1. การผลิต
ภาวะอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษและกระดาษ ในไตรมาสที่ 4 ปี 2548 มีปริมาณการผลิต 226,354.2 ตัน และ 670,204.8 ตัน เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 6.5 และ 0.5 ตามลำดับ เนื่องจากมีการขยายการผลิตเพื่อรองรับความต้องการภายในประเทศและต่างประเทศ ในช่วงเทศกาลคริสมาสต์ ปีใหม่ และตรุษจีน เพื่อจัดพิมพ์ปฏิทิน สมุดบันทึก กระดาษห่อของขวัญ การ์ดต่าง ๆ กระดาษไหว้เจ้า รวมทั้งบรรจุภัณฑ์หีบห่อ
2. การนำเข้าและการส่งออก
2.1 การนำเข้า
ภาวะการนำเข้าเยื่อกระดาษและเศษกระดาษ และสิ่งพิมพ์ ในไตรมาสที่ 4 ปี 2548 มีมูลค่า 84.5 และ 33.9 ล้านเหรียญสหรัฐ ตามลำดับ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น คิดเป็น ร้อยละ 1.9 และ 9.3 ตามลำดับ เนื่องจากมีความต้องการภายในประเทศขยายตัวเพิ่มขึ้นเพื่อใช้ในช่วงเทศกาลคริสมาสต์ ปีใหม่ และตรุษจีน โดยตลาดนำเข้าหลักเยื่อกระดาษและเศษกระดาษของไทย ได้แก่ สหรัฐอเมริกา แคนาดา และสวีเดน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าเยื่อใยยาวที่ไม่สามารถผลิตได้ภายในประเทศ ส่วนตลาดนำเข้าหลักสิ่งพิมพ์ของไทย ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และอังกฤษ โดยส่วนใหญ่นำเข้าสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือที่พิมพ์เป็นเล่ม โบวชัว และแผ่นปลิว
สำหรับภาวะการนำเข้ากระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษในไตรมาสที่ 4 ปี 2548 มีมูลค่า 221.5 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนมีอัตราการขยายตัวลดลงต่อเนื่อง คิดเป็นร้อยละ 0.7 เนื่องจากผู้ผลิตในประเทศสามารถผลิตกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษสนองตอบความต้องการของผู้ใช้ในประเทศเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกระดาษพิมพ์เขียนและกระดาษคราฟท์
2.2 การส่งออก
ภาวะการส่งออกกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ ในไตรมาสที่ 4 ปี 2548 มีมูลค่า 227.9 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 3.1 เนื่องจากปริมาณการผลิตในประเทศเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับความต้องการใช้กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษจากประเทศคู่ค้าที่เพิ่มขึ้นด้วยเข้าสู่เทศกาลคริสมาสต์ ปีใหม่ และตรุษจีน ตลาดส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ มาเลเซีย จีน และ เบลเยี่ยม โดยมีมูลค่าการส่งออกกระดาษพิมพ์เขียนสูงสุด
ส่วนภาวะการส่งออกหนังสือและสิ่งพิมพ์ ในไตรมาสที่ 4 ปี 2548 มีมูลค่า 23.0 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนมีอัตราการขยายตัวลดลง คิดเป็นร้อยละ 30.5 เนื่องจากไตรมาสก่อนมีปริมาณ คำสั่งซื้อจำนวนมากเพื่อนำมาอุปโภคในไตรมาสนี้
3. สรุป
ภาวะการผลิต การนำเข้า และการส่งออกของอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ในไตรมาสนี้ส่วนใหญ่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเพื่อจัดพิมพ์ปฏิทิน สมุดบันทึก กระดาษห่อของขวัญ การ์ดต่าง ๆ กระดาษไหว้เจ้า รวมทั้งบรรจุภัณฑ์หีบห่อ เพื่อรองรับเทศกาลคริสมาสต์ ปีใหม่ และตรุษจีน
4. แนวโน้มไตรมาสที่ 1 ปี 2549
แนวโน้มของภาวะอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ ในไตรมาสหน้าคาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากกระทรวงการคลังจะดำเนินการประกาศลดอัตราอากรและยกเว้นอากรศุลกากรโดยปรับปรุงโครงสร้างอัตราอากรสิ่งพิมพ์ตั้งแต่อุตสาหกรรมต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ประมาณเดือนมกราคม 2549 เพื่อส่งเสริมและสนันสนุนให้คนไทยมีองค์ความรู้ที่มีราคาถูก ต้นทุนต่ำ และเป็นศูนย์กลาง การพิมพ์ในภูมิภาคอาเซียน
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ภาวะอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษและกระดาษ ในไตรมาสที่ 4 ปี 2548 มีปริมาณการผลิต 226,354.2 ตัน และ 670,204.8 ตัน เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 6.5 และ 0.5 ตามลำดับ เนื่องจากมีการขยายการผลิตเพื่อรองรับความต้องการภายในประเทศและต่างประเทศ ในช่วงเทศกาลคริสมาสต์ ปีใหม่ และตรุษจีน เพื่อจัดพิมพ์ปฏิทิน สมุดบันทึก กระดาษห่อของขวัญ การ์ดต่าง ๆ กระดาษไหว้เจ้า รวมทั้งบรรจุภัณฑ์หีบห่อ
2. การนำเข้าและการส่งออก
2.1 การนำเข้า
ภาวะการนำเข้าเยื่อกระดาษและเศษกระดาษ และสิ่งพิมพ์ ในไตรมาสที่ 4 ปี 2548 มีมูลค่า 84.5 และ 33.9 ล้านเหรียญสหรัฐ ตามลำดับ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น คิดเป็น ร้อยละ 1.9 และ 9.3 ตามลำดับ เนื่องจากมีความต้องการภายในประเทศขยายตัวเพิ่มขึ้นเพื่อใช้ในช่วงเทศกาลคริสมาสต์ ปีใหม่ และตรุษจีน โดยตลาดนำเข้าหลักเยื่อกระดาษและเศษกระดาษของไทย ได้แก่ สหรัฐอเมริกา แคนาดา และสวีเดน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าเยื่อใยยาวที่ไม่สามารถผลิตได้ภายในประเทศ ส่วนตลาดนำเข้าหลักสิ่งพิมพ์ของไทย ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และอังกฤษ โดยส่วนใหญ่นำเข้าสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือที่พิมพ์เป็นเล่ม โบวชัว และแผ่นปลิว
สำหรับภาวะการนำเข้ากระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษในไตรมาสที่ 4 ปี 2548 มีมูลค่า 221.5 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนมีอัตราการขยายตัวลดลงต่อเนื่อง คิดเป็นร้อยละ 0.7 เนื่องจากผู้ผลิตในประเทศสามารถผลิตกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษสนองตอบความต้องการของผู้ใช้ในประเทศเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกระดาษพิมพ์เขียนและกระดาษคราฟท์
2.2 การส่งออก
ภาวะการส่งออกกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ ในไตรมาสที่ 4 ปี 2548 มีมูลค่า 227.9 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 3.1 เนื่องจากปริมาณการผลิตในประเทศเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับความต้องการใช้กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษจากประเทศคู่ค้าที่เพิ่มขึ้นด้วยเข้าสู่เทศกาลคริสมาสต์ ปีใหม่ และตรุษจีน ตลาดส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ มาเลเซีย จีน และ เบลเยี่ยม โดยมีมูลค่าการส่งออกกระดาษพิมพ์เขียนสูงสุด
ส่วนภาวะการส่งออกหนังสือและสิ่งพิมพ์ ในไตรมาสที่ 4 ปี 2548 มีมูลค่า 23.0 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนมีอัตราการขยายตัวลดลง คิดเป็นร้อยละ 30.5 เนื่องจากไตรมาสก่อนมีปริมาณ คำสั่งซื้อจำนวนมากเพื่อนำมาอุปโภคในไตรมาสนี้
3. สรุป
ภาวะการผลิต การนำเข้า และการส่งออกของอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ในไตรมาสนี้ส่วนใหญ่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเพื่อจัดพิมพ์ปฏิทิน สมุดบันทึก กระดาษห่อของขวัญ การ์ดต่าง ๆ กระดาษไหว้เจ้า รวมทั้งบรรจุภัณฑ์หีบห่อ เพื่อรองรับเทศกาลคริสมาสต์ ปีใหม่ และตรุษจีน
4. แนวโน้มไตรมาสที่ 1 ปี 2549
แนวโน้มของภาวะอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ ในไตรมาสหน้าคาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากกระทรวงการคลังจะดำเนินการประกาศลดอัตราอากรและยกเว้นอากรศุลกากรโดยปรับปรุงโครงสร้างอัตราอากรสิ่งพิมพ์ตั้งแต่อุตสาหกรรมต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ประมาณเดือนมกราคม 2549 เพื่อส่งเสริมและสนันสนุนให้คนไทยมีองค์ความรู้ที่มีราคาถูก ต้นทุนต่ำ และเป็นศูนย์กลาง การพิมพ์ในภูมิภาคอาเซียน
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-