คำกล่าวเปิดการสัมมนา “มิติใหม่ของการออม” ของ นายทนง พิทยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

ข่าวเศรษฐกิจ Monday January 23, 2006 15:46 —กระทรวงการคลัง

                               คำกล่าวเปิดการสัมมนา
“มิติใหม่ของการออม”
ของ
นายทนง พิทยะ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ณ ห้องนภาลัย โรงแรมดุสิตธานี
14 ธันวาคม 2548
ท่านปลัดกระทรวงการคลัง ท่านผู้มีเกียรติทุกท่าน และสื่อมวลชนที่เคารพ
วันนี้เป็นเรื่องของการสัมมนา “การสร้างมิติใหม่ของการออม” ผมรู้สึกยินดีที่ได้รับเชิญมาร่วมงานและกล่าวเปิดการสัมมนาในวันนี้ ผมต้องขอขอบคุณสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ที่ร่วมกันจัดสัมมนาเรื่อง “มิติใหม่ของการออม” ซึ่งเป็นประเด็นเศรษฐกิจที่สำคัญประการหนึ่งของประเทศทีเดียว ผมคงไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญเรื่องการออม เพราะว่าตัวเองไม่ค่อยมีระเบียบในการออมทรัพย์เลย แต่ว่าผมใช้น้อยที่เหลือมันก็ออมไปโดยอัตโนมัติ แต่ว่าสิ่งที่น่าสนใจก็คือว่าการออมในระบบของเศรษฐศาสตร์มหภาค คืออะไรแน่
สมัยเรียนเศรษฐศาสตร์ก็มี Paper อยู่อันหนึ่งซึ่งผมค่อนข้างที่จะประทับใจมาก คือ Paper ที่เขียนโดย Doma เป็น classical paper มากๆ เกี่ยวกับ macro economic dynamic Paper นี้พยายามบอกเราว่าโลกของการสร้างผลผลิตของประเทศซึ่งมี 2 มิติในการวัด คือการวัดผลผลิตของประชาชาติกับการวัดทางด้านรายได้ของประชาชาติ แล้วใน Ken’s Model ก็บอกชัดเจนว่า Investment กับ Saving ต้องเท่ากัน การออมกับการลงทุนจะต้องเท่ากันเอา Simple Model
ในระบบเศรษฐกิจที่ปิดในเมื่อรายได้ประชาชาติก็คือ Consumption บวก Saving แล้วผลผลิตประชาชาติก็คือ Consumption บวก Investment ดังนั้น Investment กับ Saving จะต้องเท่ากัน นับโดยยังไม่มีภาษียังไม่มีค่าใช้จ่ายรัฐบาลเอา Model ง่ายๆ
ในเมื่อ 2 ตัวนี้ต้องเท่ากัน ความสำคัญของการออมก็คือว่าถ้าไม่มีการออมก็จะไม่มีการลงทุน ไม่มีการลงทุนมันก็จะไม่มีการผลิต ไม่มีการผลิตก็ไม่มีการจ้างงาน ไม่มีการจ้างงานก็จะไม่มีรายได้ที่จะมาซื้อผลผลิตที่เหลืออยู่ มันก็จะถดถอยไปเรื่อยๆ แต่ถ้าการออมมันเพิ่มขึ้นมันก็จะมีการลงทุนได้มากขึ้นจากการออมเพื่อที่จะจ้างงานมากขึ้น มันก็มีรายได้เพื่อซื้อผลผลิต วงจรที่มันจะเติบโตได้ก็เป็นวงจรซึ่งทุกตัวค่อยๆ เพิ่มขึ้นไป ใน Model ที่สวยที่สุดก็คือบอกว่าแล้วความพอดีของการบริโภคกับการออมคืออะไร? สัดส่วนเท่าไรที่จะทำให้เศรษฐกิจเติบโตได้ดีที่สุด? เติบโตได้ดีที่สุดหมายถึงมีเสถียรภาพและมีการเติบโตที่ดีที่สุดภายใต้การรักษาเสถียรภาพ
Paper นี้เขียนว่าการบริหารเศรษฐกิจในแง่เศรษฐกิจที่มีพลวัตแบบนี้เหมือนกับยืนบนเส้นด้าย เขาใช้คำว่าอยู่บนเส้นด้าย เดินเหมือนนักกายกรรมเดินบนคมดาบยาวๆ ฉะนั้นถ้าเดินไม่ดีตกไปทางขวา หรือ Saving มากเกินไปเศรษฐกิจไม่โต Saving มาก หมายถึงบริโภคน้อย บริโภคเรื่องของ Saving ไป ผลิตขึ้นมาก็ไม่มีคนขายราคาก็จะเปลี่ยนแปลงทำให้เศรษฐกิจลงได้ Consumption มากไปมันก็เกิดไม่โตได้เพราะ Saving มันน้อย ฉะนั้นมันถึงความสวยของมันอยู่ที่ว่าแล้ว Consumption กับ Saving ความพอดีอยู่ที่ไหน ๆ แล้วถ้าเราเดินบนเส้นด้ายอันนี้ได้ นักเศรษฐศาสตร์ก็คือผู้ที่สามารถบริหารเศรษฐศาสตร์พลวัตอันนี้ได้ มันก็จะเติบโตขึ้นได้คือเดินไต่กันขึ้นไปเรื่อย ๆ ได้
คราวนี้มาพูดถึงประเทศไทย เศรษฐกิจเปิดก็ Model ก็จะยุ่งยากกว่านี้ ในที่สุด Paper นี้บอกเลยว่าแล้ว Business Cycle ว่าเศรษฐกิจมันขึ้นลงๆ เพราะอะไร ทำไมมันลงไปต่ำแล้วมันกลับขึ้นมาใหม่ได้ ใครสนใจไปค้นหาเอาเองนะครับ Doma Paper
จากที่น่าสนใจคือแล้วทำไมเราต้องมีมิติใหม่ของการออม มิติใหม่ของการออมหมายความว่าอะไร โดยเฉพาะตัว S - Saving ตอนนี้มันน้อยเกินไปเหรอ จริงหรือเปล่า เสถียรภาพทางเศรษฐกิจมันดีจริงหรือเปล่า มันไปกระทบหมดเลย ซึ่งตรงนี้มันคงไม่ใช่ เราคิดว่าการบริหารเศรษฐกิจมันมีเสถียรภาพซึ่งเราต้องรักษาเอาไว้ เราก็พยายามทำทุกอย่าง แต่ว่าจากเสถียรภาพแล้วมันมีความพอดีอยู่แค่ไหน คำถามที่ผมสนใจอย่างที่สุดก็คือว่าเมื่อหลักฐานมันเกิดมาชัดเจนใน 2 — 3 ปีที่ผ่านมาตั้งแต่ปีที่ผ่านมา การออมภาคครัวเรือนมันลดลง ลดลงค่อนข้างจะมาก ถามตัวเองมันลดลงหมายความว่าอย่างไร อะไรเกิดขึ้นแน่ ๆ แล้วถ้าเราไปดูความลึกจริง ๆ ที่ลดลง ถามว่าคนที่รวยเขาลดลงจริงเหรอ คนที่มีเงินออมอยู่ปัจจุบันที่มีฐานะดีพอลดลงจริงหรือเปล่า แล้วเราลองไปคิดให้ลึก ๆ อีกนิดหนึ่งอาจจะเริ่มเข้าใจว่า Dual track Policy มันลดการออมไปหรือเปล่า นึกให้ดี ๆ นะ ผมกำลังจะถามว่า Dual track Policy ลดการออมหรือไม่แต่ไม่ได้ไปตำหนิ อย่าไปเขียนผิด ๆ กำลังให้วิเคราะห์ว่าการออมมันไม่ได้ไปไหนหรอก แต่การที่ใช้ macro economic policy เพื่อให้แก้ปัญหาความยากจนมันเป็นการเคลื่อนย้ายรายได้ประชาชาติส่วนหนึ่ง หรือผลผลิตประชาชาติส่วนหนึ่งลงไปสู่ระดับล่าง เคลื่อนย้ายรายได้ประชาชาติส่วนหนึ่งลงไปสู่ระดับคนที่มีรายได้ต่ำ จากการที่รัฐบาลตั้งขึ้นมาเพื่อให้เขามีความสามารถในการหารายได้เพิ่มขึ้น การตั้งกองทุนหมู่บ้านเป็นการที่จะไปกระตุ้นให้เขาสร้าง ๆ รายได้เพิ่มขึ้น แต่มันมีส่วนหนึ่งซึ่งคนที่มีรายได้สูงอยู่ก็ไม่ได้ลดลง ก็ใช้บริโภคเหมือนเดิมออมเหมือนเดิม แต่ที่น่าสนใจก็คือว่าการที่ลงไปสร้างรายได้เพิ่มขึ้นข้างล่างทำให้เขามีการบริโภคเพิ่มขึ้น เพราะคนจนเวลามีรายได้เพิ่มขึ้นจะบริโภคเป็นสัดส่วนเกือบ 100 % ของรายได้ที่เพิ่มขึ้น ความจำเป็นที่เขาอยากจะมีอย่างคนรวยก็มี เขาอยากจะมีจากเดินเท้าก็อยากจะมีจักรยาน จากจักรยานก็อยากจะมีมอเตอร์ไซค์ จากมอเตอร์ไซค์ก็อยากจะมีปิ๊กอัพ เป็นเรื่องของการบริโภค
ฉะนั้น คนจนพอเริ่มมีรายได้ก็จะบริโภคเป็นสัดส่วนสูงกว่าคนรวย คนรวยนี้มีเงินเพิ่มขึ้นอีกหมื่นบาทนี้ไม่มีความหมายสำหรับคนจนมีความหมาย ถ้าดูแค่ Dual track Policy ที่เห็นจะเห็นได้ว่าการที่พยายามสร้างให้เกิดขึ้นมา ทำให้ consumption ของประเทศดีขึ้น เพราะคนจนมีรายได้สูงขึ้นตรงนั้นคือการแก้ไขปัญหาความยากจนในขณะที่ข้างบนก็จะมีการออม นึกถึงแนวทางแล้วต่อไปทำอย่างไรคนที่มีรายได้สูงขึ้นเรื่อย ๆ และข้างล่างและมีการบริโภคที่สูงอยู่ พอถึงจุดหนึ่งก็จะเริ่มออม ก็คือคนที่รายได้ต่ำขึ้นมาเป็นรายได้ระดับกลางเริ่มออม และก็ขึ้นมาเรื่อย ๆ ระดับสูงก็เริ่มออมเพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ก็มาต่ออีกนิดหนึ่งแล้ว Ken’s เขียนว่าอย่างไรบ้าง ผมไม่ได้ไปอ่านผมยังจำได้อยู่ในสมองเลยว่าการออมของมนุษย์มันแบ่งออกเป็นกี่ประเภทกันแน่ หลัก ๆ มันก็ออมเพื่ออะไรแน่ ๆ การออมจริง ๆ
1. คือออมเพื่อจะเก็บไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน เพราะไม่แน่ใจเลยว่าในพรุ่งนี้ มะรืนนี้จะมีอะไรเหลือเก็บหรือเปล่า ฉะนั้นถ้ามีก็เก็บไว้บ้างเพื่อจะมีเงินใช้ต่อ เงินเดือนมีทำไมไม่ใช้ให้หมดในวันเดียวก็เป็นการออมประเภทหนึ่ง แล้วถ้ามีเหลือพอก็จะเก็บไว้เพื่อใช้ในยามขัดสนเวลาเกิดตกงานขึ้นมา เกิดอะไรขึ้นมา หรือว่ามีปัญหา
2. คือเพื่อวางพื้นฐานของอนาคตของตนเองและครอบครัวหัวใจสำคัญของการออมอันหนึ่งเพื่อตรงนั้นว่าทำอย่างไรเกษียณแล้วจะมีรายได้ครอบครัวจะไม่ลำบาก อันนี้ก็เป็นจุดการเติบโตของระบบกองทุนทั้งหลายแล้วก็ของระบบประกันชีวิต
3. คือการลงทุนด้วยตัวเองเพื่อที่จะไปลงทุนตัดสินใจลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ ตัดสินใจที่จะเก็งกำไรในตลาด ตัดสินใจที่จะไปตั้งร้านก๋วยเตี๋ยว จะตั้งร้านกาแฟแบบที่ผมทำก็เป็นการออมอีกแบบหนึ่งเพื่อที่จะสร้างรายได้ในอนาคตด้วย
มันก็มีอยู่ 3 แบบแค่นี้ Ken’s เขาเขียนแค่นี้
แล้วมาดูประเทศไทย ทำไมถึงต้องทำสิ่งที่เริ่มมิติใหม่ของการออม ประเทศไทยถ้าดูไปย้อนหลังแค่ก่อนวิกฤติ การออมไปอยู่ที่ไหน มันไปอยู่ที่ธนาคารพาณิชย์อย่างเดียวเลยเกือบ 100 % มันอยู่ที่ระบบธนาคารพาณิชย์ เพราะว่ามันไม่มีเครื่องมือทางอื่นการออม แล้วเราก็คิดมาตลอดว่าธนาคารพาณิชย์เป็นแหล่งของการออมเงินที่ดีที่สุดแล้ว ไม่ต้องไปสร้างอะไรขึ้นมาหรอก แล้วก็ตลาดเมืองไทยเอง เศรษฐกิจเมืองไทยเองมันก็เล็กเกินไปที่จะไปสร้างตลาดอื่น ความพยายามจะสร้างตลาดพันธบัตร ตลาดอื่น ๆ นั้นมีมานานเหลือเกินแต่ว่ามันไม่เคยเติบโตได้ เพราะระบบธนาคารพาณิชย์คือระบบที่ผู้ออมทุกคนเข้าใจได้ง่ายมาก เขาเอาเงินไปฝากเขาแน่ใจว่าเงินต้นอยู่ไม่หาย ไม่สูญหาย ความเสี่ยงน้อยมาก ๆ
ธนาคารออมสินทำไมถึงมีคนออมเยอะมาก เพราะรัฐบาลค้ำประกัน เด็ก ๆ เห็นป้ายเลย ธนาคารออมสินรัฐบาลรับประกัน ฉะนั้น ประชาชนทุกคนทั้งประเทศก็มีเงิน พวกคนจนคนที่กลัวไม่รู้จักเดินเข้าธนาคารพาณิชย์ก็เดินเข้าไปฝากออมสินเป็นหลัก ธนาคารออมสินก็เป็นแหล่งเงินออมที่ใหญ่มาก ๆ ของประเทศในอดีต พอธนาคารพาณิชย์เริ่มเติบโตมาก็เริ่มให้ดอกเบี้ยสูงกว่าธนาคารออมสินบ้างอะไรบ้าง ธนาคารอื่น ๆ ก็เริ่มเติบโตขึ้นมาได้ ก็เริ่มมีความเข้มแข็งขึ้นมาก็ชักจูงระบบการออมก็เพิ่มจากระบบธนาคารพาณิชย์อย่างเดียวมันไม่มีอย่างอื่นกินแต่ดอกเบี้ย มีดอกเบี้ยอย่างเดียว
ฉะนั้นถ้าไปถามจริง ๆ ว่าทำไมตอนตั้งแต่วิกฤติมา ตั้งแต่ 5 — 6 ปีที่ผ่านมาคนออมมันน้อยลงเพราะดอกเบี้ยมันลดลง มันลงมาเหลือ 1% 0% ไม่คุ้มกับการออมด้วยซ้ำ คนก็ต้องแสวงหาแหล่งการออมที่ดีขึ้นที่มากขึ้น ซึ่งมันก็เริ่มเกิด ตรงนี้เป็นจุดที่ทำให้ตลาดทุนเริ่มเกิดขึ้นมาได้เพราะดอกเบี้ยมันเริ่มออม คนออมรายใหญ่ ๆ เริ่มหาแสวงหาจุดอื่นเพราะมันไม่ไหวแล้ว ฝากธนาคารผูกขาดอยู่ที่ดอกเบี้ย 1 % ไม่ถึง 1 % 0 .5 %
บางทีบอก มีหลายประเทศ ใครเอาเงินมาออมคิดค่าเก็บรักษาดอกเบี้ยเป็น 0 แต่คนก็ยังออม เขาอยากจะเห็นว่าสิ่งที่เขามีอยู่นั้นไม่สูญหาย ฉะนั้นผู้ที่ออมในธนาคารไม่ได้คือผู้ที่กลัวว่าสิ่งที่เขามีอยู่นั้นจะสูญหาย กลัวความเสี่ยงว่าเงินของเขานั้นจะสูญหาย ฉะนั้นถ้ามีเครื่องมืออื่น ๆ ซึ่งมองว่ามีความเสี่ยงใกล้เคียงกับความเสี่ยงธนาคารพาณิชย์ก็คือ เงินต้นไม่หายไปไหนมันทำได้มากกว่านั้นอีกเยอะ ตลาดมันจะโตไปได้อีกเยอะ ถ้าบอกประชาชนไม่ใช่เฉพาะธนาคารพาณิชย์เท่านั้นที่มีความเสี่ยงน้อยฝากแล้วเงินต้นไม่หาย
ผมเคยคิดนะครับตอนอยู่แบงก์ ตอนตั้งกองทุนรวมแห่งหนึ่งในเครือของแบงก์ พยายามขอ กลต. ทำอย่างไรผมจะออกตราสารหนี้ ที่บอกว่าผมค้ำประกันเงินต้นทำไม่ได้ เป็นการบิดเบือนตลาดนี่คือความคิด กลต.สมัยนั้น ทำไม่ได้จริง ๆ ทั้ง ๆ ที่ในต่างประเทศเขาก็ทำ ตราสารซึ่งสามารถจะค้ำประกันเงินต้นได้ สมัยก่อนที่ต่างประเทศเขาก็ทำ แต่เมืองไทยยังไม่กล้าที่จะทำในสิ่งเหล่านั้น เราก็เลยไม่มีตราสารซึ่งปราศจากความเสี่ยงแบบธนาคารพาณิชย์ซึ่งความเสี่ยงน้อยไม่ใช่ปราศจากเลย
ฉะนั้นตลาดที่จะเคลื่อนย้ายผู้ออมมาสู่ตลาดทุนมันก็ทำยาก แล้วไปเปลี่ยนนิสัยผู้ฝากจากที่ไม่ต้องการความเสี่ยงเลยมาให้เล่นหุ้นเลยมันทำยาก เราก็ต้องทำเป็น step step ไป ทำให้เขาเข้าใจว่านอกเหนือจากระบบธนาคารพาณิชย์แล้วมันมีเครื่องมืออื่นซึ่งความเสี่ยงเท่า ๆ กัน บางที่ดีกว่าด้วยซ้ำ พันธบัตรรัฐบาลเสี่ยงน้อยกว่าธนาคารพาณิชย์ด้วย แต่ประชาชนไม่เคยได้ลิ้มรสมันเลยไม่เคยได้ลิ้มรสพันธบัตรรัฐบาลไม่รู้จักเลยเป็นอย่างไร ไม่เคยเห็นพันธบัตรรัฐบาล พึงจะไม่กี่ปี 2- 3 ปีมานี้เองที่พันธบัตรรัฐบาลเริ่มถึงมือประชาชน เพราะอะไรกระทรวงการคลังก็ขี้เกียจทำ ขายธนาคารพาณิชย์จบไป ไม่ต้องมาขายรายบุคคลปวดหัว มันเป็นความมักง่ายทั้งนั้นของเศรษฐกิจ แต่มิติใหม่ของการออมนั้นทำอย่างไรผู้ฝากเงินซึ่งเป็นใหญ่จะกระจายความเสี่ยงและมีผลตอบแทน Maximize ผลตอบแทนของเขาได้
ฉะนั้นการสร้างมิติใหม่คือมีสินค้าที่ตั้งแต่เงินฝากขึ้นมาเป็นพันธบัตร มาเป็นตั๋วเงินกู้ มาเป็นหุ้นประเภทต่าง ๆ หุ้นบุริมสิทธิ์ มาเป็นหุ้นสามัญซึ่งมีหลากหลายเป็นร้อย ๆ แบบ ทำอย่างไรเราจะพัฒนามันขึ้นมาโดยที่ให้ผู้ฝากเงินเข้าใจและย้ายฐานออกมาเรื่อย ๆ คือความเป็นนักลงทุนจะเป็นหัวใจ ถ้าเราสามารถจะให้ผู้ฝากเงินในระบบธนาคารเข้าใจของความเป็นนักลงทุนได้คือ return กับ risk เขาเริ่มรู้และเขาเริ่มสบายใจในสิ่งที่เขาทำว่า risk ที่เขาจะเสียหายไม่เกินเท่านี้ มันก็จะสามารถสร้างตลาดเงินการออมให้ครบวงจรแล้วผลตอบแทนมันก็จะดีขึ้นในตลาด แล้วตัว S ในทางเศรษฐศาสตร์มหภาคมีความหมายมาก ๆ
ฉะนั้นการที่จะสร้างตลาดเหล่านี้ มีการพัฒนาไปพอสมควรในยุทธศาสตร์ของการสร้างตลาดการออมพัฒนาไปพอสมควรผมไม่ได้บอกว่าไม่ได้มีการพัฒนา การตั้ง กบข. ขึ้นมาเป็นจุดเริ่มต้นที่จะมองเห็นว่าข้าราชการในที่สุดแล้วเกษียณแล้วเขาจะมีอะไรบ้าง เขาจะได้อะไรบ้าง เงินกองทุนประกันสังคมก็เริ่มมีกองทุนที่ใหญ่ขึ้นมา และวันนี้เราก็จะทำเรื่องกองทุนบำนาญแห่งชาติ มีการเสนอในวันนี้ขึ้นมา ก็เป็นเครื่องมืออีกอันหนึ่งเพิ่มเติมจาก กบข. ซึ่งดูแลเฉพาะข้าราชการ
ทำไมเราต้องมาตั้งกองทุนเงินออมใหญ่ ๆ เหล่านี้ มันก็มาเปรียบเทียบอีกว่าจากการฝากเริ่มเข้ามาสู่ระบบกองทุนใหญ่ ๆ ของที่รัฐบาลทำไป แล้วทำไมรัฐบาลจะต้องเขาไปช่วย match เข้าไปด้วย ทำไมไม่เอาจากรายได้เฉย ๆ มาตั้งออม อันนั้นเป็นการออมโดยความสมัครใจก็คือเงินเหลือก็ไปออม แต่เรารู้ว่าการออมเป็นการสมัครใจมัน work ได้แค่เฉพาะคนที่เงินเหลือจริง ๆ การที่จะสร้างวินัยของการออมจะต้องมีการชักจูงสำหรับผู้มีรายได้ที่ไม่มากนัก แต่ให้เขาเข้าใจวินัยว่าของการออมเพื่ออนาคตของเขาและครอบครัวของเขาเองหลังจากที่เขาแก่ไป
สิ่งที่รัฐบาลต้องคิดตลอดแบบนั้นเพราะว่าไม่อย่างนั้นเกษียณไปแล้วก็เป็นภาระรัฐบาลอีก เจ็บป่วยไปก็เป็นภาระของรัฐอีก แต่ถ้าเขามีเงินออมเพื่อดูแลตัวเองการพึ่งพารัฐก็จะน้อยลง ฉะนั้นรัฐต้องเข้าไปช่วยตั้งแต่ต้นเลย เอาเงินส่วนของรัฐเข้าไป match กับการออมของเขาเพื่อให้เขาอยากจะออมแล้วเราก็ไปช่วย match กับเขา เขาลงไป 3 % เราก็ให้อีก 3 % แต่ละเดือน ๆ ไปเรื่อย ๆ ถึงเวลาเขาเกษียณเขาก็อยู่ด้วยตัวเองได้ เขามีรายได้ไปอีกพอที่จะอยู่ด้วยตัวเองได้
แต่ก่อนทำไมไม่มีสิ่งเหล่านี้ แล้วทำไมอยู่ได้ ก็ต้องถามตัวเองอีก แต่ก่อนไม่เห็นต้องมีรัฐบาลไปทำ ๆ ทำไมจะเอาเงินไปใช้อะไรหรือเปล่ารัฐบาลนี้แย่มาก มันไม่ใช่ แต่ก่อนนี้โครงสร้างของประชากร โครงสร้างของครอบครัว โครงสร้างสังคม มันต่างกับสมัยนี้เยอะ โครงสร้างประชากร ตอนนี้อีก 15 ปีเราจะมีคนแก่เพิ่มขึ้นเท่าตัวจากปัจจุบัน แล้วคนสูงอายุเหล่านี้ผมก็จะเป็นส่วนหนึ่งของมัน ถ้าไม่มีเงินออมแล้วเขาอยู่ไม่ได้เขาจะทำอย่างไร แล้วเขาอาจจะเดินขบวนมาที่รัฐบาล มาทำเนียบอีกแล้ว กำลังจะอดยากรัฐบาลไม่ดูแล เคยเป็นอยู่ในวัยแรงงานช่วยสร้างประเทศขึ้นมาทำไมรัฐบาลไม่ดูแลเลย แล้วคนแก่ก็จะมากขึ้น ๆ เพราะอัตราการเติบโตของประชากรไทยมันน้อยลง ตอนนี้อยู่ที่ 1.8 ขาดทุน 2 คน ได้ 1.8 คน ตอนนี้ 1 คู่ได้ 1.8 คน ขาดทุนประชากรมันจะเพิ่มขึ้นแต่มันจะเพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลงไปเรื่อย ๆ
ญี่ปุ่นตอนนี้มีปัญหามากประชากรลดลงเขาถามตัวเองตอนนี้ว่าคนเกษียณมันเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทำอย่างไรดี แล้วเขาบอกว่าในที่สุดแล้ว ระบบการออมที่มีอยู่ไม่เพียงพอจะดูแลคนเกษียณอายุเหล่านี้ด้วยซ้ำ สวัสดิการเขาสูงกว่าเราเยอะ นั้นคือสิ่งที่ทำไมรัฐบาลจะต้องเอาใจใส่สร้างมิติใหม่ของการออมให้กับข้าราชการ กับผู้ที่ใช้แรงงานทั้งหลายว่าคุณช่วยกันสร้างประเทศเหล่านี้จนกระทั่งคุณเกษียณ ฉะนั้นเราจะพยายามช่วยคุณดูแลตนเองได้หลังเกษียณ เพราะว่ามันจะมากขึ้นเรื่อย ๆ คนที่เกษียณไปแล้ว ฉะนั้นรัฐบาลจะไม่ให้เขาออมไว้ตอนนี้ รัฐบาลต้องไปจ่ายคนเดียวมันเหนื่อยเหมือนกัน นั่นคือคำจำกัดความการออมภาคบังคับคือบังคับรัฐบาลด้วย ไม่ใช่บังคับเฉพาะคนออม ข้าราชการหรือผู้ใช้แรงงานถูกบังคับให้ออมส่วนหนึ่ง รัฐบาลเองก็ถูกบังคับให้ออมอีกส่วนหนึ่งให้เขา ฉะนั้นภาคบังคับจะไปบอกว่าประชาชนถูกบังคับคนเดียวไม่ใช่ บังคับรัฐบาลด้วยหางบประมาณไป match กับเขา ให้มั่นใจว่าเมื่อเขาเกษียณแล้วเขามีเงินที่จะอยู่ได้ บางทีการออมภาคบังคับรัฐบาลไปขู่เข็ญประชาชนนี่ขู่เข็ญรัฐบาลด้วย รัฐบาลในอนาคตก็ต้องทำ เพื่อให้เขามีความเป็นอยู่ที่ดีหลังเกษียณให้ได้ นั่นคือความสำคัญของการออม นั่นคือความสำคัญที่รัฐบาลเองบังคับตัวเองเพื่อช่วยข้าราชการ ช่วยผู้ใช้แรงงานทั้งหลาย เพราะถ้าไม่ช่วยตอนนี้อีกหน่อยรัฐบาลจะอยู่ไม่ได้ เดินขบวนแน่ คนแก่เดินขบวนแน่ จะอยู่ไม่ได้ สิ่งที่เกิดขึ้นแล้วแต่ก่อนมันไม่มีเพราะสถาบันครอบครัวแต่ก่อนมันไม่เหมือนสมัยนี้ สถาบันครอบครัวแต่ก่อนแล้วตอนวิกฤติเศรษฐกิจบอกชัดเจนว่าสถาบันครอบครัวของไทยแข็งแกร่งมาก เกิดวิกฤติขึ้นมาคนตกงาน ว่างงานเยอะแยะ ปรากฏว่าไม่เกิดปัญหาทางสังคม ไม่เกิดวิกฤติทางสังคม เป็นวิกฤติทางเศรษฐกิจแต่ไม่เป็นวิกฤติทางสังคม อันนี้ต้องขอบคุณสถาบันครอบครัวของไทยสามารถยอมรับ ญาติ พี่น้อง ลูกหลานที่ตกงานกลับไปอยู่ที่บ้าน กลับไปต่างจังหวัด กลับไปจังหวัดที่ตนเองเกิด ไปหาญาติพี่น้องก็มีข้าวกินก็อยู่ได้ แล้วค่อยวิ่งเริ่มต้นชีวิตใหม่ มันมีสถาบันที่รองรับอยู่ วิกฤติเศรษฐกิจถึงไม่รุนแรงเป็นวิกฤติทางสังคม ในขณะที่ชาติอื่นที่ไม่มีสถาบันครอบครัวแบบไทยพังไปแล้ว แต่สถาบันครอบครัวแบบนี้มันค่อย ๆ จางลงไปในเมืองที่เจริญแล้ว ในกรุงเทพฯมันค่อย ๆ จางลง มันไปไม่ได้ ต่างคนต่างเริ่มมีอิสระของความคิดเริ่มจับคู่กันเริ่มไปอยู่ด้วยกัน เริ่มไม่อยู่กับพ่อแม่ เริ่มมีความรู้สึกว่าพ่อแม่แย่มาก ไม่รู้เรื่อง งี่เง่าเต่าตุ่น ไม่มีความรู้ ไม่มีการศึกษาเหมือนเขา คุยกันไม่รู้เรื่อง สถาบันครอบครัวเปลี่ยนโดยอัตโนมัติมันก็เริ่มแยกไปอยู่ แยกไปอยู่ ตัวผมเองก็แยกไปอยู่ไม่เคยอยู่กับพ่อกับแม่ได้ ทะเลาะกันทุกวัน สิ่งเหล่านี้คือสิ่งที่เกิดขึ้นมามันเริ่มเกิดขึ้นว่ามันเริ่มเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นมาสถาบันครอบครัวแล้ว สมัยนี้ใครจะมีบ้านมีที่แบบสมัยก่อนเป็นไร่จะปลูกบ้านอีกกี่หลังก็ได้ มันไม่มี บ้านสถาบันครอบครัวที่มันออกมา 60 ตารางวาพอเริ่มมีลูก อยู่ไปเรื่อย ๆ มันไปไม่ไหวถึงขั้นหลานมันอยู่ไม่ได้ มันก็ต้องแยกสถาบันครอบครัวมันเล็กลง ๆ ไปเรื่อย ๆ ฉะนั้นแล้วเขาจะอยู่อย่างไร ครอบครัวเหล่านี้ ถ้าไม่มีการออมภาคบังคับในรัฐจะต้องใส่เข้าไปแล้วใส่เข้ามาเก็บเอาไว้เพื่อที่จะให้สถาบันครอบครัวแบบที่เล็กลงอยู่รอดในสังคม
ผมว่าอันนี้คือหัวใจว่าตัว S ไม่ได้ง่ายเท่าที่คิด คนจนทำอย่างไรให้เขามีอำนาจในการบริโภคให้มีรายได้มากขึ้นถึงจุดหนึ่ง เขาถึงจะเริ่มมีการออมได้ คนที่มีรายได้เป็นประจำทำอย่างไรเราช่วยบังคับให้เขามีการออมอย่างน้อยไม่ได้เยอะ 3% 5% ของเงินเดือนแล้วอีกหน่อยเขาจะได้มีเงินเหลือหลังจากที่เขาเกษียณ ข้าราชการนี้แน่นอนลด ทุกอย่างของตัว S เป็นส่วนหนึ่งของการที่จะรักษาให้เขามีปัจจัย 4 ต่อไปจนกระทั่งเขาจะไม่มีชีวิตอยู่ต่อไปในโลกนี้ ความยากของเศรษฐศาสตร์มันอยู่ตรงนี้ ฉะนั้นการพัฒนาในประเทศอื่นมันก็จะเป็นอย่างนี้ ระบบธนาคารพาณิชย์ก็ยังอยู่ แต่ระบบของตลาดทุน ตลาดหุ้นเริ่มมีบทบาทสำคัญขึ้น เป็นแหล่งที่ทุกคนจะลงทุนได้ในตลาดหุ้นนั้นคือ Secondary Market เพื่อที่จะเก็งกำไรในบางส่วน เพื่อจะลงทุนในตลาดทุนในตราสารหนี้หรือพันธบัตรอื่น ๆ ก็เพื่อที่จะให้แน่ใจว่านี้ความสี่ยงน้อย การพัฒนาเริ่มมาบรรจบกันระบบ Rating เริ่มมีความสำคัญและดีขึ้นเรื่อย ๆ กับบริษัทที่ดีพอ เพื่อให้ประชาชนสบายใจที่จะมาซื้อหุ้นกลุ่มที่มี Rating ที่ดี
พันธบัตรรัฐบาลไม่ต้องมี Rating เพราะเป็น Rating ที่สูงที่สุดอยู่แล้ว ก็มีเหมือนกันแต่ว่าสูงที่สุดอยู่แล้วของประเทศ ฉะนั้นประชาชนมีสิทธิเลือกแล้ว Triple A มา Double A Plus มา Double A มา Double A Minus จุดตรงไหนประชาชนมีสิทธิเลือกหมด แต่ Double A Minus ไม่เอาแล้ว เขามีพันธบัตรให้เลือก มีอัตราดอกเบี้ยให้มีหุ้นกู้ มีทั้งแบบ Fixed Rate Floated Rate เขาก็สามารถจะกระจายความเสี่ยงได้ ถ้าเขาเหลือจริง ๆ เขาบอกงั้นเข้าไปตลาดหุ้นได้
ฉะนั้นการลงทุนก็เริ่มออกมาเป็นรูปธรรมที่เป็นระบบในประเทศไทยแล้ว พอเป็นระบบในประเทศไทยหัวใจของมันทำอย่างไรให้มันมีบูรณาการจริง ๆ เราก็ต้องมีกองทุนที่ใหญ่พอแล้วและมากขึ้นเรื่อย ๆ ระบบของการพัฒนากองทุนของภาครัฐก็จะมีสิ่งที่กำลังทำอยู่ในปัจจุบัน มีกบข. ประกันสังคม บำนาญแห่งชาติ ระบบการพัฒนากองทุนในภาคเอกชนก็เริ่มมีกองทุนรวมต่าง ๆ ออกมา หลากหลายขึ้นมาเรื่อย ๆ ในที่สุดก็ต้องมาสอดคล้องแล้วทำอย่างไรตลาดพันธบัตร ตลาดตราสารหนี้จะมีเถียรภาพให้เป็นที่พึ่งของประชาชนในการออมได้ นอกเหนือจากการฝากเงินกับธนาคารอย่าง มันก็จะทำให้อัตราดอกเบี้ย อัตราผลตอบแทนของการออมและอีก dimension หนึ่งของการลงทุนมันเป็นธรรมในตลาด หัวใจสำคัญที่ทำไมกองทุนใหญ่ ๆ มันเกิดไม่ได้หรือกองทุนมันเกิดขึ้นไม่ได้ เพราะสมัยก่อนเรายังไม่เชื่อใจว่าอยู่ดี ๆ บริษัทเล็ก ๆ ที่จะบริหารกองทุนมี Governanceหรือเปล่า มีความโปร่งใสในการบริหารงานหรือไม่ มีหลักการที่ดีหรือไม่ ซึ่ง กลต. เขาได้พัฒนาขึ้นมาถึงระดับที่สามารถที่จะเข้าใจได้แล้วว่าตอนนี้เรามีระบบการกำกับตรวจสอบระบบบัญชีทุก ๆ อย่างจากวิกฤติมา มีการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่รุนแรงมาก ๆ ทุกคนอาจจะไม่เห็น แต่สำหรับผมตอนนั้นเป็นอยู่กับตอนนี้มาเป็นเห็นการพัฒนาโครงสร้างเศรษฐกิจเพื่อช่วยตลาดเงินและตลาดทุนเปลี่ยนแปลงไปสูงมาก ๆ แล้วความพร้อมที่จะสร้างมิติใหม่ในการออมมันเริ่มมาเป็นรูปธรรมได้
ก็รู้สึกว่าวันนี้จะเป็นสิ่งที่ดีที่ผมได้เห็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องการออมทั้งหลายที่มีส่วนวิเคราะห์ในทุก ๆ ขั้นตอนของการสร้างมิติใหม่ของการออมมาประชุมสัมมนาในวันนี้ ก็อยากจะขอให้ช่วยกันคิด ช่วยกันพัฒนาให้ดีที่สุด ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังก็จะพยายามสนับสนุนทุกอย่างให้สำเร็จ ให้ทุกคนนั้นมีผลสำเร็จในการทำงาน เพื่อช่วยกันสร้างมิติใหม่ของการออมนี้ เพราะว่าอันนี้ก็คือการพัฒนาประเทศ การสร้างเสถียรภาพของประเทศ สร้างให้เกิดการลงทุนและสร้าง Balance Growth ด้วย Stability ก็ขอให้ทุกคนประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานและขอให้การสัมมนาในวันนี้จงสัมฤทธิ์ผลตามที่ประส
สุรีย์พร ชัยยะรุ่งสกุล, สุภาภรณ์ จินารักษ์ : ถอดเทป/พิมพ์

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ