พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรตั้งแต่วันที่ 16 -22 สิงหาคม 2549

ข่าวทั่วไป Wednesday August 16, 2006 15:00 —กรมอุตุนิยมวิทยา

          พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร  
วันพุธที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2549 ฉบับที่ 98/2549
คาดหมายลักษณะอากาศเพื่อการเกษตรใน 7 วันข้างหน้า
ตั้งแต่วันที่ 16 -22 สิงหาคม 2549
ร่องความกดอากาศต่ำหรือร่องฝนยังคงพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และจะมีกำลังค่อนข้างแรงในช่วงวันที่ 19-22 ส.ค. ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนเพิ่มมากขึ้น โดยมีฝนอยู่ในเกณฑ์ ร้อยละ 50-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทยและอ่าวไทยจะมีกำลังอ่อนลงในช่วงวันที่ 17-20 ส.ค. ซึ่งจะทำให้ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้มีฝนลดลงอยู่ในเกณฑ์ ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ สำหรับคลื่นลมในทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนจะมีกำลังอ่อนลงในช่วงวันที่ 17-22 ส.ค.
คำเตือน
ในช่วงวันที่ 19-22 ส.ค. ขอให้ประชาชนบริเวณพื้นที่ลาดเชิงเขา พื้นที่ใกล้ทางน้ำไหล และพื้นที่ลุ่มของพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณตอนบนและด้านตะวันออกของภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระมัดระวังอันตรายจากน้ำป่าไหลหลากและน้ำท่วมฉับพลัน
ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ ในระยะ 7 วันข้างหน้า มีดังนี้
เหนือ
มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 50-70 ของพื้นที่ตลอดสัปดาห์ โดยจะมีฝนตกหนักบางแห่งทางตอนบนของภาค ส่วนมากในช่วงวันที่ 19-22 ส.ค. ลมแปรปรวน 10-25 กม./ชม.
มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 50-70 ของพื้นที่ตลอดสัปดาห์ โดยจะมีฝนตกหนักบางแห่งทางตอนบนของภาค ส่วนมากในช่วงวันที่ 19-22 ส.ค. ลมแปรปรวน 10-25 กม./ชม. พื้นที่ซึ่งมีฝนตกหนัก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะในพื้นที่เสี่ยงภัย สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะผลแก่ชาวสวนควรระวังการระบาดของโรคผลเน่า นอกจากนี้สวนผลไม้ที่อยู่บริเวณเชิงเขา เกษตรกรควรระวังการกัดเซาะของน้ำบริเวณพื้นที่เพาะปลูกด้วย
ตะวันออกเฉียงเหนือ
มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60- 70 ของพื้นที่ตลอดสัปดาห์ โดยจะมีฝนตกหนักบางแห่งทางตอนบนและด้านตะวันออกของภาค ส่วนมากในช่วงวันที่ 19-22 ส.ค. ลมแปรปรวน 15-30 กม./ชม.
มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60- 70 ของพื้นที่ตลอดสัปดาห์ โดยจะมีฝนตกหนักบางแห่งทางตอนบนและด้านตะวันออกของภาค ส่วนมากในช่วงวันที่ 19-22 ส.ค. ลมแปรปรวน 15-30 กม./ชม. ในช่วงที่มีฝนตกหนักซึ่งทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยเฉพาะในพื้นที่เสี่ยงภัย นอกจากนี้ชาวนาควรระวังและป้องกันการระบาดของหอยเชอรี่โดยใช้ตาข่ายดักบริเวณทางน้ำไหลแล้วจับไปทำลาย
กลาง
มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนตกหนักบางแห่งทางด้านตะวันตก ของภาค ลมตะวันตกเฉียงใต้ 15-30 กม./ชม.
มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนตกหนักบางแห่งทางด้านตะวันตก ของภาค ลมตะวันตกเฉียงใต้ 15-30 กม./ชม. ในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันสภาพอากาศชื้น เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชผักและไม้ผล นอกจากนี้ควรซ่อมแซมหลังคาโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อย่าให้มีรอยรั่ว รวมทั้งทำแผงกำบังฝนสาดให้แก่สัตว์ที่ยังเล็ก เพื่อป้องกันสัตว์เปียกชื้น ทำให้อ่อนแอ และเป็นโรค ได้ง่าย
ตะวันออก
มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ตลอดสัปดาห์ โดยจะมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากบริเวณเทือกเขาและชายฝั่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ 15-35 กม./ชม.
มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ตลอดสัปดาห์ โดยจะมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากบริเวณเทือกเขาและชายฝั่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ 15-35 กม./ชม. สำหรับบริเวณที่มีฝนตกหนัก เกษตรกรควรระวังและป้องกัน น้ำท่วมขังที่อาจเกิดขึ้น ส่วนไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโต ชาวสวนควรตัดแต่งกิ่งให้ทรงพุ่มโปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นบริเวณสวนป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อรา
ใต้
ฝั่งตะวันออกมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 30-50 ของพื้นที่ตลอดสัปดาห์ ส่วนมากทางตอนบน ของภาค ลมตะวันตกเฉียงใต้ 15-35 กม./ชม. ส่วนทางฝั่งตะวันตกมีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดสัปดาห์ ลมตะวันตกเฉียงใต้ 20-35 กม./ชม.
ฝั่งตะวันออกมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 30-50 ของพื้นที่ตลอดสัปดาห์ ส่วนมากทางตอนบน ของภาค ลมตะวันตกเฉียงใต้ 15-35 กม./ชม. ส่วนทางฝั่งตะวันตกมีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดสัปดาห์ ลมตะวันตกเฉียงใต้ 20-35 กม./ชม. สำหรับพื้นที่การเกษตรที่ถูกน้ำท่วมในระยะที่ผ่านมา หากระดับน้ำลดลงแล้ว เกษตรกรควรรีบฟื้นฟูสภาพสวนและแหล่งน้ำให้ใช้ได้ดีดังเดิม ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำบริเวณชายฝั่งควรดูแลสภาพน้ำอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทันทำให้อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74
-สส-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ