริเทรีย และประเทศอื่น ๆ ในตะวันออกกลาง เช่น เยเมน โอมาน กาตาร์ ซาอุดีอาระเบีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
หมายเหตุ..(A).. กลุ่มประเทศความร่วมมืออ่าวอาหรับ (Gulf Cooperation Council : GCC) มีสมาชิกทั้งหมด 6 ประเทศ คือ บาห์เรน คูเวต
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย กรกฎาคม 2549--
-พห-