แท็ก
เกษตรกร
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
นายปกครอง เกิดสุข ประธานชมรมผู้เลี้ยงกุ้งจังหวัดกระบี่ระบุผลจากสภาพอากาศแปรปรวน ทำให้ผู้เลี้ยงกุ้งต้องรีบจับกุ้งขายในราคาต่ำ เพราะกุ้งมีขนาดเล็ก ขณะที่เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งถูกกดราคาจากผู้รับซื้อ ดังนั้นจึงขอแนะนำผู้เลี้ยงกุ้งให้เลี้ยงกุ้งนานขึ้น เพื่อให้กุ้งมีขนาดใหญ่และขายได้ราคาดี โดยเชื่อว่าราคากุ้ง เดือนกรกฎาคม-สิงหาคมนี้ ราคาจะดีกว่าเดิม
ประธานชมรมผู้เลี้ยงกุ้งจังหวัดกระบี่ เปิดเผยถึงสถานการณ์กุ้งของภาคใต้ว่า ขณะนี้ประสบปัญหาของสภาพอากาศที่แปรปรวน ฝนตกหนักติดต่อกันมาหลายวัน ส่งผลให้เกิดความเสียหาย จึงอยากแนะนำผู้เลี้ยงกุ้งให้อดทน อย่ารีบจับกุ้ง ที่สามารถเลี้ยงต่อได้ ให้พาร์เชียล (partial) จับกุ้งออกบางส่วนโดยเลี้ยงกุ้งที่เหลือให้นานขึ้น เพื่อให้ได้ขนาดใหญ่ เพราะว่ากุ้งไซส์ใหญ่ยังขายได้ราคา เชื่อว่าราคากุ้งจะกลับมาดีประมาณเดือนกรกฎาคม เดือนสิงหาคมศกนี้ เหมือนปีที่แล้ว แม้ว่าขณะนี้ กุ้งที่จับฉุกเฉิน โดยเฉพาะกุ้งไซส์เล็ก (เล็กกว่า 80 ตัว/กก.) จะขายไม่ได้ราคา และกุ้งขนาด 60 ตัว/กก. มีราคาต่ำกว่าต้นทุนที่ 110 บาท/กก. เพราะมีการจับกุ้งเร็วขึ้น หลังจากที่มาลงกุ้งในช่วงเดือนมีนาคม ทำให้จะมีผลผลิตให้จับในเดือนมิถุนายน กรกฎาคม เนื่องจากสภาพดินฟ้าอากาศไม่ดี มีฝนตกเร็ว และหนักกว่าปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลมาจากอิทธิพลของลานิญญา (La Nina) จึงต้องมาจับในเดือนพฤษภาคม มิถุนายน ทำให้มีผลผลิตกุ้งขนาดเล็กเข้าสู่ตลาดมหาชัยจำนวนมากกว่าปกติ
พร้อมกันนี้ ประธานชมรมผู้เลี้ยงกุ้งจังหวัดกระบี่ ได้กล่าวทิ้งท้ายถึงห้องเย็นว่า มีบางรายฮั้วกันไม่ซื้อ เพราะหวังที่จะให้ราคาลงแบบปีที่แล้ว อยากให้ราคาถูกสุด ๆ แล้วค่อยไปซื้อ ซึ่งบางรายกดราคารับซื้อที่ 105-110 บาท ขณะที่ต้นทุนการผลิตกุ้งที่ 60 ตัว ขณะนี้อยู่ที่ 110-120 บาท หากว่ายังเป็นอย่างนี้ ต่อไปช่วง 1-2 เดือนข้างหน้า คงไม่มีผลผลิตกุ้งป้อนให้กับห้องเย็นแน่ จริงๆ แล้ว ตอนนี้ห้องเย็นน่าจะออกมาซื้อกุ้งกันจำนวนมาก ผลิตไว้จำนวนมากเช่นกัน เพื่อรอขายจะดีกว่า อย่ามัวแต่จะปิดๆ เปิดๆ ห้องเย็นหวังจะให้ราคากุ้งถูกกว่านี้ รอไปรอมาอาจเจ็บตัวเหมือนปีที่แล้ว ที่เสนอขายกุ้งมีราคาต่ำ แต่กลับต้องซื้อกุ้งแพงไปส่ง เพราะรีรอที่จะซื้อกุ้งตอนราคาต่ำสุด ที่สำคัญการที่นกยกสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย ออกมาให้ข่าวที่หลายห้างใหญ่ในสหรัฐฯ และอียู โดยตั้งแง่ไม่ยอมรับใบรับรองการตรวจของกรมประมง ทั้งๆ ที่เป็นมาตรฐานฟู้ดเซฟตี้ที่ดีที่สุด และสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ทั้งกระบวนการผลิต แบบไม่มีที่ใดทำได้ การที่นายกสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทยออกมาให้ข่าวแบบนี้ในเวลาที่ราคากุ้งต่ำมากอยู่แล้ว เหมือนจงใจซ้ำเติมอุตสาหกรรมกุ้ง และผู้เลี้ยงกุ้งไทย
ทั้งนี้ โดยปกติแล้วผู้เลี้ยงกุ้งจะอยู่รอดได้ ต้องมีกำไรอย่างน้อยที่ร้อยละ 5-10 สำหรับกุ้งขนาด 60 ตัว/กก. ต้องมีราคาอย่างน้อย 120 บาทขึ้นไป
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (วันที่ 22 — 28 มิ.ย. 49) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,251.10 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 595.36 ตัน สัตว์น้ำจืด 655.73 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.26 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.71 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 116.52 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 31.11 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 51.28 ตัน
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.57 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 28.75 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.82 บาท สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.95 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 61.13 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.18 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 95.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 90.71 บาท ของสัปดาห์ก่อน 4.29 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 165.00 บาท
สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 151.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 15.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 175.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 163.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 12.00 บาท
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 117.23 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 116.19 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.04 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 110.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 105.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 5.00 บาท
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.57 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 58.57 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.43 บาท
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.87 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 6.16 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.29 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 12 - 16 มิ.ย. 2549) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.46 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 28.74 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.28 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 23 ประจำวันที่ 12-18 มิ.ย. 2549--
-พห-
การผลิต
นายปกครอง เกิดสุข ประธานชมรมผู้เลี้ยงกุ้งจังหวัดกระบี่ระบุผลจากสภาพอากาศแปรปรวน ทำให้ผู้เลี้ยงกุ้งต้องรีบจับกุ้งขายในราคาต่ำ เพราะกุ้งมีขนาดเล็ก ขณะที่เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งถูกกดราคาจากผู้รับซื้อ ดังนั้นจึงขอแนะนำผู้เลี้ยงกุ้งให้เลี้ยงกุ้งนานขึ้น เพื่อให้กุ้งมีขนาดใหญ่และขายได้ราคาดี โดยเชื่อว่าราคากุ้ง เดือนกรกฎาคม-สิงหาคมนี้ ราคาจะดีกว่าเดิม
ประธานชมรมผู้เลี้ยงกุ้งจังหวัดกระบี่ เปิดเผยถึงสถานการณ์กุ้งของภาคใต้ว่า ขณะนี้ประสบปัญหาของสภาพอากาศที่แปรปรวน ฝนตกหนักติดต่อกันมาหลายวัน ส่งผลให้เกิดความเสียหาย จึงอยากแนะนำผู้เลี้ยงกุ้งให้อดทน อย่ารีบจับกุ้ง ที่สามารถเลี้ยงต่อได้ ให้พาร์เชียล (partial) จับกุ้งออกบางส่วนโดยเลี้ยงกุ้งที่เหลือให้นานขึ้น เพื่อให้ได้ขนาดใหญ่ เพราะว่ากุ้งไซส์ใหญ่ยังขายได้ราคา เชื่อว่าราคากุ้งจะกลับมาดีประมาณเดือนกรกฎาคม เดือนสิงหาคมศกนี้ เหมือนปีที่แล้ว แม้ว่าขณะนี้ กุ้งที่จับฉุกเฉิน โดยเฉพาะกุ้งไซส์เล็ก (เล็กกว่า 80 ตัว/กก.) จะขายไม่ได้ราคา และกุ้งขนาด 60 ตัว/กก. มีราคาต่ำกว่าต้นทุนที่ 110 บาท/กก. เพราะมีการจับกุ้งเร็วขึ้น หลังจากที่มาลงกุ้งในช่วงเดือนมีนาคม ทำให้จะมีผลผลิตให้จับในเดือนมิถุนายน กรกฎาคม เนื่องจากสภาพดินฟ้าอากาศไม่ดี มีฝนตกเร็ว และหนักกว่าปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลมาจากอิทธิพลของลานิญญา (La Nina) จึงต้องมาจับในเดือนพฤษภาคม มิถุนายน ทำให้มีผลผลิตกุ้งขนาดเล็กเข้าสู่ตลาดมหาชัยจำนวนมากกว่าปกติ
พร้อมกันนี้ ประธานชมรมผู้เลี้ยงกุ้งจังหวัดกระบี่ ได้กล่าวทิ้งท้ายถึงห้องเย็นว่า มีบางรายฮั้วกันไม่ซื้อ เพราะหวังที่จะให้ราคาลงแบบปีที่แล้ว อยากให้ราคาถูกสุด ๆ แล้วค่อยไปซื้อ ซึ่งบางรายกดราคารับซื้อที่ 105-110 บาท ขณะที่ต้นทุนการผลิตกุ้งที่ 60 ตัว ขณะนี้อยู่ที่ 110-120 บาท หากว่ายังเป็นอย่างนี้ ต่อไปช่วง 1-2 เดือนข้างหน้า คงไม่มีผลผลิตกุ้งป้อนให้กับห้องเย็นแน่ จริงๆ แล้ว ตอนนี้ห้องเย็นน่าจะออกมาซื้อกุ้งกันจำนวนมาก ผลิตไว้จำนวนมากเช่นกัน เพื่อรอขายจะดีกว่า อย่ามัวแต่จะปิดๆ เปิดๆ ห้องเย็นหวังจะให้ราคากุ้งถูกกว่านี้ รอไปรอมาอาจเจ็บตัวเหมือนปีที่แล้ว ที่เสนอขายกุ้งมีราคาต่ำ แต่กลับต้องซื้อกุ้งแพงไปส่ง เพราะรีรอที่จะซื้อกุ้งตอนราคาต่ำสุด ที่สำคัญการที่นกยกสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย ออกมาให้ข่าวที่หลายห้างใหญ่ในสหรัฐฯ และอียู โดยตั้งแง่ไม่ยอมรับใบรับรองการตรวจของกรมประมง ทั้งๆ ที่เป็นมาตรฐานฟู้ดเซฟตี้ที่ดีที่สุด และสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ทั้งกระบวนการผลิต แบบไม่มีที่ใดทำได้ การที่นายกสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทยออกมาให้ข่าวแบบนี้ในเวลาที่ราคากุ้งต่ำมากอยู่แล้ว เหมือนจงใจซ้ำเติมอุตสาหกรรมกุ้ง และผู้เลี้ยงกุ้งไทย
ทั้งนี้ โดยปกติแล้วผู้เลี้ยงกุ้งจะอยู่รอดได้ ต้องมีกำไรอย่างน้อยที่ร้อยละ 5-10 สำหรับกุ้งขนาด 60 ตัว/กก. ต้องมีราคาอย่างน้อย 120 บาทขึ้นไป
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (วันที่ 22 — 28 มิ.ย. 49) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,251.10 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 595.36 ตัน สัตว์น้ำจืด 655.73 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.26 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.71 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 116.52 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 31.11 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 51.28 ตัน
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.57 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 28.75 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.82 บาท สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.95 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 61.13 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.18 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 95.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 90.71 บาท ของสัปดาห์ก่อน 4.29 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 165.00 บาท
สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 151.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 15.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 175.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 163.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 12.00 บาท
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 117.23 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 116.19 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.04 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 110.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 105.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 5.00 บาท
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.57 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 58.57 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.43 บาท
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.87 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 6.16 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.29 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 12 - 16 มิ.ย. 2549) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.46 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 28.74 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.28 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 23 ประจำวันที่ 12-18 มิ.ย. 2549--
-พห-