สศอ. ขยายความร่วมมือโครงการจัดเก็บ ติดตาม และตรวจสอบข้อมูลอุตสาหกรรมรายเดือนเพิ่มอีก 15 จังหวัด ชูอุตสาหกรรมจังหวัดเป็นแม่ทัพดูสถิติโรงงานใกล้ชิดรอบด้าน คาดผู้ประกอบการส่งข้อมูลได้สะดวก รวดเร็ว และทันสมัยมากขึ้น
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า สศอ.ได้เร่งดำเนินการ “โครงการจัดเก็บ ติดตาม และตรวจสอบข้อมูลอุตสาหกรรมรายเดือน” โดยมุ่งเน้นให้สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด (สอจ.) เป็นผู้จัดเก็บรวบรวมข้อมูลและติดตามผลตามแบบสำรวจข้อมูลโรงงาน (แบบ รง.8) ก่อนส่งให้กับ สศอ. ทำการวิเคราะห์เพื่อจัดทำเป็นรายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น ดัชนีอุตสาหกรรมรายเดือน รายงานภาวะอุตสาหกรรมรายไตรมาส ฯลฯ เพื่อให้การจัดเก็บข้อมูลมีประสิทธิภาพและเกิดความถูกต้องแม่นยำยิ่งขึ้น อันจะส่งผลต่อการนำเสนอนโยบายของภาคอุตสาหกรรมได้อย่างตรงจุด
“หลังจากประสบความสำเร็จและได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีกับ 5 จังหวัดนำร่องประกอบด้วย จังหวัดปทุมธานี นครนายก ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อปี 2548 ที่ผ่านมา สศอ. จึงได้เร่งดำเนิน “โครงการจัดเก็บ ติดตาม และตรวจสอบข้อมูลอุตสาหกรรมรายเดือน” อย่างต่อเนื่อง โดยปีงบประมาณ 2549 จะขยายความร่วมมืออีก 15 จังหวัด รวมเป็น 20 จังหวัด ซึ่งคลอบคลุมทั้ง 4 ภาคทั่วประเทศ
สำหรับวิธีดำเนินโครงการฯ สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด (สอจ.) แต่ละจังหวัดจะส่งเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญลงไปดูแลให้คำปรึกษาแนะนำในการกรอกแบบสำรวจข้อมูลโรงงานอย่างใกล้ชิด รวมทั้งชี้แจงแก่ผู้ประกอบการเพื่อให้รับทราบถึงความจำเป็นในการให้ข้อมูล ซึ่งถือเป็นการส่งเสริมความร่วมมืออย่างดีระหว่างหน่วยงานราชการกับผู้ประกอบการ อันจะส่งผลให้ผู้ประกอบการได้รับความสะดวกรวดเร็วในการจัดส่งข้อมูลของโรงงานยิ่งขึ้น โดยก่อนหน้านี้กำหนดให้ผู้ประกอบการส่งแบบรง.8 ที่ สศอ. โดยตรง ซึ่งต้องใช้ระยะเวลานานกว่าที่ข้อมูลจะเดินทางมาถึง ทำให้ขั้นตอนการประมวลผลล่าช้าออกไป ดังนั้นผู้ประกอบการทั้ง 20 จังหวัดที่ร่วมโครงการจะได้รับความสะดวกขึ้นจากการที่ สอจ. จะเป็นผู้ดำเนินการแทน อีกทั้งในอนาคตจะเป็นฐานข้อมูลที่จำเป็นของจังหวัดด้วย”
นอกจากนี้ ดร.อรรชกา ยังได้กล่าวอีกว่าในการดำเนินการดังกล่าว สศอ. จะติดตามผลอย่างต่อเนื่อง โดยก่อนจะส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปให้ความรู้และข้อแนะนำแก่ผู้ประกอบการ สศอ. จะมีการจัดสัมมนาให้กับเจ้าหน้าที่อุตสาหกรรมจังหวัดที่รับผิดชอบเพื่อให้เกิดความเข้าใจในทิศทางเดียวกัน โดยในการดำเนินงานดังกล่าวนี้ นอกจากจะเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบการแล้วยังเป็นการพัฒนาฐานข้อมูลอุตสาหกรรมของประเทศให้มีความแข็งแกร่ง เพื่อนำไปสู่การจัดทำนโยบายพัฒนาภาคอุตสาหกรรมให้มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ซึ่งในอนาคต สศอ. จะได้เร่งขยายผลโครงการให้ครอบคลุมทั่วประเทศต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า สศอ.ได้เร่งดำเนินการ “โครงการจัดเก็บ ติดตาม และตรวจสอบข้อมูลอุตสาหกรรมรายเดือน” โดยมุ่งเน้นให้สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด (สอจ.) เป็นผู้จัดเก็บรวบรวมข้อมูลและติดตามผลตามแบบสำรวจข้อมูลโรงงาน (แบบ รง.8) ก่อนส่งให้กับ สศอ. ทำการวิเคราะห์เพื่อจัดทำเป็นรายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น ดัชนีอุตสาหกรรมรายเดือน รายงานภาวะอุตสาหกรรมรายไตรมาส ฯลฯ เพื่อให้การจัดเก็บข้อมูลมีประสิทธิภาพและเกิดความถูกต้องแม่นยำยิ่งขึ้น อันจะส่งผลต่อการนำเสนอนโยบายของภาคอุตสาหกรรมได้อย่างตรงจุด
“หลังจากประสบความสำเร็จและได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีกับ 5 จังหวัดนำร่องประกอบด้วย จังหวัดปทุมธานี นครนายก ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อปี 2548 ที่ผ่านมา สศอ. จึงได้เร่งดำเนิน “โครงการจัดเก็บ ติดตาม และตรวจสอบข้อมูลอุตสาหกรรมรายเดือน” อย่างต่อเนื่อง โดยปีงบประมาณ 2549 จะขยายความร่วมมืออีก 15 จังหวัด รวมเป็น 20 จังหวัด ซึ่งคลอบคลุมทั้ง 4 ภาคทั่วประเทศ
สำหรับวิธีดำเนินโครงการฯ สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด (สอจ.) แต่ละจังหวัดจะส่งเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญลงไปดูแลให้คำปรึกษาแนะนำในการกรอกแบบสำรวจข้อมูลโรงงานอย่างใกล้ชิด รวมทั้งชี้แจงแก่ผู้ประกอบการเพื่อให้รับทราบถึงความจำเป็นในการให้ข้อมูล ซึ่งถือเป็นการส่งเสริมความร่วมมืออย่างดีระหว่างหน่วยงานราชการกับผู้ประกอบการ อันจะส่งผลให้ผู้ประกอบการได้รับความสะดวกรวดเร็วในการจัดส่งข้อมูลของโรงงานยิ่งขึ้น โดยก่อนหน้านี้กำหนดให้ผู้ประกอบการส่งแบบรง.8 ที่ สศอ. โดยตรง ซึ่งต้องใช้ระยะเวลานานกว่าที่ข้อมูลจะเดินทางมาถึง ทำให้ขั้นตอนการประมวลผลล่าช้าออกไป ดังนั้นผู้ประกอบการทั้ง 20 จังหวัดที่ร่วมโครงการจะได้รับความสะดวกขึ้นจากการที่ สอจ. จะเป็นผู้ดำเนินการแทน อีกทั้งในอนาคตจะเป็นฐานข้อมูลที่จำเป็นของจังหวัดด้วย”
นอกจากนี้ ดร.อรรชกา ยังได้กล่าวอีกว่าในการดำเนินการดังกล่าว สศอ. จะติดตามผลอย่างต่อเนื่อง โดยก่อนจะส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปให้ความรู้และข้อแนะนำแก่ผู้ประกอบการ สศอ. จะมีการจัดสัมมนาให้กับเจ้าหน้าที่อุตสาหกรรมจังหวัดที่รับผิดชอบเพื่อให้เกิดความเข้าใจในทิศทางเดียวกัน โดยในการดำเนินงานดังกล่าวนี้ นอกจากจะเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบการแล้วยังเป็นการพัฒนาฐานข้อมูลอุตสาหกรรมของประเทศให้มีความแข็งแกร่ง เพื่อนำไปสู่การจัดทำนโยบายพัฒนาภาคอุตสาหกรรมให้มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ซึ่งในอนาคต สศอ. จะได้เร่งขยายผลโครงการให้ครอบคลุมทั่วประเทศต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-