ภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในเดือนตุลาคม 2549 ชะลอลงจากเดือนก่อน โดยเครื่องชี้การอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนชะลอลงจากเดือนก่อน ขณะที่การส่งออกเร่งตัวขึ้น ส่วนการนำเข้ายังคงขยายตัวใกล้เคียงกับเดือนก่อนทำให้ดุลการค้ายังคงเกินดุลต่อเนื่อง สำหรับดุลบริการในเดือนนี้กลับมาเกินดุล
ด้านอุปทาน ผลผลิตภาคเกษตรในเดือนนี้หดตัว ส่งผลให้รายได้เกษตรกรขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง ขณะที่การผลิตภาคอุตสาหกรรมชะลอลงจากเดือนก่อนเช่นกัน สำหรับภาคบริการ การท่องเที่ยวในเดือนนี้ยังคงขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดีโดยจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6 จากระยะเดียวกันปีก่อน
เสถียรภาพเศรษฐกิจอยู่ในเกณฑ์ดี ดุลบัญชีเดินสะพัดยังเกินดุลต่อเนื่องและฐานะเงินสำรองระหว่างประเทศอยู่ใน เกณฑ์สูง ส่วนอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อน
รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจในเดือนตุลาคม 2549 มีดังนี้
1. ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือนนี้ขยายตัวร้อยละ 5.4 ชะลอลงเล็กน้อยจากเดือนก่อน เนื่องจากการชะลอตัว ของอุปสงค์ในประเทศเป็นสำคัญ รวมทั้งมีการปิดซ่อมบำรุงโรงงานต่อเนื่องจากเดือนก่อนในหมวดผลิตภัณฑ์เคมี อย่างไรก็ดี การส่งออกที่ยังคงขยายตัวดีทำให้การผลิตในหมวดอิเล็กทรอนิกส์และหมวดอาหารเป็นแรงผลักดันสำคัญของการผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือนนี้ สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิตในเดือนนี้อยู่ที่ร้อยละ 72.6 ลดลงจากร้อยละ 73.6 ในเดือนก่อน
2. ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ขยายตัวร้อยละ 1.3 จากระยะเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อน ตามปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ที่ลดลงมาก ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากปัญหาอุทกภัยในหลายพื้นที่ ขณะที่มูลค่านำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค ณ ราคาคงที่ลดลงเล็กน้อย สำหรับเครื่องชี้ที่ยังคงขยายตัวดี ได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ปริมาณการใช้ไฟฟ้าสำหรับที่อยู่อาศัย ปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่ง และปริมาณการใช้น้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล์ที่ขยายตัวจากราคาขายปลีกน้ำมันที่ปรับลดลง สำหรับดัชนีการลงทุนภาคเอกชน (เบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 1.0 จากระยะเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อน ตามปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ที่หดตัวจากฐานสูงในเดือนเดียวกันปีก่อน เนื่องจากมีการออกรถยนต์รุ่นใหม่ในช่วงปลายปี 2548 และปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศที่ลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนจากภาวะน้ำท่วม
3. ภาคการคลัง รัฐบาลมีรายได้จัดเก็บ 121.8 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 27.3 ตามการเร่งตัว ของรายได้ภาษีและรายได้ที่มิใช่ภาษี โดยรายได้ภาษีเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.2 เร่งตัวขึ้นจากเดือนก่อนหน้า จากการขยายตัวของ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคล ส่วนภาษีจากฐานการบริโภคเร่งตัวขึ้นในทุกประเภทภาษี โดยเฉพาะภาษีสรรพสามิต ส่วนหนึ่งเนื่องจากผู้ประกอบการคาดว่า ภาครัฐจะมีการจัดเก็บเงินเพิ่มภาษียาสูบและสุรา เพื่อนำไปสนับสนุน การกีฬา สำหรับภาษีจากฐานการค้าระหว่างประเทศ ลดลงตามนโยบายการปรับลดอัตราภาษีศุลกากรเป็นสำคัญ ขณะที่รายได้ ที่มิใช่ภาษีเพิ่มขึ้นร้อยละ 376.0 จากการนำส่งรายได้รัฐพาณิชย์เป็นสำคัญ เนื่องจากในเดือนนี้เป็นเดือนแรกที่เริ่มให้รัฐวิสาหกิจ ที่มีรอบบัญชีปีปฎิทินนำส่งรายได้ระหว่างกาล ดุลเงินสด รัฐบาลขาดดุลเงินสด 12.4 พันล้านบาท ส่งผลให้เงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนลดลงมาอยู่ที่ระดับ 125.2 พันล้านบาท
4. ภาคต่างประเทศ ดุลการค้า เกินดุล 0.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยการส่งออกขยายตัวร้อยละ 20.9 มีมูลค่า 11.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการขยายตัวต่อเนื่องของการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีในการผลิตสูง ขณะที่การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 8.9 มีมูลค่า 10.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ. จากการนำเข้าสินค้าในหมวดเชื้อเพลิงและผลิตภัณฑ์น้ำมันโลหะ และเคมีภัณฑ์ เป็นสำคัญ ดุลบริการ รายได้ และเงินโอน ในเดือนนี้มีการรวมกำไรสะสม (Reinvested Earning: RE)1/ ไว้ในดุลการชำระเงินย้อนหลังถึงปี 2544 ดุลบริการฯ เกินดุล 0.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ. จากรายรับการท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น ขณะที่รายจ่ายผลประโยชน์ จากการลงทุนมีมูลค่าลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือนนี้ เกินดุล 0.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ดุลการชำระเงิน เกินดุล 0.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เงินสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2549 อยู่ที่ระดับ 62.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยมียอดคงค้างการซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าสุทธิ จำนวน 5.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
5. อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ร้อยละ 2.8 เป็นผลจากราคาในหมวดอาหารสด โดยเฉพาะราคาผักสด ที่เพิ่มขึ้นจากปัญหาอุทกภัยในหลายพื้นที่ อย่างไรก็ดี ราคาในหมวดพลังงานปรับลดลงตามการปรับค่าไฟฟ้า (Ft) ลงร้อยละ 8.2 สำหรับอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานชะลอลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ร้อยละ 1.8 ส่วนหนึ่งเพราะราคาในหมวดยานพาหนะที่ชะลอลงตามต้นทุนพลังงาน ดัชนีราคาผู้ผลิตเร่งตัวจากร้อยละ 2.8 มาอยู่ที่ร้อยละ 3.4 โดยเป็นผลจากหมวดผลผลิตเกษตรกรรมที่เร่งตัวขึ้นเป็นสำคัญ
6. ภาวะการเงิน เงินฝากธนาคารพาณิชย์ในเดือนนี้ขยายตัวร้อยละ 8.7 จากระยะเดียวกันปีก่อน ซึ่งเป็นอัตราที่ใกล้เคียงกับเดือนก่อน แต่เริ่มชะลอลงจากช่วงก่อนหน้าที่ธนาคารพาณิชย์มีการแข่งขันกันปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อรักษาระดับเงินฝาก ทั้งนี้ เมื่อหักผลของการจัดตั้งธนาคารพาณิชย์รายใหม่ เงินฝากขยายตัวร้อยละ 6.9 จากระยะเดียวกันปีก่อน สำหรับสิทธิเรียกร้อง จากภาคเอกชนของธนาคารพาณิชย์ 2/ ขยายตัวร้อยละ 4.7 จากระยะเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนกันยายนและช่วงก่อนหน้า โดยส่วนหนึ่งเป็นผลของฐานเนื่องจากธนาคารพาณิชย์ที่จัดตั้งขึ้นใหม่เข้ามาในระบบธนาคารพาณิชย์ครบ 1 ปี รวมทั้งการลดลง ของสินเชื่อที่ให้แก่สถาบันการเงินอื่นและการชะลอตัวของสินเชื่อที่ให้แก่ภาคธุรกิจ ทั้งนี้ เมื่อหักผลของการจัดตั้งธนาคารพาณิชย์แห่งใหม่ รวมทั้งการตัดสินเชื่อออกจากบัญชีและการโอนสินเชื่อไปยัง AMC สิทธิเรียกร้องฯ ขยายตัวร้อยละ 5.4 จากระยะเดียวกัน ปีก่อน ฐานเงิน ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2549 อยู่ที่ระดับ 800.0 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 4.1 จากระยะเดียวกันปีก่อน ส่วนปริมาณเงิน M2 M2a M3 และปริมาณเงินตามความหมายกว้าง (Broad Money)3/ ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนในอัตรา ร้อยละ 8.6 7.4 7.8 และ 8.2 ตามลำดับ อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดเงิน ในเดือนตุลาคม 2549 ต่อเนื่องมาถึงช่วงวันที่ 1 - 23 พฤศจิกายน 2549 อัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารระยะ 1 วัน โดยเฉลี่ยทรงตัว ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน ปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเดือนก่อนเนื่องจากสภาพคล่องที่ตึงตัวขึ้น
7. ค่าเงินบาทในเดือนตุลาคม 2549 ในเดือนตุลาคม 2549 เฉลี่ยอยู่ที่ 37.34 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นจากค่าเฉลี่ยในเดือนกันยายนที่ 37.43 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. จากเงินทุนไหลเข้าที่มาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์และพันธบัตรรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับมีแรงเทขายดอลลาร์ สรอ. ของกองทุนต่างชาติจำนวนมาก ทำให้ค่าเงินบาทโน้มแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับดอลลาร์ สรอ. และทำสถิติแข็งค่าสุดในรอบ 7 ปีที่ระดับ 36.60 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในช่วงปลายเดือน ระหว่างวันที่ 1-23 พฤศจิกายน 2549 ค่าเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 36.61 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.
ข้อมูลเพิ่มเติม: คุณวิชชุดา ชุ่มมี โทร. 0-2283-5639, 0-2283-5648 e-mail: witchudc@bot.or.th
วิสัยทัศน์ เป็นองค์กรที่สังคมเชื่อถือและศรัทธา
1/ ตั้งแต่พฤศจิกายน 2549 ธปท. บันทึก "กำไรที่นำกลับมาลงทุน (Reinvested Earnings)" เป็นส่วนหนึ่งของการลงทุนโดยตรงในดุลบัญชีเงินทุนและการเงิน และบันทึกจำนวนเดียวกันนี้เป็น contra entry ในรายการผลประโยชน์จากการถือหุ้นในดุลบัญชีเดินสะพัด และปรับข้อมูลย้อนหลังถึงปี 2544 (รายละเอียดเพิ่มเติมในข่าว ธปท. ฉบับที่ 45/2549 http://www.bot.or.th/bothomepage/General/PressReleasesAndSpeeches/PressReleases/News2549/Thai/n4549t.htm 2/ หมายถึง สินเชื่อภาคเอกชนรวมการถือครองหลักทรัพย์ของธนาคารพาณิชย์ 3/ หมายถึง ปริมาณเงินในความหมายที่กว้างกว่า M3 โดยรวมเงินรับฝากหรือเงินกู้ยืมที่มีลักษณะทดแทนเงินฝากได้ของสถาบันรับฝากเงินอื่น นอกเหนือจาก ธพ. บง. ธนาคารเฉพาะกิจ
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
ด้านอุปทาน ผลผลิตภาคเกษตรในเดือนนี้หดตัว ส่งผลให้รายได้เกษตรกรขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง ขณะที่การผลิตภาคอุตสาหกรรมชะลอลงจากเดือนก่อนเช่นกัน สำหรับภาคบริการ การท่องเที่ยวในเดือนนี้ยังคงขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดีโดยจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6 จากระยะเดียวกันปีก่อน
เสถียรภาพเศรษฐกิจอยู่ในเกณฑ์ดี ดุลบัญชีเดินสะพัดยังเกินดุลต่อเนื่องและฐานะเงินสำรองระหว่างประเทศอยู่ใน เกณฑ์สูง ส่วนอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อน
รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจในเดือนตุลาคม 2549 มีดังนี้
1. ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือนนี้ขยายตัวร้อยละ 5.4 ชะลอลงเล็กน้อยจากเดือนก่อน เนื่องจากการชะลอตัว ของอุปสงค์ในประเทศเป็นสำคัญ รวมทั้งมีการปิดซ่อมบำรุงโรงงานต่อเนื่องจากเดือนก่อนในหมวดผลิตภัณฑ์เคมี อย่างไรก็ดี การส่งออกที่ยังคงขยายตัวดีทำให้การผลิตในหมวดอิเล็กทรอนิกส์และหมวดอาหารเป็นแรงผลักดันสำคัญของการผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือนนี้ สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิตในเดือนนี้อยู่ที่ร้อยละ 72.6 ลดลงจากร้อยละ 73.6 ในเดือนก่อน
2. ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ขยายตัวร้อยละ 1.3 จากระยะเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อน ตามปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ที่ลดลงมาก ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากปัญหาอุทกภัยในหลายพื้นที่ ขณะที่มูลค่านำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค ณ ราคาคงที่ลดลงเล็กน้อย สำหรับเครื่องชี้ที่ยังคงขยายตัวดี ได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ปริมาณการใช้ไฟฟ้าสำหรับที่อยู่อาศัย ปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่ง และปริมาณการใช้น้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล์ที่ขยายตัวจากราคาขายปลีกน้ำมันที่ปรับลดลง สำหรับดัชนีการลงทุนภาคเอกชน (เบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 1.0 จากระยะเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อน ตามปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ที่หดตัวจากฐานสูงในเดือนเดียวกันปีก่อน เนื่องจากมีการออกรถยนต์รุ่นใหม่ในช่วงปลายปี 2548 และปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศที่ลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนจากภาวะน้ำท่วม
3. ภาคการคลัง รัฐบาลมีรายได้จัดเก็บ 121.8 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 27.3 ตามการเร่งตัว ของรายได้ภาษีและรายได้ที่มิใช่ภาษี โดยรายได้ภาษีเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.2 เร่งตัวขึ้นจากเดือนก่อนหน้า จากการขยายตัวของ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคล ส่วนภาษีจากฐานการบริโภคเร่งตัวขึ้นในทุกประเภทภาษี โดยเฉพาะภาษีสรรพสามิต ส่วนหนึ่งเนื่องจากผู้ประกอบการคาดว่า ภาครัฐจะมีการจัดเก็บเงินเพิ่มภาษียาสูบและสุรา เพื่อนำไปสนับสนุน การกีฬา สำหรับภาษีจากฐานการค้าระหว่างประเทศ ลดลงตามนโยบายการปรับลดอัตราภาษีศุลกากรเป็นสำคัญ ขณะที่รายได้ ที่มิใช่ภาษีเพิ่มขึ้นร้อยละ 376.0 จากการนำส่งรายได้รัฐพาณิชย์เป็นสำคัญ เนื่องจากในเดือนนี้เป็นเดือนแรกที่เริ่มให้รัฐวิสาหกิจ ที่มีรอบบัญชีปีปฎิทินนำส่งรายได้ระหว่างกาล ดุลเงินสด รัฐบาลขาดดุลเงินสด 12.4 พันล้านบาท ส่งผลให้เงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนลดลงมาอยู่ที่ระดับ 125.2 พันล้านบาท
4. ภาคต่างประเทศ ดุลการค้า เกินดุล 0.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยการส่งออกขยายตัวร้อยละ 20.9 มีมูลค่า 11.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการขยายตัวต่อเนื่องของการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีในการผลิตสูง ขณะที่การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 8.9 มีมูลค่า 10.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ. จากการนำเข้าสินค้าในหมวดเชื้อเพลิงและผลิตภัณฑ์น้ำมันโลหะ และเคมีภัณฑ์ เป็นสำคัญ ดุลบริการ รายได้ และเงินโอน ในเดือนนี้มีการรวมกำไรสะสม (Reinvested Earning: RE)1/ ไว้ในดุลการชำระเงินย้อนหลังถึงปี 2544 ดุลบริการฯ เกินดุล 0.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ. จากรายรับการท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น ขณะที่รายจ่ายผลประโยชน์ จากการลงทุนมีมูลค่าลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือนนี้ เกินดุล 0.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ดุลการชำระเงิน เกินดุล 0.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เงินสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2549 อยู่ที่ระดับ 62.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยมียอดคงค้างการซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าสุทธิ จำนวน 5.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
5. อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ร้อยละ 2.8 เป็นผลจากราคาในหมวดอาหารสด โดยเฉพาะราคาผักสด ที่เพิ่มขึ้นจากปัญหาอุทกภัยในหลายพื้นที่ อย่างไรก็ดี ราคาในหมวดพลังงานปรับลดลงตามการปรับค่าไฟฟ้า (Ft) ลงร้อยละ 8.2 สำหรับอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานชะลอลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ร้อยละ 1.8 ส่วนหนึ่งเพราะราคาในหมวดยานพาหนะที่ชะลอลงตามต้นทุนพลังงาน ดัชนีราคาผู้ผลิตเร่งตัวจากร้อยละ 2.8 มาอยู่ที่ร้อยละ 3.4 โดยเป็นผลจากหมวดผลผลิตเกษตรกรรมที่เร่งตัวขึ้นเป็นสำคัญ
6. ภาวะการเงิน เงินฝากธนาคารพาณิชย์ในเดือนนี้ขยายตัวร้อยละ 8.7 จากระยะเดียวกันปีก่อน ซึ่งเป็นอัตราที่ใกล้เคียงกับเดือนก่อน แต่เริ่มชะลอลงจากช่วงก่อนหน้าที่ธนาคารพาณิชย์มีการแข่งขันกันปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อรักษาระดับเงินฝาก ทั้งนี้ เมื่อหักผลของการจัดตั้งธนาคารพาณิชย์รายใหม่ เงินฝากขยายตัวร้อยละ 6.9 จากระยะเดียวกันปีก่อน สำหรับสิทธิเรียกร้อง จากภาคเอกชนของธนาคารพาณิชย์ 2/ ขยายตัวร้อยละ 4.7 จากระยะเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนกันยายนและช่วงก่อนหน้า โดยส่วนหนึ่งเป็นผลของฐานเนื่องจากธนาคารพาณิชย์ที่จัดตั้งขึ้นใหม่เข้ามาในระบบธนาคารพาณิชย์ครบ 1 ปี รวมทั้งการลดลง ของสินเชื่อที่ให้แก่สถาบันการเงินอื่นและการชะลอตัวของสินเชื่อที่ให้แก่ภาคธุรกิจ ทั้งนี้ เมื่อหักผลของการจัดตั้งธนาคารพาณิชย์แห่งใหม่ รวมทั้งการตัดสินเชื่อออกจากบัญชีและการโอนสินเชื่อไปยัง AMC สิทธิเรียกร้องฯ ขยายตัวร้อยละ 5.4 จากระยะเดียวกัน ปีก่อน ฐานเงิน ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2549 อยู่ที่ระดับ 800.0 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 4.1 จากระยะเดียวกันปีก่อน ส่วนปริมาณเงิน M2 M2a M3 และปริมาณเงินตามความหมายกว้าง (Broad Money)3/ ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนในอัตรา ร้อยละ 8.6 7.4 7.8 และ 8.2 ตามลำดับ อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดเงิน ในเดือนตุลาคม 2549 ต่อเนื่องมาถึงช่วงวันที่ 1 - 23 พฤศจิกายน 2549 อัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารระยะ 1 วัน โดยเฉลี่ยทรงตัว ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน ปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเดือนก่อนเนื่องจากสภาพคล่องที่ตึงตัวขึ้น
7. ค่าเงินบาทในเดือนตุลาคม 2549 ในเดือนตุลาคม 2549 เฉลี่ยอยู่ที่ 37.34 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นจากค่าเฉลี่ยในเดือนกันยายนที่ 37.43 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. จากเงินทุนไหลเข้าที่มาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์และพันธบัตรรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับมีแรงเทขายดอลลาร์ สรอ. ของกองทุนต่างชาติจำนวนมาก ทำให้ค่าเงินบาทโน้มแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับดอลลาร์ สรอ. และทำสถิติแข็งค่าสุดในรอบ 7 ปีที่ระดับ 36.60 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในช่วงปลายเดือน ระหว่างวันที่ 1-23 พฤศจิกายน 2549 ค่าเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 36.61 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.
ข้อมูลเพิ่มเติม: คุณวิชชุดา ชุ่มมี โทร. 0-2283-5639, 0-2283-5648 e-mail: witchudc@bot.or.th
วิสัยทัศน์ เป็นองค์กรที่สังคมเชื่อถือและศรัทธา
1/ ตั้งแต่พฤศจิกายน 2549 ธปท. บันทึก "กำไรที่นำกลับมาลงทุน (Reinvested Earnings)" เป็นส่วนหนึ่งของการลงทุนโดยตรงในดุลบัญชีเงินทุนและการเงิน และบันทึกจำนวนเดียวกันนี้เป็น contra entry ในรายการผลประโยชน์จากการถือหุ้นในดุลบัญชีเดินสะพัด และปรับข้อมูลย้อนหลังถึงปี 2544 (รายละเอียดเพิ่มเติมในข่าว ธปท. ฉบับที่ 45/2549 http://www.bot.or.th/bothomepage/General/PressReleasesAndSpeeches/PressReleases/News2549/Thai/n4549t.htm 2/ หมายถึง สินเชื่อภาคเอกชนรวมการถือครองหลักทรัพย์ของธนาคารพาณิชย์ 3/ หมายถึง ปริมาณเงินในความหมายที่กว้างกว่า M3 โดยรวมเงินรับฝากหรือเงินกู้ยืมที่มีลักษณะทดแทนเงินฝากได้ของสถาบันรับฝากเงินอื่น นอกเหนือจาก ธพ. บง. ธนาคารเฉพาะกิจ
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--