1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
กรมประมงเสนอโครงการจัดตั้งกองเรือทูน่า
นายจรัลธาดา กรรณสูต อธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่าในปีที่ผ่านมาสินค้าประมงของไทยสามารถทำรายได้เข้าประเทศคิดเป็นมูลค่ากว่า 100,000 ล้านบาท และคาดว่าในปี 2549 มีแนวโน้มที่การส่งออกสินค้าประมงยังคงมีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากข้อได้เปรียบด้านศักยภาพการผลิต และมาตรฐานการตรวจสอบที่มีคุณภาพและความปลอดภัยสูง ทำให้ได้รับความเชื่อถือจากประเทศผู้นำเข้าไม่ว่าจะเป็นกลุ่มสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น เป็นต้น นอกจากนี้ยังได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากรัฐบาล โดยในปี 2549 กรมได้เสนอโครงการจัดตั้งกองเรือทูน่าเข้าเป็นส่วนหนึ่งในโครงการเมกะโปรเจกท์ของรัฐบาล ขณะที่ภาคเอกชนได้ร่วมทุนกับต่างประเทศจัดตั้งกองเรือทูน่า โดยทำการต่อเรือจำนวน 6 ลำ เพื่อจับปลาทูน่าในเขตมหาสมุทรอินเดีย และต่อเรือเบ็ดราวปลาทูน่าจำนวน 2 ลำ เพื่อจับปลาทูน่าสดส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่นเป็นเนื้อซาซิมิด้วย
อธิบดีกรมประมงกล่าวเพิ่มเติมว่าที่ผ่านมาไทยต้องมีการนำเข้าปลาทูน่ามาจากต่างประเทศ มากกว่า 600,000 ตันต่อปี หรือคิดเป็นสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 90 ซึ่งในอนาคตหากกลุ่มประเทศผู้นำเข้าได้มีการนำเข้าได้มีการนำข้อกำหนดเกี่ยวกับสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Rule Origin) มาใช้ อาจจะทำให้กระทบต่อการส่งออกปลาทูน่ากระป๋องของไทย ดังนั้น หากไทยสามารถจัดตั้งกองเรือปลาทูน่าเองได้น่าจะช่วยทำให้ลดปัญหาเรื่องข้อกีดกันทางการค้าดังกล่าวได้ อย่างไรก็ตาม โครงการจัดตั้งกองเรือปลาทูน่าในขณะนี้มีหลายประเทศ ให้ความสนใจ และยื่นขอรายละเอียดจากกรมประมงเป็นจำนวนมาก เช่น สเปน จีน และเกาหลี คาดว่าจะมีการพิจารณาคัดเลือกบริษัทต่างประเทศที่จะเข้ามาลงทุนได้ประมาณเดือนพฤษภาคม และน่าจะเริ่มดำเนินการโครงการได้ภายในปีนี้ โดยงบประมาณ 3,000 — 4,000 ล้านบาท และในเบื้องต้นได้ตั้งเป้าจะลดสัดส่วนการนำเข้าปลาทูน่าให้เหลือเพียงร้อยละ 70
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (วันที่ 1 - 14 มี.ค. 49) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 2,451.15 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 1,267.51 ตัน สัตว์น้ำจืด 1,183.65 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 10.63 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 11.54 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 209.38 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 25.36 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 126.47 ตัน
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.21 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 30.22 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.01 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.96 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 56.53 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.43 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯเฉลี่ยกิโลกรัมละ 100.71 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 100.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.71 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 144.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 142.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 145.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 144.51 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 140.54 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.97 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 145.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 140.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 5.00 บาท
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 42.59 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯเฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.00 สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 54.43 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.57 บาท
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯเฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.71 บาท สูงขึ้นจากจากกิโลกรัมละ 120.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.71 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.42 สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 5.30 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.12 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 20 - 24 มี.ค. 2549) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.18 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 25.94 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.76 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 12 ประจำวันที่ 20-26 มีนาคม 2549--
-พห-
การผลิต
กรมประมงเสนอโครงการจัดตั้งกองเรือทูน่า
นายจรัลธาดา กรรณสูต อธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่าในปีที่ผ่านมาสินค้าประมงของไทยสามารถทำรายได้เข้าประเทศคิดเป็นมูลค่ากว่า 100,000 ล้านบาท และคาดว่าในปี 2549 มีแนวโน้มที่การส่งออกสินค้าประมงยังคงมีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากข้อได้เปรียบด้านศักยภาพการผลิต และมาตรฐานการตรวจสอบที่มีคุณภาพและความปลอดภัยสูง ทำให้ได้รับความเชื่อถือจากประเทศผู้นำเข้าไม่ว่าจะเป็นกลุ่มสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น เป็นต้น นอกจากนี้ยังได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากรัฐบาล โดยในปี 2549 กรมได้เสนอโครงการจัดตั้งกองเรือทูน่าเข้าเป็นส่วนหนึ่งในโครงการเมกะโปรเจกท์ของรัฐบาล ขณะที่ภาคเอกชนได้ร่วมทุนกับต่างประเทศจัดตั้งกองเรือทูน่า โดยทำการต่อเรือจำนวน 6 ลำ เพื่อจับปลาทูน่าในเขตมหาสมุทรอินเดีย และต่อเรือเบ็ดราวปลาทูน่าจำนวน 2 ลำ เพื่อจับปลาทูน่าสดส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่นเป็นเนื้อซาซิมิด้วย
อธิบดีกรมประมงกล่าวเพิ่มเติมว่าที่ผ่านมาไทยต้องมีการนำเข้าปลาทูน่ามาจากต่างประเทศ มากกว่า 600,000 ตันต่อปี หรือคิดเป็นสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 90 ซึ่งในอนาคตหากกลุ่มประเทศผู้นำเข้าได้มีการนำเข้าได้มีการนำข้อกำหนดเกี่ยวกับสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Rule Origin) มาใช้ อาจจะทำให้กระทบต่อการส่งออกปลาทูน่ากระป๋องของไทย ดังนั้น หากไทยสามารถจัดตั้งกองเรือปลาทูน่าเองได้น่าจะช่วยทำให้ลดปัญหาเรื่องข้อกีดกันทางการค้าดังกล่าวได้ อย่างไรก็ตาม โครงการจัดตั้งกองเรือปลาทูน่าในขณะนี้มีหลายประเทศ ให้ความสนใจ และยื่นขอรายละเอียดจากกรมประมงเป็นจำนวนมาก เช่น สเปน จีน และเกาหลี คาดว่าจะมีการพิจารณาคัดเลือกบริษัทต่างประเทศที่จะเข้ามาลงทุนได้ประมาณเดือนพฤษภาคม และน่าจะเริ่มดำเนินการโครงการได้ภายในปีนี้ โดยงบประมาณ 3,000 — 4,000 ล้านบาท และในเบื้องต้นได้ตั้งเป้าจะลดสัดส่วนการนำเข้าปลาทูน่าให้เหลือเพียงร้อยละ 70
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (วันที่ 1 - 14 มี.ค. 49) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 2,451.15 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 1,267.51 ตัน สัตว์น้ำจืด 1,183.65 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 10.63 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 11.54 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 209.38 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 25.36 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 126.47 ตัน
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.21 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 30.22 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.01 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.96 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 56.53 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.43 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯเฉลี่ยกิโลกรัมละ 100.71 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 100.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.71 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 144.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 142.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 145.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 144.51 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 140.54 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.97 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 145.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 140.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 5.00 บาท
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 42.59 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯเฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.00 สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 54.43 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.57 บาท
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯเฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.71 บาท สูงขึ้นจากจากกิโลกรัมละ 120.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.71 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.42 สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 5.30 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.12 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 20 - 24 มี.ค. 2549) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.18 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 25.94 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.76 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 12 ประจำวันที่ 20-26 มีนาคม 2549--
-พห-