ตามที่กระทรวงการต่างประเทศได้รับมอบหมายจากสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งให้จัดการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภานอกราชอาณาจักรในระหว่างวันที่ 1-10 เมษายน 2549 นั้น บัดนี้ การเลือกตั้งได้สิ้นสุดลงแล้วด้วยความเรียบร้อย สรุปผลได้ดังนี้
1. สถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ไทยที่จัดการเลือกตั้ง ส.ว. นอกราชอาณาจักร มีจำนวน 86 แห่ง ครอบคลุมผู้ลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้งใน 88 ประเทศ
2. รูปแบบการลงคะแนน มี 3 วิธีเช่นเดียวกับการเลือกตั้ง ส.ส. นอกราชอาณาจักรเมื่อปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา คือ
2.1 การลงคะแนน ณ ที่เลือกตั้ง (ที่ทำการสถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุลใหญ่ และ/หรือสถานที่อื่น) มี 35 แห่ง เช่น ในไต้หวัน สิงคโปร์ เกาหลีใต้
2.2 การลงคะแนนทางไปรษณีย์ มี 46 แห่ง เช่น ลอสแอนเจลิส แฟรงก์เฟิร์ต กรุงวอชิงตัน ใน สหรัฐอเมริกา
2.3 การลงคะแนนโดยวิธีอื่น คือ การจัดหน่วยเลือกตั้งสัญจร มี 38 แห่ง เช่น อิสราเอล ฮ่องกง ซาอุดีอาระเบีย
ในจำนวนนี้ มีสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ที่ได้จัดการเลือกตั้งโดยใช้มากกว่า 1 วิธี จำนวน 31 แห่ง เช่น ในเกาหลีใต้ จีน ญี่ปุ่น
3. ผลการใช้สิทธิเลือกตั้ง ในชั้นนี้ กระทรวงการต่างประเทศได้รับรายงานผลการจัดการเลือกตั้ง ส.ว. นอกราชอาณาจักร พ.ศ. 2549 จากสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ทั่วโลกจำนวน 71 แห่งแล้ว โดยมีผู้ลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร จำนวน 118,047 คน และมีผู้มาใช้สิทธิ จำนวน 38,254 คนหรือเท่ากับร้อยละ 32.41 ของผู้ลงทะเบียนขอใช้สิทธิทั้งหมด โดยประเทศและดินแดนที่มีผู้มาใช้สิทธิมากที่สุด 3 แห่งแรก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา (4,867 คน) เยอรมนี (4,712 คน) ไต้หวัน (4,703 คน)
เมื่อเปรียบเทียบกับการจัดการเลือกตั้ง ส.ว. นอกราชอาณาจักรเมื่อปี 2543 พบว่า ผู้ลงทะเบียนขอใช้สิทธิ ณ สถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ทั้ง 71 แห่งดังกล่าว ได้เพิ่มขึ้นจาก 23,961 คน เป็น 118,047 คน หรือเพิ่มขึ้นประมาณสามเท่าเศษ (ร้อยละ 392.66) และผู้มาใช้สิทธิเพิ่มขึ้นจาก 9,278 คน เป็น 38,254 หรือเพิ่มขึ้นประมาณสามเท่าเศษเช่นเดียวกัน (ร้อยละ 312.31)
และเมื่อเปรียบเทียบกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือ ส.ส. นอกราชอาณาจักรเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา มีผู้ลงทะเบียนขอใช้สิทธิเพิ่มขึ้น จาก 99,713 คน เป็น 118,047 คน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.38 สำหรับจำนวนผู้มาใช้สิทธินั้น เพิ่มขึ้นจาก 27,691 คน เป็น 38,254 คนหรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 38.15
ทั้งนี้ ไม่ปรากฏการร้องเรียนเกี่ยวกับการกระทำที่ไม่เที่ยงธรรมหรือส่อไปในทางทุจริตแต่อย่างใด
4. การที่จำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งเพิ่มขึ้นเป็นผลมาจาก
4.1 การประชาสัมพันธ์การเลือกตั้ง ส.ว. นอกราชอาณาจักรซึ่งดำเนินการอย่างต่อเนื่องตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ 2549 ทั้งจากส่วนกลางโดยคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และในพื้นที่ต่างประเทศโดยสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ ที่ได้มุ่งเน้นให้คนไทยมีความสำนึกและตระหนักในความเป็นประชาธิปไตยและหน้าที่ในการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง รวมทั้งการประชาสัมพันธ์ของกระทรวงการต่างประเทศผ่านสื่อต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศอย่างต่อเนื่องตั้งแต่การเลือกตั้ง ส.ส. ที่ผ่านมา
4.2 ผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีความตื่นตัวและสนใจสถานการณ์การเมืองในปัจจุบันเพิ่มมากขึ้น
5. กระทรวงการต่างประเทศ ร่วมกับบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ได้รับบัตรเลือกตั้งที่ลงคะแนนแล้ว กลับคืนมาจากสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ส่วนใหญ่แล้วโดยทางถุงเมล์การทูต คงเหลืออีกเพียงบางแห่งซึ่งจะรวบรวมได้ครบทั้งหมดภายในวันที่ 14 เมษายน 2549 และจะสามารถส่งมอบให้ กกต. ได้ทันตามกรอบเวลาที่ กกต. กำหนดต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-สส-
1. สถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ไทยที่จัดการเลือกตั้ง ส.ว. นอกราชอาณาจักร มีจำนวน 86 แห่ง ครอบคลุมผู้ลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้งใน 88 ประเทศ
2. รูปแบบการลงคะแนน มี 3 วิธีเช่นเดียวกับการเลือกตั้ง ส.ส. นอกราชอาณาจักรเมื่อปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา คือ
2.1 การลงคะแนน ณ ที่เลือกตั้ง (ที่ทำการสถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุลใหญ่ และ/หรือสถานที่อื่น) มี 35 แห่ง เช่น ในไต้หวัน สิงคโปร์ เกาหลีใต้
2.2 การลงคะแนนทางไปรษณีย์ มี 46 แห่ง เช่น ลอสแอนเจลิส แฟรงก์เฟิร์ต กรุงวอชิงตัน ใน สหรัฐอเมริกา
2.3 การลงคะแนนโดยวิธีอื่น คือ การจัดหน่วยเลือกตั้งสัญจร มี 38 แห่ง เช่น อิสราเอล ฮ่องกง ซาอุดีอาระเบีย
ในจำนวนนี้ มีสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ที่ได้จัดการเลือกตั้งโดยใช้มากกว่า 1 วิธี จำนวน 31 แห่ง เช่น ในเกาหลีใต้ จีน ญี่ปุ่น
3. ผลการใช้สิทธิเลือกตั้ง ในชั้นนี้ กระทรวงการต่างประเทศได้รับรายงานผลการจัดการเลือกตั้ง ส.ว. นอกราชอาณาจักร พ.ศ. 2549 จากสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ทั่วโลกจำนวน 71 แห่งแล้ว โดยมีผู้ลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร จำนวน 118,047 คน และมีผู้มาใช้สิทธิ จำนวน 38,254 คนหรือเท่ากับร้อยละ 32.41 ของผู้ลงทะเบียนขอใช้สิทธิทั้งหมด โดยประเทศและดินแดนที่มีผู้มาใช้สิทธิมากที่สุด 3 แห่งแรก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา (4,867 คน) เยอรมนี (4,712 คน) ไต้หวัน (4,703 คน)
เมื่อเปรียบเทียบกับการจัดการเลือกตั้ง ส.ว. นอกราชอาณาจักรเมื่อปี 2543 พบว่า ผู้ลงทะเบียนขอใช้สิทธิ ณ สถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ทั้ง 71 แห่งดังกล่าว ได้เพิ่มขึ้นจาก 23,961 คน เป็น 118,047 คน หรือเพิ่มขึ้นประมาณสามเท่าเศษ (ร้อยละ 392.66) และผู้มาใช้สิทธิเพิ่มขึ้นจาก 9,278 คน เป็น 38,254 หรือเพิ่มขึ้นประมาณสามเท่าเศษเช่นเดียวกัน (ร้อยละ 312.31)
และเมื่อเปรียบเทียบกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือ ส.ส. นอกราชอาณาจักรเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา มีผู้ลงทะเบียนขอใช้สิทธิเพิ่มขึ้น จาก 99,713 คน เป็น 118,047 คน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.38 สำหรับจำนวนผู้มาใช้สิทธินั้น เพิ่มขึ้นจาก 27,691 คน เป็น 38,254 คนหรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 38.15
ทั้งนี้ ไม่ปรากฏการร้องเรียนเกี่ยวกับการกระทำที่ไม่เที่ยงธรรมหรือส่อไปในทางทุจริตแต่อย่างใด
4. การที่จำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งเพิ่มขึ้นเป็นผลมาจาก
4.1 การประชาสัมพันธ์การเลือกตั้ง ส.ว. นอกราชอาณาจักรซึ่งดำเนินการอย่างต่อเนื่องตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ 2549 ทั้งจากส่วนกลางโดยคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และในพื้นที่ต่างประเทศโดยสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ ที่ได้มุ่งเน้นให้คนไทยมีความสำนึกและตระหนักในความเป็นประชาธิปไตยและหน้าที่ในการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง รวมทั้งการประชาสัมพันธ์ของกระทรวงการต่างประเทศผ่านสื่อต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศอย่างต่อเนื่องตั้งแต่การเลือกตั้ง ส.ส. ที่ผ่านมา
4.2 ผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีความตื่นตัวและสนใจสถานการณ์การเมืองในปัจจุบันเพิ่มมากขึ้น
5. กระทรวงการต่างประเทศ ร่วมกับบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ได้รับบัตรเลือกตั้งที่ลงคะแนนแล้ว กลับคืนมาจากสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ส่วนใหญ่แล้วโดยทางถุงเมล์การทูต คงเหลืออีกเพียงบางแห่งซึ่งจะรวบรวมได้ครบทั้งหมดภายในวันที่ 14 เมษายน 2549 และจะสามารถส่งมอบให้ กกต. ได้ทันตามกรอบเวลาที่ กกต. กำหนดต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-สส-