เผยปิโตรเคมีขาขึ้นยาว เหตุอุตสาหกรรมต่อเนื่องขยายตัว ชี้ตลาดโลกต้องการอีกเพียบ คาดอีก 2-3 ปี อนาคตยังแจ๋ว
ดร.อรรชกา บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ได้สรุปภาพรวมอุตสาหกรรมปิโตรเคมีในปี 2548 และคาดการณ์ถึงแนวโน้มในปี 2549 โดยอุตสาหกรรมปิโตรเคมียังมีทิศทางที่สดใสอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลมาจากอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องมีการขยายตัวในทิศทางที่เป็นบวก ประกอบด้วยอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติก อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ชิ้นส่วนยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น นอกจากนี้ยังเป็นผลมาจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวขึ้นสูงในช่วงปี 2548 ทำให้ราคาปิโตรเคมีเพิ่มขึ้นด้วย อีกทั้งผู้ประกอบการหลายรายได้ลงทุนเพิ่มในปิโตรเคมีขั้นต้นและขั้นปลาย เพื่อทันต่อการทำกำไรในช่วงขาขึ้น ซึ่งเป็นทิศทางการขยายตัวทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ โดยคาดว่าภายใน 2-3 ปีนี้อุตสาหกรรม ปิโตรเคมียังอยู่ในช่วงขาขึ้น
“อุตสาหกรรมปิโตรเคมี แบ่งออกได้เป็น ปิโตรเคมีขั้นต้น ขั้นกลาง และขั้นปลาย โดยในปี 2548 มีมูลค่าการส่งออก ปิโตรเคมีขั้นต้น 39,000 ล้านบาท ขั้นกลาง 19,000 และขั้นปลาย 148,000 ล้านบาท เมื่อเทียบกับ ปี 2547 มีการขยายตัวร้อยละ 33 17 และ 25 ตามลำดับ จะเห็นได้ว่ามีอัตราการขยายตัวได้เป็นอย่างดีตามปัจจัยดังกล่าว ส่วนปริมาณการนำเข้าปี 2548 เทียบกับปี 2547 ปิโตรเคมีขั้นต้น ขั้นกลาง และขั้นปลาย มีมูลค่าการนำเข้า 6,900 , 48,000 และ 65,000 ล้านบาท โดย ปิโตรเคมีขั้นต้นการนำเข้าลดลง ร้อยละ 14 ส่วนปิโตรเคมีขั้นกลางและขั้นปลายนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 3 และ 4 ตามลำดับ”
ดร.อรรชกา ยังได้กล่าวอีกว่า ภาวะขาขึ้นของอุตสาหกรรมปิโตรเคมีจะยังดีต่อเนื่อง อย่างน้อย 2-3 ปี ซึ่งทั้งผู้ประกอบการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างให้ความเห็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยเฉพาะผลประกอบการของบริษัทที่ทำธุรกิจปิโตรเคมีในช่วงที่ผ่านมา ล้วนปรับตัวในทิศทางที่เป็นบวก เป็นผลจากยอดขายที่เพิ่มสูงขึ้น และราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีแทบทุกประเภทปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นมาก อย่างไรก็ดีผู้ประกอบการควรวางแผนในการลงทุนอย่างรัดกุม เนื่องจากประเทศจีน ซึ่งเป็นคู่แข่งรายสำคัญได้ประกาศตัวอย่างชัดเจนที่จะลงทุนเพิ่มในปิโตรเคมี เพื่อผลักดันให้จีนเป็นผู้ส่งออกปิโตรเคมีรายใหญ่ของโลกต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ดร.อรรชกา บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ได้สรุปภาพรวมอุตสาหกรรมปิโตรเคมีในปี 2548 และคาดการณ์ถึงแนวโน้มในปี 2549 โดยอุตสาหกรรมปิโตรเคมียังมีทิศทางที่สดใสอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลมาจากอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องมีการขยายตัวในทิศทางที่เป็นบวก ประกอบด้วยอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติก อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ชิ้นส่วนยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น นอกจากนี้ยังเป็นผลมาจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวขึ้นสูงในช่วงปี 2548 ทำให้ราคาปิโตรเคมีเพิ่มขึ้นด้วย อีกทั้งผู้ประกอบการหลายรายได้ลงทุนเพิ่มในปิโตรเคมีขั้นต้นและขั้นปลาย เพื่อทันต่อการทำกำไรในช่วงขาขึ้น ซึ่งเป็นทิศทางการขยายตัวทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ โดยคาดว่าภายใน 2-3 ปีนี้อุตสาหกรรม ปิโตรเคมียังอยู่ในช่วงขาขึ้น
“อุตสาหกรรมปิโตรเคมี แบ่งออกได้เป็น ปิโตรเคมีขั้นต้น ขั้นกลาง และขั้นปลาย โดยในปี 2548 มีมูลค่าการส่งออก ปิโตรเคมีขั้นต้น 39,000 ล้านบาท ขั้นกลาง 19,000 และขั้นปลาย 148,000 ล้านบาท เมื่อเทียบกับ ปี 2547 มีการขยายตัวร้อยละ 33 17 และ 25 ตามลำดับ จะเห็นได้ว่ามีอัตราการขยายตัวได้เป็นอย่างดีตามปัจจัยดังกล่าว ส่วนปริมาณการนำเข้าปี 2548 เทียบกับปี 2547 ปิโตรเคมีขั้นต้น ขั้นกลาง และขั้นปลาย มีมูลค่าการนำเข้า 6,900 , 48,000 และ 65,000 ล้านบาท โดย ปิโตรเคมีขั้นต้นการนำเข้าลดลง ร้อยละ 14 ส่วนปิโตรเคมีขั้นกลางและขั้นปลายนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 3 และ 4 ตามลำดับ”
ดร.อรรชกา ยังได้กล่าวอีกว่า ภาวะขาขึ้นของอุตสาหกรรมปิโตรเคมีจะยังดีต่อเนื่อง อย่างน้อย 2-3 ปี ซึ่งทั้งผู้ประกอบการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างให้ความเห็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยเฉพาะผลประกอบการของบริษัทที่ทำธุรกิจปิโตรเคมีในช่วงที่ผ่านมา ล้วนปรับตัวในทิศทางที่เป็นบวก เป็นผลจากยอดขายที่เพิ่มสูงขึ้น และราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีแทบทุกประเภทปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นมาก อย่างไรก็ดีผู้ประกอบการควรวางแผนในการลงทุนอย่างรัดกุม เนื่องจากประเทศจีน ซึ่งเป็นคู่แข่งรายสำคัญได้ประกาศตัวอย่างชัดเจนที่จะลงทุนเพิ่มในปิโตรเคมี เพื่อผลักดันให้จีนเป็นผู้ส่งออกปิโตรเคมีรายใหญ่ของโลกต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-