นายราเชนทร์ พจนสุนทร อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมสุขอนามัยและการตรวจกักกันโรคพืชและสัตว์ของไต้หวัน(Bureau of Animal and Plant Health Inspection and Quarantine ; BAPHIQ) ได้ประกาศระเบียบการขออนุญาตนำเข้า - ส่งออกพืชดัดแปลงพันธุกรรม (Transgenic Plant) ตาม Plant Variety and Plant Seed Act มาตรา 52 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 7 กรกฎาคม 2548
ประกาศดังกล่าวกำหนดให้ผู้นำเข้าพืชดัดแปลงพันธุกรรมเพื่อการขยายพันธุ์หรือเพาะปลูก หรือเพื่อการทดสอบ วิจัยและพัฒนา รวมทั้งผู้ส่งออกพืชดัดแปลงพันธุกรรมต้องยื่นขออนุญาตนำเข้า-ส่งออก ต่อ BAPHIQ โดยการพิจารณาคำขออนุญาตนำเข้า-ส่งออกนั้นใช้เวลา 60 วัน นับแต่วันที่ยื่นขออนุญาต หากดำเนินการไม่เสร็จตามกำหนดจะยืดเวลาออกไปอีกเพียง 1 ครั้งเท่านั้น ยกเว้นในกรณีที่มีการตรวจตัวอย่างและเอกสาร BAPHIQ จะใช้เวลาในการตรวจสอบ 270 วัน นับแต่วันที่ยื่นขออนุญาต โดยเก็บตัวอย่างสินค้านำเข้าในระหว่างการส่งมอบที่ด่านตรวจ
นายราเชนทร์กล่าวเพิ่มเติมว่า ในขณะนี้ ไทยไม่มีการขยายพันธุ์หรือเพาะปลูกพืช ดัดแปลงพันธุกรรมในเชิงพาณิชย์ เนื่องจากพระราชบัญญัติกักกันพืช พ.ศ. 2507 กำหนดห้าม นำเข้า — ส่งออกพืชดัดแปลงพันธุกรรม แต่อนุญาตให้นำเข้าได้เฉพาะกรณีศึกษาทดลองและวิจัย ยกเว้นถั่วเหลืองและเมล็ดข้าวโพดอนุญาตให้นำเข้าได้ในกรณีที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตอาหารสัตว์หรืออาหารคน หรือเพื่อใช้ในอุตสาหกรรม นอกจากนี้ พระราชบัญญัติการส่งออกไปนอกและนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ. 2522 กำหนดให้สามารถนำเข้า-ส่งออกพืชดัดแปลงพันธุกรรมได้เฉพาะถั่วเหลืองและเมล็ดข้าวโพดเท่านั้น
อนึ่ง ไต้หวันเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญอันดับที่ 11 ของไทย โดยในปี 2547 ไทยส่งออกสินค้าไปยังไต้หวันมีมูลค่าประมาณ 105,000 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนคิดเป็นร้อยละ 2.46 และในปี 2548 (ม.ค.-ก.ค.)มีมูลค่าการส่งออกประมาณ 59,000 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนคิดเป็นร้อยละ 4.46
--กรมการค้าระหว่างประเทศ--
-สส-
ประกาศดังกล่าวกำหนดให้ผู้นำเข้าพืชดัดแปลงพันธุกรรมเพื่อการขยายพันธุ์หรือเพาะปลูก หรือเพื่อการทดสอบ วิจัยและพัฒนา รวมทั้งผู้ส่งออกพืชดัดแปลงพันธุกรรมต้องยื่นขออนุญาตนำเข้า-ส่งออก ต่อ BAPHIQ โดยการพิจารณาคำขออนุญาตนำเข้า-ส่งออกนั้นใช้เวลา 60 วัน นับแต่วันที่ยื่นขออนุญาต หากดำเนินการไม่เสร็จตามกำหนดจะยืดเวลาออกไปอีกเพียง 1 ครั้งเท่านั้น ยกเว้นในกรณีที่มีการตรวจตัวอย่างและเอกสาร BAPHIQ จะใช้เวลาในการตรวจสอบ 270 วัน นับแต่วันที่ยื่นขออนุญาต โดยเก็บตัวอย่างสินค้านำเข้าในระหว่างการส่งมอบที่ด่านตรวจ
นายราเชนทร์กล่าวเพิ่มเติมว่า ในขณะนี้ ไทยไม่มีการขยายพันธุ์หรือเพาะปลูกพืช ดัดแปลงพันธุกรรมในเชิงพาณิชย์ เนื่องจากพระราชบัญญัติกักกันพืช พ.ศ. 2507 กำหนดห้าม นำเข้า — ส่งออกพืชดัดแปลงพันธุกรรม แต่อนุญาตให้นำเข้าได้เฉพาะกรณีศึกษาทดลองและวิจัย ยกเว้นถั่วเหลืองและเมล็ดข้าวโพดอนุญาตให้นำเข้าได้ในกรณีที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตอาหารสัตว์หรืออาหารคน หรือเพื่อใช้ในอุตสาหกรรม นอกจากนี้ พระราชบัญญัติการส่งออกไปนอกและนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ. 2522 กำหนดให้สามารถนำเข้า-ส่งออกพืชดัดแปลงพันธุกรรมได้เฉพาะถั่วเหลืองและเมล็ดข้าวโพดเท่านั้น
อนึ่ง ไต้หวันเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญอันดับที่ 11 ของไทย โดยในปี 2547 ไทยส่งออกสินค้าไปยังไต้หวันมีมูลค่าประมาณ 105,000 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนคิดเป็นร้อยละ 2.46 และในปี 2548 (ม.ค.-ก.ค.)มีมูลค่าการส่งออกประมาณ 59,000 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนคิดเป็นร้อยละ 4.46
--กรมการค้าระหว่างประเทศ--
-สส-