นางพรรณี สถาวโรดม ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ สรุปผลการดำเนินการบริหารจัดการหนี้ของภาครัฐประจำเดือนสิงหาคม 2548 และในช่วง 11 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณ 2548 (ตุลาคม 2547 - สิงหาคม 2548) พร้อมทั้งสถานะหนี้สาธารณะล่าสุด ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2548 ดังนี้
1. การปรับโครงสร้างหนี้ของภาครัฐ
ในเดือนสิงหาคม 2548 :-
1.1 ด้านต่างประเทศ
ท รัฐบาล
กระทรวงการคลังได้ปรับโครงสร้างหนี้ต่างประเทศโดยการ Refinance เงินกู้ ECP (Euro Commercial Paper) ด้วยเงินบาท วงเงิน 685 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเทียบเท่าประมาณ 28,197 ล้านบาท โดยชำระคืนก่อนครบกำหนด 697 ล้านบาท ส่วนที่เหลือจำนวน 27,500 ล้านบาท กำหนดกู้โดยการออกพันธบัตร โดยในชั้นแรกได้นำเงินที่ได้จากการประมูลพันธบัตรงวดแรก 3,000 ล้านบาท และการกู้เงินระยะสั้น 24,500 ล้านบาท เพื่อชำระคืน ECP ในวันครบกำหนดไถ่ถอน และทยอยออกพันธบัตรมาชำระคืนเงินกู้ระยะสั้น โดยได้รับเงินในเดือนนี้ 12,000 ล้านบาท ผลจากการดำเนินการดังกล่าวทำให้สามารถลดยอดหนี้คงค้างได้ 697 ล้านบาท และลดภาระดอกเบี้ยได้รวม 4,708 ล้านบาท
รัฐวิสาหกิจ
การประปานครหลวงได้ปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้ต่างประเทศจากธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (Japan Bank for International Cooperation : JBIC)โดยการชำระคืนก่อนครบกำหนด 1,590 ล้านเยน หรือเทียบเท่า 593 ล้านบาท และ Refinance ด้วยเงินบาท 8,041 ล้านเยน หรือเทียบเท่า 3,000 ล้านบาท ผลจากการดำเนินการดังกล่าว ทำให้ลดยอดหนี้คงค้างได้ 593 ล้านบาท และลดภาระดอกเบี้ยได้รวม 471 ล้านบาท
1.2 ด้านในประเทศ
การรถไฟแห่งประเทศไทยได้กู้เงินในประเทศเพื่อ Roll Over หนี้เดิม 1,605 ล้านบาท
ในช่วง 11 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณ 2548 :-
ด้านต่างประเทศ
ในด้านต่างประเทศได้มีการปรับโครงสร้างหนี้ในช่วง 11 เดือนแรกของปีงบประมาณเป็นเงินรวม 146,433 ล้านบาท โดยเป็นของรัฐบาล 122,733 ล้านบาท และรัฐวิสาหกิจ 23,700 ล้านบาท ทำให้ลดยอดหนี้คงค้างได้รวม 25,549 ล้านบาท ลดภาระดอกเบี้ยได้ 14,232 ล้านบาท
ด้านในประเทศ
ด้านในประเทศได้มีการปรับโครงสร้างหนี้รวม 112,657 ล้านบาท โดยเป็นการปรับโครงสร้างหนี้ของรัฐบาล 96,520 ล้านบาท ประกอบด้วยการปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตร FIDF1 96,153 ล้านบาท การไถ่ถอนพันธบัตรช่วยเพิ่มเงินกองทุนชั้นที่ 1 และ 2 ก่อนครบกำหนดเป็นวงเงินรวม 367 ล้านบาท ซึ่งลดภาระดอกเบี้ยในอนาคตได้ 64 ล้านบาท และการ Roll Over หนี้ของรัฐวิสาหกิจรวม 16,137 ล้านบาท ซึ่งเป็นการขยายระยะเงินกู้ให้สอดคล้องกับระยะคืนทุนในการดำเนินโครงการลงทุนของรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ
2. การกู้เงินของภาครัฐ
ในเดือนสิงหาคม 2548 :-
กระทรวงการคลังได้ออกพันธบัตรเพื่อชดใช้ความเสียหายให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF3) โดยได้รับเงินในเดือนนี้ 14,500 ล้านบาท สำหรับรัฐวิสาหกิจได้กู้เงินในประเทศรวม 7,855 ล้านบาท โดยเป็นการกู้เพื่อลงทุน 5,855 ล้านบาท เป็นเงินบาทสมทบ 1,339 ล้านบาท และทดแทนเงินกู้ต่างประเทศ 661 ล้านบาท
ในช่วง 11 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณ 2548 :-
ภาครัฐได้กู้เงินรวม 222,675 ล้านบาท เป็นการกู้เงินของรัฐวิสาหกิจตามแผนการก่อหนี้จากต่างประเทศ 31,532 ล้านบาท และการกู้เงินในประเทศ 191,143 ล้านบาท ซึ่งเป็นการกู้ของกระทรวงการคลัง 62,800 ล้านบาท และรัฐวิสาหกิจ 128,343 ล้านบาท
3. การชำระหนี้ของรัฐบาล
ในเดือนสิงหาคม 2548 กระทรวงการคลังได้ดำเนินการชำระหนี้จากงบประมาณ 5,469 ล้านบาทเป็นการชำระคืนเงินต้น 831 ล้านบาท ดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมรวม 4,638 ล้านบาท
ในช่วง 11 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณ 2548 กระทรวงการคลังได้ดำเนินการชำระหนี้จากงบประมาณรวม 108,112 ล้านบาท
สถานะหนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2548
ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2548 มีจำนวน 3,233,555 ล้านบาท หรือร้อยละ 45.27 ของ GDP เป็นหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง 1,804,957 ล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 997,670 ล้านบาท และหนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน 430,928 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น 23,216 ล้านบาท โดยหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงเพิ่มขึ้น 28,834 ล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงินเพิ่มขึ้น 5,142 ล้านบาท และหนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ลดลง 10,760 ล้านบาท
หนี้สาธารณะจำแนกได้เป็นหนี้ต่างประเทศ 639,781 ล้านบาท หรือร้อยละ 19.79 และหนี้ในประเทศ 2,593,774 ล้านบาท หรือร้อยละ 80.21 และเป็นหนี้ระยะยาว 2,542,524 ล้านบาท หรือร้อยละ 78.63 และหนี้ระยะสั้น 691,031 ล้านบาท หรือร้อยละ 21.37
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 74/2548 13 กันยายน 48--
1. การปรับโครงสร้างหนี้ของภาครัฐ
ในเดือนสิงหาคม 2548 :-
1.1 ด้านต่างประเทศ
ท รัฐบาล
กระทรวงการคลังได้ปรับโครงสร้างหนี้ต่างประเทศโดยการ Refinance เงินกู้ ECP (Euro Commercial Paper) ด้วยเงินบาท วงเงิน 685 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเทียบเท่าประมาณ 28,197 ล้านบาท โดยชำระคืนก่อนครบกำหนด 697 ล้านบาท ส่วนที่เหลือจำนวน 27,500 ล้านบาท กำหนดกู้โดยการออกพันธบัตร โดยในชั้นแรกได้นำเงินที่ได้จากการประมูลพันธบัตรงวดแรก 3,000 ล้านบาท และการกู้เงินระยะสั้น 24,500 ล้านบาท เพื่อชำระคืน ECP ในวันครบกำหนดไถ่ถอน และทยอยออกพันธบัตรมาชำระคืนเงินกู้ระยะสั้น โดยได้รับเงินในเดือนนี้ 12,000 ล้านบาท ผลจากการดำเนินการดังกล่าวทำให้สามารถลดยอดหนี้คงค้างได้ 697 ล้านบาท และลดภาระดอกเบี้ยได้รวม 4,708 ล้านบาท
รัฐวิสาหกิจ
การประปานครหลวงได้ปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้ต่างประเทศจากธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (Japan Bank for International Cooperation : JBIC)โดยการชำระคืนก่อนครบกำหนด 1,590 ล้านเยน หรือเทียบเท่า 593 ล้านบาท และ Refinance ด้วยเงินบาท 8,041 ล้านเยน หรือเทียบเท่า 3,000 ล้านบาท ผลจากการดำเนินการดังกล่าว ทำให้ลดยอดหนี้คงค้างได้ 593 ล้านบาท และลดภาระดอกเบี้ยได้รวม 471 ล้านบาท
1.2 ด้านในประเทศ
การรถไฟแห่งประเทศไทยได้กู้เงินในประเทศเพื่อ Roll Over หนี้เดิม 1,605 ล้านบาท
ในช่วง 11 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณ 2548 :-
ด้านต่างประเทศ
ในด้านต่างประเทศได้มีการปรับโครงสร้างหนี้ในช่วง 11 เดือนแรกของปีงบประมาณเป็นเงินรวม 146,433 ล้านบาท โดยเป็นของรัฐบาล 122,733 ล้านบาท และรัฐวิสาหกิจ 23,700 ล้านบาท ทำให้ลดยอดหนี้คงค้างได้รวม 25,549 ล้านบาท ลดภาระดอกเบี้ยได้ 14,232 ล้านบาท
ด้านในประเทศ
ด้านในประเทศได้มีการปรับโครงสร้างหนี้รวม 112,657 ล้านบาท โดยเป็นการปรับโครงสร้างหนี้ของรัฐบาล 96,520 ล้านบาท ประกอบด้วยการปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตร FIDF1 96,153 ล้านบาท การไถ่ถอนพันธบัตรช่วยเพิ่มเงินกองทุนชั้นที่ 1 และ 2 ก่อนครบกำหนดเป็นวงเงินรวม 367 ล้านบาท ซึ่งลดภาระดอกเบี้ยในอนาคตได้ 64 ล้านบาท และการ Roll Over หนี้ของรัฐวิสาหกิจรวม 16,137 ล้านบาท ซึ่งเป็นการขยายระยะเงินกู้ให้สอดคล้องกับระยะคืนทุนในการดำเนินโครงการลงทุนของรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ
2. การกู้เงินของภาครัฐ
ในเดือนสิงหาคม 2548 :-
กระทรวงการคลังได้ออกพันธบัตรเพื่อชดใช้ความเสียหายให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF3) โดยได้รับเงินในเดือนนี้ 14,500 ล้านบาท สำหรับรัฐวิสาหกิจได้กู้เงินในประเทศรวม 7,855 ล้านบาท โดยเป็นการกู้เพื่อลงทุน 5,855 ล้านบาท เป็นเงินบาทสมทบ 1,339 ล้านบาท และทดแทนเงินกู้ต่างประเทศ 661 ล้านบาท
ในช่วง 11 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณ 2548 :-
ภาครัฐได้กู้เงินรวม 222,675 ล้านบาท เป็นการกู้เงินของรัฐวิสาหกิจตามแผนการก่อหนี้จากต่างประเทศ 31,532 ล้านบาท และการกู้เงินในประเทศ 191,143 ล้านบาท ซึ่งเป็นการกู้ของกระทรวงการคลัง 62,800 ล้านบาท และรัฐวิสาหกิจ 128,343 ล้านบาท
3. การชำระหนี้ของรัฐบาล
ในเดือนสิงหาคม 2548 กระทรวงการคลังได้ดำเนินการชำระหนี้จากงบประมาณ 5,469 ล้านบาทเป็นการชำระคืนเงินต้น 831 ล้านบาท ดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมรวม 4,638 ล้านบาท
ในช่วง 11 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณ 2548 กระทรวงการคลังได้ดำเนินการชำระหนี้จากงบประมาณรวม 108,112 ล้านบาท
สถานะหนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2548
ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2548 มีจำนวน 3,233,555 ล้านบาท หรือร้อยละ 45.27 ของ GDP เป็นหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง 1,804,957 ล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 997,670 ล้านบาท และหนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน 430,928 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น 23,216 ล้านบาท โดยหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงเพิ่มขึ้น 28,834 ล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงินเพิ่มขึ้น 5,142 ล้านบาท และหนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ลดลง 10,760 ล้านบาท
หนี้สาธารณะจำแนกได้เป็นหนี้ต่างประเทศ 639,781 ล้านบาท หรือร้อยละ 19.79 และหนี้ในประเทศ 2,593,774 ล้านบาท หรือร้อยละ 80.21 และเป็นหนี้ระยะยาว 2,542,524 ล้านบาท หรือร้อยละ 78.63 และหนี้ระยะสั้น 691,031 ล้านบาท หรือร้อยละ 21.37
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 74/2548 13 กันยายน 48--