ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. เวิลด์แบงก์ปรับลดจีดีพีของไทยในปี 48 ลงเหลือ 4.2% นางสาวกิริฎา เภาพิจิตร นัก
เศรษฐศาสตร์ธนาคารโลกประจำประเทศไทย เปิดเผยรายงานผลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาค
เอเชียและแปซิฟิกฉบับที่ 2 ประจำปี 48 ว่า อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจไทยปีนี้จะชะลอลงเหลือ 4.2% ลดลง
จากประมาณการเมื่อเดือน เม.ย.ที่ขยายตัว 5.2% สาเหตุจากราคาน้ำมัน ภัยแล้ง และสึนามิ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อ
ในปี 48 สูงขึ้นเป็น 4.5% ส่วนในปี 49 เศรษฐกิจจะขยายตัว 5% เนื่องจากราคาน้ำมันในตลาดโลกเพิ่มขึ้นใน
อัตราที่ชะลอลง ขณะที่ราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศสูงขึ้นอีก 14% ส่วนเงินเฟ้อจะอยู่ที่ 3.5-4% ขณะที่การลงทุน
ในโครงการเมกะโปรเจ็กจะทำให้มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น 1.5% ของผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ต่อปี ในช่วง
เวลา 5 ปีในการก่อสร้างเมกะโปรเจ็ก นอกจากนี้ นายโฮมิ คาราส หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ภูมิภาคเอเชียตะวัน
ออกและแปซิฟิก กล่าวว่า ปัจจัยเสี่ยงสำหรับเศรษฐกิจในปีหน้าของภูมิภาคนี้คือ ปัญหาการแพร่ระบาดของไข้หวัดนก
ซึ่งทั่วโลกกำลังติดตาม (ผู้จัดการรายวัน, กรุงเทพธุรกิจ, ข่าวสด, โพสต์ทูเดย์)
2. ธ.ออมสินปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำทุกประเภทอีก 0.75% ผู้อำนวยการ ธ.ออมสิน
เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสินทรัพย์และหนี้สิน ธ.ออมสิน มีมติให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ
ทุกประเภทสำหรับผู้ฝากทั่วไปและนิติบุคคลอีก 0.75% โดยเป็นไปตามนโยบายการส่งเสริมการออม และเพื่อรักษา
ฐานลูกค้าที่มีอยู่กว่า 20 ล้านบัญชีในช่วงดอกเบี้ยขาขึ้น ซึ่งส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนอยู่ที่
2.50-2.75% อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 6 เดือนอยู่ที่ 2.75-3.00% และอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12
เดือนอยู่ที่ 3.00-3.25% ส่วนเงินฝากประจำรายเดือนยกเว้นภาษี ปรับขึ้นที่ 3.00% ทั้งนี้ มีผลตั้งแต่วันที่ 4 พ.ย.48
เป็นต้นไป (โลกวันนี้, ไทยโพสต์)
3. ดัชนีการค้าและการพัฒนาของไทยอยู่ในอันดับที่ 8 ในกลุ่มประทศกำลังพัฒนา ที่ประชุมสหประชา
ชาติเพื่อการค้าและการพัฒนา (อังค์ถัด) เปิดเผยผลการจัดอันดับดัชนีการค้าและการพัฒนา (ทีดีไอ) ใน 110
ประเทศทั่วโลก ประจำปี 48 ว่า ดัชนีหลักของประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 38 และดัชนีประเทศกำลังพัฒนาอยู่ใน
อันดับที่ 8 ทั้งนี้ จากการวิเคราะห์พบว่า กลุ่มประเทศกำลังพัฒนา 10 อันดับแรก ซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วย มีผล
งานด้านการค้าและการพัฒนาในบางส่วนใกล้เคียงกับประเทศพัฒนาแล้ว โดยเฉพาะในด้านสิ่งแวดล้อม โครงสร้าง
เศรษฐกิจ การเปิดโอกาสทางการค้า และการพัฒนาสังคม อนึ่ง การจัดอันดับครั้งนี้ วัดจากดัชนีชี้วัด 29 ประเภท
อาทิเช่น สภาวะด้านการเงิน โครงสร้างเศรษฐกิจ ศักยภาพการเข้าถึงตลาดต่างประเทศ เป็นต้น สำหรับประเทศ
ที่ได้รับการจัดอันดับดัชนีหลัก 5 อันดับแรก ได้แก่ เดนมาร์ก, สรอ., อังกฤษ, สวีเดน และนอร์เวย์ (โพสต์ทูเดย์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ยอดการขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกของสรอ.เมื่อสัปดาห์ที่แล้วลดลง รายงานจากวอชิงตัน
เมื่อวันที่ 3 พ.ย. 48 ก.แรงงานสรอ. เปิดเผยว่า ยอดผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงานเมื่อสัปดาห์ที่แล้วเนื่องจาก
ผลกระทบของพายุเฮอร์ริเคนแคทรีนา และริตาเริ่มลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยยอดการขอรับสวัสดิการการว่างงาน
ครั้งแรก ณ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 29 ต.ค.อยู่ที่ 323,000 คน (ตัวเลขหลังการปรับฤดูกาล) จากที่เพิ่มขึ้นที่ระดับ
331,000 คนเมื่อสัปดาห์ก่อน (ตัวเลขหลังการปรับฤดูกาล) ทั้งนี้ประมาณ 18,000 คนที่ขอรับสวัสดิการการว่าง
งานครั้งแรกเนื่องจากผลกระทบของพายุเฮอร์ริเคนแคทรีนา และริตาเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ทำให้มียอดผู้ขอรับสวัสดิการ
การว่างงานเนื่องจากผลของพายุเฮอร์ริเคนรวมทั้งสิ้น 520,000 คน (ตัวเลขเบื้องต้น) ทั้งนี้ผู้ขอรับสวัสดิการการ
ว่างงานเฉลี่ย 4 สัปดาห์ซึ่งสามารถบ่งชี้ถึงสถานการณ์ตลาดแรงงานได้ชัดเจนกว่าอยู่ที่ 350,500 คนลดลงจาก
367,500 คนเมื่อสัปดาห์ก่อน และลดลงอย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 4(รอยเตอร์)
2. ธ.กลางสหภาพยุโรปคงระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 2.0 รายงานจากแฟรงเฟริต เมื่อ
3 พ.ย.48 คณะกรรมการนโยบายการเงินของ ธ.กลางสหภาพยุโรป เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการฯ
เมื่อวานนี้ที่ประชุมมีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 2.0 ต่อไป โดยสัปดาห์ก่อนผลสำรวจของนักวิเคราะห์
60 คนไม่ได้คาดการณ์ว่า ธ.กลางจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อสูงกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้
โดยมีสาเหตุจากราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับสูงไม่ช่วยกระตุ้นให้มีการเรียกร้องค่าจ้างเพิ่มขึ้นหรือผลักดันให้ธุรกิจปรับ
เพิ่มราคาสินค้า อย่างไรก็ตาม ในวงการตลาดอัตราดอกเบี้ยล่วงหน้าและนักวิเคราะห์บางส่วนคาดการณ์ว่า ธ.
กลางสหภาพยุโรปจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายในเดือนถัดไป เพื่อที่จะป้องกันความเสี่ยงจากภาวะเงินเฟ้อของ
เขตเศรษฐกิจยุโรป ซึ่งในเดือน ต.ค.ที่ผ่านมา อัตราเงินเฟ้อของเขตเศรษฐกิจยุโรปอยู่ที่ร้อยละ 2.5 เมื่อเทียบ
ต่อปี เทียบกับเป้าหมายที่สหภาพยุโรปกำหนดไว้ไม่เกินร้อยละ 2.0 นอกจากนี้ ธ.กลางสหภาพยุโรปยังคงระดับ
Marginal lending facility ที่ร้อยละ 3.00 และ Deposit facility ที่ร้อยละ 1.00 (รอยเตอร์)
3. Global PMI ในเดือน ต.ค.48 ขยายตัวรวดเร็วที่สุดในรอบ 15 เดือนที่ระดับ 58.4 รายงาน
จากลอนดอน เมื่อ 3 พ.ย.48 JP Morgan ร่วมกับ Research and Supply Organisations เปิดเผยว่า
Global PMI ในเดือน ต.ค.48 ขยายตัวรวดเร็วที่สุดในรอบ 15 เดือน โดยผลผลิตอุตสาหกรรมโดยรวมโดยใน
เดือน ต.ค.48 เติบโตเหนือกว่าระดับ 50 ซึ่งเป็นเส้นแบ่งระหว่างการขยายตัวและหดตัวที่ระดับ 58.4 จากระดับ 54.8 ในเดือน ก.ย.48 ขณะที่ผลผลิตนอกภาคอุตสาหกรรมการผลิตใน สรอ.ตกต่ำหลังจากได้รับผล
กระทบจากพายุเฮอร์ริเคนแคนทรินา ทั้งนี้ ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมโดยรวมประกอบด้วยผลผลิตภาคบริการและผล
ผลิตภาคอุตสาหกรรมการผลิตจากหลายประเทศรวมถึงประเทศ สรอ. เยอรมนี ฝรั่งเศส อังกฤษ อิตาลี ญี่ปุ่น และ
จีน อย่างไรก็ตาม ดัชนีต้นทุนนำเข้าผลผลิตอุตสาหกรรมโดยรวม (The all-industry input cost index)
ในเดือน ต.ค.48 ชะลอลงเล็กน้อยที่ระดับ 66.3 จากระดับ 66.5 ในเดือน ก.ย. แต่ยังคงอยู่ในระดับเหนือกว่า
ระดับเฉลี่ยระยะยาวที่ 55.9 ขณะที่ดัชนีการจ้างงานของผลผลิตอุตสาหกรรมโดยรวม (The all-industry
employment index) ในเดือน ต.ค.48 กลับเพิ่มขึ้นที่ระดับ 53.2 จากระดับ 52.1 ซึ่งขยายตัวเพิ่มขึ้นทั้งใน
ภาคอุตสาหกรรมการผลิตและบริการ ทั้งนี้ ภาวะตลาดแรงงานยังคงแข็งแกร่ง เนื่องจากผู้ประกอบการภาคบริการ
ต้องการแรงงานในการเตรียมการรองรับการขยายตัวในอนาคต ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ The Institute for
Supply Management (ISM) เปิดเผยว่า ดัชนีนอกภาคอุตสาหกรรมการผลิตของ สรอ. ในเดือน ต.ค.48 กลับ
ฟื้นตัวอยู่ที่ระดับ 60.0 หลังจากที่อยู่ที่ระดับ 53.3 ในเดือนก่อนหน้า ส่วน Headline Business Activity
Index ของเขตเศรษฐกิจยุโรปเพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ระดับ 54.9 จากระดับ 54.7 ในเดือน ก.ย. ขณะที่อังกฤษ
Headline Services Index เพิ่มขึ้นอยู่ที่ 56.1 ซึ่งเป็นการฟื้นตัวในรอบ 9 เดือนหลังจากที่อยู่ที่ระดับ 55.0
ในเดือน ก.ย. (รอยเตอร์)
4. คาดว่ารายได้จากการจัดเก็บภาษีของเยอรมนีในปี 48/49 จะสูงกว่าที่คาดไว้ รายงานจาก
เบอร์ลิน เมื่อวันที่ 3 พ.ย. 48 รัฐบาลเยอรมนีเปิดเผยว่า ได้คาดการณ์รายได้จากการจัดเก็บภาษีในปี 48/49
จะสูงกว่าประมาณการณ์ก่อนหน้านี้ถึง 3.8 พัน ล.ยูโร ( 4.58 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.) โดยในปี 48 จะเป็น
จำนวนประมาณ 2.9 พัน ล.ยูโร และอีก 0.9 พัน ล.ยูโร ในปี 49 การจัดเก็บรายได้มากขึ้นดังกล่าวทำให้
เยอรมนีได้รับประโยชน์เนื่องจากที่ผ่านมารัฐบาลเยอรมนีขาดดุลงบประมาณมากกว่าที่ยูโรโซนกำหนดไว้ที่ไม่เกินกว่า
ร้อยละ 3 ของ ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (GDP) และในปีนี้คาดว่าจะขาดดุลงบประมาณเกือบ 80 พัน ล.ยูโร หรือ
ประมาณร้อยละ 4 ของ GDP อย่างไรก็ตามรายได้จากการจัดเก็บภาษีที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวไม่อาจลดการขาดดุลงบ
ประมาณลงได้อย่างมีนัยสำคัญ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 4 พ.ย. 48 3 พ.ย. 48 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 40.843 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 40.6353/40.9381 39.0915/39.3765 ปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.80125 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 704.79/ 17.19 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 8,950/9,050 8,950/9,050 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 54.41 52.38 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 25.64*/23.39** 25.64*/23.39** 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับลด 50 สตางค์ เมื่อ 1 พ.ย. 48
** ปรับลด 40 สตางค์ เมื่อ 1 พ.ย. 48
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. เวิลด์แบงก์ปรับลดจีดีพีของไทยในปี 48 ลงเหลือ 4.2% นางสาวกิริฎา เภาพิจิตร นัก
เศรษฐศาสตร์ธนาคารโลกประจำประเทศไทย เปิดเผยรายงานผลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาค
เอเชียและแปซิฟิกฉบับที่ 2 ประจำปี 48 ว่า อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจไทยปีนี้จะชะลอลงเหลือ 4.2% ลดลง
จากประมาณการเมื่อเดือน เม.ย.ที่ขยายตัว 5.2% สาเหตุจากราคาน้ำมัน ภัยแล้ง และสึนามิ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อ
ในปี 48 สูงขึ้นเป็น 4.5% ส่วนในปี 49 เศรษฐกิจจะขยายตัว 5% เนื่องจากราคาน้ำมันในตลาดโลกเพิ่มขึ้นใน
อัตราที่ชะลอลง ขณะที่ราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศสูงขึ้นอีก 14% ส่วนเงินเฟ้อจะอยู่ที่ 3.5-4% ขณะที่การลงทุน
ในโครงการเมกะโปรเจ็กจะทำให้มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น 1.5% ของผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ต่อปี ในช่วง
เวลา 5 ปีในการก่อสร้างเมกะโปรเจ็ก นอกจากนี้ นายโฮมิ คาราส หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ภูมิภาคเอเชียตะวัน
ออกและแปซิฟิก กล่าวว่า ปัจจัยเสี่ยงสำหรับเศรษฐกิจในปีหน้าของภูมิภาคนี้คือ ปัญหาการแพร่ระบาดของไข้หวัดนก
ซึ่งทั่วโลกกำลังติดตาม (ผู้จัดการรายวัน, กรุงเทพธุรกิจ, ข่าวสด, โพสต์ทูเดย์)
2. ธ.ออมสินปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำทุกประเภทอีก 0.75% ผู้อำนวยการ ธ.ออมสิน
เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสินทรัพย์และหนี้สิน ธ.ออมสิน มีมติให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ
ทุกประเภทสำหรับผู้ฝากทั่วไปและนิติบุคคลอีก 0.75% โดยเป็นไปตามนโยบายการส่งเสริมการออม และเพื่อรักษา
ฐานลูกค้าที่มีอยู่กว่า 20 ล้านบัญชีในช่วงดอกเบี้ยขาขึ้น ซึ่งส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนอยู่ที่
2.50-2.75% อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 6 เดือนอยู่ที่ 2.75-3.00% และอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12
เดือนอยู่ที่ 3.00-3.25% ส่วนเงินฝากประจำรายเดือนยกเว้นภาษี ปรับขึ้นที่ 3.00% ทั้งนี้ มีผลตั้งแต่วันที่ 4 พ.ย.48
เป็นต้นไป (โลกวันนี้, ไทยโพสต์)
3. ดัชนีการค้าและการพัฒนาของไทยอยู่ในอันดับที่ 8 ในกลุ่มประทศกำลังพัฒนา ที่ประชุมสหประชา
ชาติเพื่อการค้าและการพัฒนา (อังค์ถัด) เปิดเผยผลการจัดอันดับดัชนีการค้าและการพัฒนา (ทีดีไอ) ใน 110
ประเทศทั่วโลก ประจำปี 48 ว่า ดัชนีหลักของประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 38 และดัชนีประเทศกำลังพัฒนาอยู่ใน
อันดับที่ 8 ทั้งนี้ จากการวิเคราะห์พบว่า กลุ่มประเทศกำลังพัฒนา 10 อันดับแรก ซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วย มีผล
งานด้านการค้าและการพัฒนาในบางส่วนใกล้เคียงกับประเทศพัฒนาแล้ว โดยเฉพาะในด้านสิ่งแวดล้อม โครงสร้าง
เศรษฐกิจ การเปิดโอกาสทางการค้า และการพัฒนาสังคม อนึ่ง การจัดอันดับครั้งนี้ วัดจากดัชนีชี้วัด 29 ประเภท
อาทิเช่น สภาวะด้านการเงิน โครงสร้างเศรษฐกิจ ศักยภาพการเข้าถึงตลาดต่างประเทศ เป็นต้น สำหรับประเทศ
ที่ได้รับการจัดอันดับดัชนีหลัก 5 อันดับแรก ได้แก่ เดนมาร์ก, สรอ., อังกฤษ, สวีเดน และนอร์เวย์ (โพสต์ทูเดย์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ยอดการขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกของสรอ.เมื่อสัปดาห์ที่แล้วลดลง รายงานจากวอชิงตัน
เมื่อวันที่ 3 พ.ย. 48 ก.แรงงานสรอ. เปิดเผยว่า ยอดผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงานเมื่อสัปดาห์ที่แล้วเนื่องจาก
ผลกระทบของพายุเฮอร์ริเคนแคทรีนา และริตาเริ่มลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยยอดการขอรับสวัสดิการการว่างงาน
ครั้งแรก ณ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 29 ต.ค.อยู่ที่ 323,000 คน (ตัวเลขหลังการปรับฤดูกาล) จากที่เพิ่มขึ้นที่ระดับ
331,000 คนเมื่อสัปดาห์ก่อน (ตัวเลขหลังการปรับฤดูกาล) ทั้งนี้ประมาณ 18,000 คนที่ขอรับสวัสดิการการว่าง
งานครั้งแรกเนื่องจากผลกระทบของพายุเฮอร์ริเคนแคทรีนา และริตาเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ทำให้มียอดผู้ขอรับสวัสดิการ
การว่างงานเนื่องจากผลของพายุเฮอร์ริเคนรวมทั้งสิ้น 520,000 คน (ตัวเลขเบื้องต้น) ทั้งนี้ผู้ขอรับสวัสดิการการ
ว่างงานเฉลี่ย 4 สัปดาห์ซึ่งสามารถบ่งชี้ถึงสถานการณ์ตลาดแรงงานได้ชัดเจนกว่าอยู่ที่ 350,500 คนลดลงจาก
367,500 คนเมื่อสัปดาห์ก่อน และลดลงอย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 4(รอยเตอร์)
2. ธ.กลางสหภาพยุโรปคงระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 2.0 รายงานจากแฟรงเฟริต เมื่อ
3 พ.ย.48 คณะกรรมการนโยบายการเงินของ ธ.กลางสหภาพยุโรป เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการฯ
เมื่อวานนี้ที่ประชุมมีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 2.0 ต่อไป โดยสัปดาห์ก่อนผลสำรวจของนักวิเคราะห์
60 คนไม่ได้คาดการณ์ว่า ธ.กลางจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อสูงกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้
โดยมีสาเหตุจากราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับสูงไม่ช่วยกระตุ้นให้มีการเรียกร้องค่าจ้างเพิ่มขึ้นหรือผลักดันให้ธุรกิจปรับ
เพิ่มราคาสินค้า อย่างไรก็ตาม ในวงการตลาดอัตราดอกเบี้ยล่วงหน้าและนักวิเคราะห์บางส่วนคาดการณ์ว่า ธ.
กลางสหภาพยุโรปจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายในเดือนถัดไป เพื่อที่จะป้องกันความเสี่ยงจากภาวะเงินเฟ้อของ
เขตเศรษฐกิจยุโรป ซึ่งในเดือน ต.ค.ที่ผ่านมา อัตราเงินเฟ้อของเขตเศรษฐกิจยุโรปอยู่ที่ร้อยละ 2.5 เมื่อเทียบ
ต่อปี เทียบกับเป้าหมายที่สหภาพยุโรปกำหนดไว้ไม่เกินร้อยละ 2.0 นอกจากนี้ ธ.กลางสหภาพยุโรปยังคงระดับ
Marginal lending facility ที่ร้อยละ 3.00 และ Deposit facility ที่ร้อยละ 1.00 (รอยเตอร์)
3. Global PMI ในเดือน ต.ค.48 ขยายตัวรวดเร็วที่สุดในรอบ 15 เดือนที่ระดับ 58.4 รายงาน
จากลอนดอน เมื่อ 3 พ.ย.48 JP Morgan ร่วมกับ Research and Supply Organisations เปิดเผยว่า
Global PMI ในเดือน ต.ค.48 ขยายตัวรวดเร็วที่สุดในรอบ 15 เดือน โดยผลผลิตอุตสาหกรรมโดยรวมโดยใน
เดือน ต.ค.48 เติบโตเหนือกว่าระดับ 50 ซึ่งเป็นเส้นแบ่งระหว่างการขยายตัวและหดตัวที่ระดับ 58.4 จากระดับ 54.8 ในเดือน ก.ย.48 ขณะที่ผลผลิตนอกภาคอุตสาหกรรมการผลิตใน สรอ.ตกต่ำหลังจากได้รับผล
กระทบจากพายุเฮอร์ริเคนแคนทรินา ทั้งนี้ ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมโดยรวมประกอบด้วยผลผลิตภาคบริการและผล
ผลิตภาคอุตสาหกรรมการผลิตจากหลายประเทศรวมถึงประเทศ สรอ. เยอรมนี ฝรั่งเศส อังกฤษ อิตาลี ญี่ปุ่น และ
จีน อย่างไรก็ตาม ดัชนีต้นทุนนำเข้าผลผลิตอุตสาหกรรมโดยรวม (The all-industry input cost index)
ในเดือน ต.ค.48 ชะลอลงเล็กน้อยที่ระดับ 66.3 จากระดับ 66.5 ในเดือน ก.ย. แต่ยังคงอยู่ในระดับเหนือกว่า
ระดับเฉลี่ยระยะยาวที่ 55.9 ขณะที่ดัชนีการจ้างงานของผลผลิตอุตสาหกรรมโดยรวม (The all-industry
employment index) ในเดือน ต.ค.48 กลับเพิ่มขึ้นที่ระดับ 53.2 จากระดับ 52.1 ซึ่งขยายตัวเพิ่มขึ้นทั้งใน
ภาคอุตสาหกรรมการผลิตและบริการ ทั้งนี้ ภาวะตลาดแรงงานยังคงแข็งแกร่ง เนื่องจากผู้ประกอบการภาคบริการ
ต้องการแรงงานในการเตรียมการรองรับการขยายตัวในอนาคต ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ The Institute for
Supply Management (ISM) เปิดเผยว่า ดัชนีนอกภาคอุตสาหกรรมการผลิตของ สรอ. ในเดือน ต.ค.48 กลับ
ฟื้นตัวอยู่ที่ระดับ 60.0 หลังจากที่อยู่ที่ระดับ 53.3 ในเดือนก่อนหน้า ส่วน Headline Business Activity
Index ของเขตเศรษฐกิจยุโรปเพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ระดับ 54.9 จากระดับ 54.7 ในเดือน ก.ย. ขณะที่อังกฤษ
Headline Services Index เพิ่มขึ้นอยู่ที่ 56.1 ซึ่งเป็นการฟื้นตัวในรอบ 9 เดือนหลังจากที่อยู่ที่ระดับ 55.0
ในเดือน ก.ย. (รอยเตอร์)
4. คาดว่ารายได้จากการจัดเก็บภาษีของเยอรมนีในปี 48/49 จะสูงกว่าที่คาดไว้ รายงานจาก
เบอร์ลิน เมื่อวันที่ 3 พ.ย. 48 รัฐบาลเยอรมนีเปิดเผยว่า ได้คาดการณ์รายได้จากการจัดเก็บภาษีในปี 48/49
จะสูงกว่าประมาณการณ์ก่อนหน้านี้ถึง 3.8 พัน ล.ยูโร ( 4.58 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.) โดยในปี 48 จะเป็น
จำนวนประมาณ 2.9 พัน ล.ยูโร และอีก 0.9 พัน ล.ยูโร ในปี 49 การจัดเก็บรายได้มากขึ้นดังกล่าวทำให้
เยอรมนีได้รับประโยชน์เนื่องจากที่ผ่านมารัฐบาลเยอรมนีขาดดุลงบประมาณมากกว่าที่ยูโรโซนกำหนดไว้ที่ไม่เกินกว่า
ร้อยละ 3 ของ ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (GDP) และในปีนี้คาดว่าจะขาดดุลงบประมาณเกือบ 80 พัน ล.ยูโร หรือ
ประมาณร้อยละ 4 ของ GDP อย่างไรก็ตามรายได้จากการจัดเก็บภาษีที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวไม่อาจลดการขาดดุลงบ
ประมาณลงได้อย่างมีนัยสำคัญ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 4 พ.ย. 48 3 พ.ย. 48 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 40.843 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 40.6353/40.9381 39.0915/39.3765 ปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.80125 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 704.79/ 17.19 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 8,950/9,050 8,950/9,050 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 54.41 52.38 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 25.64*/23.39** 25.64*/23.39** 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับลด 50 สตางค์ เมื่อ 1 พ.ย. 48
** ปรับลด 40 สตางค์ เมื่อ 1 พ.ย. 48
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--