แท็ก
ปลาดุก
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ( 1 - 5 ก.ย. 49) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯมีจำนวนรวมทั้งสิ้น 993.23 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 473.09 ตัน สัตว์น้ำจืด 520.14 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 3.50 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 4.03 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 81.50 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 29.89 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 28.54 ตัน
การตลาด
การส่งออกกุ้งแช่เย็นหรือกุ้งชิลไปตลาดเกาหลี
นายนิวัติ สุธีมีชัยกุล รองอธิบดีกรมประมง เปิดเผยเกี่ยวกับสถานการณ์การส่งออกกุ้งแช่เย็นหรือกุ้งชิลไปยังประเทศเกาหลีว่า ทางเกาหลีได้เน้นย้ำมายังโรงงานและผู้ประกอบการส่งออกกุ้งชิลของไทยจะต้องได้รับการรับรองจากกรมประมงเท่านั้น รวมทั้งยังขอความร่วมมือมายังผู้ส่งออกกุ้งชิลไทยในกรณีที่เข้าร่วมในงานเทศกาลอาหารของเกาหลี ควรแสดงเครื่องหมายการรับรองมาตรฐานสินค้าที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานภาครัฐ เช่น เครื่องหมายตัวคิว (Q) หรือใบประกาศเกียรติคุณเกี่ยวกับมาตรฐานการผลิตสินค้าที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานราชการของไทย เพื่อให้ผู้บริโภคเกาหลีมีความเชื่อมั่นในผลิตภัณฑ์กุ้งจากไทย
ปัจจุบันมีผู้ประกอบการไทยส่งออกกุ้งชิลไปยังประเทศเกาหลีประมาณ 100 กว่าราย โดยก่อนหน้านี้กระทรวงเกษตรฯ ได้ร่วมลงนามกับกระทรวงพาณิชย์นาวีและกิจการประมงเกาหลี ในข้อตกลงว่าด้วยการยอมรับร่วม การควบคุมคุณภาพและความปลอดภัยด้านสุขอนามัยสินค้าประมงและผลิตภัณฑ์ประมงนำเข้าและส่งออก โดยผู้ประกอบการที่ส่งออกสินค้าประมงและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำไปเกาหลีต้องขึ้นทะเบียนและจะมีการออกใบรับรองโดยหน่วยงานที่รับผิดชอบทั้งสองประเทศ โดยสินค้าดังกล่าวจะไม่ถูกตรวจสอบซ้ำที่ด่านนำเข้าอีก
รองอธิบดีกรมประมงกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ตลาดเกาหลีนับเป็นตลาดนำเข้าสินค้าประมงที่มี ศักยภาพอีกแห่งหนึ่งของไทย แต่ละแห่งมีการนำเข้าสินค้าประมงคิดเป็นมูลค่า 4,000 — 5,000 ล้านบาท ซึ่งแต่เดิมไทยมีการส่งออกกุ้งชิล ประมาณ 800 ล้านบาทต่อปี โดยในปีนี้มั่นใจว่าจะสามารถขยายการส่งออกเพิ่มขึ้นเป็น 1,500 ล้านบาทได้อย่างแน่นอน และเชื่อว่าความร่วมมือที่เกิดขึ้นระหว่างไทย — เกาหลีในด้านการตรวจสอบคุณภาพสินค้า จะทำให้ไทยสามารถแย่งส่วนแบ่งตลาดการนำเข้าสินค้าประมงในประเทศเกาหลีได้เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นกัน
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.80 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 29.79 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.01 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.60 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 57.91 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.31 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 98.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 92.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน 5.50 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง(51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 139.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง(60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 150.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 145.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.00 บาท
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 116.75 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 117.74 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.99 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 50.25 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.25 บาท
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.21 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 5.37 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.16 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 11 — 15 ก.ย. 2549) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.16 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 28.60 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.44 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 36 ประจำวันที่ 11 - 17 กันยายน 2549--
-พห-
การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ( 1 - 5 ก.ย. 49) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯมีจำนวนรวมทั้งสิ้น 993.23 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 473.09 ตัน สัตว์น้ำจืด 520.14 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 3.50 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 4.03 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 81.50 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 29.89 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 28.54 ตัน
การตลาด
การส่งออกกุ้งแช่เย็นหรือกุ้งชิลไปตลาดเกาหลี
นายนิวัติ สุธีมีชัยกุล รองอธิบดีกรมประมง เปิดเผยเกี่ยวกับสถานการณ์การส่งออกกุ้งแช่เย็นหรือกุ้งชิลไปยังประเทศเกาหลีว่า ทางเกาหลีได้เน้นย้ำมายังโรงงานและผู้ประกอบการส่งออกกุ้งชิลของไทยจะต้องได้รับการรับรองจากกรมประมงเท่านั้น รวมทั้งยังขอความร่วมมือมายังผู้ส่งออกกุ้งชิลไทยในกรณีที่เข้าร่วมในงานเทศกาลอาหารของเกาหลี ควรแสดงเครื่องหมายการรับรองมาตรฐานสินค้าที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานภาครัฐ เช่น เครื่องหมายตัวคิว (Q) หรือใบประกาศเกียรติคุณเกี่ยวกับมาตรฐานการผลิตสินค้าที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานราชการของไทย เพื่อให้ผู้บริโภคเกาหลีมีความเชื่อมั่นในผลิตภัณฑ์กุ้งจากไทย
ปัจจุบันมีผู้ประกอบการไทยส่งออกกุ้งชิลไปยังประเทศเกาหลีประมาณ 100 กว่าราย โดยก่อนหน้านี้กระทรวงเกษตรฯ ได้ร่วมลงนามกับกระทรวงพาณิชย์นาวีและกิจการประมงเกาหลี ในข้อตกลงว่าด้วยการยอมรับร่วม การควบคุมคุณภาพและความปลอดภัยด้านสุขอนามัยสินค้าประมงและผลิตภัณฑ์ประมงนำเข้าและส่งออก โดยผู้ประกอบการที่ส่งออกสินค้าประมงและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำไปเกาหลีต้องขึ้นทะเบียนและจะมีการออกใบรับรองโดยหน่วยงานที่รับผิดชอบทั้งสองประเทศ โดยสินค้าดังกล่าวจะไม่ถูกตรวจสอบซ้ำที่ด่านนำเข้าอีก
รองอธิบดีกรมประมงกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ตลาดเกาหลีนับเป็นตลาดนำเข้าสินค้าประมงที่มี ศักยภาพอีกแห่งหนึ่งของไทย แต่ละแห่งมีการนำเข้าสินค้าประมงคิดเป็นมูลค่า 4,000 — 5,000 ล้านบาท ซึ่งแต่เดิมไทยมีการส่งออกกุ้งชิล ประมาณ 800 ล้านบาทต่อปี โดยในปีนี้มั่นใจว่าจะสามารถขยายการส่งออกเพิ่มขึ้นเป็น 1,500 ล้านบาทได้อย่างแน่นอน และเชื่อว่าความร่วมมือที่เกิดขึ้นระหว่างไทย — เกาหลีในด้านการตรวจสอบคุณภาพสินค้า จะทำให้ไทยสามารถแย่งส่วนแบ่งตลาดการนำเข้าสินค้าประมงในประเทศเกาหลีได้เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นกัน
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.80 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 29.79 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.01 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.60 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 57.91 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.31 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 98.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 92.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน 5.50 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง(51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 139.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง(60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 150.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 145.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.00 บาท
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 116.75 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 117.74 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.99 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 50.25 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.25 บาท
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.21 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 5.37 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.16 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 11 — 15 ก.ย. 2549) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.16 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 28.60 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.44 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 36 ประจำวันที่ 11 - 17 กันยายน 2549--
-พห-