ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.เผยหนี้ต่างประเทศ ณ เดือน เม.ย.เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 214 ล้านดอลลาร์ สรอ.รายงานจากธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.) เปิดเผยว่า รายงานเศรษฐกิจและการเงินประจำเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา ระบุว่า หนี้ต่างประเทศ ณ เดือน เม.ย. มีจำนวน
57,027 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้น 214 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากเดือน มี.ค.ที่มียอดคงค้างหนี้ต่างประเทศจำนวน 56,813 ล้านดอลลาร์
สรอ. มาจากการนำเข้าหนี้ของภาคธุรกิจที่ไม่ใช่ธนาคารเป็นหลัก แบ่งเป็นหนี้ต่างประเทศของภาครัฐบาลจำนวน 4,769 ล้านดอลลาร์ สรอ.
เพิ่มขึ้น 108 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากเดือนก่อน ที่มีหนี้ต่างประเทศ 4,661 ล้านดอลลาร์ สรอ. อยู่ในระดับที่ค่อนข้างทรงตัว จากการที่ภาครัฐ
มีการขายตราสารหนี้และชำระเงินกู้ (แนวหน้า)
2. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเดือน มิ.ย.49 เพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลงที่ร้อยละ 5.9 เทียบต่อปี ปลัด ก.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคา
ผู้บริโภคทั่วไป เดือน มิ.ย.49 เท่ากับ 115.1 ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือน พ.ค.49 แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9
และเฉลี่ย 6 เดือน (ม.ค.-มิ.ย.) เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9 ในส่วนของดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศ (คำนวณจากรายการสินค้าและบริการ
266 รายการ หักกลุ่มสินค้าอาหารสดและกลุ่มพลังงานจำนวน 107 รายการ) เดือน มิ.ย.เท่ากับ 104.8 เทียบกับเดือน พ.ค.สูงขึ้นร้อยละ
0.1 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนสูงขึ้นร้อยละ 2.7 และเทียบกับช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ สูงขึ้นร้อยละ 2.7 ทั้งนี้ สาเหตุที่เงินเงินเฟ้อไม่
เปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อน มาจากปัจจัยดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่มลดลงร้อยละ 1.1 โดยสินค้าผักสดดัชนีราคาลดลงร้อยละ 13.7
เนื่องจากเป็นช่วงฤดูกาลของผลไม้หลายชนิด นอกจากนี้ยังมีสินค้าอื่นที่ราคาลดลง อาทิ ไก่สด นมข้นหวาน ครีมเทียม น้ำมันพืช เป็นต้น ส่วน
สาเหตุที่เงินเฟ้อเทียบเดือนเดียวกันปีก่อนสูงขึ้นร้อยละ 5.9 เป็นผลมาจากดัชนีราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 4.6 และสินค้าหมวด
อื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 6.6 ซึ่งสาเหตุมาจากหมวดน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นหลัก โดยมีอัตราเปลี่ยนแปลงสูงถึงร้อยละ
31 ส่วนเงินเฟ้อเฉลี่ย 6 เดือนแรกของปีนี้ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9 เป็นผลมาจากหมวดอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 6.7 และสินค้าหมวดอื่น ๆ
ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 4.6 ส่วนสินค้าหลักที่ราคาปรับตัวสูงขึ้น ได้แก่ สินค้าน้ำมันเชื้อเพลิงที่ราคาสูงขึ้นร้อยละ 33.5
(กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้, โพสต์ทูเดย์, เดลินิวส์, บ้านเมือง, ข่าวสด)
3. สศค.เผยอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจไตรมาส 2 ปี 49 จะขยายตัวร้อยละ 5.0 ผอ.สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.)
เปิดเผยว่า อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ไตรมาส 2 ปี 49 เบื้องต้นคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 5 กว่า ขณะที่ก่อนหน้านี้ สำนักงาน
คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ระบุว่า ไตรมาสแรกเติบโตร้อยละ 6.0 ซึ่งเป็นการขยายตัวในระดับสูง ทำให้
สศค.มั่นใจว่าเศรษฐกิจในปีนี้จะขยายตัวไม่ต่ำกว่าร้อยละ 4.5 ตามที่ประมาณการไว้ ทั้งนี้ ในส่วนพื้นฐานของเศรษฐกิจไทยในปี 49 ยังอยู่ใน
เกณฑ์ที่ดี จากการดำเนินนโยบายการเงินและการคลังที่ถูกทาง บริษัทไทยมีการปรับตัวมาก สามารถรองรับผลกระทบจากการเคลื่อนย้ายเงินทุน
ของกองทุนต่าง ๆ ในช่วงเดือนที่ผ่านมาอย่างไม่มีปัญหา (โพสต์ทูเดย์)
4. สศอ. ปรับลดจีดีพีอุตสาหกรรมปี 49 เหลือร้อยละ 5.5 ปลัด ก.อุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ปัจจุบันสำนักงานเศรษฐกิจ
อุตสาหกรรม (สศอ.) อยู่ระหว่างประเมินผลกระทบภาวะอุตสาหกรรมอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะปัญหาการเมืองที่ยังยืดเยื้อ เพื่อเตรียมรับมือ
รวมถึงราคาน้ำมันและดอกเบี้ยที่ยังมีแนวโน้มขยายตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง ประกอบกับเงินบาทที่แข็งค่า เมื่อเทียบกับเงินสกุลอื่นในภูมิภาค ปัจจัยเหล่านี้
ทำให้ สศอ.ต้องปรับลดตัวเลขอัตราการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม หรือ จีดีพีอุตสาหกรรมปี 49 ใหม่อีกครั้ง จากเดิมตั้งเป้าไว้ที่ร้อยละ 5.9
เหลือร้อยละ 5.5 เท่านั้น จากก่อนหน้านี้ ประเมินว่า จะขยายตัวไม่น้อยกว่าร้อยละ 8 ทั้งนี้ จากการศึกษาผลกระทบเบื้องต้น หากราคาน้ำมัน
เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 จะส่งผลต่อจีดีพีภาคอุตสาหกรรมร้อยละ 0.1 ซึ่งไตรมาสแรกจีดีพีภาคอุตสาหกรรมลดไปแล้วร้อยละ 0.4 หรือมูลค่า
1 แสนล้านบาท ขณะที่เงินบาทที่แข็งค่าขึ้นนั้น จะทำให้อุตสาหกรรมส่งออกมีความเสี่ยงขึ้น และรายได้เงินบาทลดลง เพราะแรงกดดันจากการ
แข่งขันในตลาดรุนแรงทำให้ปรับขึ้นราคาสินค้าทดแทนรายได้ที่ลดลงไม่ได้ (กรุงเทพธุรกิจ)
5. ก.คลังพิจารณาประมาณการรายได้ปี 50 ปลัดก .คลัง เปิดเผยว่า ก.คลังกำลังพิจารณาประมาณการรายได้ปี 50 อย่างละเอียด
เนื่องจากว่าเดิมมีการประมาณการรายได้ของ งปม.ปี 50 ที่ ครม.ได้อนุมัติไว้ 1,476 ล้านล้านบาท โดยตั้งอยู่บนสมมติฐานที่ว่าเศรษฐกิจไทย
ปี 50 จะขยายตัวร้อยละ 5-6 แต่ขณะนี้นักวิชาการหลายฝ่ายออกมาระบุว่า เศรษฐกิจไทยปีหน้าจะเติบโตเพียงร้อยละ 3 ดังนั้น การประมาณการ
รายได้จึงต้องนำภาวะเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นในอนาคตมาประเมินด้วย สำหรับวงเงิน งปม.รายได้ปี 50 ที่กำหนดไว้สูงนั้น เมือถึงการใช้จ่ายจริง
อาจไม่เป็นไปตามเป้าหมายก็ได้ จึงจำเป็นต้องหาวิธีการให้ส่วนราชการเร่งเบิกจ่าย งปม.ปี 50 ด้วย (สยามรัฐ, ไทยรัฐ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. สหภาพยุโรปมีแผนที่จะจำกัดปริมาณนำเข้ารองเท้าหนังจากจีน และเวียตนาม รายงานจากบรัสเซล เมื่อวันที่ 3 ก.ค. 49
คณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปเสนอใช้ระบบโควตาสินค้านำเข้ารองเท้าหนังจากจีน และเวียตนามเพื่อแก้ปัญหาการทุ่มตลาดสินค้ากับทั้งสองประเทศ
ดังกล่าว ทั้งนี้คาดว่าความเคลื่อนไหวดังกล่าวจะสร้างความไม่พึงพอใจแก่จีน ในเรื่องระบบภาษี ซึ่งตัวแทนผู้ค้ารายย่อยกล่าวว่ามาตรการดังกล่าว
จะส่งผลให้รองเท้าหนังมีราคาแพงขึ้น และสร้างความไม่แน่นอนในการค้ากับสหภาพยุโรป ทั้งนี้มาตรการดังกล่าวจะกำหนดโควตารองเท้าหนังนำ
เข้าจากจีนในอัตราค่าธรรมเนียมนำเข้าปกติปีละ 140 ล้านคู่ และจากเวียตนามปีละ 95 ล้านคู่ เท่ากับประมาณร้อยละ 80 ของปริมาณนำเข้า
สินค้าดังกล่าวในปี 48 และหากเกินกว่านั้นจะคิดค่าธรรมเนียมนำเข้าจากจีนในอัตราสูงร้อยละ 23 และร้อยละ 29.5 จากเวียตนาม ทั้งนี้จะมี
ความแน่ชัดในเดือนหน้าซึ่งรายละเอียดของข้อเสนอดังกล่าวอยู่ระหว่างการศึกษาวิเคราะห์ ซึ่งข้อเสนอโควตานำเข้ามิได้ห้ามการนำเข้ารองเท้า
หนังเพียงแต่จำกัดปริมาณนำเข้าเท่านั้น ส่วนรองเท้ากีฬาไม่อยู่ในข้อจำกัดนี้ ส่วนทางการจีนปฏิเสธการใช้ระบบโควตาโดยเห็นว่าจะไม่สอดคล้อง
ในเวทีการค้าโลกซึ่งจีนเป็นสมาชิกเมื่อปี 44 และเสนอว่าข้อโต้แย้งดังกล่าวควรนำกลับมาพิจารณาใน WTO (รอยเตอร์)
2. ภาคอุตสาหกรรมของ สรอ.ชะลอตัวในเดือน มิ.ย.49 รายงานจากนิวยอร์กเมื่อ 3 ก.ค.49 The Institute for Supply
Management เปิดเผยผลการสำรวจ Index of national factory activity ซึ่งเป็นดัชนี้ชี้วัดภาคอุตสาหกรรมของ สรอ. ในเดือน
มิ.ย.49 ว่าลดลงอยู่ที่ระดับ 53.8 จากระดับ 54.4 ในเดือนก่อนหน้า ต่ำกว่าการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ
55 อย่างไรก็ตาม ดัชนียังคงอยู่เหนือระดับ 50 ซึ่งเป็นระดับที่บ่งชี้การขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม สรอ. สำหรับ Prices paid index ซึ่ง
เป็นดัชนีชี้วัดผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อต่อภาคอุตสาหกรรมในเดือนเดียวกันลดลงที่ระดับ 76.5 จากระดับ 77.0 ในเดือนก่อนหน้า และ
New orders index ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมในอนาคต เพิ่มขึ้นที่ระดับ 57.9 จากระดับ 53.7 ขณะที่ Employment
index ลดลงต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ต.ค.46 ที่ระดับ 48.7 จากระดับ 52.9 ในเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ ตลาดการเงินได้มีการติดตาม
Prices paid index อย่างต่อเนื่อง เพราะอาจมีสัญญาณบางอย่างเกี่ยวกับผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อที่อาจเป็นสาเหตุให้ ธ.กลาง สรอ.คง
อัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับเดิมในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินครั้งต่อไป หลังจากที่ได้ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยขึ้นร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่
ระดับร้อยละ 5.25 ในการประชุมครั้งก่อน (29 มิ.ย.49) (รอยเตอร์)
3. อัตราเงินเฟ้อของเกาหลีใต้ในเดือน มิ.ย.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 ต่อปีสูงสุดในรอบ 5 เดือน รายงานจากโซล เมื่อ
3 ก.ค.49 ดัชนีราคาผู้บริโภคของเกาหลีใต้ในเดือน มิ.ย.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 48 สูงสุดนับตั้งแต่เพิ่ม
ขึ้นร้อยละ 2.8 ในเดือน ม.ค.49 แต่ต่ำกว่าที่ผลสำรวจโดยรอยเตอร์คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 ต่อปี ในขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานที่
ไม่รวมราคาอาหารและพลังงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 จากร้อยละ 2.0 ในเดือน พ.ค.49 สูงสุดในรอบ 1 ปี แต่ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าเป้าหมายที่
ธ.กลางเกาหลีใต้กำหนดไว้ที่ช่วงระหว่างร้อยละ 2.5 ถึง 3.5 ต่อปีสำหรับในช่วงปี 47-49 นี้ โดย ธ.กลางเกาหลีใต้มีแผนที่จะลดช่วงอัตรา
เงินเฟ้อเป้าหมายดังกล่าวให้แคบลงในปีต่อๆ ไป นักวิเคราะห์จึงคาดว่า ธ.กลางเกาหลีใต้จะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 4.25 ต่อปี
ในการประชุมในวันที่ 7 ก.ค.49 นี้ เพื่อดูผลจากการขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 8 มิ.ย.49 ที่ผ่านมาซึ่งเป็นการขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งที่
4 นับตั้งแต่เดือน ต.ค.48 เป็นต้นมาเพื่อชะลอภาวะเงินเฟ้อ แต่อย่างไรก็ดีจากการที่ราคาสินทรัพย์มีแนวโน้มสูงขึ้น นักวิเคราะห์จึงคาดว่า
ธ.กลางเกาหลีใต้อาจขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในเดือน ส.ค.49 นี้ (รอยเตอร์)
4. ทุนสำรองฯ ของเกาหลีใต้เดือน มิ.ย.49 ลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 4 เดือน รายงานจากกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ เมื่อ
วันที่ 4 ก.ค.49 ธ.กลางของเกาหลีใต้ เปิดเผยว่า ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของเกาหลีใต้ ณ สิ้นเดือน มิ.ย.49 ลดลง
330 ล้านดอลลาร์ สรอ. อยู่ที่ระดับ 224.36 พันล้านดอลลาร์ สรอ. จาก 224.69 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในเดือน พ.ค.49 นับเป็นการลดลง
ครั้งแรกในรอบ 4 เดือน หลังจากที่เคยลดลง 980 ล้านดอลลาร์ สรอ. เมื่อเดือน ก.พ.49 โดยมีสาเหตุจากเงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นทำ
ให้มูลค่าสินทรัพย์ที่ถือไว้ในสกุลเงินอื่นลดลง ทั้งนี้ ทุนสำรองฯ ของเกาหลีใต้ ร้อยละ 86 ลงทุนในหลักทรัพย์ ขณะที่ร้อยละ 13.8 ฝากไว้กับ
สถาบันการเงิน (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 4 ก.ค. 49 3 ก.ค. 49 31 ม.ค. 48 แหล่งข้อมู
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 38.084 38.557 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 37.9861/38.1936 38.3598/38.6471 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 5.13 2.1875 - 2.2000 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 683.98/ 10.31 701.91/15.60 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 11,050/11,150 11,050/11,150 7,750/7,850 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 68.38 67.51 38.15 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 2 ก.ค. 49 29.79*/27.54 29.39/27.54 19.69/14.59 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท.เผยหนี้ต่างประเทศ ณ เดือน เม.ย.เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 214 ล้านดอลลาร์ สรอ.รายงานจากธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.) เปิดเผยว่า รายงานเศรษฐกิจและการเงินประจำเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา ระบุว่า หนี้ต่างประเทศ ณ เดือน เม.ย. มีจำนวน
57,027 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้น 214 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากเดือน มี.ค.ที่มียอดคงค้างหนี้ต่างประเทศจำนวน 56,813 ล้านดอลลาร์
สรอ. มาจากการนำเข้าหนี้ของภาคธุรกิจที่ไม่ใช่ธนาคารเป็นหลัก แบ่งเป็นหนี้ต่างประเทศของภาครัฐบาลจำนวน 4,769 ล้านดอลลาร์ สรอ.
เพิ่มขึ้น 108 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากเดือนก่อน ที่มีหนี้ต่างประเทศ 4,661 ล้านดอลลาร์ สรอ. อยู่ในระดับที่ค่อนข้างทรงตัว จากการที่ภาครัฐ
มีการขายตราสารหนี้และชำระเงินกู้ (แนวหน้า)
2. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเดือน มิ.ย.49 เพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลงที่ร้อยละ 5.9 เทียบต่อปี ปลัด ก.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคา
ผู้บริโภคทั่วไป เดือน มิ.ย.49 เท่ากับ 115.1 ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือน พ.ค.49 แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9
และเฉลี่ย 6 เดือน (ม.ค.-มิ.ย.) เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9 ในส่วนของดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศ (คำนวณจากรายการสินค้าและบริการ
266 รายการ หักกลุ่มสินค้าอาหารสดและกลุ่มพลังงานจำนวน 107 รายการ) เดือน มิ.ย.เท่ากับ 104.8 เทียบกับเดือน พ.ค.สูงขึ้นร้อยละ
0.1 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนสูงขึ้นร้อยละ 2.7 และเทียบกับช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ สูงขึ้นร้อยละ 2.7 ทั้งนี้ สาเหตุที่เงินเงินเฟ้อไม่
เปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อน มาจากปัจจัยดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่มลดลงร้อยละ 1.1 โดยสินค้าผักสดดัชนีราคาลดลงร้อยละ 13.7
เนื่องจากเป็นช่วงฤดูกาลของผลไม้หลายชนิด นอกจากนี้ยังมีสินค้าอื่นที่ราคาลดลง อาทิ ไก่สด นมข้นหวาน ครีมเทียม น้ำมันพืช เป็นต้น ส่วน
สาเหตุที่เงินเฟ้อเทียบเดือนเดียวกันปีก่อนสูงขึ้นร้อยละ 5.9 เป็นผลมาจากดัชนีราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 4.6 และสินค้าหมวด
อื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 6.6 ซึ่งสาเหตุมาจากหมวดน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นหลัก โดยมีอัตราเปลี่ยนแปลงสูงถึงร้อยละ
31 ส่วนเงินเฟ้อเฉลี่ย 6 เดือนแรกของปีนี้ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9 เป็นผลมาจากหมวดอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 6.7 และสินค้าหมวดอื่น ๆ
ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 4.6 ส่วนสินค้าหลักที่ราคาปรับตัวสูงขึ้น ได้แก่ สินค้าน้ำมันเชื้อเพลิงที่ราคาสูงขึ้นร้อยละ 33.5
(กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้, โพสต์ทูเดย์, เดลินิวส์, บ้านเมือง, ข่าวสด)
3. สศค.เผยอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจไตรมาส 2 ปี 49 จะขยายตัวร้อยละ 5.0 ผอ.สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.)
เปิดเผยว่า อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ไตรมาส 2 ปี 49 เบื้องต้นคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 5 กว่า ขณะที่ก่อนหน้านี้ สำนักงาน
คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ระบุว่า ไตรมาสแรกเติบโตร้อยละ 6.0 ซึ่งเป็นการขยายตัวในระดับสูง ทำให้
สศค.มั่นใจว่าเศรษฐกิจในปีนี้จะขยายตัวไม่ต่ำกว่าร้อยละ 4.5 ตามที่ประมาณการไว้ ทั้งนี้ ในส่วนพื้นฐานของเศรษฐกิจไทยในปี 49 ยังอยู่ใน
เกณฑ์ที่ดี จากการดำเนินนโยบายการเงินและการคลังที่ถูกทาง บริษัทไทยมีการปรับตัวมาก สามารถรองรับผลกระทบจากการเคลื่อนย้ายเงินทุน
ของกองทุนต่าง ๆ ในช่วงเดือนที่ผ่านมาอย่างไม่มีปัญหา (โพสต์ทูเดย์)
4. สศอ. ปรับลดจีดีพีอุตสาหกรรมปี 49 เหลือร้อยละ 5.5 ปลัด ก.อุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ปัจจุบันสำนักงานเศรษฐกิจ
อุตสาหกรรม (สศอ.) อยู่ระหว่างประเมินผลกระทบภาวะอุตสาหกรรมอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะปัญหาการเมืองที่ยังยืดเยื้อ เพื่อเตรียมรับมือ
รวมถึงราคาน้ำมันและดอกเบี้ยที่ยังมีแนวโน้มขยายตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง ประกอบกับเงินบาทที่แข็งค่า เมื่อเทียบกับเงินสกุลอื่นในภูมิภาค ปัจจัยเหล่านี้
ทำให้ สศอ.ต้องปรับลดตัวเลขอัตราการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม หรือ จีดีพีอุตสาหกรรมปี 49 ใหม่อีกครั้ง จากเดิมตั้งเป้าไว้ที่ร้อยละ 5.9
เหลือร้อยละ 5.5 เท่านั้น จากก่อนหน้านี้ ประเมินว่า จะขยายตัวไม่น้อยกว่าร้อยละ 8 ทั้งนี้ จากการศึกษาผลกระทบเบื้องต้น หากราคาน้ำมัน
เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 จะส่งผลต่อจีดีพีภาคอุตสาหกรรมร้อยละ 0.1 ซึ่งไตรมาสแรกจีดีพีภาคอุตสาหกรรมลดไปแล้วร้อยละ 0.4 หรือมูลค่า
1 แสนล้านบาท ขณะที่เงินบาทที่แข็งค่าขึ้นนั้น จะทำให้อุตสาหกรรมส่งออกมีความเสี่ยงขึ้น และรายได้เงินบาทลดลง เพราะแรงกดดันจากการ
แข่งขันในตลาดรุนแรงทำให้ปรับขึ้นราคาสินค้าทดแทนรายได้ที่ลดลงไม่ได้ (กรุงเทพธุรกิจ)
5. ก.คลังพิจารณาประมาณการรายได้ปี 50 ปลัดก .คลัง เปิดเผยว่า ก.คลังกำลังพิจารณาประมาณการรายได้ปี 50 อย่างละเอียด
เนื่องจากว่าเดิมมีการประมาณการรายได้ของ งปม.ปี 50 ที่ ครม.ได้อนุมัติไว้ 1,476 ล้านล้านบาท โดยตั้งอยู่บนสมมติฐานที่ว่าเศรษฐกิจไทย
ปี 50 จะขยายตัวร้อยละ 5-6 แต่ขณะนี้นักวิชาการหลายฝ่ายออกมาระบุว่า เศรษฐกิจไทยปีหน้าจะเติบโตเพียงร้อยละ 3 ดังนั้น การประมาณการ
รายได้จึงต้องนำภาวะเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นในอนาคตมาประเมินด้วย สำหรับวงเงิน งปม.รายได้ปี 50 ที่กำหนดไว้สูงนั้น เมือถึงการใช้จ่ายจริง
อาจไม่เป็นไปตามเป้าหมายก็ได้ จึงจำเป็นต้องหาวิธีการให้ส่วนราชการเร่งเบิกจ่าย งปม.ปี 50 ด้วย (สยามรัฐ, ไทยรัฐ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. สหภาพยุโรปมีแผนที่จะจำกัดปริมาณนำเข้ารองเท้าหนังจากจีน และเวียตนาม รายงานจากบรัสเซล เมื่อวันที่ 3 ก.ค. 49
คณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปเสนอใช้ระบบโควตาสินค้านำเข้ารองเท้าหนังจากจีน และเวียตนามเพื่อแก้ปัญหาการทุ่มตลาดสินค้ากับทั้งสองประเทศ
ดังกล่าว ทั้งนี้คาดว่าความเคลื่อนไหวดังกล่าวจะสร้างความไม่พึงพอใจแก่จีน ในเรื่องระบบภาษี ซึ่งตัวแทนผู้ค้ารายย่อยกล่าวว่ามาตรการดังกล่าว
จะส่งผลให้รองเท้าหนังมีราคาแพงขึ้น และสร้างความไม่แน่นอนในการค้ากับสหภาพยุโรป ทั้งนี้มาตรการดังกล่าวจะกำหนดโควตารองเท้าหนังนำ
เข้าจากจีนในอัตราค่าธรรมเนียมนำเข้าปกติปีละ 140 ล้านคู่ และจากเวียตนามปีละ 95 ล้านคู่ เท่ากับประมาณร้อยละ 80 ของปริมาณนำเข้า
สินค้าดังกล่าวในปี 48 และหากเกินกว่านั้นจะคิดค่าธรรมเนียมนำเข้าจากจีนในอัตราสูงร้อยละ 23 และร้อยละ 29.5 จากเวียตนาม ทั้งนี้จะมี
ความแน่ชัดในเดือนหน้าซึ่งรายละเอียดของข้อเสนอดังกล่าวอยู่ระหว่างการศึกษาวิเคราะห์ ซึ่งข้อเสนอโควตานำเข้ามิได้ห้ามการนำเข้ารองเท้า
หนังเพียงแต่จำกัดปริมาณนำเข้าเท่านั้น ส่วนรองเท้ากีฬาไม่อยู่ในข้อจำกัดนี้ ส่วนทางการจีนปฏิเสธการใช้ระบบโควตาโดยเห็นว่าจะไม่สอดคล้อง
ในเวทีการค้าโลกซึ่งจีนเป็นสมาชิกเมื่อปี 44 และเสนอว่าข้อโต้แย้งดังกล่าวควรนำกลับมาพิจารณาใน WTO (รอยเตอร์)
2. ภาคอุตสาหกรรมของ สรอ.ชะลอตัวในเดือน มิ.ย.49 รายงานจากนิวยอร์กเมื่อ 3 ก.ค.49 The Institute for Supply
Management เปิดเผยผลการสำรวจ Index of national factory activity ซึ่งเป็นดัชนี้ชี้วัดภาคอุตสาหกรรมของ สรอ. ในเดือน
มิ.ย.49 ว่าลดลงอยู่ที่ระดับ 53.8 จากระดับ 54.4 ในเดือนก่อนหน้า ต่ำกว่าการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ
55 อย่างไรก็ตาม ดัชนียังคงอยู่เหนือระดับ 50 ซึ่งเป็นระดับที่บ่งชี้การขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม สรอ. สำหรับ Prices paid index ซึ่ง
เป็นดัชนีชี้วัดผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อต่อภาคอุตสาหกรรมในเดือนเดียวกันลดลงที่ระดับ 76.5 จากระดับ 77.0 ในเดือนก่อนหน้า และ
New orders index ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมในอนาคต เพิ่มขึ้นที่ระดับ 57.9 จากระดับ 53.7 ขณะที่ Employment
index ลดลงต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ต.ค.46 ที่ระดับ 48.7 จากระดับ 52.9 ในเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ ตลาดการเงินได้มีการติดตาม
Prices paid index อย่างต่อเนื่อง เพราะอาจมีสัญญาณบางอย่างเกี่ยวกับผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อที่อาจเป็นสาเหตุให้ ธ.กลาง สรอ.คง
อัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับเดิมในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินครั้งต่อไป หลังจากที่ได้ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยขึ้นร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่
ระดับร้อยละ 5.25 ในการประชุมครั้งก่อน (29 มิ.ย.49) (รอยเตอร์)
3. อัตราเงินเฟ้อของเกาหลีใต้ในเดือน มิ.ย.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 ต่อปีสูงสุดในรอบ 5 เดือน รายงานจากโซล เมื่อ
3 ก.ค.49 ดัชนีราคาผู้บริโภคของเกาหลีใต้ในเดือน มิ.ย.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 48 สูงสุดนับตั้งแต่เพิ่ม
ขึ้นร้อยละ 2.8 ในเดือน ม.ค.49 แต่ต่ำกว่าที่ผลสำรวจโดยรอยเตอร์คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 ต่อปี ในขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานที่
ไม่รวมราคาอาหารและพลังงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 จากร้อยละ 2.0 ในเดือน พ.ค.49 สูงสุดในรอบ 1 ปี แต่ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าเป้าหมายที่
ธ.กลางเกาหลีใต้กำหนดไว้ที่ช่วงระหว่างร้อยละ 2.5 ถึง 3.5 ต่อปีสำหรับในช่วงปี 47-49 นี้ โดย ธ.กลางเกาหลีใต้มีแผนที่จะลดช่วงอัตรา
เงินเฟ้อเป้าหมายดังกล่าวให้แคบลงในปีต่อๆ ไป นักวิเคราะห์จึงคาดว่า ธ.กลางเกาหลีใต้จะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 4.25 ต่อปี
ในการประชุมในวันที่ 7 ก.ค.49 นี้ เพื่อดูผลจากการขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 8 มิ.ย.49 ที่ผ่านมาซึ่งเป็นการขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งที่
4 นับตั้งแต่เดือน ต.ค.48 เป็นต้นมาเพื่อชะลอภาวะเงินเฟ้อ แต่อย่างไรก็ดีจากการที่ราคาสินทรัพย์มีแนวโน้มสูงขึ้น นักวิเคราะห์จึงคาดว่า
ธ.กลางเกาหลีใต้อาจขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในเดือน ส.ค.49 นี้ (รอยเตอร์)
4. ทุนสำรองฯ ของเกาหลีใต้เดือน มิ.ย.49 ลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 4 เดือน รายงานจากกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ เมื่อ
วันที่ 4 ก.ค.49 ธ.กลางของเกาหลีใต้ เปิดเผยว่า ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของเกาหลีใต้ ณ สิ้นเดือน มิ.ย.49 ลดลง
330 ล้านดอลลาร์ สรอ. อยู่ที่ระดับ 224.36 พันล้านดอลลาร์ สรอ. จาก 224.69 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในเดือน พ.ค.49 นับเป็นการลดลง
ครั้งแรกในรอบ 4 เดือน หลังจากที่เคยลดลง 980 ล้านดอลลาร์ สรอ. เมื่อเดือน ก.พ.49 โดยมีสาเหตุจากเงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นทำ
ให้มูลค่าสินทรัพย์ที่ถือไว้ในสกุลเงินอื่นลดลง ทั้งนี้ ทุนสำรองฯ ของเกาหลีใต้ ร้อยละ 86 ลงทุนในหลักทรัพย์ ขณะที่ร้อยละ 13.8 ฝากไว้กับ
สถาบันการเงิน (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 4 ก.ค. 49 3 ก.ค. 49 31 ม.ค. 48 แหล่งข้อมู
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 38.084 38.557 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 37.9861/38.1936 38.3598/38.6471 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 5.13 2.1875 - 2.2000 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 683.98/ 10.31 701.91/15.60 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 11,050/11,150 11,050/11,150 7,750/7,850 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 68.38 67.51 38.15 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 2 ก.ค. 49 29.79*/27.54 29.39/27.54 19.69/14.59 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--