นายนริศ ชัยสูตร ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยถึงผลการประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการธนาคารพัฒนาเอเชีย ครั้งที่ 39 ระหว่างวันที่ 5 - 6 พฤษภาคม 2549 ณ เมือง Hyderabad ประเทศอินเดีย โดยมี นายทนง พิทยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะผู้ว่าการของไทยในธนาคารพัฒนาเอเชีย เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย ผลการประชุมสรุปได้ดังนี้
1. การประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการธนาคารพัฒนาเอเชีย ครั้งที่ 39
1.1 พิธีเปิดการประชุมในวันที่ 5 พฤษภาคม 2549 มีนาย Manmohan Singh นายกรัฐมนตรีอินเดียเป็นประธาน โดยได้กล่าวสุนทรพจน์กล่าวต้อนรับหัวหน้าคณะผู้แทนจากประเทศสมาชิก และกล่าวถึงบทบาทของธนาคารฯ ในการพัฒนาความร่วมมือในภูมิภาค และประเทศอินเดียยินดีที่จะร่วมมือกับประเทศสมาชิกอาเซียนและประเทศต่างๆ ในทวีปเอเชียตะวันออกในเรื่องข้อตกลงด้านความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการเปิดเสรีการค้า ซึ่งขณะนี้ได้จัดทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีกับประเทศไทยและมีการดำเนินการไปแล้วบางส่วน
1.2 นาย P. Chidambaram รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอินเดียในฐานะประธานการประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการธนาคารพัฒนาเอเชีย ครั้งที่ 39 กล่าวสุนทรพจน์ต้อนรับประเทศอาร์เมเนียและบรูไนดารุสซาลาม เข้าเป็นสมาชิกใหม่ของธนาคารฯ และได้กล่าวถึงภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกว่า มีการพัฒนาและปฏิรูปที่ดี โดยในปี 2548 มีอัตราการเจริญเติบโตที่ร้อยละ 7.4 ท่ามกลางปัจจัยลบต่างๆ เช่น ความผันผวนของราคาน้ำมัน ภัยพิบัติทางธรรมชาติ การระบาดของไข้หวัดนก เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ความท้าทายของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก คือ ปัญหาความยากจน ซึ่งธนาคารฯ ได้มีบทบาทนำในแก้ไขปัญหาความยากจน ผ่านวิธีการระดมเงินทุนและการลงทุนของภาคเอกชน รวมทั้งการดำเนินนโยบายต่อต้านการคอรัปชั่นและส่งเสริมให้มีธรรมาภิบาล ตลอดจนการส่งเสริมความร่วมมือในภูมิภาค และการดำเนินมาตรการริเริ่มใหม่ๆ
1.3 นาย Haruhiko Kuroda ประธานธนาคารพัฒนาเอเชีย ได้กล่าวสุนทรพจน์ว่า ภูมิภาคเอเชียมีการพัฒนาที่ดี โดยได้มีการปฏิรูปทั้งด้านการตลาดและการค้า อย่างไรก็ตาม พบว่า ขณะนี้ปัญหาความยากจน
ลดน้อยลง แต่กลับมีความไม่เท่าเทียมกันเพิ่มมากขึ้น โดยธนาคารได้ดำเนินหลายมาตรการในการจัดการกับสิ่งท้าทายดังกล่าว ได้แก่ การเสริมสร้างความเจริญเติบโตร่วมกัน การให้ความช่วยเหลือกลุ่มประชากรที่ยากจนมาก การเสริมสร้างธรรมาภิบาลที่ดีและต่อต้านการคอรัปชั่น การจัดการที่ดีด้านสภาพแวดล้อมและแหล่งพลังงานธรรมชาติ และการส่งเสริมความเชื่อมโยงและความร่วมมือภายในภูมิภาค เพื่อนำไปสู่เป้าหมายของการเจริญเติบโตและแก้ไขปัญหาความยากจนในภาพรวมต่อไป
1.4 นายทนง พิทยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะผู้ว่าการของไทยได้กล่าวสุนทรพจน์ต้อนรับประเทศอาร์เมเนียและบรูไนดารุสซาลาม ซึ่งเข้าเป็นสมาชิกใหม่ของธนาคารฯ และกล่าวว่าแม้เศรษฐกิจโลกกำลังเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงหลายอย่าง แต่เศรษฐกิจของประเทศไทยยังคงแข็งแกร่งด้วยอัตราการเจริญเติบโตในไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 ที่ร้อยละ 5.5 อัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าร้อยละ 4 ในขณะที่ เงินทุนสำรองระหว่างประเทศยังคงอยู่ในระดับที่แข็งแกร่ง ทั้งนี้ ประเทศไทยและธนาคารพัฒนาเอเชียมีความร่วมมือ 2 ระดับ ได้แก่ 1) ระดับประเทศ โดยได้ริเริ่มจัดทำกรอบความเป็นหุ้นส่วนระหว่างรัฐบาลไทยและธนาคารพัฒนาเอเชีย ระยะ 5 ปี (2549 - 2553) เพื่อใช้เป็นกรอบการดำเนินงานของธนาคารฯ ในประเทศไทย 2) ระดับภูมิภาค จากการที่ประเทศไทยได้เปลี่ยนสถานะจากผู้กู้มาเป็นประเทศผู้บริจาคเต็มรูปแบบผ่านการดำเนินงานของสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (สพพ.) โดยเน้นให้ความช่วยเหลือในการพัฒนาเศรษฐกิจให้แก่ประเทศเพื่อนบ้าน นอกจากนี้ ธนาคารฯ ได้สนับสนุนการจัดตั้งศูนย์กลางการอบรมการเชื่อมโยงทางการเงินในภูมิภาคขึ้นในประเทศไทยเพื่อเสริมสร้างความรู้ทางด้านการเงินให้แก่เจ้าหน้าที่รัฐในประเทศต่างๆ ภายในภูมิภาค และในโอกาสนี้ ได้กล่าวขอบคุณธนาคารฯ ในการสนับสนุนมาตรการเชื่อมโยงระบบการเงินระหว่างประเทศในกรอบอาเซียน+3 อาทิเช่น มาตรการริเริ่มการพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชียและมาตรการริเริ่มเชียงใหม่ และหวังว่าจะยังคงมีความร่วมมือต่อไปในอนาคต
2. การประชุมหารือระดับทวิภาคี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ประชุมหารือระดับทวิภาคีกับหัวหน้าคณะผู้แทนประเทศธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) ผู้บริหารระดับสูงองค์กรการเงินระหว่างประเทศ และสถาบันการเงินต่างๆ ในวันที่ 4-6 พฤษภาคม 2549 ดังนี้
2.1 หัวหน้าคณะผู้แทนประเทศสมาชิก ADB โดยหัวหน้าคณะผู้แทนประเทศอุซเบกิสถานได้ชักชวนนักลงทุนไทยเยี่ยมชมอุตสาหกรรมการผลิตฝ้าย ซึ่งประเทศอุซเบกิสถานเป็นผู้ผลิตรายใหญ่อันดับที่ 6 ของโลก สำหรับการประชุมหารือกับหัวหน้าคณะผู้แทนประเทศเกาหลีใต้ ภูฏาน และมองโกเลีย นั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของไทยได้ขอการสนับสนุนการดำเนินงานเรื่องตลาดพันธบัตรเอเชียและได้เชิญหัวหน้าคณะผู้แทนทั้ง 3 ประเทศ เข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของประเทศสมาชิกกลุ่ม Asia Cooperation Dialogue (ACD) ที่ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพภายในปีนี้ ซึ่งหัวหน้าคณะผู้แทนทั้ง 3 ประเทศ มีท่าทีให้การสนับสนุน
2.2 ผู้บริหารระดับสูงองค์กรการเงินระหว่างประเทศ โดยประธานธนาคารพัฒนาเอเชียได้กล่าวขอบคุณประเทศไทยที่สนับสนุนข้อเสนอเรื่องการส่งเสริมความเชื่อมโยงและความร่วมมือภายในภูมิภาคของธนาคารฯ ตลอดจนความร่วมมือในการจัดทำกรอบความเป็นหุ้นส่วนระหว่างรัฐบาลไทยและธนาคารพัฒนาเอเชีย และแสดงความชื่นชมนโยบายเศรษฐกิจของประเทศไทยที่สามารถพัฒนาเศรษฐกิจให้มีอัตราการเจริญเติบโตที่ดีท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงจากปัจจัยภายนอก ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ขอการสนับสนุนความร่วมมือในการจัดตั้งศูนย์กลางการอบรมการเชื่อมโยงทางการเงินในภูมิภาคขึ้นในประเทศไทย และเน้นย้ำการเสริมสร้างความร่วมมือภายในภูมิภาคโดยเฉพาะการให้ความช่วยเหลือกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านของไทยผ่านการดำเนินงานของ สพพ. รวมทั้งกล่าวสนับสนุนธนาคารฯ ในการศึกษาการจัดทำเงินสกุลเอเชีย (Asian Currency Unit : ACU) นอกจากนี้ ได้มีการหารือกับผู้บริหารระดับสูงของ International Financial Corporation (IFC) และ Japan Bank for International Corporation (JBIC) ซึ่งทั้ง 2 หน่วยงานได้สอบถามเรื่องสถานการณ์ทางการเมือง แนวโน้มสภาวะเศรษฐกิจ การดำเนินโครงการลงทุนขนาดใหญ่ เป็นต้น
2.3 ผู้บริหารระดับสูงของสถาบันการเงินต่างๆ ได้แก่ Mizuho Corporate Bank, Merrill Lynch, Citigroup, Barclays Bank, Standard Chartered Bank และ Credit Suisse โดยผู้บริหารระดับสูงจากหลายสถาบันได้สอบถามเกี่ยวกับ สถานการณ์ทางการเมือง แนวโน้มสภาวะเศรษฐกิจ การดำเนินโครงการลงทุนขนาดใหญ่ การระดมทุนในประเทศ การพัฒนาตลาดทุน ความคืบหน้าในการก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ และความคืบหน้าในการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ เป็นต้น
สำหรับการประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการธนาคารพัฒนาเอเชีย ครั้งที่ 40 จะจัดขึ้นที่เมืองเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น ในระหว่างวันที่ 6-8 พฤษภาคม 2550
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 46/2549 10 พฤษภาคม 49--
1. การประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการธนาคารพัฒนาเอเชีย ครั้งที่ 39
1.1 พิธีเปิดการประชุมในวันที่ 5 พฤษภาคม 2549 มีนาย Manmohan Singh นายกรัฐมนตรีอินเดียเป็นประธาน โดยได้กล่าวสุนทรพจน์กล่าวต้อนรับหัวหน้าคณะผู้แทนจากประเทศสมาชิก และกล่าวถึงบทบาทของธนาคารฯ ในการพัฒนาความร่วมมือในภูมิภาค และประเทศอินเดียยินดีที่จะร่วมมือกับประเทศสมาชิกอาเซียนและประเทศต่างๆ ในทวีปเอเชียตะวันออกในเรื่องข้อตกลงด้านความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการเปิดเสรีการค้า ซึ่งขณะนี้ได้จัดทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีกับประเทศไทยและมีการดำเนินการไปแล้วบางส่วน
1.2 นาย P. Chidambaram รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอินเดียในฐานะประธานการประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการธนาคารพัฒนาเอเชีย ครั้งที่ 39 กล่าวสุนทรพจน์ต้อนรับประเทศอาร์เมเนียและบรูไนดารุสซาลาม เข้าเป็นสมาชิกใหม่ของธนาคารฯ และได้กล่าวถึงภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกว่า มีการพัฒนาและปฏิรูปที่ดี โดยในปี 2548 มีอัตราการเจริญเติบโตที่ร้อยละ 7.4 ท่ามกลางปัจจัยลบต่างๆ เช่น ความผันผวนของราคาน้ำมัน ภัยพิบัติทางธรรมชาติ การระบาดของไข้หวัดนก เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ความท้าทายของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก คือ ปัญหาความยากจน ซึ่งธนาคารฯ ได้มีบทบาทนำในแก้ไขปัญหาความยากจน ผ่านวิธีการระดมเงินทุนและการลงทุนของภาคเอกชน รวมทั้งการดำเนินนโยบายต่อต้านการคอรัปชั่นและส่งเสริมให้มีธรรมาภิบาล ตลอดจนการส่งเสริมความร่วมมือในภูมิภาค และการดำเนินมาตรการริเริ่มใหม่ๆ
1.3 นาย Haruhiko Kuroda ประธานธนาคารพัฒนาเอเชีย ได้กล่าวสุนทรพจน์ว่า ภูมิภาคเอเชียมีการพัฒนาที่ดี โดยได้มีการปฏิรูปทั้งด้านการตลาดและการค้า อย่างไรก็ตาม พบว่า ขณะนี้ปัญหาความยากจน
ลดน้อยลง แต่กลับมีความไม่เท่าเทียมกันเพิ่มมากขึ้น โดยธนาคารได้ดำเนินหลายมาตรการในการจัดการกับสิ่งท้าทายดังกล่าว ได้แก่ การเสริมสร้างความเจริญเติบโตร่วมกัน การให้ความช่วยเหลือกลุ่มประชากรที่ยากจนมาก การเสริมสร้างธรรมาภิบาลที่ดีและต่อต้านการคอรัปชั่น การจัดการที่ดีด้านสภาพแวดล้อมและแหล่งพลังงานธรรมชาติ และการส่งเสริมความเชื่อมโยงและความร่วมมือภายในภูมิภาค เพื่อนำไปสู่เป้าหมายของการเจริญเติบโตและแก้ไขปัญหาความยากจนในภาพรวมต่อไป
1.4 นายทนง พิทยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะผู้ว่าการของไทยได้กล่าวสุนทรพจน์ต้อนรับประเทศอาร์เมเนียและบรูไนดารุสซาลาม ซึ่งเข้าเป็นสมาชิกใหม่ของธนาคารฯ และกล่าวว่าแม้เศรษฐกิจโลกกำลังเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงหลายอย่าง แต่เศรษฐกิจของประเทศไทยยังคงแข็งแกร่งด้วยอัตราการเจริญเติบโตในไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 ที่ร้อยละ 5.5 อัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าร้อยละ 4 ในขณะที่ เงินทุนสำรองระหว่างประเทศยังคงอยู่ในระดับที่แข็งแกร่ง ทั้งนี้ ประเทศไทยและธนาคารพัฒนาเอเชียมีความร่วมมือ 2 ระดับ ได้แก่ 1) ระดับประเทศ โดยได้ริเริ่มจัดทำกรอบความเป็นหุ้นส่วนระหว่างรัฐบาลไทยและธนาคารพัฒนาเอเชีย ระยะ 5 ปี (2549 - 2553) เพื่อใช้เป็นกรอบการดำเนินงานของธนาคารฯ ในประเทศไทย 2) ระดับภูมิภาค จากการที่ประเทศไทยได้เปลี่ยนสถานะจากผู้กู้มาเป็นประเทศผู้บริจาคเต็มรูปแบบผ่านการดำเนินงานของสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (สพพ.) โดยเน้นให้ความช่วยเหลือในการพัฒนาเศรษฐกิจให้แก่ประเทศเพื่อนบ้าน นอกจากนี้ ธนาคารฯ ได้สนับสนุนการจัดตั้งศูนย์กลางการอบรมการเชื่อมโยงทางการเงินในภูมิภาคขึ้นในประเทศไทยเพื่อเสริมสร้างความรู้ทางด้านการเงินให้แก่เจ้าหน้าที่รัฐในประเทศต่างๆ ภายในภูมิภาค และในโอกาสนี้ ได้กล่าวขอบคุณธนาคารฯ ในการสนับสนุนมาตรการเชื่อมโยงระบบการเงินระหว่างประเทศในกรอบอาเซียน+3 อาทิเช่น มาตรการริเริ่มการพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชียและมาตรการริเริ่มเชียงใหม่ และหวังว่าจะยังคงมีความร่วมมือต่อไปในอนาคต
2. การประชุมหารือระดับทวิภาคี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ประชุมหารือระดับทวิภาคีกับหัวหน้าคณะผู้แทนประเทศธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) ผู้บริหารระดับสูงองค์กรการเงินระหว่างประเทศ และสถาบันการเงินต่างๆ ในวันที่ 4-6 พฤษภาคม 2549 ดังนี้
2.1 หัวหน้าคณะผู้แทนประเทศสมาชิก ADB โดยหัวหน้าคณะผู้แทนประเทศอุซเบกิสถานได้ชักชวนนักลงทุนไทยเยี่ยมชมอุตสาหกรรมการผลิตฝ้าย ซึ่งประเทศอุซเบกิสถานเป็นผู้ผลิตรายใหญ่อันดับที่ 6 ของโลก สำหรับการประชุมหารือกับหัวหน้าคณะผู้แทนประเทศเกาหลีใต้ ภูฏาน และมองโกเลีย นั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของไทยได้ขอการสนับสนุนการดำเนินงานเรื่องตลาดพันธบัตรเอเชียและได้เชิญหัวหน้าคณะผู้แทนทั้ง 3 ประเทศ เข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของประเทศสมาชิกกลุ่ม Asia Cooperation Dialogue (ACD) ที่ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพภายในปีนี้ ซึ่งหัวหน้าคณะผู้แทนทั้ง 3 ประเทศ มีท่าทีให้การสนับสนุน
2.2 ผู้บริหารระดับสูงองค์กรการเงินระหว่างประเทศ โดยประธานธนาคารพัฒนาเอเชียได้กล่าวขอบคุณประเทศไทยที่สนับสนุนข้อเสนอเรื่องการส่งเสริมความเชื่อมโยงและความร่วมมือภายในภูมิภาคของธนาคารฯ ตลอดจนความร่วมมือในการจัดทำกรอบความเป็นหุ้นส่วนระหว่างรัฐบาลไทยและธนาคารพัฒนาเอเชีย และแสดงความชื่นชมนโยบายเศรษฐกิจของประเทศไทยที่สามารถพัฒนาเศรษฐกิจให้มีอัตราการเจริญเติบโตที่ดีท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงจากปัจจัยภายนอก ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ขอการสนับสนุนความร่วมมือในการจัดตั้งศูนย์กลางการอบรมการเชื่อมโยงทางการเงินในภูมิภาคขึ้นในประเทศไทย และเน้นย้ำการเสริมสร้างความร่วมมือภายในภูมิภาคโดยเฉพาะการให้ความช่วยเหลือกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านของไทยผ่านการดำเนินงานของ สพพ. รวมทั้งกล่าวสนับสนุนธนาคารฯ ในการศึกษาการจัดทำเงินสกุลเอเชีย (Asian Currency Unit : ACU) นอกจากนี้ ได้มีการหารือกับผู้บริหารระดับสูงของ International Financial Corporation (IFC) และ Japan Bank for International Corporation (JBIC) ซึ่งทั้ง 2 หน่วยงานได้สอบถามเรื่องสถานการณ์ทางการเมือง แนวโน้มสภาวะเศรษฐกิจ การดำเนินโครงการลงทุนขนาดใหญ่ เป็นต้น
2.3 ผู้บริหารระดับสูงของสถาบันการเงินต่างๆ ได้แก่ Mizuho Corporate Bank, Merrill Lynch, Citigroup, Barclays Bank, Standard Chartered Bank และ Credit Suisse โดยผู้บริหารระดับสูงจากหลายสถาบันได้สอบถามเกี่ยวกับ สถานการณ์ทางการเมือง แนวโน้มสภาวะเศรษฐกิจ การดำเนินโครงการลงทุนขนาดใหญ่ การระดมทุนในประเทศ การพัฒนาตลาดทุน ความคืบหน้าในการก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ และความคืบหน้าในการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ เป็นต้น
สำหรับการประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการธนาคารพัฒนาเอเชีย ครั้งที่ 40 จะจัดขึ้นที่เมืองเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น ในระหว่างวันที่ 6-8 พฤษภาคม 2550
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 46/2549 10 พฤษภาคม 49--