นายเทพไท เสนพงศ์ อดีต ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ แถลงว่า จากการที่มีกระแสข่าวการซื้อเสียง และการบล็อกโหวตของการคัด เลือกสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ จาก 1,982 คน ให้เหลือ 200 คน เพื่อให้ คมช. เลือกให้เหลือ 100 คน เป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ นั้น จากรายชื่อของสมาชิก สมัชชาแห่งชาติแล้ว ทุกคนล้วนเป็นคนมีชื่อเสียง มีเกียรติประวัติที่ดีงาม ที่ได้รับเสนอชื่อมา และที่สำคัญ สมาชิกสมัชชาแห่งชาติทั้งหมด ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯแต่งตั้งด้วย คงจะไม่ทำในเรื่องที่เสียหาย การซื้อเสียงและการบล็อกโหวตก็ไม่น่าจะเป็นไปได้ เพราะถ้ามีการซื้อเสียงหรือ บล็อกโหวตจนได้เป็น 1 ใน 200 คน แล้วก็ตาม แต่ คมช.เท่านั้นที่จะเป็นผู้เลือก สรร ให้เหลือ 100 คน ผู้ซื้อเสียงเข้ามาอาจจะไม่ได้รับเลือกจาก คมช. ก็ได้ จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องซื้อเสียง แต่อยากจะให้จับตามองในขั้น ตอนที่ คมช.เลือก จาก 200 คน ให้เหลือ 100 คน ว่ามีหลักเกณฑ์และความโปร่งใสมาก น้อยเพียงใด แต่ที่สำคัญที่สุด น่าจะเป็นการคัดเลือกผู้เชี่ยวชาญ 10 คนเพื่อ รวมกับ 25 คน ที่คัดเลือกมาจากสภาร่างรัฐธรรมนูญให้ครบ 35 คน ว่าเป็นใครมี เกียรติประวัติหรือเชี่ยวชาญในการร่างรัฐธรรมนูญมากน้อยเพียงใด เพราะคนกลุ่ม นี้เป็นผู้ที่จะมีบทบาทในการออกแบบรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ถ้าหากกระแสการซื้อเสียง เป็นเรื่องจริงก็จะสร้างความเสื่อมเสียให้กับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เพราะเริ่มต้นก็ ขาดความน่าเชื่อถือจากสังคมแล้ว จะให้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้เป็นที่ยอมรับของ ประชาชนได้อย่างไร เพราะฉะนั้นช่วงนี้จะเห็นความเคลื่อนไหวที่หลากหลายของนัก วิชาการหลายคนที่พยายาม จะแสดงความคิดเห็นในการร่างรัฐธรรมนูญ เช่น หัวข้อนายกรัฐมนตรีไม่จำเป็นต้องมาจากการเลือกตั้ง ทั้ง ๆ ที่สวนกระแส สังคมเป็นอย่างยิ่ง แต่นักวิชาการเหล่านี้ก็พยายามที่จะเสนอแนวทางอย่างไรก็ได้ เพื่อที่จะให้ถูกใจ คมช. เพียงหวังที่จะเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญหรือ กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ในโควตาของ คมช.เท่านั้น จึงอยากจะเรียกร้องให้นัก วิชาการเหล่านี้ซึ่งเป็นคนเดิมๆ ที่มีส่วนร่วมในการร่างรัฐธรรมนูญมาแล้วหลาย ฉบับสุดท้ายก็ถูกฉีกทิ้ง ควรเปิดโอกาสให้นักวิชาการรุ่นใหม่ที่มีความรู้ความ สามารถได้มีส่วนร่วมในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่บ้าง
นายเทพไท กล่าวต่อไปว่า เป็นธรรมดาของรัฐธรรมนูญ ที่เกิดขึ้นหลังจากการ ปฏิวัติทุกฉบับมักจะเปิดกว้างให้คนนอกมาเป็นนายกรัฐมนตรีได้ เช่น รัฐธรรมนูญ ปี 2521 และ 2534 จึงไม่อยากเห็นรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญหลังจาก การปฏิวัติเช่นกันเป็นเหมือนรัฐธรรมนูญฉบับที่ผ่านมา แม้การที่มีผู้เสนอว่านายก รัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้งเว้นแต่กรณีฉุกเฉินที่ให้บุคคลภายนอกเป็นนายก รัฐมนตรีได้นั้น เป็นการเสนอให้นายกรัฐมนตรีมาจากการเลือกตั้งที่มีเงื่อนไข สุดท้ายก็มีกลุ่มบุคคลที่พยายามจะสร้างสถานการณ์เพื่อเปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกมา เป็นนายกรัฐมนตรีตามข้อยกเว้นนั้นอย่างแน่นอน ถ้าหากทุกฝ่ายมีความจริงใจต่อ ระบอบประชาธิปไตยก็ควรปิดช่องทางนี้ และระบุให้ชัดเจนว่านายกรัฐมนตรีต้องมาจาก การเลือกตั้งเท่านั้น นายเทพไท กล่าวต่อว่า สำหรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในแนวทางของพรรคประชาธิปัต ย์ นั้น ได้มีการพูดคุยนอกรอบในระดับแกนนำพรรคฯ มาบ้างแล้ว และมีข้อสรุปตรงกัน ในหลายเรื่อง หลายประเด็น มีเพียง 3 ประเด็นเท่านั้นที่ยังไม่ มีข้อยุติจะต้องฟังความคิดเห็นจากสมาชิกพรรคอย่างกว้างขวางด้วย คือ 1. เรื่อง ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อหรือปาร์ตี้ลิสต์ว่าจะคงมีอยู่หรือไม่ 2. เรื่อง สมาชิกวุฒิสภาควรจะมีอยู่หรือไม่ และถ้ามีควรจะมีที่มาอย่างไร มีหน้าที่มากน้อย เพียงใด 3. เรื่องการแบ่งเขตเลือกตั้ง ส.ส.ยังคงระบบเขตเดียวเบอร์เดียววันแมน วันโหวตหรือเขตละ 3 คน เหมือนรัฐธรรมนูญในอดีต
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 15 ธ.ค. 2549--จบ--
นายเทพไท กล่าวต่อไปว่า เป็นธรรมดาของรัฐธรรมนูญ ที่เกิดขึ้นหลังจากการ ปฏิวัติทุกฉบับมักจะเปิดกว้างให้คนนอกมาเป็นนายกรัฐมนตรีได้ เช่น รัฐธรรมนูญ ปี 2521 และ 2534 จึงไม่อยากเห็นรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญหลังจาก การปฏิวัติเช่นกันเป็นเหมือนรัฐธรรมนูญฉบับที่ผ่านมา แม้การที่มีผู้เสนอว่านายก รัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้งเว้นแต่กรณีฉุกเฉินที่ให้บุคคลภายนอกเป็นนายก รัฐมนตรีได้นั้น เป็นการเสนอให้นายกรัฐมนตรีมาจากการเลือกตั้งที่มีเงื่อนไข สุดท้ายก็มีกลุ่มบุคคลที่พยายามจะสร้างสถานการณ์เพื่อเปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกมา เป็นนายกรัฐมนตรีตามข้อยกเว้นนั้นอย่างแน่นอน ถ้าหากทุกฝ่ายมีความจริงใจต่อ ระบอบประชาธิปไตยก็ควรปิดช่องทางนี้ และระบุให้ชัดเจนว่านายกรัฐมนตรีต้องมาจาก การเลือกตั้งเท่านั้น นายเทพไท กล่าวต่อว่า สำหรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในแนวทางของพรรคประชาธิปัต ย์ นั้น ได้มีการพูดคุยนอกรอบในระดับแกนนำพรรคฯ มาบ้างแล้ว และมีข้อสรุปตรงกัน ในหลายเรื่อง หลายประเด็น มีเพียง 3 ประเด็นเท่านั้นที่ยังไม่ มีข้อยุติจะต้องฟังความคิดเห็นจากสมาชิกพรรคอย่างกว้างขวางด้วย คือ 1. เรื่อง ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อหรือปาร์ตี้ลิสต์ว่าจะคงมีอยู่หรือไม่ 2. เรื่อง สมาชิกวุฒิสภาควรจะมีอยู่หรือไม่ และถ้ามีควรจะมีที่มาอย่างไร มีหน้าที่มากน้อย เพียงใด 3. เรื่องการแบ่งเขตเลือกตั้ง ส.ส.ยังคงระบบเขตเดียวเบอร์เดียววันแมน วันโหวตหรือเขตละ 3 คน เหมือนรัฐธรรมนูญในอดีต
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 15 ธ.ค. 2549--จบ--