ความคืบหน้าของการตรวจสอบเอกสารหลักฐานต่าง ๆ โดยคณะทำงานตรวจสอบการทุจริตของพรรคประชาธิปัตย์ ได้ยื่นการสอบสวนเรื่องนี้ต่อคณะกรรมการ ปปช. ว่าด้วยพฤติกรรมความร่ำรวยผิดปกติของเจ้าหน้าที่ของรัฐ และมาตรา 75 เรื่องการร้องขอให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน โดยนายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้พบจิ๊กซอว์สำคัญในการโยงใยเบื้องหลังของตัวแทน (นอมินี) และการเพิ่มขึ้นของเงินแบบผิดปกติจำนวน 280 ล้านบาท กับการโอนหุ้นแบบมีเงื่อนงำของนางสุนิสา ปฐมพฤกษ์ ซึ่งเชื่อมโยงกับอดีตผู้อำนวยการองค์การโทรศัพท์และกิจการครอบครัว นางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์
กรณีการเพิ่มขึ้นของทุน และการซื้อหุ้นจำนวน 280 ล้านบาทของบริษัทสินมหัต จำกัด เนื่องจากโครงการหมู่บ้านชินณิชา วิลล์ มีเหตุอันควรสงสัยได้ว่าเป็นกิจการของนางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ และครอบครัว ดังต่อไปนี้ 1. บริษัท สินมหัต จำกัดถือหุ้นในบริษัทสร้างสิน พร็อพเพอร์ตี้ ซึ่งเป็นเจ้าของโครงการชินณิชา วิลล์ อยู่ 40 % เมื่อเดือน พ.ย. 2546 โดยคิดเป็น 18 ล้านหุ้น มูลค่า 180 ล้านบาท 2. บริษัทสินมหัตนั้น มีการเพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 1 ล้านบาท เป็น 100 ล้านบาท เมื่อเดือน มิ.ย. 2547 แต่ผลประกอบการปรากฎว่า ปี 2545 มีรายได้ 1 แสน 2 หมื่นบาท ผลประกอบการขาดทุน 5 หมื่นบาท ปี 2546 มีรายได้ 1.2 ล้านบาท มีกำไร 1.2 แสนบาท ปี 2547 มีรายได้ 2.6 ล้านบาท ขาดทุน 1.4 ล้านบาท จะเห็นได้ว่าปี 2546 ซึ่งมีกำไรจากผลประกอบการเพียง 1.2 แสนบาทนั้น บริษัทสินมหัตนำเงินจากที่ใดในการซื้อหุ้นจำนวน 40 % ในบริษัทสร้างสิน พร็อพเพอร์ตี้ เป็นเงินถึง 180 ล้านบาท และนำเงินจากที่ใดอีก 100 ล้านบาท ในการเพิ่มทุนจดทะเบียนในปี 2547 ทั้งที่ผลประกอบการในปี 2547 นั้น ขาดทุน 1.4 ล้านบาท รวมเป็นเงิน 280 ล้านบาท
ส่วนกรณีการโอนหุ้นอย่างมีเงื่อนงำในปี 2548 ปรากฎตามเอกสารรายชื่อผู้ถือหุ้นบริษัทสร้างสิน พร็อพเพอร์ตี้ ซึ่งเป็นเจ้าของโครงการหมู่บ้านชินณิชา วิลล์ ได้มี 2 นิติบุคคลหลักเป็นผู้ถือหุ้น ประกอบด้วย บริษัท TSB Holding จำกัด ถือหุ้นจำนวน 26.9 ล้านหุ้น และบริษัทสินมหัต จำกัด ถือหุ้นจำนวน 18 ล้านหุ้น และที่เหลือคือผู้ถือหุ้นรายย่อยอื่น ๆ เป็นที่น่าสังเกตว่าเมื่อวันที่ 11 ก.ค. 2548 บริษัท TSB Holding ยังถือหุ้นอยู่ในจำนวนเท่าเดิม แต่ไม่ปรากฎชื่อบริษัท สินมหัต เป็นผู้ถือหุ้นอยู่ กลับปรากฎว่ามีการโอนหุ้นและกระจายหุ้นอยู่ที่บุคคล 4 คนดังต่อไปนี้ 1. นายสุธรรม มะลิลา ซึ่งเป็นอดีตผู้อำนวยการองค์การโทรศัพท์ฯ จำนวน 4.5 ล้านหุ้น 2. นายวรุต มะลิลา บุตรชาย จำนวน 4.5 ล้านหุ้น 3. นางสาวกนกวรรณ ประพันธ์เนติวุฒิ จำนวน 4.5 ล้านหุ้น 4. นายธเนศ รัชตทรัพย์ 4.5 ล้านหุ้น จำนวนหุ้นที่กระจายออกมานั้น เป็นยอดเดียวกับการถือหุ้นเดิมของบริษัทสินมหัต ขณะเดียวกันคณะทำงานของพรรคประชาธิปัตย์ได้ตรวจสอบพบว่า ในการบริหารการขายโครงการชินณิชา วิลล์นั้น มีบริษัทนิติบุคคลแจ้งว่า ณ วันที่ 30 เม.ย. 2547 บริษัทมีผู้ถือหุ้น 2 นิติบุคคล คือ บริษัท TSB Holding จำนวน 5,997 หุ้น และบริษัทสินมหัต จำกัด 3,998 หุ้น นอกจากนั้นมีนางวสา จีนะวิจารณะ ภรรยาส.ส.พรรคไทยรักไทย เขตจตุจักร ถือ 1 หุ้น ซึ่งเคยอ้างว่า เป็นเจ้าของโครงการชินณิชา วิลล์ แต่วันที่ 11 ก.ค. 2548 วันเดียวกันกับที่มีการเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นในบริษัทสร้างสิน พร็อพเพอร์ตี้ ได้มีการกระจายหุ้นของบริษัท สินมหัต ให้กับ 4 บุคคลดังกล่าว ที่ได้เคยโอนหุ้นให้ไปในบริษัทสร้างสิน พร็อพเพอร์ตี้
นอกจากนี้ได้มีการตรวจสอบพบเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเชื่อมโยงกิจการครอบครัวของนางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ กับนางสุนิสา ปฐมพฤกษ์ (เวชยะชัย) น้องสาวรัฐมนตรีท่านหนึ่งในรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ โดยนางสุนิสา นั้นเป็นเจ้าของบริษัทสินมหัต คือถือหุ้นอยู่ร้อยละ 99.9 และปรากฎว่านางสุนิสา มีความเชื่อมโยงกับกิจการครอบครัวของนางเยาวภา โดยเฉพาะการถือหุ้น และเป็นกรรมการบริษัท เอ็มลิงค์ และบริษัทอื่นไม่น้อยกว่า 11 บริษัท นอกจากนี้ยังเป็นผู้มีอำนาจลงนามในบริษัทของครอบครัวนางเยาวภา ได้แก่บริษัท วินโคสท์ อินดัสตรี
“น่าแปลกใจว่าทำไม นางสุนิสา ปฐมพฤกษ์ จึงปรากฎเป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม ของบริษัท วินโคสท์ อินดัสตรี คู่กับ นายภัทรลาภ ทวีวงศ์ ณ อยุธยา ซึ่งเป็นผู้บริหาร เอ็มลิงค์ และมาเป็นผู้บริหารของบริษัทวินโคสท์ อินดัสตรี โดยบริษัทวินโคสท์ อินดัสตรีนั้นเคยเป็นบริษัทของครอบครัววงศ์สวัสดิ์มาดั้งเดิม แต่ปรากฎว่ากรรมการผู้มีอำนาจลงนามรับรองงบดุล ณ วันที่ 31 ธ.ค. 2547 กลายเป็นนางสุนิสา ปฐมพฤกษ์ ทั้งหมดนี้เป็นเหตุให้ควรเชื่อด้วยว่า นางสุนิสา ปฐมพฤกษ์ เป็นนอมินีของเจ๊แดง” นายอลงกรณ์ กล่าว
นอกจากนี้นายอลงกรณ์กล่าวต่อไปว่า ทั้งหมดนี้ถือเป็นหลักฐานที่สำคัญ ในการนำไปเสนอต่อ ปปช. ซึ่งหากสามารถพิสูจน์ถึงทรัพย์สินที่ได้มาเข้าข่ายร่ำรวยผิดปกตินั้น ก็จะได้ถูกยึดทรัพย์เข้าสู่แผ่นดิน ตามมาตรา 75 นอกเหนือจากการถูกสอบสวนตามมาตรา 66 โดยปปช. อีกด้วย
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 22 เม.ย. 2549--จบ--
กรณีการเพิ่มขึ้นของทุน และการซื้อหุ้นจำนวน 280 ล้านบาทของบริษัทสินมหัต จำกัด เนื่องจากโครงการหมู่บ้านชินณิชา วิลล์ มีเหตุอันควรสงสัยได้ว่าเป็นกิจการของนางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ และครอบครัว ดังต่อไปนี้ 1. บริษัท สินมหัต จำกัดถือหุ้นในบริษัทสร้างสิน พร็อพเพอร์ตี้ ซึ่งเป็นเจ้าของโครงการชินณิชา วิลล์ อยู่ 40 % เมื่อเดือน พ.ย. 2546 โดยคิดเป็น 18 ล้านหุ้น มูลค่า 180 ล้านบาท 2. บริษัทสินมหัตนั้น มีการเพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 1 ล้านบาท เป็น 100 ล้านบาท เมื่อเดือน มิ.ย. 2547 แต่ผลประกอบการปรากฎว่า ปี 2545 มีรายได้ 1 แสน 2 หมื่นบาท ผลประกอบการขาดทุน 5 หมื่นบาท ปี 2546 มีรายได้ 1.2 ล้านบาท มีกำไร 1.2 แสนบาท ปี 2547 มีรายได้ 2.6 ล้านบาท ขาดทุน 1.4 ล้านบาท จะเห็นได้ว่าปี 2546 ซึ่งมีกำไรจากผลประกอบการเพียง 1.2 แสนบาทนั้น บริษัทสินมหัตนำเงินจากที่ใดในการซื้อหุ้นจำนวน 40 % ในบริษัทสร้างสิน พร็อพเพอร์ตี้ เป็นเงินถึง 180 ล้านบาท และนำเงินจากที่ใดอีก 100 ล้านบาท ในการเพิ่มทุนจดทะเบียนในปี 2547 ทั้งที่ผลประกอบการในปี 2547 นั้น ขาดทุน 1.4 ล้านบาท รวมเป็นเงิน 280 ล้านบาท
ส่วนกรณีการโอนหุ้นอย่างมีเงื่อนงำในปี 2548 ปรากฎตามเอกสารรายชื่อผู้ถือหุ้นบริษัทสร้างสิน พร็อพเพอร์ตี้ ซึ่งเป็นเจ้าของโครงการหมู่บ้านชินณิชา วิลล์ ได้มี 2 นิติบุคคลหลักเป็นผู้ถือหุ้น ประกอบด้วย บริษัท TSB Holding จำกัด ถือหุ้นจำนวน 26.9 ล้านหุ้น และบริษัทสินมหัต จำกัด ถือหุ้นจำนวน 18 ล้านหุ้น และที่เหลือคือผู้ถือหุ้นรายย่อยอื่น ๆ เป็นที่น่าสังเกตว่าเมื่อวันที่ 11 ก.ค. 2548 บริษัท TSB Holding ยังถือหุ้นอยู่ในจำนวนเท่าเดิม แต่ไม่ปรากฎชื่อบริษัท สินมหัต เป็นผู้ถือหุ้นอยู่ กลับปรากฎว่ามีการโอนหุ้นและกระจายหุ้นอยู่ที่บุคคล 4 คนดังต่อไปนี้ 1. นายสุธรรม มะลิลา ซึ่งเป็นอดีตผู้อำนวยการองค์การโทรศัพท์ฯ จำนวน 4.5 ล้านหุ้น 2. นายวรุต มะลิลา บุตรชาย จำนวน 4.5 ล้านหุ้น 3. นางสาวกนกวรรณ ประพันธ์เนติวุฒิ จำนวน 4.5 ล้านหุ้น 4. นายธเนศ รัชตทรัพย์ 4.5 ล้านหุ้น จำนวนหุ้นที่กระจายออกมานั้น เป็นยอดเดียวกับการถือหุ้นเดิมของบริษัทสินมหัต ขณะเดียวกันคณะทำงานของพรรคประชาธิปัตย์ได้ตรวจสอบพบว่า ในการบริหารการขายโครงการชินณิชา วิลล์นั้น มีบริษัทนิติบุคคลแจ้งว่า ณ วันที่ 30 เม.ย. 2547 บริษัทมีผู้ถือหุ้น 2 นิติบุคคล คือ บริษัท TSB Holding จำนวน 5,997 หุ้น และบริษัทสินมหัต จำกัด 3,998 หุ้น นอกจากนั้นมีนางวสา จีนะวิจารณะ ภรรยาส.ส.พรรคไทยรักไทย เขตจตุจักร ถือ 1 หุ้น ซึ่งเคยอ้างว่า เป็นเจ้าของโครงการชินณิชา วิลล์ แต่วันที่ 11 ก.ค. 2548 วันเดียวกันกับที่มีการเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นในบริษัทสร้างสิน พร็อพเพอร์ตี้ ได้มีการกระจายหุ้นของบริษัท สินมหัต ให้กับ 4 บุคคลดังกล่าว ที่ได้เคยโอนหุ้นให้ไปในบริษัทสร้างสิน พร็อพเพอร์ตี้
นอกจากนี้ได้มีการตรวจสอบพบเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเชื่อมโยงกิจการครอบครัวของนางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ กับนางสุนิสา ปฐมพฤกษ์ (เวชยะชัย) น้องสาวรัฐมนตรีท่านหนึ่งในรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ โดยนางสุนิสา นั้นเป็นเจ้าของบริษัทสินมหัต คือถือหุ้นอยู่ร้อยละ 99.9 และปรากฎว่านางสุนิสา มีความเชื่อมโยงกับกิจการครอบครัวของนางเยาวภา โดยเฉพาะการถือหุ้น และเป็นกรรมการบริษัท เอ็มลิงค์ และบริษัทอื่นไม่น้อยกว่า 11 บริษัท นอกจากนี้ยังเป็นผู้มีอำนาจลงนามในบริษัทของครอบครัวนางเยาวภา ได้แก่บริษัท วินโคสท์ อินดัสตรี
“น่าแปลกใจว่าทำไม นางสุนิสา ปฐมพฤกษ์ จึงปรากฎเป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม ของบริษัท วินโคสท์ อินดัสตรี คู่กับ นายภัทรลาภ ทวีวงศ์ ณ อยุธยา ซึ่งเป็นผู้บริหาร เอ็มลิงค์ และมาเป็นผู้บริหารของบริษัทวินโคสท์ อินดัสตรี โดยบริษัทวินโคสท์ อินดัสตรีนั้นเคยเป็นบริษัทของครอบครัววงศ์สวัสดิ์มาดั้งเดิม แต่ปรากฎว่ากรรมการผู้มีอำนาจลงนามรับรองงบดุล ณ วันที่ 31 ธ.ค. 2547 กลายเป็นนางสุนิสา ปฐมพฤกษ์ ทั้งหมดนี้เป็นเหตุให้ควรเชื่อด้วยว่า นางสุนิสา ปฐมพฤกษ์ เป็นนอมินีของเจ๊แดง” นายอลงกรณ์ กล่าว
นอกจากนี้นายอลงกรณ์กล่าวต่อไปว่า ทั้งหมดนี้ถือเป็นหลักฐานที่สำคัญ ในการนำไปเสนอต่อ ปปช. ซึ่งหากสามารถพิสูจน์ถึงทรัพย์สินที่ได้มาเข้าข่ายร่ำรวยผิดปกตินั้น ก็จะได้ถูกยึดทรัพย์เข้าสู่แผ่นดิน ตามมาตรา 75 นอกเหนือจากการถูกสอบสวนตามมาตรา 66 โดยปปช. อีกด้วย
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 22 เม.ย. 2549--จบ--