สำรวจศักยภาพ SME ทั่วเอเซีย จีน/อินเดีย ขีดความสามารถสูง

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday May 31, 2006 16:53 —กรมส่งเสริมการส่งออก

          นิตยสารยูพีเอส เอเซีย บิสซิเนส ได้ทำการสำรวจความเห็นของนักธุรกิจ SME ในหลายประเทศเป็นจำนวน 1,203 ราย เกือบ 70% ของผู้ให้สัมภาษณ์คาดว่าการค้าระหว่างประเทศในเอเซียด้วยกันจะเติบโตขึ้น ในขณะที่ 50% มีความเชื่อมั่นว่าการเติบโตทางการค้าของเอเซียและสหรัฐฯหรือยุโรป 71% เห็นว่าอำนาจทางเศรษฐกิจของเอเซียจะเติบโตอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่น้อยกว่า 50% มองว่าอำนาจทางเศรษฐกิจของภูมิภาคอื่นๆ จะเติบโตในระยะ 12 เดือนข้างหน้า
โดยภาพรวมแล้วผู้นำองค์กรธุรกิจ SME ทั่วภูมิภาคเอเซียเชื่อมั่นในศักยภาพขององค์กรตนว่าได้มีการพัฒนาในระยะ 12 เดือนที่ผ่านมาแต่กว่าครึ่งหนึ่งของผู้บริหารองค์กร SME ส่วนใหญ่ในทุกประเทศยกเว้นฮ่องกงและญีปุ่นได้คาดว่าในปี 2549 น่าจะปรับตัวดีขึ้น เกาหลีเป็นประเทศที่มีตัวเลขการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด โดยประมาณ 2 ใน 3 ของผู้บริหาร ส่วนในอินเดีย ไทย และจีน คาดว่าจะมีการจ้างงานเพิ่มมากขึ้นในขณะที่ประเทศอื่นๆ ยังคงไม่มีการเปลี่ยนแปลงจำนวนพนักงานมากนัก
สำหรับศักยภาพในการแข่งขันของ SME ในประเทศของประเทศต่างๆ ผู้บริหารมีความเชื่อที่ว่าจีนมีความสามารถในการแข่งขันสูงสุดโดยมีญี่ปุ่นมีศักยภาพสูงเป็นอันดับ 2 เกาหลีเลื่อนขึ้นมาเป็นอันดับ 3 และฮ่องกง กลายเป็นอันดับ 4 ตามด้วยไต้หวันและสิงคโปร์ ส่วนอินเดียเป็นประเทศที่น่าจับตามองของประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาค เช่น ไทย ฮ่องกง ไต้หวัน และเกาหลี เนื่องจากเชื่อว่าอินเดียจะมีศักยภาพในการแข่งขันเพิ่มมากขึ้นถึง 9% ซึ่งจะส่งผลให้อินเดียกำลังเป็นดาวรุ่งของเอเซีย ด้านปัจจัยที่ส่งเสริมและมีผลต่อความสามารถในการแข่งขัน ผู้บริหารส่วนใหญ่เชื่อว่ายังขาดปัจจัยด้านการบริหารการจัดการที่ดี เช่น การขาดแคลนนวัตกรรมบุคคลากรที่มีความสามารถ และการเข้าถึงแหล่งเงินทุนและทุนในการดำเนินการ ซึ่งจะส่งผลให้ 3 ปัจจัยดังกล่าวเป็นอุปสรรคที่สำคัญ
ประเด็นวิเคราะห์:
ปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาขององค์กร SME โดยรวมแล้วจะเป็นปัญหาในเรื่องกระแสเงินสดและเงินทุนนโยบายและระเบียบกฎเกณฑ์ของภาครัฐ และการจ้างบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถนับว่าเป็นปัญหาที่สำคัญที่สุดของ SME โดยเฉพาะผู้บริหารส่วนใหญ่ในประเทศพัฒนาแล้วกังวลมากที่สุดคือค่าจ้างแรงงานที่ปรับตัวสูงขึ้น ในขณะที่ประเทศที่พัฒนาน้อยกว่าเห็นว่าปัญหาราคาวัตถุดิบและราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นเรื่องสำคัญที่สุด
ที่มา: http://www.depthai.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ