ในโลกปัจจุบันนี้อาจกล่าวได้ว่าการแข่งขันทางด้านคุณภาพและนวัตกรรมของสินค้าและการให้บริการเข้ามามีความสำคัญมากกว่าการแข่งขันทางด้านขนาดองค์กรหรือต้นทุนสินค้า ในขณะที่ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ Information Technology (IT) เข้ามามีบทบาทสำคัญในการเพิ่มความได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจอย่างไรก็ตามองค์กรส่วนใหญ่ใช้ประโยชน์จากระบบเทคโนโลยีสารสนเทศหรือระบบคอมพิวเตอร์เพียงเพื่อเพิ่มความรวดเร็วของกระบวนงานดั้งเดิมเท่านั้น ซึ่งนั่นทำให้ปัญหาด้านประสิทธิภาพการทำงานยังถูกแก้ไม่ตรงจุด
เพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางด้านประสิทธิภาพการทำงานไม่เพียงแต่การนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เท่านั้น องค์กรต้องมีการ reengineering กระบวนงานที่เก่าและล้าสมัยด้วย
ความคิดเกี่ยวกับ Business Process Reengineering (BPR) จึงเกิดขึ้น โดยมีหลักสำคัญคือการวิเคราะห์และ redesign กระบวนงานและกฏระเบียบเก่า ๆ ในขณะเดียวกันต้องเสริมสร้างกระบวนการนวัตกรรมใหม่ ๆ โดยการคำนึงถึงกระบวนงานในภาพรวมขององค์กรเป็นหลัก แทนที่จะเป็นการมองไปที่กระบวนของของหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง โดยมีหลักสำคัญดังนี้
1. เน้นที่ผลลัพธ์ การทำReengineeringให้ความสนใจที่เป้าหมาย (objective- or outcome-oriented) มากกว่าตัวงาน (tasks) ดังนั้นจึงสนับสนุนให้มีทีมงานเพียงหนึ่งทีมทำงานทุกขั้นตอนของกระบวนงานหนึ่ง ๆ เพื่อลด time-overhead ที่บุคคลต้องติดต่อหรือถ่ายทอดงานกันและเพิ่มประสิทธิภาพของงานเนื่องจากมีผู้ที่รู้กระบวนงานและสถานะทั้งหมดในภาพรวม
2. หน่วยงานเบ็ดเสร็จ คือแนวความคิดที่ให้ผู้ที่ต้องการผลของกระบวนงานเป็นผู้ดำเนินกระบวนงานนั้นเอง นั่นคือ หน่วยงานสามารถมีบทบาทและหน้าที่ได้มากกว่าหนึ่งบทบาท
3. รวมข้อมูล คือการผนวกรวมการผลิตและการประมวลผลข้อมูลให้อยู่ในบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานเดียวกัน
4. กระจายทรัพยากร ทรัพยากรขององค์กรควรมีการกระจายเพื่อเพิ่มความคล่องตัวและความสะดวกในการใช้งานแต่ต้องสามารถบริหารจัดการได้จากจุดเดียวซึ่งระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้ถูกนำมาใช้เพื่อช่วยองค์กรบริหารจัดการทรัพยากรที่กระจายเหล่านั้น เช่นข้อมูลสารสนเทศ เป็นต้น
5. ทำงานอย่างคู่ขนาน คือแนวความคิดให้องค์กรทำการเชื่อมโยงกิจกรรมที่ทำอย่างคู่ขนานกันในขณะที่มันกำลังดำเนินการอยู่แทนที่จะทำเป็นลำดับ
6. ลดลำดับการสั่งการ คือการทำระดับการบริหารให้แบนเรียบขึ้นและให้อำนาจการตัดสินใจในจุดที่เกิดกระบวนการทำงานขึ้นเพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถตัดสินใจในงานที่เขาทำได้ด้วยตนเอง
7. ดึงข้อมูลจากแหล่งต้นทาง เพื่อเป็นการลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล ข้อมูลจึงควรถูกรวบรวมแค่ครั้งเดียวและจากแหล่งกำเนิดข้อมูลเอง แล้วค่อย share ผ่านทางระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
BPR ไม่ใช่งานที่ต่างคนต่างทำ แต่ต้องทำข้ามกระบวนงานซึ่งส่งผลกระทบต่อหลายหน่วยงานในองค์กร ดังนั้นการได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารจึงเป็นปัจจัยสำคัญหนึ่งสู่ความสำเร็จ ทั้งนี้นอกจากจะทำให้การควบคุมและตัดสินใจครอบคลุมกระบวนการทั้งหมดแล้ว ยังทำให้มองเห็นภาพรวมขององค์กรด้วย
จะเห็นได้ว่าระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและBPRมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้จึงควรพิจารณาในด้านที่ช่วยสนับสนุนการ redesign กระบวนงานทางธุรกิจให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ ยกตัวอย่างเช่นการลดความซ้ำซ้อนของข้อมูลโดยการเก็บในระบบฐานข้อมูลซึ่งให้แผนก-ส่วนต่างๆในองค์กรเข้าถึงได้จากที่เดียวและในขณะเดียวกันการมองกระบวนการทางธุรกิจก็ควรพิจารณาในด้านความสามารถที่ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศจะสามารถให้ได้ ด้วยเช่นกัน
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-
เพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางด้านประสิทธิภาพการทำงานไม่เพียงแต่การนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เท่านั้น องค์กรต้องมีการ reengineering กระบวนงานที่เก่าและล้าสมัยด้วย
ความคิดเกี่ยวกับ Business Process Reengineering (BPR) จึงเกิดขึ้น โดยมีหลักสำคัญคือการวิเคราะห์และ redesign กระบวนงานและกฏระเบียบเก่า ๆ ในขณะเดียวกันต้องเสริมสร้างกระบวนการนวัตกรรมใหม่ ๆ โดยการคำนึงถึงกระบวนงานในภาพรวมขององค์กรเป็นหลัก แทนที่จะเป็นการมองไปที่กระบวนของของหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง โดยมีหลักสำคัญดังนี้
1. เน้นที่ผลลัพธ์ การทำReengineeringให้ความสนใจที่เป้าหมาย (objective- or outcome-oriented) มากกว่าตัวงาน (tasks) ดังนั้นจึงสนับสนุนให้มีทีมงานเพียงหนึ่งทีมทำงานทุกขั้นตอนของกระบวนงานหนึ่ง ๆ เพื่อลด time-overhead ที่บุคคลต้องติดต่อหรือถ่ายทอดงานกันและเพิ่มประสิทธิภาพของงานเนื่องจากมีผู้ที่รู้กระบวนงานและสถานะทั้งหมดในภาพรวม
2. หน่วยงานเบ็ดเสร็จ คือแนวความคิดที่ให้ผู้ที่ต้องการผลของกระบวนงานเป็นผู้ดำเนินกระบวนงานนั้นเอง นั่นคือ หน่วยงานสามารถมีบทบาทและหน้าที่ได้มากกว่าหนึ่งบทบาท
3. รวมข้อมูล คือการผนวกรวมการผลิตและการประมวลผลข้อมูลให้อยู่ในบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานเดียวกัน
4. กระจายทรัพยากร ทรัพยากรขององค์กรควรมีการกระจายเพื่อเพิ่มความคล่องตัวและความสะดวกในการใช้งานแต่ต้องสามารถบริหารจัดการได้จากจุดเดียวซึ่งระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้ถูกนำมาใช้เพื่อช่วยองค์กรบริหารจัดการทรัพยากรที่กระจายเหล่านั้น เช่นข้อมูลสารสนเทศ เป็นต้น
5. ทำงานอย่างคู่ขนาน คือแนวความคิดให้องค์กรทำการเชื่อมโยงกิจกรรมที่ทำอย่างคู่ขนานกันในขณะที่มันกำลังดำเนินการอยู่แทนที่จะทำเป็นลำดับ
6. ลดลำดับการสั่งการ คือการทำระดับการบริหารให้แบนเรียบขึ้นและให้อำนาจการตัดสินใจในจุดที่เกิดกระบวนการทำงานขึ้นเพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถตัดสินใจในงานที่เขาทำได้ด้วยตนเอง
7. ดึงข้อมูลจากแหล่งต้นทาง เพื่อเป็นการลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล ข้อมูลจึงควรถูกรวบรวมแค่ครั้งเดียวและจากแหล่งกำเนิดข้อมูลเอง แล้วค่อย share ผ่านทางระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
BPR ไม่ใช่งานที่ต่างคนต่างทำ แต่ต้องทำข้ามกระบวนงานซึ่งส่งผลกระทบต่อหลายหน่วยงานในองค์กร ดังนั้นการได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารจึงเป็นปัจจัยสำคัญหนึ่งสู่ความสำเร็จ ทั้งนี้นอกจากจะทำให้การควบคุมและตัดสินใจครอบคลุมกระบวนการทั้งหมดแล้ว ยังทำให้มองเห็นภาพรวมขององค์กรด้วย
จะเห็นได้ว่าระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและBPRมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้จึงควรพิจารณาในด้านที่ช่วยสนับสนุนการ redesign กระบวนงานทางธุรกิจให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ ยกตัวอย่างเช่นการลดความซ้ำซ้อนของข้อมูลโดยการเก็บในระบบฐานข้อมูลซึ่งให้แผนก-ส่วนต่างๆในองค์กรเข้าถึงได้จากที่เดียวและในขณะเดียวกันการมองกระบวนการทางธุรกิจก็ควรพิจารณาในด้านความสามารถที่ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศจะสามารถให้ได้ ด้วยเช่นกัน
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-