กรุงเทพ--1 ก.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงการต่างประเทศ จัดศึกษาดูงานโครงการพัฒนาตามแนวพระราชดำริ : ทางเลือกใหม่/เศรษฐกิจพอเพียง เพื่อร่วมเฉลิมฉลองการครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในเดือนมิถุนายนและกรกฎาคมที่ผ่านมา มีผู้แทนระดับสูงจากประเทศกำลังพัฒนาต่างๆ 29 ประเทศ รวม 54 คน เข้าร่วม ซึ่งผู้แทนต่างประเทศล้วนชื่นชมพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และจะนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับไปปรับใช้ในประเทศของตน อีกทั้งผลจากการดูงานจะนำไปสู่ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป
สำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ (สพร.) กระทรวงการต่างประเทศ เป็นเจ้าภาพจัดการศึกษาดูงานโครงการดังกล่าว โดยเชิญผู้บริหารระดับสูงจากประเทศกำลังพัฒนาต่างๆ ทั้งในเอเชีย แปซิฟิก แอฟริกา และลาตินอเมริกาที่ไทยมีความร่วมมือทางวิชาการเพื่อการพัฒนาหรืออยู่ในกลุ่มประเทศเป้าหมายสำคัญของไทย ซึ่งรับผิดชอบงานด้านเศรษฐกิจหรือด้านวางแผนพัฒนาของประเทศ เข้าร่วมเพื่อให้ได้รับความรู้อย่างลึกซึ้งถึงพระราชดำรัสเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และนำไปประยุกต์ใช้ในประเทศของตนเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป
การจัดการศึกษาดูงานโครงการดังกล่าวมีขึ้น 2 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 16-20 มิถุนายน 2549 มีผู้บริหารระดับสูง 25 คน จาก 16 ประเทศ เข้าร่วม คือ ประเทศอัฟกานิสถาน บังกลาเทศ กัมพูชา จีน โคลอมเบีย อินโดนีเซีย อิหร่าน เคนยา เกาหลีใต้ มัลดีฟส์ มาดากัสการ์ พม่า ศรีลังกา ซูดาน แทนซาเนีย และเวียดนาม โดย สพร.จัดศึกษาดูงาน ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สถานีวิจัยโครงการหลวงอินทนนท์ จ.เชียงใหม่ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.จันทบุรี ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง จ.ชลบุรี
การศึกษาดูงานครั้งที่ 2 จัดระหว่างวันที่ 24-28 กรกฎาคม 2549 มีผู้บริหารระดับสูง 29 คน จาก 19 ประเทศ คือ ประเทศอัฟกานิสถาน บังกลาเทศ ภูฏาน บูร์กินาฟาโซ กัมพูชา โคลอมเบีย จิบูติ อียิปต์ เอธิโอเปีย แกมเบีย กัวเตมาลา ลาว มาดากัสการ์ มาลี โมซัมบิก ปาปัวนิวกินี เซเนกัล ศรีลังกา และติมอร์ เลสเต เข้าร่วมโดยไปศึกษาดูงาน ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สถานีวิจัยโครงการหลวงอินทนนท์ จ.เชียงใหม่ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ. เพชรบุรี เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี โครงการพัฒนาพื้นที่วัดมงคลชัยพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.สระบุรี ทั้งนี้ คณะศึกษาดูงานได้เยี่ยมชมบ้านเกษตรกรตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จจากการนำแนวพระราชดำริไปประยุกต์ใช้ได้แก่ นายสุรชัย มรกตวิจิตราการ ซึ่งทำการเกษตรแบบผสมผสาน มีการเลี้ยงหมู เลี้ยงกบบูลฟร๊อค เลี้ยงปลาดุกในบ่อและคูน้ำภายในบริเวณบ้าน ปลูกหญ้าแฝกเป็นแนวกั้นกับลำประโดง และปลูกผักจำพวกสะระแหน่ มิ้นท์ และโหระพา และบ้านนายวีระ ศรีคงรัก ทำการเกษตรแนวทฤษฎีใหม่ ปลูกพืชไม้ผลจำพวกมะม่วง มังคุด ลองกอง ทุเรียน ระกำ มะละกอ พริกไทย เพาะเห็ดนางฟ้า และเห็ดโคนญี่ปุ่น (ยานางิ)
จากการศึกษาดูงานผู้แทนต่างประเทศให้ความสนใจเป็นอย่างมาก มีการซักถามถึงวิธีการดำเนินงาน การบริหารจัดการ แหล่งงบประมาณ การตลาด ปัญหาอุปสรรค รวมทั้งเหตุผลในการนำแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาปฏิบัติจนเกิดประโยชน์อย่างมากมายตลอดเวลา อาทิการปลูกหญ้าแฝก การเลี้ยงปลาเทร้าท์ การใช้ยาฆ่าแมลงและสารตกค้าง รายได้ของเกษตรกร การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์พืชผัก การตลาดและการส่งออกผลิตภัณฑ์ แหล่งสนับสนุนด้านงบประมาณ หลักเกณฑ์การคัดเลือกชาวบ้านที่เข้าร่วมโครงการ การประเมินผลกระทบจากการใช้น้ำในที่ราบสูง ความสำเร็จในการลดการปลูกฝิ่น วัสดุที่ใช้สร้างและอายุของฝายชะลอความชุ่มชื้นของดิน (check dam) วิธีการบำบัดน้ำเสียและการนำกลับไปใช้ประโยชน์ ฯลฯ
ผู้เข้าร่วมดูงานได้แสดงความเห็นโดยสรุปว่าโครงการต่างๆมีประโยชน์มากทุกที่ที่ไปเยี่ยมชมประสบความสำเร็จในการดำเนินงาน และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการวางแผนพัฒนาชุมชนของประเทศของผู้แทนได้ แม้บางประเทศมีความแตกต่างด้านสภาพภูมิอากาศ ภูมิประเทศ แต่เห็นว่าความรู้และประสบการณ์ ที่ได้รับจากการดูงานโครงการพัฒนาตามแนวพระราชดำริและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเหมาะสมและเป็นตัวอย่างที่ดีกับประเทศกำลังพัฒนา แนวทางสายกลางในการดำเนินชีวิตอย่างยั่งยืนสามารถแก้ปัญหาความยากจนในชนบท สร้างโอกาส สร้างอาชีพ และรายได้ให้แก่เกษตรกรที่มีที่ดินทำกินน้อยให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ มีการประสานงานระหว่างชุมชนท้องถิ่นและหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องดีมาก และประเทศไทยควรถ่ายทอดความรู้โดยการฝึกอบรมให้กับประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ ต่อไป
ผู้แทนต่างประเทศต่างชื่นชมต่อพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงพระราชทานแนวทางการดำรงชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นการดำรงชีวิตในทางสายกลาง มีเหตุมีผล และมีภูมิคุ้มกันในตัวเอง ทำให้ประเทศไทยมีการพัฒนาอย่างยั่งยืน หลายประเทศหวังว่าจะได้รับการสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงและการพัฒนาตามแนวพระราชดำริ โดยได้เสนอขอทุนเพื่อให้เจ้าหน้าที่เดินทางมาฝึกอบรมในประเทศไทยหลายสาขาวิชา เช่น Agro-forestry, Agro-industry, Environmental Management เป็นต้น ซึ่งสพร.จะได้นำไปพิจารณาร่วมกับหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการต่อไปโดยมีเป้าหมายเพื่อให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดี และการพัฒนาความร่วมมือที่ดีต่อกันอย่างยั่งยืนต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
กระทรวงการต่างประเทศ จัดศึกษาดูงานโครงการพัฒนาตามแนวพระราชดำริ : ทางเลือกใหม่/เศรษฐกิจพอเพียง เพื่อร่วมเฉลิมฉลองการครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในเดือนมิถุนายนและกรกฎาคมที่ผ่านมา มีผู้แทนระดับสูงจากประเทศกำลังพัฒนาต่างๆ 29 ประเทศ รวม 54 คน เข้าร่วม ซึ่งผู้แทนต่างประเทศล้วนชื่นชมพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และจะนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับไปปรับใช้ในประเทศของตน อีกทั้งผลจากการดูงานจะนำไปสู่ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป
สำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ (สพร.) กระทรวงการต่างประเทศ เป็นเจ้าภาพจัดการศึกษาดูงานโครงการดังกล่าว โดยเชิญผู้บริหารระดับสูงจากประเทศกำลังพัฒนาต่างๆ ทั้งในเอเชีย แปซิฟิก แอฟริกา และลาตินอเมริกาที่ไทยมีความร่วมมือทางวิชาการเพื่อการพัฒนาหรืออยู่ในกลุ่มประเทศเป้าหมายสำคัญของไทย ซึ่งรับผิดชอบงานด้านเศรษฐกิจหรือด้านวางแผนพัฒนาของประเทศ เข้าร่วมเพื่อให้ได้รับความรู้อย่างลึกซึ้งถึงพระราชดำรัสเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และนำไปประยุกต์ใช้ในประเทศของตนเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป
การจัดการศึกษาดูงานโครงการดังกล่าวมีขึ้น 2 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 16-20 มิถุนายน 2549 มีผู้บริหารระดับสูง 25 คน จาก 16 ประเทศ เข้าร่วม คือ ประเทศอัฟกานิสถาน บังกลาเทศ กัมพูชา จีน โคลอมเบีย อินโดนีเซีย อิหร่าน เคนยา เกาหลีใต้ มัลดีฟส์ มาดากัสการ์ พม่า ศรีลังกา ซูดาน แทนซาเนีย และเวียดนาม โดย สพร.จัดศึกษาดูงาน ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สถานีวิจัยโครงการหลวงอินทนนท์ จ.เชียงใหม่ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.จันทบุรี ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง จ.ชลบุรี
การศึกษาดูงานครั้งที่ 2 จัดระหว่างวันที่ 24-28 กรกฎาคม 2549 มีผู้บริหารระดับสูง 29 คน จาก 19 ประเทศ คือ ประเทศอัฟกานิสถาน บังกลาเทศ ภูฏาน บูร์กินาฟาโซ กัมพูชา โคลอมเบีย จิบูติ อียิปต์ เอธิโอเปีย แกมเบีย กัวเตมาลา ลาว มาดากัสการ์ มาลี โมซัมบิก ปาปัวนิวกินี เซเนกัล ศรีลังกา และติมอร์ เลสเต เข้าร่วมโดยไปศึกษาดูงาน ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สถานีวิจัยโครงการหลวงอินทนนท์ จ.เชียงใหม่ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ. เพชรบุรี เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี โครงการพัฒนาพื้นที่วัดมงคลชัยพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.สระบุรี ทั้งนี้ คณะศึกษาดูงานได้เยี่ยมชมบ้านเกษตรกรตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จจากการนำแนวพระราชดำริไปประยุกต์ใช้ได้แก่ นายสุรชัย มรกตวิจิตราการ ซึ่งทำการเกษตรแบบผสมผสาน มีการเลี้ยงหมู เลี้ยงกบบูลฟร๊อค เลี้ยงปลาดุกในบ่อและคูน้ำภายในบริเวณบ้าน ปลูกหญ้าแฝกเป็นแนวกั้นกับลำประโดง และปลูกผักจำพวกสะระแหน่ มิ้นท์ และโหระพา และบ้านนายวีระ ศรีคงรัก ทำการเกษตรแนวทฤษฎีใหม่ ปลูกพืชไม้ผลจำพวกมะม่วง มังคุด ลองกอง ทุเรียน ระกำ มะละกอ พริกไทย เพาะเห็ดนางฟ้า และเห็ดโคนญี่ปุ่น (ยานางิ)
จากการศึกษาดูงานผู้แทนต่างประเทศให้ความสนใจเป็นอย่างมาก มีการซักถามถึงวิธีการดำเนินงาน การบริหารจัดการ แหล่งงบประมาณ การตลาด ปัญหาอุปสรรค รวมทั้งเหตุผลในการนำแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาปฏิบัติจนเกิดประโยชน์อย่างมากมายตลอดเวลา อาทิการปลูกหญ้าแฝก การเลี้ยงปลาเทร้าท์ การใช้ยาฆ่าแมลงและสารตกค้าง รายได้ของเกษตรกร การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์พืชผัก การตลาดและการส่งออกผลิตภัณฑ์ แหล่งสนับสนุนด้านงบประมาณ หลักเกณฑ์การคัดเลือกชาวบ้านที่เข้าร่วมโครงการ การประเมินผลกระทบจากการใช้น้ำในที่ราบสูง ความสำเร็จในการลดการปลูกฝิ่น วัสดุที่ใช้สร้างและอายุของฝายชะลอความชุ่มชื้นของดิน (check dam) วิธีการบำบัดน้ำเสียและการนำกลับไปใช้ประโยชน์ ฯลฯ
ผู้เข้าร่วมดูงานได้แสดงความเห็นโดยสรุปว่าโครงการต่างๆมีประโยชน์มากทุกที่ที่ไปเยี่ยมชมประสบความสำเร็จในการดำเนินงาน และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการวางแผนพัฒนาชุมชนของประเทศของผู้แทนได้ แม้บางประเทศมีความแตกต่างด้านสภาพภูมิอากาศ ภูมิประเทศ แต่เห็นว่าความรู้และประสบการณ์ ที่ได้รับจากการดูงานโครงการพัฒนาตามแนวพระราชดำริและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเหมาะสมและเป็นตัวอย่างที่ดีกับประเทศกำลังพัฒนา แนวทางสายกลางในการดำเนินชีวิตอย่างยั่งยืนสามารถแก้ปัญหาความยากจนในชนบท สร้างโอกาส สร้างอาชีพ และรายได้ให้แก่เกษตรกรที่มีที่ดินทำกินน้อยให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ มีการประสานงานระหว่างชุมชนท้องถิ่นและหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องดีมาก และประเทศไทยควรถ่ายทอดความรู้โดยการฝึกอบรมให้กับประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ ต่อไป
ผู้แทนต่างประเทศต่างชื่นชมต่อพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงพระราชทานแนวทางการดำรงชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นการดำรงชีวิตในทางสายกลาง มีเหตุมีผล และมีภูมิคุ้มกันในตัวเอง ทำให้ประเทศไทยมีการพัฒนาอย่างยั่งยืน หลายประเทศหวังว่าจะได้รับการสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงและการพัฒนาตามแนวพระราชดำริ โดยได้เสนอขอทุนเพื่อให้เจ้าหน้าที่เดินทางมาฝึกอบรมในประเทศไทยหลายสาขาวิชา เช่น Agro-forestry, Agro-industry, Environmental Management เป็นต้น ซึ่งสพร.จะได้นำไปพิจารณาร่วมกับหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการต่อไปโดยมีเป้าหมายเพื่อให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดี และการพัฒนาความร่วมมือที่ดีต่อกันอย่างยั่งยืนต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-