กรุงเทพ--12 ม.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
ไทยผลักดันข้อเสนอในการเจรจาทรัพย์สินทางปัญญาท่ามกลางกระแสต่อต้านการเจรจา FTA ไทย-สหรัฐฯ
คณะผู้แทนไทยในการเจรจาการค้าเสรีไทย-สหรัฐฯ รอบที่ 6 ณ จังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยว่า ในวันที่สองของการเจรจา FTA ไทย-สหรัฐฯ (10 มกราคม 2549) ในเรื่อง แหล่งกำเนิดสินค้า ได้มีการหารือกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้าอุตสาหกรรมบางรายการซึ่งเป็นเป้าหมายของไทย อาทิ เซรามิค อัญมณี เครื่องแก้ว
สำหรับการลดภาษีสินค้า หลังการเจรจาฯ รอบที่ 6 ฝ่ายสหรัฐฯ เสนอว่า ภายหลังจากที่ความตกลง FTA มีผลบังคับใช้ สหรัฐฯ พร้อมที่จะลดภาษีเหลือ 0 (หรือยกเว้นการเก็บภาษี) ทันที สำหรับสินค้าส่งออกของไทยประเภทต่างๆ ที่ส่งเข้าไปในตลาดสหรัฐฯ คิดเป็นมูลค่า 74% ของมูลค่าการนำเข้าสินค้าจากไทย หรือประมาณ 1,280 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หลังจากนั้น ในช่วงที่ 2 คือ ภายใน 5 ปีหลังจากที่มีความตกลงฯ ระหว่างกัน สหรัฐฯ พร้อมจะขยายการลดภาษีเหลือ 0 ให้สินค้าไทย คิดเป็นมูลค่า 85% หรือประมาณ 1,460 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งจะครอบคลุมสินค้าประเภทรองเท้า ผลิตภัณฑ์พลาสติก เซรามิค เครื่องหนัง ผักผลไม้แปรรูป เครื่องประดับอัญมณี นาฬิกาและส่วนประกอบ และในช่วงที่ 3 คือภายใน 10 ปี หลังการมีความตกลงฯ สหรัฐฯ จะลดภาษีเหลือ 0 ให้สินค้าไทยประเภทต่างๆ เพิ่มขึ้นอีก จนถึงระดับ 97% ของมูลค่าสินค้าไทยส่งออกไปตลาดสหรัฐฯ ทั้งหมด หรือประมาณ 1,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยสินค้าในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่ ได้แก่ปลาทูน่ากระป๋อง ยานยนต์และชิ้นส่วน รองเท้า ข้าว น้ำตาล ผักผลไม้แปรรูป (สหรัฐฯ ยังตั้งข้อสงวนที่จะเก็บภาษีในสินค้าบางประเภทที่มีมูลค่าประมาณ 3% ของมูลค่าสินค้าที่ไทยส่งออกไปยังสหรัฐฯ) ทั้งนี้ ไทยมีเป้าหมายที่จะผลักดันให้สหรัฐฯ ร่นระยะเวลาการลดภาษีเหลือ 0 เร็วขึ้นและมากขึ้นในการเจรจารอบต่อไป
การจัดทำ FTA ไทย-สหรัฐฯ ยังช่วยให้สามารถรักษาตลาดสินค้าสำคัญๆ ของสินค้าไทยในสหรัฐฯ ซึ่งเคยได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) เช่น อัญมณีและเครื่องประดับ แต่สิทธิในการได้รับ GSP กำลังจะหมดไป ไทยจึงมีความจำเป็นที่จะต้องเจรจาเพื่อคงสิทธิพิเศษในด้านภาษีศุลกากรในสินค้ารายการดังกล่าว
การเจรจาการจัดซื้อโดยรัฐ ในวันที่สอง ได้มีการหารือกันเพิ่มเติมเกี่ยวกับความคาดหวังของแต่ละฝ่ายในการเข้าสู่ตลาดการจัดซื้อภาครัฐทั้งในด้านสินค้าและบริการ และได้มีการหารือเกี่ยวกับมูลค่าการจัดซื้อขั้นต่ำที่จะเข้าตลาดของแต่ละฝ่ายได้ โดยสหรัฐฯ แจ้งว่างบประมาณการจัดซื้อจัดจ้างของรัฐบาลกลางสหรัฐฯ มีมูลค่าประมาณ 3 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ต่อปี ซึ่งจะเป็นโอกาสสำหรับภาคเอกชนไทยที่จะเข้าร่วมประมูลการจัดซื้อจัดจ้างในสหรัฐฯ
ในหัวข้อการค้าบริการ ซึ่งเริ่มเจรจาเป็นวันแรก สหรัฐฯ ได้แสดงความยืดหยุ่นที่จะพิจารณาข้อเสนอของไทยในเรื่องการยอมรับคุณสมบัติของผู้ให้บริการระหว่างกัน รวมทั้งข้อเสนอเรื่องมาตรการปกป้องไว้ใน FTA นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันเพิ่มเติม เพื่อเตรียมการเจรจาเปิดเสรีในรายสาขาต่อไป
ในวันที่สองของการหารือหัวข้อสิ่งแวดล้อม ไทยยืนยันให้มีการบังคับใช้กฏหมายครอบคลุมระดับมลรัฐนอกเหนือจากระดับรัฐบาลกลาง ขณะที่ในส่วนของความร่วมมือ จะได้มีการหารือกันในเรื่องการจัดทำบันทึกความเข้าใจ (MOU) ต่อไป
สำหรับหัวข้อทรัพย์สินทางปัญญา ฝ่ายไทยได้ผลักดันให้ฝ่ายสหรัฐฯ ให้ความคุ้มครองแก่สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์สำหรับสินค้าของไทย โดยเฉพาะข้าวหอมมะลิไทย และผ้าไหมไทยในระดับที่เท่าเทียมกับเหล้าและไวน์ของประเทศอื่น โดยย้ำว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ไทยให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ ได้มีการเจรจากันในเรื่องการคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่น และการป้องกันการจารกรรมทางชีวภาพ (Bio-piracy) โดยไทยผลักดันให้สหรัฐฯ ยอมรับหลักการของการขออนุญาตก่อนการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพ และหลักการแบ่งปันผลประโยชน์ หากมีการนำทรัพยากรดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ซึ่งในชั้นนี้ ฝ่ายสหรัฐฯ ได้เห็นชอบกับหลักการดังกล่าวแล้ว แต่ยังต้องเจรจาในรายละเอียดกันต่อไป
...................................
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
ไทยผลักดันข้อเสนอในการเจรจาทรัพย์สินทางปัญญาท่ามกลางกระแสต่อต้านการเจรจา FTA ไทย-สหรัฐฯ
คณะผู้แทนไทยในการเจรจาการค้าเสรีไทย-สหรัฐฯ รอบที่ 6 ณ จังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยว่า ในวันที่สองของการเจรจา FTA ไทย-สหรัฐฯ (10 มกราคม 2549) ในเรื่อง แหล่งกำเนิดสินค้า ได้มีการหารือกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้าอุตสาหกรรมบางรายการซึ่งเป็นเป้าหมายของไทย อาทิ เซรามิค อัญมณี เครื่องแก้ว
สำหรับการลดภาษีสินค้า หลังการเจรจาฯ รอบที่ 6 ฝ่ายสหรัฐฯ เสนอว่า ภายหลังจากที่ความตกลง FTA มีผลบังคับใช้ สหรัฐฯ พร้อมที่จะลดภาษีเหลือ 0 (หรือยกเว้นการเก็บภาษี) ทันที สำหรับสินค้าส่งออกของไทยประเภทต่างๆ ที่ส่งเข้าไปในตลาดสหรัฐฯ คิดเป็นมูลค่า 74% ของมูลค่าการนำเข้าสินค้าจากไทย หรือประมาณ 1,280 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หลังจากนั้น ในช่วงที่ 2 คือ ภายใน 5 ปีหลังจากที่มีความตกลงฯ ระหว่างกัน สหรัฐฯ พร้อมจะขยายการลดภาษีเหลือ 0 ให้สินค้าไทย คิดเป็นมูลค่า 85% หรือประมาณ 1,460 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งจะครอบคลุมสินค้าประเภทรองเท้า ผลิตภัณฑ์พลาสติก เซรามิค เครื่องหนัง ผักผลไม้แปรรูป เครื่องประดับอัญมณี นาฬิกาและส่วนประกอบ และในช่วงที่ 3 คือภายใน 10 ปี หลังการมีความตกลงฯ สหรัฐฯ จะลดภาษีเหลือ 0 ให้สินค้าไทยประเภทต่างๆ เพิ่มขึ้นอีก จนถึงระดับ 97% ของมูลค่าสินค้าไทยส่งออกไปตลาดสหรัฐฯ ทั้งหมด หรือประมาณ 1,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยสินค้าในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่ ได้แก่ปลาทูน่ากระป๋อง ยานยนต์และชิ้นส่วน รองเท้า ข้าว น้ำตาล ผักผลไม้แปรรูป (สหรัฐฯ ยังตั้งข้อสงวนที่จะเก็บภาษีในสินค้าบางประเภทที่มีมูลค่าประมาณ 3% ของมูลค่าสินค้าที่ไทยส่งออกไปยังสหรัฐฯ) ทั้งนี้ ไทยมีเป้าหมายที่จะผลักดันให้สหรัฐฯ ร่นระยะเวลาการลดภาษีเหลือ 0 เร็วขึ้นและมากขึ้นในการเจรจารอบต่อไป
การจัดทำ FTA ไทย-สหรัฐฯ ยังช่วยให้สามารถรักษาตลาดสินค้าสำคัญๆ ของสินค้าไทยในสหรัฐฯ ซึ่งเคยได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) เช่น อัญมณีและเครื่องประดับ แต่สิทธิในการได้รับ GSP กำลังจะหมดไป ไทยจึงมีความจำเป็นที่จะต้องเจรจาเพื่อคงสิทธิพิเศษในด้านภาษีศุลกากรในสินค้ารายการดังกล่าว
การเจรจาการจัดซื้อโดยรัฐ ในวันที่สอง ได้มีการหารือกันเพิ่มเติมเกี่ยวกับความคาดหวังของแต่ละฝ่ายในการเข้าสู่ตลาดการจัดซื้อภาครัฐทั้งในด้านสินค้าและบริการ และได้มีการหารือเกี่ยวกับมูลค่าการจัดซื้อขั้นต่ำที่จะเข้าตลาดของแต่ละฝ่ายได้ โดยสหรัฐฯ แจ้งว่างบประมาณการจัดซื้อจัดจ้างของรัฐบาลกลางสหรัฐฯ มีมูลค่าประมาณ 3 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ต่อปี ซึ่งจะเป็นโอกาสสำหรับภาคเอกชนไทยที่จะเข้าร่วมประมูลการจัดซื้อจัดจ้างในสหรัฐฯ
ในหัวข้อการค้าบริการ ซึ่งเริ่มเจรจาเป็นวันแรก สหรัฐฯ ได้แสดงความยืดหยุ่นที่จะพิจารณาข้อเสนอของไทยในเรื่องการยอมรับคุณสมบัติของผู้ให้บริการระหว่างกัน รวมทั้งข้อเสนอเรื่องมาตรการปกป้องไว้ใน FTA นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันเพิ่มเติม เพื่อเตรียมการเจรจาเปิดเสรีในรายสาขาต่อไป
ในวันที่สองของการหารือหัวข้อสิ่งแวดล้อม ไทยยืนยันให้มีการบังคับใช้กฏหมายครอบคลุมระดับมลรัฐนอกเหนือจากระดับรัฐบาลกลาง ขณะที่ในส่วนของความร่วมมือ จะได้มีการหารือกันในเรื่องการจัดทำบันทึกความเข้าใจ (MOU) ต่อไป
สำหรับหัวข้อทรัพย์สินทางปัญญา ฝ่ายไทยได้ผลักดันให้ฝ่ายสหรัฐฯ ให้ความคุ้มครองแก่สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์สำหรับสินค้าของไทย โดยเฉพาะข้าวหอมมะลิไทย และผ้าไหมไทยในระดับที่เท่าเทียมกับเหล้าและไวน์ของประเทศอื่น โดยย้ำว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ไทยให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ ได้มีการเจรจากันในเรื่องการคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่น และการป้องกันการจารกรรมทางชีวภาพ (Bio-piracy) โดยไทยผลักดันให้สหรัฐฯ ยอมรับหลักการของการขออนุญาตก่อนการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพ และหลักการแบ่งปันผลประโยชน์ หากมีการนำทรัพยากรดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ซึ่งในชั้นนี้ ฝ่ายสหรัฐฯ ได้เห็นชอบกับหลักการดังกล่าวแล้ว แต่ยังต้องเจรจาในรายละเอียดกันต่อไป
...................................
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-