นายราเชนทร์ พจนสุนทร อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า คณะกรรมาธิการยุโรปฝ่ายการเกษตรกรรมและการพัฒนาชนบทได้ให้ความเห็นชอบต่อร่างข้อบังคับฉบับใหม่ตามข้อเสนอการจัดระบบการผลิตอาหารและการทำฟาร์มเกษตรอินทรีย์ ที่ COMM (2004)415 final เพื่อตอบสนองต่อแผนปฏิบัติการผลิตอาหารและการทำฟาร์มเกษตรอินทรีย์ของสหภาพยุโรป (European Action Plan for organic food and farming หรือ EAP) ภายใต้นโยบายการเกษตรร่วม (Common Agricultural Policy) ซึ่งคาดว่าจะเริ่มบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2550 โดยสรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. ระเบียบนี้จะระบุถึงวัตถุประสงค์ และหลักการการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ (organic)โดยจะคำนึงถึงสภาพแวดล้อมของแหล่งผลิต และขั้นตอนการพัฒนาต่างๆ
2. ระเบียบนี้จะทำให้มั่นใจได้ว่า วัตถุประสงค์และหลักการผลิตจะถูกนำไปปฏิบัติในทุกขั้นตอนการผลิตของสินค้าเกษตรอินทรีย์ ทั้ง ปศุสัตว์อินทรีย์ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การเพาะปลูกพืช การผลิตอาหารสัตว์ และการผลิตผลิตภัณฑ์อาหารอินทรีย์ด้วย
3. ระเบียบนี้จะช่วยให้ความชัดเจนแก่ผู้บริโภค โดยกำหนดให้ผู้ผลิตติดฉลากกำกับสินค้า EU logo หรือ หากไม่ติดฉลากดังกล่าว ก็ให้ติดฉลาก EU-ORGANIC ซึ่งจะเป็นการรับรองว่าเป็นสินค้า Organic จริงและป้องกันการโฆษณาแอบอ้างว่าผลิตโดยกรรมวิธีเกษตรอินทรีย์
4. ระเบียบนี้สนับสนุนการประเมินความเสี่ยงและปรับปรุงระบบการควบคุมอาหารและอาหารสัตว์อย่างเป็นทางการ ซึ่งจะครอบคลุมอาหารและอาหารสัตว์ทุกประเภท
5. ระเบียบนี้จะส่งเสริมให้สมาชิกทุกประเทศปรับใช้ระเบียบการนำเข้าให้เป็นระเบียบเดียวกัน เพื่อพัฒนาระบบการเคลื่อนย้ายอย่างเสรีของสินค้าเกษตรอินทรีย์ภายในอียู และทำให้ผู้บริโภคมั่นใจว่าสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่วางจำหน่ายในตลาดมีการควบคุมเข้มงวด และมีมาตรฐานสูง
ทั้งนี้ อียูอยู่ระหว่างดำเนินการร่างรายชื่อประเทศที่สามที่มีขั้นตอนการผลิตและระบบการตรวจตราที่เป็นไปตามมาตรฐานที่ปฏิบัติใช้ในอียู (equivalency list) และสามารถส่งสินค้าเข้าอียูได้อย่างถาวร และอยู่ระหว่างการพิจารณาจัดทำรายชื่อหน่วยงานตรวจสอบ (Inspection Bodies) ในประเทศที่สามที่มีหน้าที่ควบคุมดูแล ตรวจตราให้ผู้ผลิต/ผู้ส่งออกของประเทศตนปฏิบัติตามระเบียบและมาตรฐานที่เกี่ยวข้องของอียู และจะเปิดโอกาสให้สินค้านำเข้าสามารถติดฉลาก EU-logoได้
อธิบดี ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ประเทศไทยควรเตรียมความพร้อมทั้งภาครัฐและภาคเอกชน หากอียูเห็นควรตรวจสอบการปฏิบัติการของไทย เพราะหากไทยผ่านการตรวจรับรอง ก็จะช่วยเสริมสร้างศักยภาพการส่งออกสินค้าโดยเฉพาะเกษตรอินทรีย์ของไทยไปตลาดอียู และตลาดอื่นๆด้วย
--กรมการค้าต่างประเทศ--
-สส-
1. ระเบียบนี้จะระบุถึงวัตถุประสงค์ และหลักการการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ (organic)โดยจะคำนึงถึงสภาพแวดล้อมของแหล่งผลิต และขั้นตอนการพัฒนาต่างๆ
2. ระเบียบนี้จะทำให้มั่นใจได้ว่า วัตถุประสงค์และหลักการผลิตจะถูกนำไปปฏิบัติในทุกขั้นตอนการผลิตของสินค้าเกษตรอินทรีย์ ทั้ง ปศุสัตว์อินทรีย์ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การเพาะปลูกพืช การผลิตอาหารสัตว์ และการผลิตผลิตภัณฑ์อาหารอินทรีย์ด้วย
3. ระเบียบนี้จะช่วยให้ความชัดเจนแก่ผู้บริโภค โดยกำหนดให้ผู้ผลิตติดฉลากกำกับสินค้า EU logo หรือ หากไม่ติดฉลากดังกล่าว ก็ให้ติดฉลาก EU-ORGANIC ซึ่งจะเป็นการรับรองว่าเป็นสินค้า Organic จริงและป้องกันการโฆษณาแอบอ้างว่าผลิตโดยกรรมวิธีเกษตรอินทรีย์
4. ระเบียบนี้สนับสนุนการประเมินความเสี่ยงและปรับปรุงระบบการควบคุมอาหารและอาหารสัตว์อย่างเป็นทางการ ซึ่งจะครอบคลุมอาหารและอาหารสัตว์ทุกประเภท
5. ระเบียบนี้จะส่งเสริมให้สมาชิกทุกประเทศปรับใช้ระเบียบการนำเข้าให้เป็นระเบียบเดียวกัน เพื่อพัฒนาระบบการเคลื่อนย้ายอย่างเสรีของสินค้าเกษตรอินทรีย์ภายในอียู และทำให้ผู้บริโภคมั่นใจว่าสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่วางจำหน่ายในตลาดมีการควบคุมเข้มงวด และมีมาตรฐานสูง
ทั้งนี้ อียูอยู่ระหว่างดำเนินการร่างรายชื่อประเทศที่สามที่มีขั้นตอนการผลิตและระบบการตรวจตราที่เป็นไปตามมาตรฐานที่ปฏิบัติใช้ในอียู (equivalency list) และสามารถส่งสินค้าเข้าอียูได้อย่างถาวร และอยู่ระหว่างการพิจารณาจัดทำรายชื่อหน่วยงานตรวจสอบ (Inspection Bodies) ในประเทศที่สามที่มีหน้าที่ควบคุมดูแล ตรวจตราให้ผู้ผลิต/ผู้ส่งออกของประเทศตนปฏิบัติตามระเบียบและมาตรฐานที่เกี่ยวข้องของอียู และจะเปิดโอกาสให้สินค้านำเข้าสามารถติดฉลาก EU-logoได้
อธิบดี ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ประเทศไทยควรเตรียมความพร้อมทั้งภาครัฐและภาคเอกชน หากอียูเห็นควรตรวจสอบการปฏิบัติการของไทย เพราะหากไทยผ่านการตรวจรับรอง ก็จะช่วยเสริมสร้างศักยภาพการส่งออกสินค้าโดยเฉพาะเกษตรอินทรีย์ของไทยไปตลาดอียู และตลาดอื่นๆด้วย
--กรมการค้าต่างประเทศ--
-สส-