สรยุทธ : ผลการเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการ ผลคะแนนที่ทยอยออกมา ซึ่งค่อนข้างเห็นชัดเจน คุณอภิสิทธิ์ ประเมินอย่างไร
คุณอภิสิทธิ์ : แสดงให้เห็นว่ามีประชาชนที่มีความคิดเห็นที่หลากหลายมาก และเลือกไปใช้สิทธิหนรือไปปฏิบ้ตจิหน้าที่ของตัวเอง และโดยเฉพาะปรากฎหารณ์การกาช่องไม่ลงคะแนนให้ใคร สูงอย่างไม่คาดคิด โดยเฉพาะหลานยพื้นที่สูงกว่าผู้สมัครที่ได้รับคะแนนมากที่สุด ไม่ว่าจะมีการแข่งขัน หรือมีผู้สมัครคนเดียว ทั้งหมดก็เป็นการบ่องบอกได้ว่า ประชาชนจำนวนมากมีความรู้สึกว่าการเลือกตั้งครั้งนี้ไม่สามารถเป็นคำตอบได้ ซึ่งก็เป็นสิ่งที่เราพูดมาในแง่ของการตัดสินใจไม่ลงสมัครรับเลือกตั้งครั้งนี้
สรยุทธ : ไทยรักไทยเขาบอกว่าเขาประเมินแล้วว่ากทม.กับไทยรักไทยจะออกมาเป็นแบบนี้
คุณอภิสิทธิ์ : มันจะต้องไปดูคะแนนให้ครบถ้วน เมื่อคืนที่ดูอยู่ไม่ว่าเราจะเป็นชลบุรี จันทบุรี แม้กระทั่งอีกหลายจังหวัดในภาคกลาง หรือเขต 1 ของภาคเหนือ ภาคอีสาน หลายจังหวัดที่ไม่ลงคะแนนจะสูง
สรยุทธ : คุณอภิสิทธิ์มองว่าเรื่องนี้เป็นนัยยะสำคัญ
คุณอภิสิทธิ์ : นัยยะสำคัญสำหรับคนที่จะตัดสินใจว่าจะบริหารประเทศ เพราะว้าถ้าความประสงค์ของเราคิดว่าดูว่าสภาพปัญหาเป็นอย่างไรตั้งแต่ต้น การเลือกตั้งซึ่งเป็นการเลือกตั้งที่แปลกมันบ่งบอกอะไร และการมองไปข้างหน้าว่าความชอบธรรมในการบริหารประเทศ ความสามาถที่จะหลอมรวมคนทั้งประเทศ ตรงนี้ผมคิดว่าต้องคิดให้หนัก
สรยุทธ : คุณทักษิณเองในฐานะหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ประกาศเอาไว้อยู่แล้วว่า ...
คุณอภิสิทธิ์ : นั่นเป็นกติกาที่คุณทักษิณขีดขึ้นมาเอง
สรยุทธ : เลือกตั้งคราวนี้หมายถึงเอาไม่เอาทักษิณเป็นนายกฯ
คุณอภิสิทธิ์ : คือถ้าถามว่าทำไมนับ 50% จากผู้มาใช้สิทธิ์ ทำไมไม่นับ 50% จากผู้มีสิทธิ์ ทำไมไม่เทียบเคียงกับคะแนนครั้งที่แล้ว หรือว่าดูเขตเลือกตั้งด้วยว่า ส.ส.เขตไหนได้คะแนนเสียงน้อยว่า ผู้ไม่ลงคะแนนบวกบัตรเสีย คือตรงนี้คือส่างที่ผมบอกว่า กติกาเนี่ย ตอนหลังแล้วแต่จะขีด แล้วแต่จะยกเว้น แล้วที่สำคัญคือว่า ต้องดูเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญด้วย และการปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ นอกจากนี้ยังมีประเด็นเรื่องของการให้มีส.ส.ครบจำนวน ก็ต้องมีการติดตามต่อไปว่าจะมีวิธีการหรือทางออกอย่างไร
สรยุทธ : ถ้าให้ไปดูคะแนนอย่าง กทม.ในหลายเขต คือเป็นส่วนใหญ่ ผู้ไม่ประสงค์ลงคะแนนมากกว่าพรรคไทยรักไทย เป็นฐานอะไร มาจากประชาธิปัตย์ส่วนหนึ่ง
คุณอภิสิทธิ์ : ผมว่าไม่ได้มากจากฐานเสียงของใคร มันพูดเรื่องสิ่งที่ประชาชนเขาแสดงออกมา แล้วก็เพราะการเลือกตั้งครั้งนี้มันผิดวัตถุประสงค์ ในแง่ของการที่จะมาตอบคำถามสังคมตั้งแต่แรก มันต้องอ่านผลการเลือกตั้ง ไม่ใช่ในแง่ของการเป็นฐานเสียงให้ใคร เพราะว่าการที่ประชาชนไปลงคะแนนไม่เลือกใคร มันมีหลายนัยยะ ไม่ใช่ไปบอกว่า แปรว่าเป็นคนที่ชื่นชอบฝ่ายค้านหรือไม่อย่างไร ตรงนี้เป็นจุดสำคัญ และต้องยอมรับว่ามันไม่เคยมีมากขนาดนี้ และผมเชื่อว่าคนส่วนใหญ่ก็ไม่คาดคิดว่ามันจะเป็นลักษณะนี้
สรยุทธ : ผมมองว่าจะมีหลายส่วนประกอบกันคือ ชอบประชาธิปัตย์ส่วนหนึ่ง ชอบไทยรักไทยและเปลี่ยนใจส่วนหนึ่ง และอาจจะหมายถึงพรรคอื่นส่วนหนึ่ง และที่สำคัญคืออาจจะให้เหตุการณ์บ้านเมืองสงบส่วนหนึ่ง ที่ไม่ยอมรับการเลือกตั้งอีกส่วนหนึ่ง รวมกันอยู่ในส่วนนี้
คุณอภิสิทธิ์ : นั่นสิครับ และต้องรวมไปถึงคนที่เขาไม่ไปใช้สิทธิ์
สรยุทธ : ไม่ไปเลย
คุณอภิสิทธิ์ : ไม่ไปเลยหมายถึงอาจจะนอนหลับทับสิทธิ หมายความว่าไม่ไปตามปกติ และมีบางคน ซึ่งผมก็เจอพอสมควร ผมก็พยายามบอกว่าเป็นหน้าที่ แต่ว่าเขาก็บอกว่า ไม่เอาเพราะกลัวบัตรที่ลงในหีบจะถูกเปลี่ยน หรือว่าไม่สนใจ ไม่เห็นด้วยกับการเลือกตั้งเลยก็มี เราก็พยายามบอกว่าเป็นหน้าที่ คือการเลือกตั้งพอมันเกิดขึ้นในสถานการณ์หรือในรูปแบบที่มันผิดปกติแล้ว ทุกอย่างมันก็จะผิดปกติไปพอสมควร เพราะฉะนั้นสิ่งที่ผมคิดคือว่าเราต้องคิดถึงอนาคตของประเทศ เราต้องหาทางที่จะปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ แต่ว่าต้องคิดถึงเจตนารมณ์ แล้วก็อย่างที่ผมเรียนคือว่ามาถึงตรงนี้ได้ต้องยอมรับ เพราะว่ามันเหมือนมีการปลุกให้ประชาชนตื่นขึ้นมาสิ่งที่เกิดขึ้นในแง่การไม่ลงคะแนนให้ใคร มันมาจากการที่สถานการณ์บ้านเมืองได้ทำให้ประชาชนได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารในหลายแง่หลายมุน ซึ่งไม่เคยได้มีโอกาสได้รับ และจะไม่มีโอกาสได้รับด้วยถ้าทุกอย่างไปเดินตามทักษิณ
สรยุทธ : เพราะฉะนั้นถ้าผลออกมาเป็นอย่างนี้ ถึงแม้ว่าดูโดยรวมๆ ถ้าเอาผลคะแนนแบบบัญชีรายชื่อมารวม ซึ่งคุณอภิสิทธิ์ก็บอกว่าจะไม่ยอมรับเกณฑ์ที่คุณทักษิณเป็นคนบอกถูกมั้ยครับ ขึ้นบัญชีรายชื่อ 50% จะเป็นหรือไม่เป็นนายกฯ ถูกมั้ยครับ คุณอภิสิทธิ์บอกจะไม่ยอมรับตรงนั้น
คุณอภิสิทธิ์ : ที่บอกว่าแล้วถ้าบอกว่าผมประกาศว่า ไม่ถึง 50% ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งแปลว่าไม่ได้แล้ว ไม่มีอะไรรองรับ แล้วจริงๆ ถ้าเกิดถามใครก็ตามทั่วโลกในโลกประชาธิปไตย เวลาที่มันแข่งขันกันพรรคเดียว ก็ไม่เป็นเรื่องแปลกเลยของผู้ใช้สิทธิ์ มันน่าจะเป็นเรื่อง่ายๆด้วยซ้ำ แต่ปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นมามันก็บ่งบอกอะไรหลายๆ อย่าง
สรยุทธ : ดูบรรยากาศวันนี้การเลือกตั้งก็ผ่านไปแล้ว มันก็จะมีปัญหาเรื่อง 500 คน ดูแนวโน้มวันนี้ไม่ถึงแน่ๆ และยังไม่รู้ว่าจะแก้ปัญหากันอย่างไรในส่วนของ กกต. นายกฯกำลังจะต้องตัดสินใจครั้งสำคัญ ซึ่งหลายคนรอดูอยู่หลังจากเมื่อวานนี้ คุณอภิสิทธิ์คาดหวังอย่างไร
คุณอภิสิทธิ์ : ผมคิดว่าผมอยากให้คุณทักษิณได้มองถึงอนาคตว่า วิธีใดที่จะนำไปสู่การปฏิรูปการเมือง และความยอมรับ แล้วต้องคำนึงถึงผลการเลือกตั้งที่ออกมา ซึ่งวิเคราะห์กันมาเยอะแล้ว แล้วก็ดูเรื่องความเป็นจริง และถอดเรื่องการแพ้ชนะ ถอดเรื่องตัวเอง เรื่องพรรคออกไป แล้วย้อนกลับไปอีกทีว่าสิ่งที่พวกผม ได้พยายามชี้ใมห้ท่านเห้ฯอว่าท่านอย่าไปคิดว่าการพูดเรื่อง 1 สิทธิ์ 1 เสียง มันจำกัดอยู่เฉพาะการเลือกตั้ง มันต้องทุกวัน วันนี้บ้านเมืองเป็นอย่างไร เมื่อวานเราอาจจะไปเลือกตั้งกัน วันนี้เราก็ดูผลการเลือกตั้ง แต่ว่าที่คุกรุ่นกันอยู่หลายเรื่อง ไม่ว่าเรื่องของการบังคับใช้กฎหมาย เรื่องของการใช้สิทธิเสรีภาพ การคุกคามต่างๆที่เกิดขึ้น การวางระเบิดในที่ต่างๆ เหตุการณ์การปะทะที่อาจเกิดขึ้น เหตุการณ์เหล่านี้ต่างหากคือโจทย์ที่ต้องแก้
สรยุทธ : ครับ ครับ อันนี้คือสิ่งที่คุณทักษิณน่าจะ
คุณอภิสิทธิ์ : ผมอยากให้คุณทักษิณคิดถึงเรื่องเหล่านี้ให้มากนะครับ ไม่ใช่กติกาที่ตัวเองไปขีดโดยบังคับให้คนอื่นเดิน
สรยุทธ : ครับ พรรคร่วมฝ่ายค้านเนี้ยผมฟังจากคุณอภิสิทธิ์กับคุณบรรหารเนี้ยเป็นสองแนวนะฮ่ะ ผมถามคุณอภิสิทธิ์ตรงๆเลย ประชาธิปัตย์เนี้ยเสนอแนวคือของประชาธิปัตย์เนี้ยเสนอว่ามาตรา 7 หลังจากท่านนายกกับครม.ขอพึ่งพระบารมีถูกมั้ยฮ่ะ
คุณอภิสิทธิ์ : นั่น คือการเดินถึงมาตรา 7 ก่อนการเลือกตั้ง
สรยุทธ : หลังเลือกตั้งก็ยังเปิดไม่ใช่เหรอฮ่ะ
คุณอภิสิทธิ์ : หลังเลือกตั้งก็ยังไปดูครับว่ามันเข้ามั้ย เพราะมันจะมีความแตกต่างนะฮ่ะ เนื่องจากว่ามันต้องขึ้นอยู่กับกกต. คือสมมุติฐานของข้อเสนอของพรรคฝ่ายค้านเดิมนะฮ่ะที่ผมเป็นคนเริ่มต้นไว้เนี้ย คือต้องปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญด้วย ไม่มีการไปอยู่ดีๆให้ใช้อำนาจอะไรพิเศษที่นอกเหนือรัฐธรรมนูญ ที่นี้ข้อเสนอที่บอกว่าสองแนวก็ไม่ใช่ครับ วันนั้นก็ไป ออกรายการกับคุณสรยุทธนะครับ ก็คือว่ากรณีที่สภาเปิดมาแล้วนะฮ่ะ แล้วคนยอมรับว่าเป็นสภาที่ชอบธรรมเนี้ย พรรคชาติไทยเค้าก็มีข้อเสนอของเค้านะครับ แต่ว่าก่อนจะไปถึงวันนั้นเนี้ยมันก็จะต้องถือว่าสภาเนี้ยมีปัญหาหรือเปล่านะครับ แล้วผลการเลือกตั้งเนี้ยมันบ่งบอกอะไรใช่มั้ยครับ วันนี้เนี้ยถ้าเราพูดถึงว่าเจตนารมณ์และกติกาและก็ความชอบธรรมเนี้ยมันก็จะมีอะไรแปลกๆเกิดขึ้นเยอะ ถูกมั้ยครับคุณสรยุทธครับอย่างเช่น ผมยกตัวอย่างว่าสมมุติฤดูบางจังหวัดในภาคใต้บางคนได้คะแนนนิดเดียวนะครับ แล้วก็เสียงไม่ลงคะแนนให้ใครมากกว่าเป็นเกือบจะห้าหกเจ็ดแปดเท่า แต่บังเอิญมีคู่แข่งก็เป็นผู้แทนนะครับ เขตติดๆกันเนี้ยบางคนคะแนนเค้าเยอะกว่าด้วยซ้ำไม่ถึงร้อยละ20ก็ไม่ได้อะไรอย่างเนี้ยนะครับ แล้วก็คือคำถามก็คือว่าความเป็นผู้แทนของประชาชนเนี้ยมันจะได้รับการยอมรับอย่างไรนะครับ อันนี้คือสิ่งที่มันยิ่งใหญ่กว่าทุกอย่างนะครับ ในแง่ของเจตนารมณ์ของประชาชน
สรยุทธ : เข้าใจฮ่ะ ผมกำลังจะถามคุณอภิสิทธิ์หรือว่าที่ถามคืนนั้นก็คือว่าถ้าจะยุติสถานการณ์ เราพูดถึงสภานการณ์ที่ยังมีความบาดหมางกันอย่างรุนแรงเนี้ยนะฮ่ะ ซึ่งพรรคชาติไทยเค้าก็เสนอว่าถ้าเกิดสมมุติว่าทำอะไรก็แล้วแต่ให้สภาเปิดประชุมได้เนี้ย
คุณอภิสิทธิ์ : เค้าไม่ได้เสนออย่างนั้นนะครับ เค้าบอกว่าถ้าสภามันเปิดได้นะฮ่ะ แต่ว่าสภาควรจะเปิดรึเปล่าเนี้ยนะครับก็ต้องดูด้วยนะครับ เพราะว่าถ้าเกิดเราไปบิดเบือนรัฐธรรมนูญเพียงเพื่อให้สภาเปิดได้เนี้ยมันก็ยิ่งตอกย้ำปัญหาเดิมที่คนเขาต่อต้านอยู่ถูกมั้ยครับ ว่ามันมีการบิดเบือนเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญมาตลอดระยะเวลา 5 ปี
สรยุทธ : ฮ่ะ หมายถึงว่าของพรรคชาติไทยเค้ามีสูตรว่าคุณทักษิณเว้นวรรคแต่ว่าเอาสส.ของไทยรักไทยขึ้นมาเป็นนายก
คุณอภิสิทธิ์ : ถ้าๆไม่มีปัญหาเรื่องสภาไงครับ ใช่มั้ยครับมันยังไปไม่ถึงตรงนั้น วันนี้ก็ต้องดูก่อนว่าการจะคลี่คลายให้มันมีครบ 500 เนี้ยจะคลี่คลายอย่างไรใช่มั้ยครับ เพราะงั้นมันไม่ได้มีอะไรขัดแย้งกันเลยฮ่ะ วันนั้นหลังจากที่ออกรายการแล้วเราก็พูดคุยกันนะครับ ก็เป็นไปตามที่ผมพูดตอนนนี้ล่ะครับ
สรยุทธ : คือ ตกลงว่าก็คือยังรอดู 500 ถูกมั้ยฮ่ะ
คุณอภิสิทธิ์ : ถูกต้องครับ เพราะว่านั่นคือบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญใช่มั้ยครับ การที่จะไปบอกว่าทำยังไงก็ได้ให้มันเปิดขึ้นมาเนี้ยโดยไม่คำนึงว่าถูกต้องตามรัฐธรรมนูญมั้ยเนี้ย ผมว่าไม่ใช่ข้อเสนอของพรรคฝ่ายค้านแน่นอน
สรยุทธ : เอาละฮ่ะ เพราะฉะนั้นก็รอดู ในส่วนของประชาธิปัตย์กับพรรคร่วมฝ่ายค้านยืนยันว่าจะรอดูตรงนั้นนะฮ่ะ ที่ผมจะถามก็คือว่าถ้าสมมุติว่ากรณีนายกเว้นวรรคแต่ว่าคนอื่นเป็นบัญชีรายชื่อขึ้นมาเป็นนายกแล้วตั้งรัฐบาลกลางเนี้ย ทางพรรคร่วมฝ่ายค้านพอรับได้มั้ย คุณอภิสิทธิ์ตอบว่าไงฮ่ะ
คุณอภิสิทธิ์ : ผมก็ถามในเชิงตรรกะนิดเดียวนะครับว่าถ้าบอกว่าคุณทักษิณตัดสินใจว่าจะเว้นวรรคนะฮ่ะ ด้วยสาเหตุอะไรก็ตามแล้วก็ไปหยิบคนขึ้นมานะครับจากบัญชีรายชื่อเนี้ย ก็ต้องถามว่าเรารู้ได้อย่างไรว่าคนนั้นเป็นที่ยอมรับ เสียงที่ไม่ลงคะแนนให้ใครเนี้ยเป็นเสียงที่บอกว่าไม่ให้คุณทักษิณหรือว่าไม่ให้พรรคไทยรักไทยนะครับ แล้วก็เสียงที่ลงให้พรรคไทยรักไทยเนี้ยถ้าไม่ใช่คุณทักษิณล่ะ เขายอมรับหรือเปล่า คือวันเนี้ยมันเป็นกติกาที่อยู่ดีๆไปกำหนดกันขึ้นมาเองโดยคุณทักษิณนะครับ แล้วมันก็ต้องอ่านเจตนารมณ์ของประชาชนซึ่งผมบอกแล้วว่าในเรื่องของระบอบประชาธิปไตยและเจตนารมณ์ของประชาชนเรื่องสิทธิเสรีภาพ การตรวจสอบอะไรต่างๆเนี้ย ถ้าเราเอาการเลือกตั้งไปตอบโจทย์ซึ่งมันไม่พึงจะตอบด้วยการเลือกตั้งเนี้ย มันก็จะมีปัญหาถกเถียงกันไม่จบไม่สิ้นนะครับ อันนี้คือพื้นฐานที่ผมคิดว่าอยากให้ทางคุณทักษิณและพรรคไทยรักไทยเนี้ยพิจารณาให้รอบคอบครับ
สรยุทธ : ที่ถามคุณอภิสิทธิ์ทั้งหมดก็คือว่าทางที่จะยุติปัญหาทั้งหมดเนี้ยคืออะไรอย่างไร ก็คุณอภิสิทธิ์ก็บอกว่าฝากให้ท่านนายกคิดว่าจะทำยังไงที่จะยุติปัญหาทะเลาะเบาะแว้งอะไรต่างๆ เอาชัดๆคือยังไง
คุณอภิสิทธิ์ : คืออย่างงี้ฮ่ะ เพราะคุณสรยุทธต้องบอกอย่างนี้ก่อนว่า เป้าหมายคืออะไร ถ้าเป้าหมายบอกว่าไทยรักไทยตั้งเป้าว่ายังไงก็ต้องขอคนของตัวเองไปเป็นนายก
สรยุทธ : ไม่ใช่เป้าหมายอย่างงั้น ผมกำลังถามคุณอภิสิทธิ์ว่า
คุณอภิสิทธิ์ : ไม่ใช่ไง ผมกำลังจะบอกคุณสรยุทธอย่างนี้ครับ คุณสรยุทธต้องฟังซิครับ ผมกำลังจะบอกว่าถ้าเราไปตั้งโจทย์จากการบอกวิธีอย่างนั้นวิธีอย่างนี้โดยไม่พูดถึงเป้าหมายก่อนเนี้ยนะครับเราจะไม่ได้คำตอบนะฮ่ะ เพราะว่าถ้าเกิดว่าเราไปตั้งเป้าว่าเอาล่ะ เดี๋ยวก่อนขอคุณทักษิณเว้นวรรคนะ แล้วก็เอาคนของไทยรักไทยเป็นเนี้ยมันก็ไปหาช่องทางกันได้ ถ้าเราจะบอกว่าการเลือกตั้งครั้งนี้เนี้ยมันไม่อาจเป็นคำตอบได้แล้วสำหรับสังคมนะครับ แล้วก็สภาก็เปิดไม่ได้หรือมีปัญหาในการเปิดนะครับ ทำยังไงจึงจะวกกลับไปหาเจตนารมณ์ที่แท้จริงมันก็อาจจะเข้ามาตรา 7 ก็ได้นะครับ มันอยู่ที่ว่าเราอยากจะเลือกเส้นทางไหนก่อนนะครับ แล้วก็ส่วนวิธีการเนี้ยนะครับ โอ๋คนเก่งๆเยอะครับหาได้ทั้งนั้น แล้วก็ทุกคนก็ต้องการให้เป็นไปตามหลักของรัฐธรรมนูญ
สรยุทธ : ครับ คือ แล้วตอนนี้เนี้ยถ้ามองมุมมองของคุณอภิสิทธิ์ก็คือว่า
คุณอภิสิทธิ์ : สำหรับมุมมองของผมในขณะนี้เนี้ยนะครับ ผมเห็นว่าการเลือกตั้งที่ดำเนินไปและแม้กระทั่งผลการเลือกตั้งที่ออกมาเนี้ยนะครับยังไม่สามารถที่จะคลี่คลายปมปัญหาได้นะครับ แล้วก็ผู้เกี่ยวข้องตั้งแต่กกต.ไปจนถึงท่านนายกหรือแม้กระทั่งจะไปถึงศาลรัฐธรรมนูญต้องพิจารณาแล้วว่าขณะนี้เนี้ยยังเป็นไปตามเจตนารมณ์เงื่อนไขของรัฐธรรมนูญตามปกติหรือไม่ ถ้าไม่ใช่เนี้ยก็ต้องหาวิธีการตามรัฐธรรมนูญในการที่จะคลี่คลายปัญหาซึ่งก็อาจจะเป็นการกลับไปสู่มาตรา 7 ด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งถูกมั้ยครับ เพราะว่าตอนนี้เนี้ยก็มีการเลือกตั้งแล้วเนี้ย เงื่อนไขที่จะบังคับก่อนของมาตรา 7 เนี้ยอาจจะเปลี่ยนไป
สรยุทธ : ครับ คือมันจะไปเข้าเงื่อนไข ขออนุญาตนะฮ่ะ จะไปเข้าเงื่อนไขก็ตรงที่ว่าถ้าเกิดมันเปิดประชุมสภาไม่ได้จริงๆมันไม่มีบทบัญญัติแล้วถูกมั้ยฮ่ะ ก็คือว่ายังไงสส.ก็ไม่ถึง 500 เลือกตั้งซ้ำเวลามันจะเกิน 30 วันแล้ว ตรงนี้ไม่มีบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญระบุเอาไว้แล้ว ไปใช้มาตรา 7ได้ถูกมั้ยฮ่ะ
คุณอภิสิทธิ์ : แล้วก็ต้องสำคัญกว่านั้นก็คือว่า เวลาบอกไปใช้มาตรา 7 เนี้ยมันก็อยู่ที่เป้าหมายอีกใช่มั้ยครับ เพราะว่าพอถึงบางวันเนี้ยทางพรรคไทยรักไทยก็บอกเอ้าใช้มาตรา 7 ก็ได้ แต่ใช้เพื่อเปิด คำถามของผมก็คือว่าเรายอมรับกันหรือยังว่าสถานการณ์ขณะนี้เนี้ยทางการเมืองเนี้ยแม้มีการเลือกตั้งแล้วๆผลการเลือกตั้งออกมาเป็นอย่างนี้เนี้ยมันไม่ใช่สถานการณ์ปกตินะครับ เจตนารมณ์ถ้าเกิดเราต้องการที่จะคืนสิทธิเสรีภาพให้ประชาชนหนึ่งๆคนเท่าเทียมกันแต่ทุกวันไม่ใชเฉพาะวันเลือกตั้งเนี้ยเราควรจะทำอย่างไร อันนี้ต่างหากคือโจทย์ที่ต้องช่วยกันคิดนะครับ
สรยุทธ : ครับๆ เอาล่ะครับ ขอบคุณครับคุณอภิสิทธิ์ครับ
คุณอภิสิทธิ์ : ขอบคุณครับ
สรยุทธ : สวัสดีครับ
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 3 เม.ย. 2549--จบ--
คุณอภิสิทธิ์ : แสดงให้เห็นว่ามีประชาชนที่มีความคิดเห็นที่หลากหลายมาก และเลือกไปใช้สิทธิหนรือไปปฏิบ้ตจิหน้าที่ของตัวเอง และโดยเฉพาะปรากฎหารณ์การกาช่องไม่ลงคะแนนให้ใคร สูงอย่างไม่คาดคิด โดยเฉพาะหลานยพื้นที่สูงกว่าผู้สมัครที่ได้รับคะแนนมากที่สุด ไม่ว่าจะมีการแข่งขัน หรือมีผู้สมัครคนเดียว ทั้งหมดก็เป็นการบ่องบอกได้ว่า ประชาชนจำนวนมากมีความรู้สึกว่าการเลือกตั้งครั้งนี้ไม่สามารถเป็นคำตอบได้ ซึ่งก็เป็นสิ่งที่เราพูดมาในแง่ของการตัดสินใจไม่ลงสมัครรับเลือกตั้งครั้งนี้
สรยุทธ : ไทยรักไทยเขาบอกว่าเขาประเมินแล้วว่ากทม.กับไทยรักไทยจะออกมาเป็นแบบนี้
คุณอภิสิทธิ์ : มันจะต้องไปดูคะแนนให้ครบถ้วน เมื่อคืนที่ดูอยู่ไม่ว่าเราจะเป็นชลบุรี จันทบุรี แม้กระทั่งอีกหลายจังหวัดในภาคกลาง หรือเขต 1 ของภาคเหนือ ภาคอีสาน หลายจังหวัดที่ไม่ลงคะแนนจะสูง
สรยุทธ : คุณอภิสิทธิ์มองว่าเรื่องนี้เป็นนัยยะสำคัญ
คุณอภิสิทธิ์ : นัยยะสำคัญสำหรับคนที่จะตัดสินใจว่าจะบริหารประเทศ เพราะว้าถ้าความประสงค์ของเราคิดว่าดูว่าสภาพปัญหาเป็นอย่างไรตั้งแต่ต้น การเลือกตั้งซึ่งเป็นการเลือกตั้งที่แปลกมันบ่งบอกอะไร และการมองไปข้างหน้าว่าความชอบธรรมในการบริหารประเทศ ความสามาถที่จะหลอมรวมคนทั้งประเทศ ตรงนี้ผมคิดว่าต้องคิดให้หนัก
สรยุทธ : คุณทักษิณเองในฐานะหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ประกาศเอาไว้อยู่แล้วว่า ...
คุณอภิสิทธิ์ : นั่นเป็นกติกาที่คุณทักษิณขีดขึ้นมาเอง
สรยุทธ : เลือกตั้งคราวนี้หมายถึงเอาไม่เอาทักษิณเป็นนายกฯ
คุณอภิสิทธิ์ : คือถ้าถามว่าทำไมนับ 50% จากผู้มาใช้สิทธิ์ ทำไมไม่นับ 50% จากผู้มีสิทธิ์ ทำไมไม่เทียบเคียงกับคะแนนครั้งที่แล้ว หรือว่าดูเขตเลือกตั้งด้วยว่า ส.ส.เขตไหนได้คะแนนเสียงน้อยว่า ผู้ไม่ลงคะแนนบวกบัตรเสีย คือตรงนี้คือส่างที่ผมบอกว่า กติกาเนี่ย ตอนหลังแล้วแต่จะขีด แล้วแต่จะยกเว้น แล้วที่สำคัญคือว่า ต้องดูเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญด้วย และการปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ นอกจากนี้ยังมีประเด็นเรื่องของการให้มีส.ส.ครบจำนวน ก็ต้องมีการติดตามต่อไปว่าจะมีวิธีการหรือทางออกอย่างไร
สรยุทธ : ถ้าให้ไปดูคะแนนอย่าง กทม.ในหลายเขต คือเป็นส่วนใหญ่ ผู้ไม่ประสงค์ลงคะแนนมากกว่าพรรคไทยรักไทย เป็นฐานอะไร มาจากประชาธิปัตย์ส่วนหนึ่ง
คุณอภิสิทธิ์ : ผมว่าไม่ได้มากจากฐานเสียงของใคร มันพูดเรื่องสิ่งที่ประชาชนเขาแสดงออกมา แล้วก็เพราะการเลือกตั้งครั้งนี้มันผิดวัตถุประสงค์ ในแง่ของการที่จะมาตอบคำถามสังคมตั้งแต่แรก มันต้องอ่านผลการเลือกตั้ง ไม่ใช่ในแง่ของการเป็นฐานเสียงให้ใคร เพราะว่าการที่ประชาชนไปลงคะแนนไม่เลือกใคร มันมีหลายนัยยะ ไม่ใช่ไปบอกว่า แปรว่าเป็นคนที่ชื่นชอบฝ่ายค้านหรือไม่อย่างไร ตรงนี้เป็นจุดสำคัญ และต้องยอมรับว่ามันไม่เคยมีมากขนาดนี้ และผมเชื่อว่าคนส่วนใหญ่ก็ไม่คาดคิดว่ามันจะเป็นลักษณะนี้
สรยุทธ : ผมมองว่าจะมีหลายส่วนประกอบกันคือ ชอบประชาธิปัตย์ส่วนหนึ่ง ชอบไทยรักไทยและเปลี่ยนใจส่วนหนึ่ง และอาจจะหมายถึงพรรคอื่นส่วนหนึ่ง และที่สำคัญคืออาจจะให้เหตุการณ์บ้านเมืองสงบส่วนหนึ่ง ที่ไม่ยอมรับการเลือกตั้งอีกส่วนหนึ่ง รวมกันอยู่ในส่วนนี้
คุณอภิสิทธิ์ : นั่นสิครับ และต้องรวมไปถึงคนที่เขาไม่ไปใช้สิทธิ์
สรยุทธ : ไม่ไปเลย
คุณอภิสิทธิ์ : ไม่ไปเลยหมายถึงอาจจะนอนหลับทับสิทธิ หมายความว่าไม่ไปตามปกติ และมีบางคน ซึ่งผมก็เจอพอสมควร ผมก็พยายามบอกว่าเป็นหน้าที่ แต่ว่าเขาก็บอกว่า ไม่เอาเพราะกลัวบัตรที่ลงในหีบจะถูกเปลี่ยน หรือว่าไม่สนใจ ไม่เห็นด้วยกับการเลือกตั้งเลยก็มี เราก็พยายามบอกว่าเป็นหน้าที่ คือการเลือกตั้งพอมันเกิดขึ้นในสถานการณ์หรือในรูปแบบที่มันผิดปกติแล้ว ทุกอย่างมันก็จะผิดปกติไปพอสมควร เพราะฉะนั้นสิ่งที่ผมคิดคือว่าเราต้องคิดถึงอนาคตของประเทศ เราต้องหาทางที่จะปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ แต่ว่าต้องคิดถึงเจตนารมณ์ แล้วก็อย่างที่ผมเรียนคือว่ามาถึงตรงนี้ได้ต้องยอมรับ เพราะว่ามันเหมือนมีการปลุกให้ประชาชนตื่นขึ้นมาสิ่งที่เกิดขึ้นในแง่การไม่ลงคะแนนให้ใคร มันมาจากการที่สถานการณ์บ้านเมืองได้ทำให้ประชาชนได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารในหลายแง่หลายมุน ซึ่งไม่เคยได้มีโอกาสได้รับ และจะไม่มีโอกาสได้รับด้วยถ้าทุกอย่างไปเดินตามทักษิณ
สรยุทธ : เพราะฉะนั้นถ้าผลออกมาเป็นอย่างนี้ ถึงแม้ว่าดูโดยรวมๆ ถ้าเอาผลคะแนนแบบบัญชีรายชื่อมารวม ซึ่งคุณอภิสิทธิ์ก็บอกว่าจะไม่ยอมรับเกณฑ์ที่คุณทักษิณเป็นคนบอกถูกมั้ยครับ ขึ้นบัญชีรายชื่อ 50% จะเป็นหรือไม่เป็นนายกฯ ถูกมั้ยครับ คุณอภิสิทธิ์บอกจะไม่ยอมรับตรงนั้น
คุณอภิสิทธิ์ : ที่บอกว่าแล้วถ้าบอกว่าผมประกาศว่า ไม่ถึง 50% ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งแปลว่าไม่ได้แล้ว ไม่มีอะไรรองรับ แล้วจริงๆ ถ้าเกิดถามใครก็ตามทั่วโลกในโลกประชาธิปไตย เวลาที่มันแข่งขันกันพรรคเดียว ก็ไม่เป็นเรื่องแปลกเลยของผู้ใช้สิทธิ์ มันน่าจะเป็นเรื่อง่ายๆด้วยซ้ำ แต่ปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นมามันก็บ่งบอกอะไรหลายๆ อย่าง
สรยุทธ : ดูบรรยากาศวันนี้การเลือกตั้งก็ผ่านไปแล้ว มันก็จะมีปัญหาเรื่อง 500 คน ดูแนวโน้มวันนี้ไม่ถึงแน่ๆ และยังไม่รู้ว่าจะแก้ปัญหากันอย่างไรในส่วนของ กกต. นายกฯกำลังจะต้องตัดสินใจครั้งสำคัญ ซึ่งหลายคนรอดูอยู่หลังจากเมื่อวานนี้ คุณอภิสิทธิ์คาดหวังอย่างไร
คุณอภิสิทธิ์ : ผมคิดว่าผมอยากให้คุณทักษิณได้มองถึงอนาคตว่า วิธีใดที่จะนำไปสู่การปฏิรูปการเมือง และความยอมรับ แล้วต้องคำนึงถึงผลการเลือกตั้งที่ออกมา ซึ่งวิเคราะห์กันมาเยอะแล้ว แล้วก็ดูเรื่องความเป็นจริง และถอดเรื่องการแพ้ชนะ ถอดเรื่องตัวเอง เรื่องพรรคออกไป แล้วย้อนกลับไปอีกทีว่าสิ่งที่พวกผม ได้พยายามชี้ใมห้ท่านเห้ฯอว่าท่านอย่าไปคิดว่าการพูดเรื่อง 1 สิทธิ์ 1 เสียง มันจำกัดอยู่เฉพาะการเลือกตั้ง มันต้องทุกวัน วันนี้บ้านเมืองเป็นอย่างไร เมื่อวานเราอาจจะไปเลือกตั้งกัน วันนี้เราก็ดูผลการเลือกตั้ง แต่ว่าที่คุกรุ่นกันอยู่หลายเรื่อง ไม่ว่าเรื่องของการบังคับใช้กฎหมาย เรื่องของการใช้สิทธิเสรีภาพ การคุกคามต่างๆที่เกิดขึ้น การวางระเบิดในที่ต่างๆ เหตุการณ์การปะทะที่อาจเกิดขึ้น เหตุการณ์เหล่านี้ต่างหากคือโจทย์ที่ต้องแก้
สรยุทธ : ครับ ครับ อันนี้คือสิ่งที่คุณทักษิณน่าจะ
คุณอภิสิทธิ์ : ผมอยากให้คุณทักษิณคิดถึงเรื่องเหล่านี้ให้มากนะครับ ไม่ใช่กติกาที่ตัวเองไปขีดโดยบังคับให้คนอื่นเดิน
สรยุทธ : ครับ พรรคร่วมฝ่ายค้านเนี้ยผมฟังจากคุณอภิสิทธิ์กับคุณบรรหารเนี้ยเป็นสองแนวนะฮ่ะ ผมถามคุณอภิสิทธิ์ตรงๆเลย ประชาธิปัตย์เนี้ยเสนอแนวคือของประชาธิปัตย์เนี้ยเสนอว่ามาตรา 7 หลังจากท่านนายกกับครม.ขอพึ่งพระบารมีถูกมั้ยฮ่ะ
คุณอภิสิทธิ์ : นั่น คือการเดินถึงมาตรา 7 ก่อนการเลือกตั้ง
สรยุทธ : หลังเลือกตั้งก็ยังเปิดไม่ใช่เหรอฮ่ะ
คุณอภิสิทธิ์ : หลังเลือกตั้งก็ยังไปดูครับว่ามันเข้ามั้ย เพราะมันจะมีความแตกต่างนะฮ่ะ เนื่องจากว่ามันต้องขึ้นอยู่กับกกต. คือสมมุติฐานของข้อเสนอของพรรคฝ่ายค้านเดิมนะฮ่ะที่ผมเป็นคนเริ่มต้นไว้เนี้ย คือต้องปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญด้วย ไม่มีการไปอยู่ดีๆให้ใช้อำนาจอะไรพิเศษที่นอกเหนือรัฐธรรมนูญ ที่นี้ข้อเสนอที่บอกว่าสองแนวก็ไม่ใช่ครับ วันนั้นก็ไป ออกรายการกับคุณสรยุทธนะครับ ก็คือว่ากรณีที่สภาเปิดมาแล้วนะฮ่ะ แล้วคนยอมรับว่าเป็นสภาที่ชอบธรรมเนี้ย พรรคชาติไทยเค้าก็มีข้อเสนอของเค้านะครับ แต่ว่าก่อนจะไปถึงวันนั้นเนี้ยมันก็จะต้องถือว่าสภาเนี้ยมีปัญหาหรือเปล่านะครับ แล้วผลการเลือกตั้งเนี้ยมันบ่งบอกอะไรใช่มั้ยครับ วันนี้เนี้ยถ้าเราพูดถึงว่าเจตนารมณ์และกติกาและก็ความชอบธรรมเนี้ยมันก็จะมีอะไรแปลกๆเกิดขึ้นเยอะ ถูกมั้ยครับคุณสรยุทธครับอย่างเช่น ผมยกตัวอย่างว่าสมมุติฤดูบางจังหวัดในภาคใต้บางคนได้คะแนนนิดเดียวนะครับ แล้วก็เสียงไม่ลงคะแนนให้ใครมากกว่าเป็นเกือบจะห้าหกเจ็ดแปดเท่า แต่บังเอิญมีคู่แข่งก็เป็นผู้แทนนะครับ เขตติดๆกันเนี้ยบางคนคะแนนเค้าเยอะกว่าด้วยซ้ำไม่ถึงร้อยละ20ก็ไม่ได้อะไรอย่างเนี้ยนะครับ แล้วก็คือคำถามก็คือว่าความเป็นผู้แทนของประชาชนเนี้ยมันจะได้รับการยอมรับอย่างไรนะครับ อันนี้คือสิ่งที่มันยิ่งใหญ่กว่าทุกอย่างนะครับ ในแง่ของเจตนารมณ์ของประชาชน
สรยุทธ : เข้าใจฮ่ะ ผมกำลังจะถามคุณอภิสิทธิ์หรือว่าที่ถามคืนนั้นก็คือว่าถ้าจะยุติสถานการณ์ เราพูดถึงสภานการณ์ที่ยังมีความบาดหมางกันอย่างรุนแรงเนี้ยนะฮ่ะ ซึ่งพรรคชาติไทยเค้าก็เสนอว่าถ้าเกิดสมมุติว่าทำอะไรก็แล้วแต่ให้สภาเปิดประชุมได้เนี้ย
คุณอภิสิทธิ์ : เค้าไม่ได้เสนออย่างนั้นนะครับ เค้าบอกว่าถ้าสภามันเปิดได้นะฮ่ะ แต่ว่าสภาควรจะเปิดรึเปล่าเนี้ยนะครับก็ต้องดูด้วยนะครับ เพราะว่าถ้าเกิดเราไปบิดเบือนรัฐธรรมนูญเพียงเพื่อให้สภาเปิดได้เนี้ยมันก็ยิ่งตอกย้ำปัญหาเดิมที่คนเขาต่อต้านอยู่ถูกมั้ยครับ ว่ามันมีการบิดเบือนเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญมาตลอดระยะเวลา 5 ปี
สรยุทธ : ฮ่ะ หมายถึงว่าของพรรคชาติไทยเค้ามีสูตรว่าคุณทักษิณเว้นวรรคแต่ว่าเอาสส.ของไทยรักไทยขึ้นมาเป็นนายก
คุณอภิสิทธิ์ : ถ้าๆไม่มีปัญหาเรื่องสภาไงครับ ใช่มั้ยครับมันยังไปไม่ถึงตรงนั้น วันนี้ก็ต้องดูก่อนว่าการจะคลี่คลายให้มันมีครบ 500 เนี้ยจะคลี่คลายอย่างไรใช่มั้ยครับ เพราะงั้นมันไม่ได้มีอะไรขัดแย้งกันเลยฮ่ะ วันนั้นหลังจากที่ออกรายการแล้วเราก็พูดคุยกันนะครับ ก็เป็นไปตามที่ผมพูดตอนนนี้ล่ะครับ
สรยุทธ : คือ ตกลงว่าก็คือยังรอดู 500 ถูกมั้ยฮ่ะ
คุณอภิสิทธิ์ : ถูกต้องครับ เพราะว่านั่นคือบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญใช่มั้ยครับ การที่จะไปบอกว่าทำยังไงก็ได้ให้มันเปิดขึ้นมาเนี้ยโดยไม่คำนึงว่าถูกต้องตามรัฐธรรมนูญมั้ยเนี้ย ผมว่าไม่ใช่ข้อเสนอของพรรคฝ่ายค้านแน่นอน
สรยุทธ : เอาละฮ่ะ เพราะฉะนั้นก็รอดู ในส่วนของประชาธิปัตย์กับพรรคร่วมฝ่ายค้านยืนยันว่าจะรอดูตรงนั้นนะฮ่ะ ที่ผมจะถามก็คือว่าถ้าสมมุติว่ากรณีนายกเว้นวรรคแต่ว่าคนอื่นเป็นบัญชีรายชื่อขึ้นมาเป็นนายกแล้วตั้งรัฐบาลกลางเนี้ย ทางพรรคร่วมฝ่ายค้านพอรับได้มั้ย คุณอภิสิทธิ์ตอบว่าไงฮ่ะ
คุณอภิสิทธิ์ : ผมก็ถามในเชิงตรรกะนิดเดียวนะครับว่าถ้าบอกว่าคุณทักษิณตัดสินใจว่าจะเว้นวรรคนะฮ่ะ ด้วยสาเหตุอะไรก็ตามแล้วก็ไปหยิบคนขึ้นมานะครับจากบัญชีรายชื่อเนี้ย ก็ต้องถามว่าเรารู้ได้อย่างไรว่าคนนั้นเป็นที่ยอมรับ เสียงที่ไม่ลงคะแนนให้ใครเนี้ยเป็นเสียงที่บอกว่าไม่ให้คุณทักษิณหรือว่าไม่ให้พรรคไทยรักไทยนะครับ แล้วก็เสียงที่ลงให้พรรคไทยรักไทยเนี้ยถ้าไม่ใช่คุณทักษิณล่ะ เขายอมรับหรือเปล่า คือวันเนี้ยมันเป็นกติกาที่อยู่ดีๆไปกำหนดกันขึ้นมาเองโดยคุณทักษิณนะครับ แล้วมันก็ต้องอ่านเจตนารมณ์ของประชาชนซึ่งผมบอกแล้วว่าในเรื่องของระบอบประชาธิปไตยและเจตนารมณ์ของประชาชนเรื่องสิทธิเสรีภาพ การตรวจสอบอะไรต่างๆเนี้ย ถ้าเราเอาการเลือกตั้งไปตอบโจทย์ซึ่งมันไม่พึงจะตอบด้วยการเลือกตั้งเนี้ย มันก็จะมีปัญหาถกเถียงกันไม่จบไม่สิ้นนะครับ อันนี้คือพื้นฐานที่ผมคิดว่าอยากให้ทางคุณทักษิณและพรรคไทยรักไทยเนี้ยพิจารณาให้รอบคอบครับ
สรยุทธ : ที่ถามคุณอภิสิทธิ์ทั้งหมดก็คือว่าทางที่จะยุติปัญหาทั้งหมดเนี้ยคืออะไรอย่างไร ก็คุณอภิสิทธิ์ก็บอกว่าฝากให้ท่านนายกคิดว่าจะทำยังไงที่จะยุติปัญหาทะเลาะเบาะแว้งอะไรต่างๆ เอาชัดๆคือยังไง
คุณอภิสิทธิ์ : คืออย่างงี้ฮ่ะ เพราะคุณสรยุทธต้องบอกอย่างนี้ก่อนว่า เป้าหมายคืออะไร ถ้าเป้าหมายบอกว่าไทยรักไทยตั้งเป้าว่ายังไงก็ต้องขอคนของตัวเองไปเป็นนายก
สรยุทธ : ไม่ใช่เป้าหมายอย่างงั้น ผมกำลังถามคุณอภิสิทธิ์ว่า
คุณอภิสิทธิ์ : ไม่ใช่ไง ผมกำลังจะบอกคุณสรยุทธอย่างนี้ครับ คุณสรยุทธต้องฟังซิครับ ผมกำลังจะบอกว่าถ้าเราไปตั้งโจทย์จากการบอกวิธีอย่างนั้นวิธีอย่างนี้โดยไม่พูดถึงเป้าหมายก่อนเนี้ยนะครับเราจะไม่ได้คำตอบนะฮ่ะ เพราะว่าถ้าเกิดว่าเราไปตั้งเป้าว่าเอาล่ะ เดี๋ยวก่อนขอคุณทักษิณเว้นวรรคนะ แล้วก็เอาคนของไทยรักไทยเป็นเนี้ยมันก็ไปหาช่องทางกันได้ ถ้าเราจะบอกว่าการเลือกตั้งครั้งนี้เนี้ยมันไม่อาจเป็นคำตอบได้แล้วสำหรับสังคมนะครับ แล้วก็สภาก็เปิดไม่ได้หรือมีปัญหาในการเปิดนะครับ ทำยังไงจึงจะวกกลับไปหาเจตนารมณ์ที่แท้จริงมันก็อาจจะเข้ามาตรา 7 ก็ได้นะครับ มันอยู่ที่ว่าเราอยากจะเลือกเส้นทางไหนก่อนนะครับ แล้วก็ส่วนวิธีการเนี้ยนะครับ โอ๋คนเก่งๆเยอะครับหาได้ทั้งนั้น แล้วก็ทุกคนก็ต้องการให้เป็นไปตามหลักของรัฐธรรมนูญ
สรยุทธ : ครับ คือ แล้วตอนนี้เนี้ยถ้ามองมุมมองของคุณอภิสิทธิ์ก็คือว่า
คุณอภิสิทธิ์ : สำหรับมุมมองของผมในขณะนี้เนี้ยนะครับ ผมเห็นว่าการเลือกตั้งที่ดำเนินไปและแม้กระทั่งผลการเลือกตั้งที่ออกมาเนี้ยนะครับยังไม่สามารถที่จะคลี่คลายปมปัญหาได้นะครับ แล้วก็ผู้เกี่ยวข้องตั้งแต่กกต.ไปจนถึงท่านนายกหรือแม้กระทั่งจะไปถึงศาลรัฐธรรมนูญต้องพิจารณาแล้วว่าขณะนี้เนี้ยยังเป็นไปตามเจตนารมณ์เงื่อนไขของรัฐธรรมนูญตามปกติหรือไม่ ถ้าไม่ใช่เนี้ยก็ต้องหาวิธีการตามรัฐธรรมนูญในการที่จะคลี่คลายปัญหาซึ่งก็อาจจะเป็นการกลับไปสู่มาตรา 7 ด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งถูกมั้ยครับ เพราะว่าตอนนี้เนี้ยก็มีการเลือกตั้งแล้วเนี้ย เงื่อนไขที่จะบังคับก่อนของมาตรา 7 เนี้ยอาจจะเปลี่ยนไป
สรยุทธ : ครับ คือมันจะไปเข้าเงื่อนไข ขออนุญาตนะฮ่ะ จะไปเข้าเงื่อนไขก็ตรงที่ว่าถ้าเกิดมันเปิดประชุมสภาไม่ได้จริงๆมันไม่มีบทบัญญัติแล้วถูกมั้ยฮ่ะ ก็คือว่ายังไงสส.ก็ไม่ถึง 500 เลือกตั้งซ้ำเวลามันจะเกิน 30 วันแล้ว ตรงนี้ไม่มีบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญระบุเอาไว้แล้ว ไปใช้มาตรา 7ได้ถูกมั้ยฮ่ะ
คุณอภิสิทธิ์ : แล้วก็ต้องสำคัญกว่านั้นก็คือว่า เวลาบอกไปใช้มาตรา 7 เนี้ยมันก็อยู่ที่เป้าหมายอีกใช่มั้ยครับ เพราะว่าพอถึงบางวันเนี้ยทางพรรคไทยรักไทยก็บอกเอ้าใช้มาตรา 7 ก็ได้ แต่ใช้เพื่อเปิด คำถามของผมก็คือว่าเรายอมรับกันหรือยังว่าสถานการณ์ขณะนี้เนี้ยทางการเมืองเนี้ยแม้มีการเลือกตั้งแล้วๆผลการเลือกตั้งออกมาเป็นอย่างนี้เนี้ยมันไม่ใช่สถานการณ์ปกตินะครับ เจตนารมณ์ถ้าเกิดเราต้องการที่จะคืนสิทธิเสรีภาพให้ประชาชนหนึ่งๆคนเท่าเทียมกันแต่ทุกวันไม่ใชเฉพาะวันเลือกตั้งเนี้ยเราควรจะทำอย่างไร อันนี้ต่างหากคือโจทย์ที่ต้องช่วยกันคิดนะครับ
สรยุทธ : ครับๆ เอาล่ะครับ ขอบคุณครับคุณอภิสิทธิ์ครับ
คุณอภิสิทธิ์ : ขอบคุณครับ
สรยุทธ : สวัสดีครับ
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 3 เม.ย. 2549--จบ--