สศอ.แจงภาวะอุตฯปิโตรเคมีไตรมาส 1 มีทิศทางที่ดี หลังผู้ประกอบการรายใหญ่ของไทยควบรวมกิจการสำเร็จ ส่งผลให้เกิดการผลิตและส่งออกขยายตัว เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า สศอ.ได้สรุปรายงานภาวะอุตสาหกรรมปิโตรเคมีของไทยในไตรมาสที่ 1 ปี 2549 พบว่า โดยภาพรวมยังมีทิศทางที่ขยายตัวได้เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2548 และเมื่อเทียบกับ ไตรมาสก่อน ซึ่งภาวะการผลิตปิโตรเคมีไตรมาสที่ 1 มีบริษัทผู้ผลิตเอทิลีนแครกเกอร์รายใหญ่ในประเทศที่มีกำลังการผลิตขนาด 800,000 ตันต่อปี กลับเข้ามาเดินเครื่องผลิตอีกครั้งหลังปิดซ่อมบำรุงนาน 1 เดือน นอกจากนี้ผู้ผลิตโอเลฟินส์รายใหญ่ที่สุดของประเทศในปัจจุบันมีการควบรวมกิจการเสร็จสมบูรณ์ ทำให้มีกำลังการผลิตเอทิลีนรวม 1,146,000 ตันต่อปี และโพรพิลีน 377,000 ตันต่อปี โดยได้เริ่มเดินเครื่องหน่วยแรกแล้วในปี 2549 นี้ และจะเริ่มเดินเครื่องหน่วยที่สองได้ในปี 2551 จึงส่งผลต่อภาวะการผลิตปิโตรเคมีในภาพรวมของไตรมาสที่ 1 มีปริมาณเพิ่มขึ้น
ดร.อรรชกา กล่าวว่า ในไตรมาส 1 ปี 2549 ปิโตรเคมีขั้นกลางและขั้นปลายมีทิศทางการส่งออกที่เพิ่มขึ้น ส่วนปิโตรเคมีขั้นต้น มีการส่งออกลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2548 โดยปิโตรเคมีขั้นกลางมีมูลค่าส่งออก 7,502.13 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 96.42 ปิโตรเคมีขั้นปลายมีมูลค่าส่งออก 37,416.98 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.48 ส่วนปิโตรเคมีขั้นต้นมีมูลค่าส่งออก 6,951.57 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 28.25 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากความผันผวนของค่าเงินบาท และราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่พุ่งสูง
สำหรับไตรมาส 1 ปี 2549 การนำเข้าปิโตรเคมีมีทิศทางที่เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2548 เนื่องจากปิโตรเคมีขั้นต้น และขั้นปลายจำเป็นต้องนำเข้าเพื่อใช้ผลิตในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องอื่นๆ เช่น อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติก อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ เป็นต้น ซึ่งอุตสาหกรรมเหล่านี้มีทิศทางขยายตัว โดยการนำเข้าปิโตรเคมีขั้นต้นมีมูลค่า 3,318.16 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 376.01 ปิโตรเคมีขั้นปลายมีมูลค่านำเข้า 16,518.92 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.26 ส่วน ปิโตรเคมีขั้นกลางมีมูลค่านำเข้า 10,118.49 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 21.57 โดยเทียบจากช่วงเดียวกันของปี 2548
ทั้งนี้ความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีของโลก ยังมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่องได้อีกใน 4-5 ปีนี้
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า สศอ.ได้สรุปรายงานภาวะอุตสาหกรรมปิโตรเคมีของไทยในไตรมาสที่ 1 ปี 2549 พบว่า โดยภาพรวมยังมีทิศทางที่ขยายตัวได้เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2548 และเมื่อเทียบกับ ไตรมาสก่อน ซึ่งภาวะการผลิตปิโตรเคมีไตรมาสที่ 1 มีบริษัทผู้ผลิตเอทิลีนแครกเกอร์รายใหญ่ในประเทศที่มีกำลังการผลิตขนาด 800,000 ตันต่อปี กลับเข้ามาเดินเครื่องผลิตอีกครั้งหลังปิดซ่อมบำรุงนาน 1 เดือน นอกจากนี้ผู้ผลิตโอเลฟินส์รายใหญ่ที่สุดของประเทศในปัจจุบันมีการควบรวมกิจการเสร็จสมบูรณ์ ทำให้มีกำลังการผลิตเอทิลีนรวม 1,146,000 ตันต่อปี และโพรพิลีน 377,000 ตันต่อปี โดยได้เริ่มเดินเครื่องหน่วยแรกแล้วในปี 2549 นี้ และจะเริ่มเดินเครื่องหน่วยที่สองได้ในปี 2551 จึงส่งผลต่อภาวะการผลิตปิโตรเคมีในภาพรวมของไตรมาสที่ 1 มีปริมาณเพิ่มขึ้น
ดร.อรรชกา กล่าวว่า ในไตรมาส 1 ปี 2549 ปิโตรเคมีขั้นกลางและขั้นปลายมีทิศทางการส่งออกที่เพิ่มขึ้น ส่วนปิโตรเคมีขั้นต้น มีการส่งออกลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2548 โดยปิโตรเคมีขั้นกลางมีมูลค่าส่งออก 7,502.13 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 96.42 ปิโตรเคมีขั้นปลายมีมูลค่าส่งออก 37,416.98 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.48 ส่วนปิโตรเคมีขั้นต้นมีมูลค่าส่งออก 6,951.57 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 28.25 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากความผันผวนของค่าเงินบาท และราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่พุ่งสูง
สำหรับไตรมาส 1 ปี 2549 การนำเข้าปิโตรเคมีมีทิศทางที่เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2548 เนื่องจากปิโตรเคมีขั้นต้น และขั้นปลายจำเป็นต้องนำเข้าเพื่อใช้ผลิตในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องอื่นๆ เช่น อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติก อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ เป็นต้น ซึ่งอุตสาหกรรมเหล่านี้มีทิศทางขยายตัว โดยการนำเข้าปิโตรเคมีขั้นต้นมีมูลค่า 3,318.16 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 376.01 ปิโตรเคมีขั้นปลายมีมูลค่านำเข้า 16,518.92 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.26 ส่วน ปิโตรเคมีขั้นกลางมีมูลค่านำเข้า 10,118.49 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 21.57 โดยเทียบจากช่วงเดียวกันของปี 2548
ทั้งนี้ความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีของโลก ยังมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่องได้อีกใน 4-5 ปีนี้
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-