แท็ก
ปลาดุก
1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (วันที่ 15 - 21 พ.ค. 49) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,135.89 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 575.41 ตัน สัตว์น้ำจืด 560.48 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.27 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.72 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 114.73 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 35.87 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 56.70 ตัน
การตลาด
ลดภาษีแปรรูปกุ้งทำให้ต่างชาติลงทุนมากขึ้น
คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เผยว่า แม้การคืนสิทธิพิเศษทางศุลกากร (GSP) จะทำให้การส่งออกกุ้งไทยไปสหภาพยุโรปมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น แต่จากปัญหาความผันผวนของค่าเงินบาทและราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับภาคเอกชนจีนได้ย้ายฐานการผลิตกุ้งไปยังประเทศบราซิล และอินโดนีเซียเพิ่มขึ้น ทำให้การส่งออกกุ้งไทยต้องเผชิญภาวะการแข่งขันด้านราคาที่ รุนแรงสูงขึ้น ดังนั้น เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันให้กับกุ้งส่งออกของไทย จึงได้มอบหมายให้กรมประมงเร่งหารือกับคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) พิจารณาความเป็นไปได้ในการลดภาษีด้านการลงทุน และเพิ่มสิทธิพิเศษอื่นๆ ให้กับโรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์กุ้ง เพื่อสร้างแรงจูงใจให้กับผู้ประกอบการจากสหภาพยุโรปเข้ามาร่วมลงทุนขยายอุหสาหกรรมแปรรูปผลิตภัณฑ์กุ้งไทย ปัจจุบันสินค้าแปรรูปกุ้งของไทยกำลังเป็นที่นิยมในกลุ่มผู้บริโภคต่างประเทศ ที่สำคัญการส่งออกผลิตภัณฑ์กุ้งแปรรูปมีปัญหาการกีดกันทางการค้าน้อยกว่ากุ้งสด แต่มีมูลค่ามากกว่า ดังนั้น จึงมีแผนที่จะเชิญชวนให้ต่างประเทศมาร่วมลงทุนขยายฐานการผลิตกุ้งแปรรูป เพื่อการส่งออกเพิ่มขึ้น
ด้านนายนิวัติ สุธีมีชัยกุล รองอธิบดีกรมประมง กล่าวว่า สหภาพยุโรป โดยเฉพาะฝรั่งเศส อังกฤษ เบลเยี่ยม และสเปน ถือเป็นตลาดหลักที่กรมประมงตั้งเป้าที่จะขยายการส่งออกกุ้งแปรรูป เนื่องจากเป็นตลาดที่มีกำลังซื้อสูง อีกทั้งยังมีปริมาณสั่งซื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในเบื้องต้นกรมประมงจึงมีแผนที่จะสนับสนุนให้เกษตรกร ผู้เลี้ยงกุ้งทั่วประเทศให้เข้าสู่ระบบฟาร์มมาตรฐาน CoC ซึ่งเป็นระบบการจัดการฟาร์มกุ้งที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อผลิตกุ้งคุณภาพที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค เพื่อเป็นการพัฒนามาตรฐานการผลิตกุ้งทั้งระบบ ตั้งแต่แหล่งจับ โรงเพาะฟัก ฟาร์มเลี้ยง โรงงานแปรรูปและระบบกระจายสินค้า ตลอดจนประชาสัมพันธ์ความรู้เรื่องมาตรการทางการค้าของประเทศผู้นำเข้าต่างๆ ด้วย
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.58 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 30.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.42 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 61.11 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 59.89 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.22 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.71 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 92.86 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.15 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 159.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 154.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 4.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 160.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 155.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 5.00 บาท
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 131.53 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 133.69 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.16 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 111.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 120.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 9.00 บาท
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 46.03 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 42.65 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.38 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.57 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 51.43 บาท ของสัปดาห์ก่อน 7.14 บาท
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.78 สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 5.76 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.02 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 29 พ.ค. — 2 มิ.ย. 2549) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.20 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 30.88 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.32 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 21 ประจำวันที่ 29 พ.ค.-4 มิ.ย. 2549--
-พห-
การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (วันที่ 15 - 21 พ.ค. 49) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,135.89 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 575.41 ตัน สัตว์น้ำจืด 560.48 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.27 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.72 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 114.73 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 35.87 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 56.70 ตัน
การตลาด
ลดภาษีแปรรูปกุ้งทำให้ต่างชาติลงทุนมากขึ้น
คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เผยว่า แม้การคืนสิทธิพิเศษทางศุลกากร (GSP) จะทำให้การส่งออกกุ้งไทยไปสหภาพยุโรปมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น แต่จากปัญหาความผันผวนของค่าเงินบาทและราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับภาคเอกชนจีนได้ย้ายฐานการผลิตกุ้งไปยังประเทศบราซิล และอินโดนีเซียเพิ่มขึ้น ทำให้การส่งออกกุ้งไทยต้องเผชิญภาวะการแข่งขันด้านราคาที่ รุนแรงสูงขึ้น ดังนั้น เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันให้กับกุ้งส่งออกของไทย จึงได้มอบหมายให้กรมประมงเร่งหารือกับคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) พิจารณาความเป็นไปได้ในการลดภาษีด้านการลงทุน และเพิ่มสิทธิพิเศษอื่นๆ ให้กับโรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์กุ้ง เพื่อสร้างแรงจูงใจให้กับผู้ประกอบการจากสหภาพยุโรปเข้ามาร่วมลงทุนขยายอุหสาหกรรมแปรรูปผลิตภัณฑ์กุ้งไทย ปัจจุบันสินค้าแปรรูปกุ้งของไทยกำลังเป็นที่นิยมในกลุ่มผู้บริโภคต่างประเทศ ที่สำคัญการส่งออกผลิตภัณฑ์กุ้งแปรรูปมีปัญหาการกีดกันทางการค้าน้อยกว่ากุ้งสด แต่มีมูลค่ามากกว่า ดังนั้น จึงมีแผนที่จะเชิญชวนให้ต่างประเทศมาร่วมลงทุนขยายฐานการผลิตกุ้งแปรรูป เพื่อการส่งออกเพิ่มขึ้น
ด้านนายนิวัติ สุธีมีชัยกุล รองอธิบดีกรมประมง กล่าวว่า สหภาพยุโรป โดยเฉพาะฝรั่งเศส อังกฤษ เบลเยี่ยม และสเปน ถือเป็นตลาดหลักที่กรมประมงตั้งเป้าที่จะขยายการส่งออกกุ้งแปรรูป เนื่องจากเป็นตลาดที่มีกำลังซื้อสูง อีกทั้งยังมีปริมาณสั่งซื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในเบื้องต้นกรมประมงจึงมีแผนที่จะสนับสนุนให้เกษตรกร ผู้เลี้ยงกุ้งทั่วประเทศให้เข้าสู่ระบบฟาร์มมาตรฐาน CoC ซึ่งเป็นระบบการจัดการฟาร์มกุ้งที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อผลิตกุ้งคุณภาพที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค เพื่อเป็นการพัฒนามาตรฐานการผลิตกุ้งทั้งระบบ ตั้งแต่แหล่งจับ โรงเพาะฟัก ฟาร์มเลี้ยง โรงงานแปรรูปและระบบกระจายสินค้า ตลอดจนประชาสัมพันธ์ความรู้เรื่องมาตรการทางการค้าของประเทศผู้นำเข้าต่างๆ ด้วย
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.58 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 30.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.42 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 61.11 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 59.89 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.22 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.71 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 92.86 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.15 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 159.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 154.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 4.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 160.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 155.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 5.00 บาท
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 131.53 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 133.69 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.16 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 111.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 120.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 9.00 บาท
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 46.03 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 42.65 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.38 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.57 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 51.43 บาท ของสัปดาห์ก่อน 7.14 บาท
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.78 สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 5.76 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.02 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 29 พ.ค. — 2 มิ.ย. 2549) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.20 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 30.88 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.32 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 21 ประจำวันที่ 29 พ.ค.-4 มิ.ย. 2549--
-พห-