สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 5 จับมือสำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร เดินหน้าศึกษาภาวะเศรษฐกิจ สังคม ครัวเรือนเกษตร และการยอมรับนวัตกรรมเกษตรอินทรีย์ โดยวิธีสุ่มตัวอย่าง สัมภาษณ์เกษตรกรรายย่อยที่ทำการปลูกข้าวอินทรีย์และผักอินทรีย์ ปีเพาะปลูก 2548/49 จำนวน 250 ราย ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์จากหน่วยงานภาครัฐ องค์กรเอกชนทั้งในและต่างประเทศในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์และอุบลราชธานี
นายอุดม สิทธิเดช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 5 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากการศึกษาครั้งนี้ที่ได้ดำเนินการไปในระหว่างวันที่ 9 พฤษภาคม — 4 มิถุนายน 2549 นั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบต้นทุนการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์กับเกษตรเคมี รวมทั้งศึกษาสภาพความเป็นอยู่ของครัวเรือนเกษตรอินทรีย์ ตลอดจนทัศนคติและปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับนวัตกรรมเกษตรอินทรีย์
ผลของการออกไปสัมภาษณ์เกษตรกรที่ผลิตสินค้าแบบเกษตรอินทรีย์ พบว่าต้นทุนการผลิตแตกต่างจากเกษตรเคมีเป็นอย่างมาก ซึ่งต้นทุนต่างๆน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด เช่น การที่ต้องไปซื้อปุ๋ยเคมีที่มีราคาแพง , ยาคุมหญ้าหรือยาฆ่าแมลงก็ไม่ต้องซื้อ ใช้สารหมักผสมเองตามความคิดที่ดั้งเดิม นำมาใช้ผสมผสานกับการผลิต ทำให้ต้นทุนการผลิตเกษตรอินทรีย์มีต้นทุนที่ต่ำลง จึงทำให้เกษตรกรได้รับผลตอบแทนจากการขายผลผลิตเกษตรอินทรีย์มากขึ้น ด้านสิ่งแวดล้อม สภาพท้องที่นา เมื่อมีการทำเกษตรอินทรีย์มา 2 — 3 ปีที่ผ่านมา พบว่าสัตว์ต่างๆ เช่น กุ้ง หอย ปู ปลา กบ ได้กลับมามีสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้น ทำให้เกษตรกรมีอาหารบริโภคเพิ่มจากธรรมชาติ มากขึ้น ซึ่งหาได้เองโดยไม่ต้องซื้อ ทำให้ลดค่าใช้จ่ายของครัวเรือนลงตามไปด้วย จากการสอบถามเกษตรกร เกษตรกรมีความสนใจกับการทำเกษตรอินทรีย์เป็นอย่างมาก จึงอยากจะให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องออกไปแนะนำและช่วยเหลือต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นายอุดม สิทธิเดช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 5 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากการศึกษาครั้งนี้ที่ได้ดำเนินการไปในระหว่างวันที่ 9 พฤษภาคม — 4 มิถุนายน 2549 นั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบต้นทุนการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์กับเกษตรเคมี รวมทั้งศึกษาสภาพความเป็นอยู่ของครัวเรือนเกษตรอินทรีย์ ตลอดจนทัศนคติและปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับนวัตกรรมเกษตรอินทรีย์
ผลของการออกไปสัมภาษณ์เกษตรกรที่ผลิตสินค้าแบบเกษตรอินทรีย์ พบว่าต้นทุนการผลิตแตกต่างจากเกษตรเคมีเป็นอย่างมาก ซึ่งต้นทุนต่างๆน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด เช่น การที่ต้องไปซื้อปุ๋ยเคมีที่มีราคาแพง , ยาคุมหญ้าหรือยาฆ่าแมลงก็ไม่ต้องซื้อ ใช้สารหมักผสมเองตามความคิดที่ดั้งเดิม นำมาใช้ผสมผสานกับการผลิต ทำให้ต้นทุนการผลิตเกษตรอินทรีย์มีต้นทุนที่ต่ำลง จึงทำให้เกษตรกรได้รับผลตอบแทนจากการขายผลผลิตเกษตรอินทรีย์มากขึ้น ด้านสิ่งแวดล้อม สภาพท้องที่นา เมื่อมีการทำเกษตรอินทรีย์มา 2 — 3 ปีที่ผ่านมา พบว่าสัตว์ต่างๆ เช่น กุ้ง หอย ปู ปลา กบ ได้กลับมามีสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้น ทำให้เกษตรกรมีอาหารบริโภคเพิ่มจากธรรมชาติ มากขึ้น ซึ่งหาได้เองโดยไม่ต้องซื้อ ทำให้ลดค่าใช้จ่ายของครัวเรือนลงตามไปด้วย จากการสอบถามเกษตรกร เกษตรกรมีความสนใจกับการทำเกษตรอินทรีย์เป็นอย่างมาก จึงอยากจะให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องออกไปแนะนำและช่วยเหลือต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-