เครื่องชี้เศรษฐกิจเดือนพฤศจิกายน 2548 โดยรวมชะลอตัวลงจากเดือนก่อนหน้า โดยเฉพาะเครื่องชี้อุปสงค์ ในประเทศ อย่างไรก็ตาม ภาคต่างประเทศปรับตัวดีขึ้น โดยการส่งออกขยายตัวสูงกว่าเดือนก่อน และการนำเข้าชะลอตัวลง
ด้านอุปทาน รายได้เกษตรกรขยายตัวสูงต่อเนื่อง จากปัจจัยด้านราคาเป็นสำคัญ ส่วนผลผลิตพืชผลหลัก เพิ่มขึ้นเล็กน้อย ด้านการผลิตภาคอุตสาหกรรมชะลอตัวลงจากเดือนก่อนเล็กน้อย ทั้งนี้ บางส่วนเป็นผลจากปัจจัยชั่วคราว ขณะที่การผลิตเพื่อส่งออกยังขยายตัวในเกณฑ์ดี สำหรับในภาคบริการปรับตัวดีขึ้นเป็นลำดับ โดยจำนวนนักท่องเที่ยว ต่างประเทศเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนเล็กน้อย
เสถียรภาพเศรษฐกิจอยู่ในเกณฑ์ดี โดยด้านฐานะเงินสำรองระหว่างประเทศอยู่ในเกณฑ์ดีต่อเนื่อง ฐานะดุลบัญชีเดินสะพัดปรับตัวดีขึ้น ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวอย่างมีเสถียรภาพ และแรงกดดันต่ออัตราเงินเฟ้อทั่วไปเริ่มอ่อนตัวลง
รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจในเดือนพฤศจิกายน ปี 2548 มีดังนี้
1. การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนพฤศจิกายน 2548 ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.0 ชะลอตัวลงเล็กน้อยจากเดือนก่อน การชะลอตัวดังกล่าวเนื่องจากการผลิตในบางหมวดอุตสาหกรรมลดลงจากปัจจัยชั่วคราว ได้แก่ หมวดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม และหมวดผลิตภัณฑ์เคมีที่มีการปิดซ่อมบำรุงโรงงาน ขณะที่บางหมวดอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบจากอุปสงค์ในประเทศที่ชะลอตัวลง เช่น หมวดยาสูบได้รับผลกระทบจากมาตรการห้ามแสดงบุหรี่ ณ จุดขาย หมวดวัสดุ ก่อสร้าง หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กชะลอตัวตามภาคการก่อสร้าง อย่างไรก็ตาม สินค้าหลายหมวดยังขยายตัว ในเกณฑ์ดีตามอุปสงค์จากต่างประเทศ เช่น หมวดอิเล็กทรอนิกส์ที่อยู่ในวัฏจักรขาขึ้น หมวดอาหารโดยเฉพาะอาหารทะเลกระป๋องเพิ่มขึ้นมากตามความต้องการจากต่างประเทศ หมวดสิ่งทอขยายตัวดีตามการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป หมวด ยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่งโดยเฉพาะรถยนต์พาณิชย์ที่อุปสงค์ในประเทศและต่างประเทศยังขยายตัวดี สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรมในเดือนนี้อยู่ที่ร้อยละ 70.3 ลดลงเล็กน้อยจากร้อยละ 72.3 ในเดือนก่อน
2. ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนลดลงร้อยละ 0.2 จากระยะเดียวกันปีก่อน เป็นผลมาจากการลดลง ของปริมาณการใช้ไฟฟ้าและภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่เป็นสำคัญ อย่างไรก็ตาม _ปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่งขยายตัว เนื่องจากมีรถยนต์รุ่นใหม่เปิดตัวในตลาด ดัชนีการลงทุนภาคเอกชน (เบื้องต้น) เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 จากระยะเดียวกัน ปีก่อน ขยายตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ตามการลดลงของการลงทุนในหมวดก่อสร้าง สอดคล้องกับภาวะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่ชะลอตัวลง ตามแนวโน้มพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลและปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ ในประเทศ เช่นเดียวกับการลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรชะลอตัวลงตามมูลค่านำเข้าสินค้าทุน ณ ราคาคงที่ และปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์
3. ภาคการคลังเดือนพฤศจิกายน 2548 รัฐบาลมีรายได้จัดเก็บ 111.3 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกัน ปีก่อนร้อยละ 2.3 ชะลอลงตามรายได้ภาษีที่ขยายตัวเพียงร้อยละ 3.1 แม้ภาษีจัดเก็บจากฐานรายได้ยังขยายตัวดี แต่ภาษี จากฐานการบริโภคและฐานการค้าระหว่างประเทศจัดเก็บได้ลดลง ส่วนหนึ่งเนื่องจากฐานในระยะเดียวกันปีก่อนอยู่ในระดับสูง และการชะลอตัวของการใช้จ่ายในประเทศ ประกอบกับการปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันและภาษีศุลกากร ขณะที่รายได้ ที่มิใช่ภาษีลดลงร้อยละ 4.9 สำหรับดุลเงินสดรัฐบาลในเดือนนี้ขาดดุล 27.8 พันล้านบาท
4. ภาคต่างประเทศ ดุลการค้าขาดดุล 201 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงเมื่อเทียบกับการขาดดุล 372 ล้านดอลลาร์ สรอ. ในเดือนก่อนหน้า โดยการส่งออกขยายตัวร้อยละ 13.8 จากระยะเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 7.7 ในเดือนก่อน คิดเป็นมูลค่าการส่งออกรวม 9,678 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยสินค้าออกสำคัญที่ขยายตัวสูงขึ้น ได้แก่ สินค้าในหมวด อุตสาหกรรม เช่น เสื้อผ้าสำเร็จรูป อัญมณี คอมพิวเตอร์ และแผงวงจรรวมและชิ้นส่วน รวมทั้งยานพาหนะและชิ้นส่วน สำหรับการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 13.7 ชะลอลงจากเดือนก่อนจากฐานที่สูง มูลค่าการนำเข้ารวม 9,879 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยสินค้านำเข้าที่ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง ได้แก่ เชื้อเพลิงและผลิตภัณฑ์ และสินค้าวัตถุดิบ เช่น ผลิตภัณฑ์โลหะและพลาสติก ในขณะที่การนำเข้าสินค้าทุน (รวมการนำเข้าเครื่องบิน 1 ลำ) ชะลอลงจากเดือนก่อน ดุลบริการ รายได้ และเงินโอน เกินดุล 643 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่เกินดุล 440 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากรายรับจากการท่องเที่ยวที่ปรับตัวสูงขึ้นจากเดือนก่อนและการลดลงของเงินส่งกลับกำไรและเงินปันผลของบริษัทข้ามชาติ ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 441 ล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วนดุลการชำระเงินเกินดุล 1,315 ล้านดอลลาร์ สรอ. เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2548 อยู่ที่ระดับ 50.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยมียอดคงค้างการซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าสุทธิจำนวน 2.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
5. อัตรเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนพฤศจิกายน 2548 พิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.9 ชะลอจาก เดือนก่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.2 โดยเป็นผลจากการลดลงของราคาสินค้าหมวดพลังงานเป็นสำคัญ ซึ่งราคาในหมวดพลังงาน ที่ลดลงได้แก่ ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศ โดยราคาน้ำมันเบนซิน 95 และเบนซิน 91 ปรับลดลง 3 ครั้งในเดือนนี้รวม 1.30 บาท และราคาน้ำมันดีเซลปรับลดลง 3 ครั้งเช่นกันรวม 1.10 บาท ขณะที่ราคาหมวดอาหารสดปรับสูงขึ้นเทียบกับปีก่อน โดยเฉพาะผักและผลไม้ ไข่และผลิตภัณฑ์จากนม เนื่องจากยังได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วม นอกจากนี้ ราคาสินค้าสำคัญที่ปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าได้แก่ ค่าโดยสารสาธารณะ ราคาในหมวดยานพาหนะ และหมวดแอลกอฮอล์จากการขึ้น ภาษีสรรพสามิตสุราตั้งแต่เดือนกันยายน ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 เท่ากับเดือนก่อน
ดัชนีราคาผู้ผลิตเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.8 ลดลงจากเดือนก่อนที่ร้อยละ 8.8 ตามราคาหมวดผลิตภัณฑ์จากเหมืองและหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ชะลงลงเนื่องจากต้นทุนที่ลดลงตามราคาน้ำมันในตลาดโลก
6. ภาวะการเงิน เดือนพฤศจิกายน 2548 เงินฝากธนาคารพาณิชย์ขยายตัวร้อยละ 7.8 จากระยะเดียวกัน ปีก่อน และเพิ่มขึ้น 85.0 พันล้านบาทจากเดือนตุลาคม อย่างไรก็ดี เมื่อหักผลของการจัดตั้งธนาคารพาณิชย์แห่งใหม่และ การโอนสินทรัพย์หนี้สินระหว่างบริษัทเงินทุนและธนาคารพาณิชย์บางแห่งตามนโยบาย One Presence ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2548 เป็นต้นมาแล้ว เงินฝากธนาคารพาณิชย์ขยายตัวร้อยละ 4.6 เร่งขึ้นจากอัตราการขยายตัวในช่วงต้นปี เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่เพิ่มขึ้นมีส่วนช่วยจูงใจผู้ฝากเงิน สำหรับสินเชื่อภาคเอกชนของธนาคารพาณิชย์ (รวมการถือครองหลักทรัพย์ของภาคเอกชน) ขยายตัวร้อยละ 6.4 จากระยะเดียวกันปีก่อน แต่เมื่อหักผลของการจัดตั้งธนาคารพาณิชย์แห่งใหม่ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2548 เป็นต้นมา สินเชื่อในเดือนนี้ขยายตัวร้อยละ 3.5 ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวที่ต่ำกว่าในช่วงปลายปี 2547 สอดคล้องกับการชะลอตัวของกิจกรรมในประเทศ
ฐานเงิน ขยายตัวร้อยละ 1.8 จากระยะเดียวกันปีก่อน เป็นอัตราที่ชะลอตัวลงต่อเนื่องจากต้นปี ส่วนหนึ่ง เป็นผลจากฐานสูงในเดือนเดียวกันปีก่อนซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มเปิดศูนย์จัดการธนบัตร ปริมาณเงิน M2 M2a และ M3 ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ 7.2 4.8 และ 5.2 ตามลำดับ เร่งตัวขึ้นจากเดือนตุลาคมเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของเงินฝาก ทั้งจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน รวมทั้งเป็นผลของการจัดตั้งธนาคารพาณิชย์ใหม่และนโยบาย One Presence
อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดเงิน ในเดือนพฤศจิกายน 2548 อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตร ระยะ 1 วันและอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารระยะ 1 วันเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 3.69 และ 3.68 ต่อปี ตามลำดับ สูงขึ้นจาก เดือนก่อนตามแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
7. ค่าเงินบาทในเดือนพฤศจิกายนเฉลี่ยอยู่ที่ 41.12 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงจากค่าเฉลี่ย 40.91 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในเดือนตุลาคม เนื่องจากขณะนั้นความเชื่อมั่นในเงินดอลลาร์ สรอ. ดีขึ้นจากการประกาศตัวเลข GDP ไตรมาสที่ 3 ของสหรัฐฯ ที่สูงกว่าการคาดการณ์ของตลาด ประกอบกับธนาคารกลางสหรัฐฯปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed funds rate อีกร้อยละ 0.25 ต่อปี เป็นร้อยละ 4.00 ต่อปี
ระหว่างวันที่ 1-24 ธันวาคม 2548 ค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์ สรอ. เฉลี่ยใกล้เคียงกับเดือนก่อน โดยมีปัจจัยสนับสนุน ได้แก่ ตัวเลข GDP ไตรมาสที่ 3 ของไทย ซึ่งสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ สำหรับความเชื่อมั่น ในเงินดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเดือนก่อนเพราะตลาดคาดว่าวัฏจักรอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นของสหรัฐฯ ใกล้จะสิ้นสุดแล้ว
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
ด้านอุปทาน รายได้เกษตรกรขยายตัวสูงต่อเนื่อง จากปัจจัยด้านราคาเป็นสำคัญ ส่วนผลผลิตพืชผลหลัก เพิ่มขึ้นเล็กน้อย ด้านการผลิตภาคอุตสาหกรรมชะลอตัวลงจากเดือนก่อนเล็กน้อย ทั้งนี้ บางส่วนเป็นผลจากปัจจัยชั่วคราว ขณะที่การผลิตเพื่อส่งออกยังขยายตัวในเกณฑ์ดี สำหรับในภาคบริการปรับตัวดีขึ้นเป็นลำดับ โดยจำนวนนักท่องเที่ยว ต่างประเทศเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนเล็กน้อย
เสถียรภาพเศรษฐกิจอยู่ในเกณฑ์ดี โดยด้านฐานะเงินสำรองระหว่างประเทศอยู่ในเกณฑ์ดีต่อเนื่อง ฐานะดุลบัญชีเดินสะพัดปรับตัวดีขึ้น ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวอย่างมีเสถียรภาพ และแรงกดดันต่ออัตราเงินเฟ้อทั่วไปเริ่มอ่อนตัวลง
รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจในเดือนพฤศจิกายน ปี 2548 มีดังนี้
1. การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนพฤศจิกายน 2548 ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.0 ชะลอตัวลงเล็กน้อยจากเดือนก่อน การชะลอตัวดังกล่าวเนื่องจากการผลิตในบางหมวดอุตสาหกรรมลดลงจากปัจจัยชั่วคราว ได้แก่ หมวดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม และหมวดผลิตภัณฑ์เคมีที่มีการปิดซ่อมบำรุงโรงงาน ขณะที่บางหมวดอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบจากอุปสงค์ในประเทศที่ชะลอตัวลง เช่น หมวดยาสูบได้รับผลกระทบจากมาตรการห้ามแสดงบุหรี่ ณ จุดขาย หมวดวัสดุ ก่อสร้าง หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กชะลอตัวตามภาคการก่อสร้าง อย่างไรก็ตาม สินค้าหลายหมวดยังขยายตัว ในเกณฑ์ดีตามอุปสงค์จากต่างประเทศ เช่น หมวดอิเล็กทรอนิกส์ที่อยู่ในวัฏจักรขาขึ้น หมวดอาหารโดยเฉพาะอาหารทะเลกระป๋องเพิ่มขึ้นมากตามความต้องการจากต่างประเทศ หมวดสิ่งทอขยายตัวดีตามการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป หมวด ยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่งโดยเฉพาะรถยนต์พาณิชย์ที่อุปสงค์ในประเทศและต่างประเทศยังขยายตัวดี สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรมในเดือนนี้อยู่ที่ร้อยละ 70.3 ลดลงเล็กน้อยจากร้อยละ 72.3 ในเดือนก่อน
2. ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนลดลงร้อยละ 0.2 จากระยะเดียวกันปีก่อน เป็นผลมาจากการลดลง ของปริมาณการใช้ไฟฟ้าและภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่เป็นสำคัญ อย่างไรก็ตาม _ปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่งขยายตัว เนื่องจากมีรถยนต์รุ่นใหม่เปิดตัวในตลาด ดัชนีการลงทุนภาคเอกชน (เบื้องต้น) เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 จากระยะเดียวกัน ปีก่อน ขยายตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ตามการลดลงของการลงทุนในหมวดก่อสร้าง สอดคล้องกับภาวะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่ชะลอตัวลง ตามแนวโน้มพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลและปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ ในประเทศ เช่นเดียวกับการลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรชะลอตัวลงตามมูลค่านำเข้าสินค้าทุน ณ ราคาคงที่ และปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์
3. ภาคการคลังเดือนพฤศจิกายน 2548 รัฐบาลมีรายได้จัดเก็บ 111.3 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกัน ปีก่อนร้อยละ 2.3 ชะลอลงตามรายได้ภาษีที่ขยายตัวเพียงร้อยละ 3.1 แม้ภาษีจัดเก็บจากฐานรายได้ยังขยายตัวดี แต่ภาษี จากฐานการบริโภคและฐานการค้าระหว่างประเทศจัดเก็บได้ลดลง ส่วนหนึ่งเนื่องจากฐานในระยะเดียวกันปีก่อนอยู่ในระดับสูง และการชะลอตัวของการใช้จ่ายในประเทศ ประกอบกับการปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันและภาษีศุลกากร ขณะที่รายได้ ที่มิใช่ภาษีลดลงร้อยละ 4.9 สำหรับดุลเงินสดรัฐบาลในเดือนนี้ขาดดุล 27.8 พันล้านบาท
4. ภาคต่างประเทศ ดุลการค้าขาดดุล 201 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงเมื่อเทียบกับการขาดดุล 372 ล้านดอลลาร์ สรอ. ในเดือนก่อนหน้า โดยการส่งออกขยายตัวร้อยละ 13.8 จากระยะเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 7.7 ในเดือนก่อน คิดเป็นมูลค่าการส่งออกรวม 9,678 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยสินค้าออกสำคัญที่ขยายตัวสูงขึ้น ได้แก่ สินค้าในหมวด อุตสาหกรรม เช่น เสื้อผ้าสำเร็จรูป อัญมณี คอมพิวเตอร์ และแผงวงจรรวมและชิ้นส่วน รวมทั้งยานพาหนะและชิ้นส่วน สำหรับการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 13.7 ชะลอลงจากเดือนก่อนจากฐานที่สูง มูลค่าการนำเข้ารวม 9,879 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยสินค้านำเข้าที่ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง ได้แก่ เชื้อเพลิงและผลิตภัณฑ์ และสินค้าวัตถุดิบ เช่น ผลิตภัณฑ์โลหะและพลาสติก ในขณะที่การนำเข้าสินค้าทุน (รวมการนำเข้าเครื่องบิน 1 ลำ) ชะลอลงจากเดือนก่อน ดุลบริการ รายได้ และเงินโอน เกินดุล 643 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่เกินดุล 440 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากรายรับจากการท่องเที่ยวที่ปรับตัวสูงขึ้นจากเดือนก่อนและการลดลงของเงินส่งกลับกำไรและเงินปันผลของบริษัทข้ามชาติ ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 441 ล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วนดุลการชำระเงินเกินดุล 1,315 ล้านดอลลาร์ สรอ. เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2548 อยู่ที่ระดับ 50.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยมียอดคงค้างการซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าสุทธิจำนวน 2.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
5. อัตรเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนพฤศจิกายน 2548 พิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.9 ชะลอจาก เดือนก่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.2 โดยเป็นผลจากการลดลงของราคาสินค้าหมวดพลังงานเป็นสำคัญ ซึ่งราคาในหมวดพลังงาน ที่ลดลงได้แก่ ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศ โดยราคาน้ำมันเบนซิน 95 และเบนซิน 91 ปรับลดลง 3 ครั้งในเดือนนี้รวม 1.30 บาท และราคาน้ำมันดีเซลปรับลดลง 3 ครั้งเช่นกันรวม 1.10 บาท ขณะที่ราคาหมวดอาหารสดปรับสูงขึ้นเทียบกับปีก่อน โดยเฉพาะผักและผลไม้ ไข่และผลิตภัณฑ์จากนม เนื่องจากยังได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วม นอกจากนี้ ราคาสินค้าสำคัญที่ปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าได้แก่ ค่าโดยสารสาธารณะ ราคาในหมวดยานพาหนะ และหมวดแอลกอฮอล์จากการขึ้น ภาษีสรรพสามิตสุราตั้งแต่เดือนกันยายน ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 เท่ากับเดือนก่อน
ดัชนีราคาผู้ผลิตเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.8 ลดลงจากเดือนก่อนที่ร้อยละ 8.8 ตามราคาหมวดผลิตภัณฑ์จากเหมืองและหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ชะลงลงเนื่องจากต้นทุนที่ลดลงตามราคาน้ำมันในตลาดโลก
6. ภาวะการเงิน เดือนพฤศจิกายน 2548 เงินฝากธนาคารพาณิชย์ขยายตัวร้อยละ 7.8 จากระยะเดียวกัน ปีก่อน และเพิ่มขึ้น 85.0 พันล้านบาทจากเดือนตุลาคม อย่างไรก็ดี เมื่อหักผลของการจัดตั้งธนาคารพาณิชย์แห่งใหม่และ การโอนสินทรัพย์หนี้สินระหว่างบริษัทเงินทุนและธนาคารพาณิชย์บางแห่งตามนโยบาย One Presence ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2548 เป็นต้นมาแล้ว เงินฝากธนาคารพาณิชย์ขยายตัวร้อยละ 4.6 เร่งขึ้นจากอัตราการขยายตัวในช่วงต้นปี เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่เพิ่มขึ้นมีส่วนช่วยจูงใจผู้ฝากเงิน สำหรับสินเชื่อภาคเอกชนของธนาคารพาณิชย์ (รวมการถือครองหลักทรัพย์ของภาคเอกชน) ขยายตัวร้อยละ 6.4 จากระยะเดียวกันปีก่อน แต่เมื่อหักผลของการจัดตั้งธนาคารพาณิชย์แห่งใหม่ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2548 เป็นต้นมา สินเชื่อในเดือนนี้ขยายตัวร้อยละ 3.5 ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวที่ต่ำกว่าในช่วงปลายปี 2547 สอดคล้องกับการชะลอตัวของกิจกรรมในประเทศ
ฐานเงิน ขยายตัวร้อยละ 1.8 จากระยะเดียวกันปีก่อน เป็นอัตราที่ชะลอตัวลงต่อเนื่องจากต้นปี ส่วนหนึ่ง เป็นผลจากฐานสูงในเดือนเดียวกันปีก่อนซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มเปิดศูนย์จัดการธนบัตร ปริมาณเงิน M2 M2a และ M3 ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ 7.2 4.8 และ 5.2 ตามลำดับ เร่งตัวขึ้นจากเดือนตุลาคมเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของเงินฝาก ทั้งจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน รวมทั้งเป็นผลของการจัดตั้งธนาคารพาณิชย์ใหม่และนโยบาย One Presence
อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดเงิน ในเดือนพฤศจิกายน 2548 อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตร ระยะ 1 วันและอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารระยะ 1 วันเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 3.69 และ 3.68 ต่อปี ตามลำดับ สูงขึ้นจาก เดือนก่อนตามแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
7. ค่าเงินบาทในเดือนพฤศจิกายนเฉลี่ยอยู่ที่ 41.12 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงจากค่าเฉลี่ย 40.91 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในเดือนตุลาคม เนื่องจากขณะนั้นความเชื่อมั่นในเงินดอลลาร์ สรอ. ดีขึ้นจากการประกาศตัวเลข GDP ไตรมาสที่ 3 ของสหรัฐฯ ที่สูงกว่าการคาดการณ์ของตลาด ประกอบกับธนาคารกลางสหรัฐฯปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed funds rate อีกร้อยละ 0.25 ต่อปี เป็นร้อยละ 4.00 ต่อปี
ระหว่างวันที่ 1-24 ธันวาคม 2548 ค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์ สรอ. เฉลี่ยใกล้เคียงกับเดือนก่อน โดยมีปัจจัยสนับสนุน ได้แก่ ตัวเลข GDP ไตรมาสที่ 3 ของไทย ซึ่งสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ สำหรับความเชื่อมั่น ในเงินดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเดือนก่อนเพราะตลาดคาดว่าวัฏจักรอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นของสหรัฐฯ ใกล้จะสิ้นสุดแล้ว
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--