1. การผลิต
ภาวะอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2549 มีปริมาณการผลิต 251,834.6 ตัน เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 11.2 และ 6.1 ตามลำดับ เนื่องจากมีการขยายการผลิตเพื่อเตรียมรองรับความต้องการภายในประเทศที่เพิ่มขึ้นจากหลายปัจจัย อาทิ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ/นานาชาติ และการผลิตสมุด ตำราแบบเรียนเพื่อรองรับการเปิดเทอมของนักเรียนนักศึกษาในไตรมาสหน้า อีกทั้งจีนมีปริมาณความต้องการใช้เยื่อสูงเนื่องจากเศรษฐกิจขยายตัว
ส่วนภาวะอุตสาหกรรมกระดาษ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2549 มีปริมาณการผลิตรวม 689,393.0 ตัน เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นเล็กน้อย คิดเป็นร้อยละ 2.7 และ 1.4 ตามลำดับ โดยเฉพาะปริมาณการผลิตกระดาษคราฟท์/ลูกฟูก ที่เพิ่มขึ้นเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตกล่องและบรรจุภัณฑ์ห่อหุ้มและขนส่งสินค้าเพื่อส่งออก ซึ่งหลายกลุ่มอุตสาหกรรมมีแนวโน้มขยายตัว เช่น กลุ่มอาหาร และ กลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า
2. การนำเข้าและการส่งออก
2.1 การนำเข้า
ภาวะการนำเข้าเยื่อกระดาษและเศษกระดาษ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2549 มีมูลค่า 90.0 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 6.5 ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าเยื่อใยยาวที่ไม่สามารถผลิตได้ในประเทศและนำเข้าเศษกระดาษที่มีคุณภาพดีเพื่อนำมาผลิตกระดาษ และผลิตภัณฑ์กระดาษเพื่อรองรับความต้องการภายในประเทศที่เพิ่มขึ้นไม่ว่าจะเป็นการเลือกตั้งระดับประเทศ งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ/นานาชาติ และการผลิตสมุด ตำราแบบเรียนเพื่อรองรับการเปิดเทอมของนักเรียนนักศึกษาทั้งประเทศ โดยตลาดนำเข้าหลัก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา แคนาดา และอัฟริกาใต้ และเมื่อเทียบกับ ไตรมาสเดียวกันของปีก่อนมีอัตราการขยายตัวลดลง คิดเป็นร้อยละ 7.8 เนื่องจากไตรมาสนี้ยังคงมีปริมาณเยื่อที่เหลือจากไตรมาสที่ผ่านมามากกว่าไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
ภาวะการนำเข้ากระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษในไตรมาสที่ 1 ปี 2549 มีมูลค่า 233.3 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 5.3 และ 5.1 ตามลำดับ เนื่องจากกระทรวงการคลังประกาศลดอัตราอากรและยกเว้นอากรศุลกากรให้กับอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ตั้งแต่อุตสาหกรรมต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำ เมื่อต้นปี 2549 ซึ่งรวมถึงกลุ่มกระดาษด้วยทำให้มีการนำเข้าเพิ่มขึ้นแต่ยังมีมูลค่าไม่มากนักเพราะเพิ่งจะเริ่มประกาศใช้คาดว่าไตรมาสหน้า จะมีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มสูงขึ้น โดยตลาดนำเข้าหลัก ได้แก่ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และจีน
ภาวะการนำเข้าสิ่งพิมพ์ในไตรมาสที่ 1 ปี 2549 มีมูลค่า 34.3 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 1.2 และ 15.5 ตามลำดับ เนื่องจากในช่วงปลายไตรมาสที่ 1 และต้นไตรมาสที่ 2 ของทุกปีจะมีการจัดงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ/นานาชาติ จึงมีการเตรียมนำเข้าสิ่งพิมพ์ต่างประเทศเข้ามาจำหน่ายในไตรมาสนี้ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือที่พิมพ์เป็นเล่มและภาพถ่าย โดยตลาดนำเข้าหลัก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และอังกฤษ ส่วนสาเหตุอีกประการหนึ่งที่มูลค่าการนำเข้าขยายตัวเพิ่มขึ้นคือ สถานการณ์การเมืองในประเทศทำให้มีการชะลอการใช้กำลังการผลิตของเครื่องจักรเพื่อผลิตสิ่งพิมพ์ลดลงร้อยละ 20 - 30 เนื่องจากกำลังซื้อในประเทศลดลงตามปัจจัยทางด้านราคาน้ำมันและค่าครองชีพที่สูงขึ้นรวมทั้งปัจจัยด้านต้นทุนการผลิตก็สูงขึ้นเช่นเดียวกัน
2.2 การส่งออก
ภาวะการส่งออกเยื่อกระดาษ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2549 มีมูลค่า 28.4 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 11.8 และ 46.4 ตามลำดับ เนื่องจากจีนมีปริมาณความต้องการใช้เยื่อมากประกอบกับราคาเยื่อในตลาดโลกสูงจึงส่งผลให้มีการส่งออกเยื่อเพิ่มมากขึ้น โดยตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ จีน เกาหลีใต้ และเวียดนาม
ภาวะการส่งออกกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2549 มีมูลค่า 250.5 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 9.9 และ 18.8 เนื่องจากราคากระดาษในตลาดโลกสูงกว่าตลาดในประเทศทำให้ผู้ผลิตกระดาษส่งออกมากขึ้น อีกทั้งสามารถเพิ่มยอดคำสั่งซื้อได้มากขึ้น โดยเฉพาะกระดาษพิมพ์เขียนมีมูลค่าการส่งออกมากที่สุด ตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ เกาหลีใต้ ฮ่องกง และมาเลเซีย
ภาวะการส่งออกหนังสือและสิ่งพิมพ์ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2549 มีมูลค่า 21.5 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนมีอัตราการขยายตัวลดลง คิดเป็นร้อยละ 6.5 และ 29.7 สาเหตุการลดลงของมูลค่าการส่งออกหนังสือและสิ่งพิมพ์ในไตรมาสนี้เทียบกับไตรมาสเดียวกันของ ปีก่อนถึงร้อยละ 29.7 เนื่องจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนมีการผลิตสิ่งพิมพ์เพื่อชดเชยในไตรมาสสุดท้ายของ ปีก่อน (ไตรมาส 4/2547) เป็นจำนวนมาก ด้วยสาเหตุการขาดแคลนกระดาษภายในประเทศ ส่วนการลดลงของ มูลค่าการส่งออกหนังสือและสิ่งพิมพ์ในไตรมาสนี้เทียบกับไตรมาสก่อน เนื่องจากตลาดส่งออกสิ่งพิมพ์หลัก ได้แก่ สหภาพยุโรป อาเซียน และญี่ปุ่น มีการนำเข้าลดลง เนื่องจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นและอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทที่ปรับค่าแข็งขึ้นส่งผลกระทบต่อต้นทุนในการผลิตและขนส่งของผู้ส่งออกทำให้ราคาสินค้าจากไทยสูงกว่าคู่แข่ง
3. สรุป
ภาวะการผลิต การนำเข้า และการส่งออกของอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ในไตรมาสนี้ส่วนใหญ่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากปัจจัยสนับสนุนไม่ว่าจะเป็นการเลือกตั้งสภาชิกผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ/นานาชาติ และการผลิตสมุด ตำราแบบเรียนเพื่อรองรับการเปิดเทอมของนักเรียนนักศึกษา แต่มีปัจจัยลบที่มีอิทธิพลค่อนข้างมาก อาทิ ราคาน้ำมันที่ทรงตัว ในระดับสูง ค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นและสถานการณ์การเมืองในประเทศที่ไม่แน่นอน
4. แนวโน้มไตรมาสที่ 2 ปี 2549
แนวโน้มของภาวะอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ ในไตรมาสหน้าคาดว่าจะทรงตัว เนื่องจากหลายปัจจัยสำคัญ ได้แก่
1) ราคาน้ำมันส่งผลกระทบทางตรงต่อต้นทุนการผลิตและขนส่ง และส่งผลกระทบทางอ้อมต่อจิตวิทยาของผู้บริโภคในประเทศต่าง ๆ เนื่องจากราคาน้ำมันแพงจะกระทบต่อเงินเฟ้อจึงน่าจะมีการชะลอการนำเข้าสินค้าไทย
2) ค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นจะส่งผลให้ราคาสินค้าจากไทยสูงกว่าคู่แข่งทำให้แข่งขันได้ลำบากยิ่งขึ้น
3) อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในประเทศมีแนวโน้มสูงขึ้นตามอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิต
4) สถานการณ์การเมืองในประเทศที่เกิดขึ้นอาจมีผลต่อนักลงทุนต่างชาติที่สนใจเข้ามาลงทุนในประเทศไทยในประเด็นความไม่มั่นใจทางการเมืองจึงชะลอการเข้ามาลงทุน
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ภาวะอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2549 มีปริมาณการผลิต 251,834.6 ตัน เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 11.2 และ 6.1 ตามลำดับ เนื่องจากมีการขยายการผลิตเพื่อเตรียมรองรับความต้องการภายในประเทศที่เพิ่มขึ้นจากหลายปัจจัย อาทิ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ/นานาชาติ และการผลิตสมุด ตำราแบบเรียนเพื่อรองรับการเปิดเทอมของนักเรียนนักศึกษาในไตรมาสหน้า อีกทั้งจีนมีปริมาณความต้องการใช้เยื่อสูงเนื่องจากเศรษฐกิจขยายตัว
ส่วนภาวะอุตสาหกรรมกระดาษ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2549 มีปริมาณการผลิตรวม 689,393.0 ตัน เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นเล็กน้อย คิดเป็นร้อยละ 2.7 และ 1.4 ตามลำดับ โดยเฉพาะปริมาณการผลิตกระดาษคราฟท์/ลูกฟูก ที่เพิ่มขึ้นเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตกล่องและบรรจุภัณฑ์ห่อหุ้มและขนส่งสินค้าเพื่อส่งออก ซึ่งหลายกลุ่มอุตสาหกรรมมีแนวโน้มขยายตัว เช่น กลุ่มอาหาร และ กลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า
2. การนำเข้าและการส่งออก
2.1 การนำเข้า
ภาวะการนำเข้าเยื่อกระดาษและเศษกระดาษ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2549 มีมูลค่า 90.0 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 6.5 ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าเยื่อใยยาวที่ไม่สามารถผลิตได้ในประเทศและนำเข้าเศษกระดาษที่มีคุณภาพดีเพื่อนำมาผลิตกระดาษ และผลิตภัณฑ์กระดาษเพื่อรองรับความต้องการภายในประเทศที่เพิ่มขึ้นไม่ว่าจะเป็นการเลือกตั้งระดับประเทศ งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ/นานาชาติ และการผลิตสมุด ตำราแบบเรียนเพื่อรองรับการเปิดเทอมของนักเรียนนักศึกษาทั้งประเทศ โดยตลาดนำเข้าหลัก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา แคนาดา และอัฟริกาใต้ และเมื่อเทียบกับ ไตรมาสเดียวกันของปีก่อนมีอัตราการขยายตัวลดลง คิดเป็นร้อยละ 7.8 เนื่องจากไตรมาสนี้ยังคงมีปริมาณเยื่อที่เหลือจากไตรมาสที่ผ่านมามากกว่าไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
ภาวะการนำเข้ากระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษในไตรมาสที่ 1 ปี 2549 มีมูลค่า 233.3 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 5.3 และ 5.1 ตามลำดับ เนื่องจากกระทรวงการคลังประกาศลดอัตราอากรและยกเว้นอากรศุลกากรให้กับอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ตั้งแต่อุตสาหกรรมต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำ เมื่อต้นปี 2549 ซึ่งรวมถึงกลุ่มกระดาษด้วยทำให้มีการนำเข้าเพิ่มขึ้นแต่ยังมีมูลค่าไม่มากนักเพราะเพิ่งจะเริ่มประกาศใช้คาดว่าไตรมาสหน้า จะมีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มสูงขึ้น โดยตลาดนำเข้าหลัก ได้แก่ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และจีน
ภาวะการนำเข้าสิ่งพิมพ์ในไตรมาสที่ 1 ปี 2549 มีมูลค่า 34.3 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 1.2 และ 15.5 ตามลำดับ เนื่องจากในช่วงปลายไตรมาสที่ 1 และต้นไตรมาสที่ 2 ของทุกปีจะมีการจัดงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ/นานาชาติ จึงมีการเตรียมนำเข้าสิ่งพิมพ์ต่างประเทศเข้ามาจำหน่ายในไตรมาสนี้ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือที่พิมพ์เป็นเล่มและภาพถ่าย โดยตลาดนำเข้าหลัก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และอังกฤษ ส่วนสาเหตุอีกประการหนึ่งที่มูลค่าการนำเข้าขยายตัวเพิ่มขึ้นคือ สถานการณ์การเมืองในประเทศทำให้มีการชะลอการใช้กำลังการผลิตของเครื่องจักรเพื่อผลิตสิ่งพิมพ์ลดลงร้อยละ 20 - 30 เนื่องจากกำลังซื้อในประเทศลดลงตามปัจจัยทางด้านราคาน้ำมันและค่าครองชีพที่สูงขึ้นรวมทั้งปัจจัยด้านต้นทุนการผลิตก็สูงขึ้นเช่นเดียวกัน
2.2 การส่งออก
ภาวะการส่งออกเยื่อกระดาษ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2549 มีมูลค่า 28.4 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 11.8 และ 46.4 ตามลำดับ เนื่องจากจีนมีปริมาณความต้องการใช้เยื่อมากประกอบกับราคาเยื่อในตลาดโลกสูงจึงส่งผลให้มีการส่งออกเยื่อเพิ่มมากขึ้น โดยตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ จีน เกาหลีใต้ และเวียดนาม
ภาวะการส่งออกกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2549 มีมูลค่า 250.5 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 9.9 และ 18.8 เนื่องจากราคากระดาษในตลาดโลกสูงกว่าตลาดในประเทศทำให้ผู้ผลิตกระดาษส่งออกมากขึ้น อีกทั้งสามารถเพิ่มยอดคำสั่งซื้อได้มากขึ้น โดยเฉพาะกระดาษพิมพ์เขียนมีมูลค่าการส่งออกมากที่สุด ตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ เกาหลีใต้ ฮ่องกง และมาเลเซีย
ภาวะการส่งออกหนังสือและสิ่งพิมพ์ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2549 มีมูลค่า 21.5 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนมีอัตราการขยายตัวลดลง คิดเป็นร้อยละ 6.5 และ 29.7 สาเหตุการลดลงของมูลค่าการส่งออกหนังสือและสิ่งพิมพ์ในไตรมาสนี้เทียบกับไตรมาสเดียวกันของ ปีก่อนถึงร้อยละ 29.7 เนื่องจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนมีการผลิตสิ่งพิมพ์เพื่อชดเชยในไตรมาสสุดท้ายของ ปีก่อน (ไตรมาส 4/2547) เป็นจำนวนมาก ด้วยสาเหตุการขาดแคลนกระดาษภายในประเทศ ส่วนการลดลงของ มูลค่าการส่งออกหนังสือและสิ่งพิมพ์ในไตรมาสนี้เทียบกับไตรมาสก่อน เนื่องจากตลาดส่งออกสิ่งพิมพ์หลัก ได้แก่ สหภาพยุโรป อาเซียน และญี่ปุ่น มีการนำเข้าลดลง เนื่องจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นและอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทที่ปรับค่าแข็งขึ้นส่งผลกระทบต่อต้นทุนในการผลิตและขนส่งของผู้ส่งออกทำให้ราคาสินค้าจากไทยสูงกว่าคู่แข่ง
3. สรุป
ภาวะการผลิต การนำเข้า และการส่งออกของอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ในไตรมาสนี้ส่วนใหญ่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากปัจจัยสนับสนุนไม่ว่าจะเป็นการเลือกตั้งสภาชิกผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ/นานาชาติ และการผลิตสมุด ตำราแบบเรียนเพื่อรองรับการเปิดเทอมของนักเรียนนักศึกษา แต่มีปัจจัยลบที่มีอิทธิพลค่อนข้างมาก อาทิ ราคาน้ำมันที่ทรงตัว ในระดับสูง ค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นและสถานการณ์การเมืองในประเทศที่ไม่แน่นอน
4. แนวโน้มไตรมาสที่ 2 ปี 2549
แนวโน้มของภาวะอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ ในไตรมาสหน้าคาดว่าจะทรงตัว เนื่องจากหลายปัจจัยสำคัญ ได้แก่
1) ราคาน้ำมันส่งผลกระทบทางตรงต่อต้นทุนการผลิตและขนส่ง และส่งผลกระทบทางอ้อมต่อจิตวิทยาของผู้บริโภคในประเทศต่าง ๆ เนื่องจากราคาน้ำมันแพงจะกระทบต่อเงินเฟ้อจึงน่าจะมีการชะลอการนำเข้าสินค้าไทย
2) ค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นจะส่งผลให้ราคาสินค้าจากไทยสูงกว่าคู่แข่งทำให้แข่งขันได้ลำบากยิ่งขึ้น
3) อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในประเทศมีแนวโน้มสูงขึ้นตามอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิต
4) สถานการณ์การเมืองในประเทศที่เกิดขึ้นอาจมีผลต่อนักลงทุนต่างชาติที่สนใจเข้ามาลงทุนในประเทศไทยในประเด็นความไม่มั่นใจทางการเมืองจึงชะลอการเข้ามาลงทุน
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-