กรุงเทพ--5 ก.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2548 ดร. กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการ-ต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์และตอบคำถามของสื่อมวลชน ทางโทรศัพท์ทางไกลจากกรุงย่างกุ้ง ประเทศพม่า มายังกระทรวงการต่างประเทศ เกี่ยวกับผลการเยือนประเทศพม่า ระหว่างวันที่ 31 สิงหาคม -1 กันยายน 2548สรุปประเด็นสำคัญได้ดังนี้
1. ดร. กันตธีร์ฯ กล่าวถึงจุดประสงค์ในการเยือนประเทศพม่า ครั้งนี้ ว่าเป็นประเพณีปฏิบัติ ของประเทศสมาชิกอาเซียน โดยจุดประสงค์หลักคือ การแลกเปลี่ยนความเห็นในกรอบทวิภาคี โดยได้เข้าเยี่ยมคารวะและหารือกับบุคลลสำคัญของพม่า ประกอบด้วย พลเอกอาวุโส ตาน ฉ่วย ประธานสภาเพื่อสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ (SPDC) รองพลเอกอาวุโส หม่อง เอ รองประธาน SPDC พลเอกตูระ ฉ่วย มาน สมาชิก SPDC /เสนาธิการทหาร พลเอก โซ วิน นายกรัฐมนตรี พลโท เต็ง เส่ง เลขาธิการ 1 ของ SPDC นายญาณ วิน รมว. กต.พม่า โดยได้ใช้เวลาในการหารือ 1 ชั่วโมง 20 นาที
ในประเด็นเรื่องความร่วมมือด้านชายแดน ซึ่ง ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบในข้อเสนอของไทยที่ประสงค์ให้มีการประชุม Joint Boundary Committee ในอีก 2 เดือน
2. ต่อคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของพลเอกอาวุโส ตัน ฉ่วย ดร. กันตธีร์ กล่าวว่า พลเอกอาวุโส ตาน ฉ่วย มีสุขภาพปกติดี
3. ในส่วนที่เกี่ยวกับกระบวนการปรองดองแห่งชาติ (National Reconcilation) และการร่างรัฐธรรมนูญของพม่า ดร. กันตธีร์ฯ กล่าวว่า พม่ากำหนดกรอบเวลาเกี่ยวกับ National Convention ไว้ชัดเจนคือ จะเริ่มดำเนินการในเดือนพฤศจิกายน หรือ ต้นเดือน ธันวาคม 2548
โดยปี 2549 จะเป็นปีแห่งกระบวนการปรองดองแห่งชาติ ส่วนเรื่องร่างรัฐธรรมณูญ ยังไม่ระบุกรอบเวลา แต่คาดว่าจะเป็นปีหน้า อนึ่ง ฝ่ายไทยได้มอบเงินให้มหาวิทยาลัย University for Development of National Races จำนวน 2 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการศึกษาอันจะยังผลไปสู่การพัฒนาระชาธิปไตย และการสร้างสมานฉันท์ขึ้นภายในประเทศพม่าในอนาคต
4. ในส่วนที่เกี่ยวกับการเยือนประเทศพม่าของเลขาธิการ UN คนปัจจุบัน ดร. กันตธีร์ ชี้แจงว่ายังไม่มีความชัดเจนในเรื่องดังกล่าว ทั้งนี้ นายAli Alatas อดีตรมว. กต. อินโดนีเซีย ได้เคยเยือน และหารือกับ รมว. กต. ของพม่า ซึ่งถือว่าเป็นการเปิดประตูไว้ชั้นหนึ่งแล้ว
5. ด้านความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ฝ่ายไทยได้ยกประเด็นต่างๆขึ้นหารือ ได้แก่ เรื่องพลังงาน การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การสาธารณสุข การปลูกพืชทดแทนด้านการพลังงาน การปลูกพืชทดแทนยาเสพติด การสร้างสะพานข้ามแม่น้ำแม่สายแห่งที่ 2 ที่จังหวัดเชียงราย
6. ในเรื่องปัญหาแรงงานพม่าในประเทศไทย ดร. กันตธีร์ฯ ชี้แจงว่า พม่าได้แสดงความพร้อมในการแลกเปลี่ยนข้อมูล ซึ่งต่างยอมรับว่าเป็นปัญหาที่แก้ลำบาก โดยเฉพาะเรื่องการพิสูจน์สัญชาติ ดังนั้น ทั้งสองฝ่ายจึงเห็นชอบร่วมกันในการจัดตั้ง Working Group โดยสถานเอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงย่างกุ้ง จะเป็นผู้ประสานในเรื่องดังกล่าวต่อไป อนึ่ง ฝ่ายไทยได้ยกประเด็นในการแก้ปัญหาการ พิสูจน์สัญชาติ เป็นแบบสองลักษณะ คือ กลุ่มแรงงานพม่าในส่วนกลาง ให้ทำหนังสือเดินทาง หรือเอกสารประจำตัว และลงทะเบียน ในกรุงเทพฯ และ กลุ่มแรงงานพม่าบริเวณชายแดน ให้ไปจัดทำเอกสารสำคัญประจำตัวหรือหนังสือเดินทางที่ด่านบริเวณชายแดนไทย-พม่า
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2548 ดร. กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการ-ต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์และตอบคำถามของสื่อมวลชน ทางโทรศัพท์ทางไกลจากกรุงย่างกุ้ง ประเทศพม่า มายังกระทรวงการต่างประเทศ เกี่ยวกับผลการเยือนประเทศพม่า ระหว่างวันที่ 31 สิงหาคม -1 กันยายน 2548สรุปประเด็นสำคัญได้ดังนี้
1. ดร. กันตธีร์ฯ กล่าวถึงจุดประสงค์ในการเยือนประเทศพม่า ครั้งนี้ ว่าเป็นประเพณีปฏิบัติ ของประเทศสมาชิกอาเซียน โดยจุดประสงค์หลักคือ การแลกเปลี่ยนความเห็นในกรอบทวิภาคี โดยได้เข้าเยี่ยมคารวะและหารือกับบุคลลสำคัญของพม่า ประกอบด้วย พลเอกอาวุโส ตาน ฉ่วย ประธานสภาเพื่อสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ (SPDC) รองพลเอกอาวุโส หม่อง เอ รองประธาน SPDC พลเอกตูระ ฉ่วย มาน สมาชิก SPDC /เสนาธิการทหาร พลเอก โซ วิน นายกรัฐมนตรี พลโท เต็ง เส่ง เลขาธิการ 1 ของ SPDC นายญาณ วิน รมว. กต.พม่า โดยได้ใช้เวลาในการหารือ 1 ชั่วโมง 20 นาที
ในประเด็นเรื่องความร่วมมือด้านชายแดน ซึ่ง ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบในข้อเสนอของไทยที่ประสงค์ให้มีการประชุม Joint Boundary Committee ในอีก 2 เดือน
2. ต่อคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของพลเอกอาวุโส ตัน ฉ่วย ดร. กันตธีร์ กล่าวว่า พลเอกอาวุโส ตาน ฉ่วย มีสุขภาพปกติดี
3. ในส่วนที่เกี่ยวกับกระบวนการปรองดองแห่งชาติ (National Reconcilation) และการร่างรัฐธรรมนูญของพม่า ดร. กันตธีร์ฯ กล่าวว่า พม่ากำหนดกรอบเวลาเกี่ยวกับ National Convention ไว้ชัดเจนคือ จะเริ่มดำเนินการในเดือนพฤศจิกายน หรือ ต้นเดือน ธันวาคม 2548
โดยปี 2549 จะเป็นปีแห่งกระบวนการปรองดองแห่งชาติ ส่วนเรื่องร่างรัฐธรรมณูญ ยังไม่ระบุกรอบเวลา แต่คาดว่าจะเป็นปีหน้า อนึ่ง ฝ่ายไทยได้มอบเงินให้มหาวิทยาลัย University for Development of National Races จำนวน 2 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการศึกษาอันจะยังผลไปสู่การพัฒนาระชาธิปไตย และการสร้างสมานฉันท์ขึ้นภายในประเทศพม่าในอนาคต
4. ในส่วนที่เกี่ยวกับการเยือนประเทศพม่าของเลขาธิการ UN คนปัจจุบัน ดร. กันตธีร์ ชี้แจงว่ายังไม่มีความชัดเจนในเรื่องดังกล่าว ทั้งนี้ นายAli Alatas อดีตรมว. กต. อินโดนีเซีย ได้เคยเยือน และหารือกับ รมว. กต. ของพม่า ซึ่งถือว่าเป็นการเปิดประตูไว้ชั้นหนึ่งแล้ว
5. ด้านความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ฝ่ายไทยได้ยกประเด็นต่างๆขึ้นหารือ ได้แก่ เรื่องพลังงาน การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การสาธารณสุข การปลูกพืชทดแทนด้านการพลังงาน การปลูกพืชทดแทนยาเสพติด การสร้างสะพานข้ามแม่น้ำแม่สายแห่งที่ 2 ที่จังหวัดเชียงราย
6. ในเรื่องปัญหาแรงงานพม่าในประเทศไทย ดร. กันตธีร์ฯ ชี้แจงว่า พม่าได้แสดงความพร้อมในการแลกเปลี่ยนข้อมูล ซึ่งต่างยอมรับว่าเป็นปัญหาที่แก้ลำบาก โดยเฉพาะเรื่องการพิสูจน์สัญชาติ ดังนั้น ทั้งสองฝ่ายจึงเห็นชอบร่วมกันในการจัดตั้ง Working Group โดยสถานเอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงย่างกุ้ง จะเป็นผู้ประสานในเรื่องดังกล่าวต่อไป อนึ่ง ฝ่ายไทยได้ยกประเด็นในการแก้ปัญหาการ พิสูจน์สัญชาติ เป็นแบบสองลักษณะ คือ กลุ่มแรงงานพม่าในส่วนกลาง ให้ทำหนังสือเดินทาง หรือเอกสารประจำตัว และลงทะเบียน ในกรุงเทพฯ และ กลุ่มแรงงานพม่าบริเวณชายแดน ให้ไปจัดทำเอกสารสำคัญประจำตัวหรือหนังสือเดินทางที่ด่านบริเวณชายแดนไทย-พม่า
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-