วันนี้(7ก.ค.)นายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ แถลงข่าวเรียกร้องให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ.) เชิญพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าคณะรัฐมนตรี(ครม.)มาสอบสวนในคดีทุจริตการจัดซื้อจัดจ้างรถดับเพลิงของกทม. เนื่องจากการประชุมครม.วันที่ 24 ส.ค. 2547 ได้อนุมัติให้ก่อหนี้ผูกพันงบประมาณ จำนวน 6,700 ล้านบาท จัดซื้อรถดับเพลิง เรือดับเพลิง และอุปกรณ์ต่างๆ โดยเป็นงบผูกพันงบประมาณปี 2547-2553 และยังมีการอนุมัติเพิ่มอีก 20 ล้านสำหรับค่าธรรมเนียมเปิดLC จึงส่อพิรุธว่ามีการร่วมด้วยช่วยกันเอื้อให้มีการทุจริต เพราะอนุมัติงบโดยยังไม่ได้มีการเซ็นสัญญา เนื่องจากกทม.เซ็นสัญญากับบริษัทสไตเออร์เมื่อวันที่ 27 ส.ค. จึงอยากถามว่าครม.รู้ล่วงหน้าได้อย่างไรว่าจะมีการทำสัญญาซื้อขายกัน และตัวเลขจัดซื้อ 6,700 ล้านบาท เอามาจากไหน
“ผมข้องใจว่าทำไมดีเอสไอ ไม่มีการสอบสวนรักษาการนายกรัฐมนตรีในประเด็นนี้ทั้งที่เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทย ที่รัฐบาลอนุมัติงบก่อนเซ็นสัญญาซื้อขาย”นายอลงกรณ์กล่าว
นอกจากนี้นายอลงกรณ์ยังเรียกร้องให้ดีเอสไอ เชิญนายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย อดีตรักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศมาสอบสวนด้วย เพราะเป็นคนออกหนังสือสนับสนุนให้ทำการซื้อขายรถสินค้าดังกล่าวกับบริษัทสไตเออร์ โดยยืนยันว่าบริษัทนี้มีมาตรฐานชั้นนำและควรได้รับการสนับสนุน ทั้งที่บริษัทสไตเออร์ของออสเตเลียถูกบริษัทของสหรัฐเทคโอเวอร์ไปแล้ว ดังนั้นต้องสอบถามว่าทำไมนายสุรเกียรติ์จึงไม่ตรวจสอบว่ามีปัญหาหรือไม่ และนายโภคิน พลกุล อดีตรมว.มหาดไทยก็ไม่สามารถปฏิเสธความรับผิดชอบได้ เพราะมติเป็นไปตามเอโอยูที่นายโภคินลงนาม เมื่อวันที่ 30 ก.ค. 47 โดยมีการกำหนดสเป็ก และราคาทุกอย่างเอาไว้แล้ว
“ครม.ต้องตอบให้ได้ว่าทำไมจึงต้องทำข้อตกลงการค้าต่างตอบแทนย้อนหลัง ส่อให้เห็นว่ามีการเอื้อประโยชน์ในโครงการนี้ ขัดระเบียบของกระทรวงพาณิชย์ และยังมีการยกเว้นรายการสิ้นค้าบางตัว ที่มีเฉพาะบางบริษัทเท่านั้น”รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
นายอลงกรณ์กล่าวว่าพรรคไทยรักไทยพยายามบิดเบือนข้อเท็จจริงและปักปำนายอภิรักษ์ เกษโยธิน ผู้ว่าฯกรุงเทพฯเกี่ยวกับการเจรจาต่อรองราคาว่าบริษัทสไตเออร์พร้อมที่จะยกเลิกบางรายการและพร้อมจะต่อรองราคา แต่ในหนังสือลงนามโดยรองประธานบริษัทสไตเออร์เมื่อวันที่ 29 ธ.ค. 2547 ระบุชัดว่าไม่สามารถต่อรองราคา หรือเปลี่ยนแปลงสิ้นค้าใดๆได้เลย รวมถึง เอโอยูที่ทำกับรัฐบาลไทย ดังนั้นพรรคไทยรักไทยไม่ควรนำมาเปิดประเด็นการเมืองหวังดิสเครดิตในการเลือกตั้งสก สข. หรือ ปกป้องรัฐมนตรีในรัฐบาลที่ถูกดีเอสไอ กล่าวหา
“หากรัฐบาลจริงใจในการป้องกันความเสียหายของประเทศควรยกเลิกสัญญาเอโอยู และต้องเร่งแสดงจุดยืนในการยกเลิกข้อตกลงเพื่อเปิดช่องให้มีการยกเลิกสัญญาซื้อขายที่ไม่โปร่งใสโดยเร็ว มิเช่นนั้นจะถือว่าครม.ทักษิณไม่ให้ความร่วมมือในการแก้ปัญหา เท่ากับปกป้องการกระทำความผิด ทำให้ประเทศชาติเสียหาย”รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 7 ก.ค. 2549--จบ--
“ผมข้องใจว่าทำไมดีเอสไอ ไม่มีการสอบสวนรักษาการนายกรัฐมนตรีในประเด็นนี้ทั้งที่เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทย ที่รัฐบาลอนุมัติงบก่อนเซ็นสัญญาซื้อขาย”นายอลงกรณ์กล่าว
นอกจากนี้นายอลงกรณ์ยังเรียกร้องให้ดีเอสไอ เชิญนายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย อดีตรักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศมาสอบสวนด้วย เพราะเป็นคนออกหนังสือสนับสนุนให้ทำการซื้อขายรถสินค้าดังกล่าวกับบริษัทสไตเออร์ โดยยืนยันว่าบริษัทนี้มีมาตรฐานชั้นนำและควรได้รับการสนับสนุน ทั้งที่บริษัทสไตเออร์ของออสเตเลียถูกบริษัทของสหรัฐเทคโอเวอร์ไปแล้ว ดังนั้นต้องสอบถามว่าทำไมนายสุรเกียรติ์จึงไม่ตรวจสอบว่ามีปัญหาหรือไม่ และนายโภคิน พลกุล อดีตรมว.มหาดไทยก็ไม่สามารถปฏิเสธความรับผิดชอบได้ เพราะมติเป็นไปตามเอโอยูที่นายโภคินลงนาม เมื่อวันที่ 30 ก.ค. 47 โดยมีการกำหนดสเป็ก และราคาทุกอย่างเอาไว้แล้ว
“ครม.ต้องตอบให้ได้ว่าทำไมจึงต้องทำข้อตกลงการค้าต่างตอบแทนย้อนหลัง ส่อให้เห็นว่ามีการเอื้อประโยชน์ในโครงการนี้ ขัดระเบียบของกระทรวงพาณิชย์ และยังมีการยกเว้นรายการสิ้นค้าบางตัว ที่มีเฉพาะบางบริษัทเท่านั้น”รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
นายอลงกรณ์กล่าวว่าพรรคไทยรักไทยพยายามบิดเบือนข้อเท็จจริงและปักปำนายอภิรักษ์ เกษโยธิน ผู้ว่าฯกรุงเทพฯเกี่ยวกับการเจรจาต่อรองราคาว่าบริษัทสไตเออร์พร้อมที่จะยกเลิกบางรายการและพร้อมจะต่อรองราคา แต่ในหนังสือลงนามโดยรองประธานบริษัทสไตเออร์เมื่อวันที่ 29 ธ.ค. 2547 ระบุชัดว่าไม่สามารถต่อรองราคา หรือเปลี่ยนแปลงสิ้นค้าใดๆได้เลย รวมถึง เอโอยูที่ทำกับรัฐบาลไทย ดังนั้นพรรคไทยรักไทยไม่ควรนำมาเปิดประเด็นการเมืองหวังดิสเครดิตในการเลือกตั้งสก สข. หรือ ปกป้องรัฐมนตรีในรัฐบาลที่ถูกดีเอสไอ กล่าวหา
“หากรัฐบาลจริงใจในการป้องกันความเสียหายของประเทศควรยกเลิกสัญญาเอโอยู และต้องเร่งแสดงจุดยืนในการยกเลิกข้อตกลงเพื่อเปิดช่องให้มีการยกเลิกสัญญาซื้อขายที่ไม่โปร่งใสโดยเร็ว มิเช่นนั้นจะถือว่าครม.ทักษิณไม่ให้ความร่วมมือในการแก้ปัญหา เท่ากับปกป้องการกระทำความผิด ทำให้ประเทศชาติเสียหาย”รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 7 ก.ค. 2549--จบ--