1. จีนเป็นตลาดนำเข้าสำคัญอันดับ 2 ของโลก รองจากสหรัฐฯ ในปี 2548 มูลค่าการนำเข้า660,221.766 ล้านเหรียญสหรัฐ
เพิ่มขึ้นร้อยละ17.73 และในไตรมาสแรก 2549 มีมูลค่านำเข้า 174,037.678 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.93
2. แหล่งนำเข้าสำคัญของจีน ในเดือนมกราคม — มีนาคม 2549
- ญี่ปุ่น มูลค่า 25,008.092 ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วนร้อยละ 14.37 เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.60
- เกาหลีใต้ มูลค่า 19,888.996 ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วนร้อยละ 11.43 เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.78
- ไต้หวัน มูลค่า 19,407.942 ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วนร้อยละ 11.15 เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.84
- สหรัฐฯ มูลค่า 13,510.530 ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วนร้อยละ 7.76 เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.60
ไทยอยู่อันดับที่ 11 มูลค่า 3,888.262 ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วนร้อยละ 2.23 เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.71
3. เศรษฐกิจของจีนปี 2549 ทั้งปีคาดว่าจะขยายตัวประมาณร้อยละ 9.4 จาก 9.2% ในปี 2548 ในขณะที่การเติบโต
จะอยู่ในระดับที่ช้ากว่าการขยายตัวเมื่อปีที่แล้ว
4. จีนได้เปรียบดุลการค้ากับทั่วโลกในปี 2548 มูลค่า 102,104.994 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 210.95 ได้
เปรียบดุลการค้ากับสหรัฐฯ เป็นอันดับ 1 มูลค่า 114,203.746 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่ขาดดุลการค้ากับไต้หวันเป็น
อันดับ 1 มูลค่า 58,096.331 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.44 สำหรับกับประเทศไทยจีนขาดดุลเป็นมูลค่า
6,175.125 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.63 ในช่วงไตรมาสแรกปี 2549 จีนได้เปรียบดุลการค้ามูลค่า
23,105.266 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.32 โดยเสียเปรียบดุลการค้ากับสหรัฐฯ มูลค่า 28,589.327
ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.57 ส่วนกับประเทศไทยจีนเสียเปรียบดุลการค้าเป็นมูลค่า 1,955.867 ล้านเหรียญสหรัฐ
5. จีนเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 3 ของไทย โดยมีสัดส่วนร้อยละ 8.28 ของมูลค่าการส่งออกปี 2548 หรือ
มูลค่า 9,183.39 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.07 ในไตรมาสแรกปี 2549 ไทยส่งสินค้าออกไปจีนมูลค่า
2,563.62 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.68
6. สินค้าไทยส่งออกไปจีน 25 อันดับแรกปี 2548 มีสัดส่วนรวมกันร้อยละ 87.46 ของมูลค่าการส่งออกไปจีนเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 87.46 ในจำนวนนี้มีสินค้าส่งออกที่มีอัตราการส่งออกเพิ่มขึ้นสูง ดังนี้
- เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 100 มี 7 รายการ คือ น้ำมันดิบ แผงวงจรไฟฟ้า น้ำมันสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์ยาง
วงจรพิมพ์ แผงสวิทซ์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้า และ เลนซ์
- เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 50 มี 5 รายการ ได้แก่ เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ทองแดงและของทำ
ด้วยทองแดง เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล
- ลดลงมากกว่าร้อยละ 50 มี 1 รายการ ได้แก่ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์
สถิติการส่งออกสินค้าไทยไปจีนที่มีมูลค่าการเปลี่ยนแปลงสูง
ตลาด อันดับที่ มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าการ % สัดส่วน ร้อยละ
2548 2549 เปลี่ยนแปลง เปลี่ยนแปลง 2548 2549
(ม.ค.-มี.ค.) (ม.ค.-มี.ค.) ม.ค.-มี.ค
1. สินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกไปจีนเพิ่มขึ้น
มากกว่าร้อยละ 100 มี 7 รายการ
- น้ำมันดิบ 5 37.16 154.73 117.57 316.36 5.86 6.04
- แผงวงจรไฟฟ้า 6 68.60 137.98 69.38 101.14 4.53 5.38
- น้ำมันสำเร็จรูป 8 20.25 79.63 59.38 293.29 0.90 3.11
- ผลิตภัณฑ์ยาง 11 23.99 51.43 27.44 114.36 1.39 2.01
- วงจรพิมพ์ 17 11.04 25.23 14.19 128.66 0.85 0.98
- แผงสวิทซ์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้า 21 6.21 19.54 13.33 214.54 0.52 0.76
- เลนซ์ 22 2.06 19.40 17.34 843.17 0.22 0.76
2. สินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกไปจีนเพิ่มขึ้น
มากกว่าร้อยละ 50 มี 5 รายการ
- เคมีภัณฑ์ 4 99.38 165.85 66.47 66.88 5.69 6.47
- ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง 7 83.90 129.72 39.82 54.61 4.18 5.06
- ข้าว 9 35.67 69.59 33.92 95.12 2.12 2.71
- ทองแดงและของทำด้วยทองแดง 13 21.73 35.73 14.00 64.43 1.05 1.39
- เครื่องจักรและส่วนประกอบ 18 14.89 22.92 8.03 53.97 0.90 0.89
2. สินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกไปจีนลดลง
มากกว่าร้อยละ 50 มี 1 รายการ
- เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ 20 68.39 21.44 -46.95 -68.65 2.73 0.84
รวบรวมโดย : ศูนย์สารสนเทศการค้าระหว่างประเทศ
จากสถิติสินค้าไทยส่งออกไปจีน 25 อันดับแรกในไตรมาสแรก 2549 มีสินค้าที่ไทยสามารถครองสัดส่วนสูงเป็น
อันดับ 1 ในตลาดนำเข้าของจีน 5 รายการ ดังนี้
1.) ยางพารา (HS.4001) ในช่วงไตรมาสแรกจีนนำเข้ายางพาราจากตลาดโลกมูลค่า 587.004
ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 48.17 นำเข้าจากไทยร้อยละ 43.29 มูลค่า 254.126 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ
19.31 ในขณะที่นำเข้าจากมาเลเซียและอินโดนีเซีย เป็นอันดับ 2 และ 3 สัดส่วนร้อยละ 29.40 และ17.81
เพิ่มขึ้นร้อยละ 66.54 และ 118.53 ตามลำดับ
2.) มันสำปะหลัง (HS.0714) มันอัดเม็ดและมันเส้น จีนนำเข้าจากตลาดโลกเป็นมูลค่า 163.328
ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 52.93 ในช่วงไตรมาสแรก 2549 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ
69.86 มูลค่า 114.098 ล้านเหรียญสหรัฐ นำเข้าจากเวียดนามเป็นอันดับสองมูลค่า 42.720 ล้านเหรียญสหรัฐ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 142.00 ส่วนการนำเข้าจากประเทศอื่นมีเพียงเล็กน้อย
3.) ข้าว (HS.1006) จีนนำเข้าข้าวจากตลาดโลกมูลค่า 87.396 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ
68.15 ในช่วงไตรมาสแรก 2549 โดยนำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 99.14 มูลค่า 85.77
ล้านเหรียญสหรัฐ และนำเข้าจากเวียดนามเป็นอันดับ 2 สัดส่วนร้อยละ 1.73 มูลค่า 1.513 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง
ร้อยละ 54.00 ส่วนการนำเข้าจากประเทศอื่นมีเพียงเล็กน้อย
4.) ผลิตภัณฑ์ยาง (HS.4005) ยางผสม (Compounded) ชนิดอันวัลแคไนชในลักษณะขั้นปฐมใน
ไตรมาสแรกปี 2549 จีนนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 142.228 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 102.17 นำเข้า
จากไทยเป็นอันดับหนึ่ง สัดส่วนร้อยละ 35.14 มูลค่า 49.980 ล้านเหรียญสหรัฐเพิ่มขึ้นร้อยละ 136.74 รองลงไป
เป็นการนำเข้าจากมาเลเซียและเวียดนาม สัดส่วนร้อยละ 19.90 และ 12.66 ตามลำดับ ส่วนการนำเข้าจาก
ประเทศอื่นมีเพียงเล็กน้อย
5.) ผลิตภัณฑ์ไม้โดยเฉพาะปารติเคลบอร์ด (HS.4410) ในไตรมาสแรก 2549 จีนนำเข้าจากตลาดโลก
เป็นมูลค่า 26.996 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.36 โดยนำเข้าจากไทยเป็นอันดับหนึ่ง สัดส่วนร้อยละ 48.31
มูลค่า 13.041 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 40.59 รองลงไปเป็นการนำเข้าจากมาเลเซีย เยอรมนี และออสเตรเลีย
7. ไทยนำเข้าสินค้าจากประเทศจีนในช่วงไตรมาสแรก 2549 มูลค่า 2,888.24 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ
13.91 โดยเป็นสินค้าทุนร้อยละ 50.11 รองลงมาเป็นสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูปร้อยละ 34.66 สินค้าบริโภคร้อยละ
14.01 สินค้าเชื้อเพลิง สินค้ายานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่งและสินค้าอื่นๆ รวมกันอีกร้อยละ 1.22
8. การค้าระหว่างประเทศไทยกับจีนไตรมาสแรก 2549 มีมูลค่า 5,451.86 ล้านเหรียญสหรัฐเป็นการส่งออก
2,563.62 ล้านเหรียญสหรัฐ การนำเข้า 2,888.24 ล้านเหรียญสหรัฐ ไทยเสียเปรียบดุลการค้ากับจีนเป็นมูลค่า
324.63 ล้านเหรียญสหรัฐ
9. การค้าผักผลไม้ระหว่างไทยกับจีนในไตรมาสแรก 2549
ไทยส่งออกผักผลไม้ไปจีนมูลค่า 117.645 ล้านเหรียญสหรัฐ เทียบกับ 80.803 ล้านเหรียญสหรัฐของ
ปี 2548 ในช่วงระยะเดียวกันเพิ่มขึ้นร้อยละ 45.59 ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 32.77 ล้านเหรียญสหรัฐเทียบกับ
25.768 ล้านเหรียญสหรัฐของปี 2548 ในช่วงระยะเดียวกันเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.71 ไทยได้เปรียบดุลการค้าในสินค้า
ผัก ผลไม้ เป็นมูลค่า 84.875 ล้านเหรียญสหรัฐ ในเดือนมกราคม — มีนาคม 2549 สินค้าในหมวดผัก ผลไม้
ส่งออกไปจีนประกอบด้วย มันสำปะหลังร้อยละ 89.28 ผลไม้สดแช่เย็นและแช่แข็งร้อยละ 10.58 ผักร้อยละ 0.14
ข้อมูลเพิ่มเติมและข้อคิดเห็น
1. สำนักข่าวไชน่าเดลีได้รายงานเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2549 ว่า กระทรวงพาณิชย์จีนได้ประกาศ
ตัวเลขมูลค่าการค้าระหว่างประเทศไตรมาสแรกของปี 2549 มีมูลค่า 371.300 ล้านเหรียญสหรัฐเพิ่มขึ้นร้อยละ
25.8 เมื่อเทียบกับปี 2548 ในช่วงระยะเดียวกัน โดยการส่งออก197.300 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.6
ส่วนการนำเข้า 174,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.8 ได้เปรียบดุลการค้าสูงถึง 233,100 ล้านเหรียญ
สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 41.4 กระทรวงพาณิชย์จีนได้คาดการณ์สถาณการณ์การค้าระหว่างประเทศปี 2549 จะมีมูลค่า
สูงเกิน 1,600,000 ล้านเหรียญสหรัฐหรือขยายตัวมากกว่าร้อยละ 15 และจะได้เปรียบดุลการค้าเป็นมูลค่า 101,880
ล้านเหรียญสหรัฐ พร้อมทั้งประเมินว่าตัวเลขได้เปรียบดุลการค้าปีนี้จะลดลงเนื่องจากมาตรการส่งเสริมการนำเข้า
และการยกเลิกการคืนภาษีและเก็บภาษีการส่งออกสินค้าบางรายการเป็นต้น ด้านการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจปี 2549
คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 9.5
2. กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้คาดการณ์ตัวเลขบัญชีเดินสะพัดของเงินในปี 2549 จะ
อยู่ที่ประมาณร้อยละ 7 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) เช่นเดียวกับปี 2548 เนื่องจากการส่งออกเติบโต
ต่อเนื่อง ส่วนการนำเข้าก็ขยายตัวอย่างรวดเร็วตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2548 แสดงให้เห็นว่าการบริโภคภายในประเทศ
สูงขึ้น และยังได้คาดว่าภายในปี 2010 บัญชีเดินสะพัดของจีนจะเกินดุลคิดเป็นร้อยละ 6 ของ GDP
อย่างไรก็ตาม IMF ให้ความเห็นว่าจีนควรปรับเปลี่ยนนโยบายมหภาคและปฏิรูปโครงสร้างตลาดเพื่อให้
สอดคล้องกับความจริง เพราะปัจจุบันภาครัฐได้กระตุ้นผ่านการยืดหยุ่น อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศมากขึ้น
ตลอดจนการถ่ายโอนงบประมาณแผ่นดินไปใช้จ่ายในโครงการด้านสังคม ขณะที่การปฏิรูปตลาดการเงินและการธนาคาร
จะช่วยเพิ่มการบริโภคและลดการเก็บออม เพื่อใช้ยามฉุกเฉิน
3. ปี 2549 นับเป็นปีแรกของแผนพัฒนา 5 ปี ฉบับที่ 11 ของจีนที่รัฐบาลหวังไว้ว่าระบบเศรษฐกิจและ
สังคมจีนจะเปลี่ยนผ่านจาก ‘ยุคแห่งการลอกเลียน’เข้าสู่ ‘ยุคแห่งการสร้างสรรค์’ โดยในปี 2548 เศรษฐกิจจีนใน
ภาพรวมบ่งชี้ให้เห็นถึงภาวะในปัจจุบันและอนาคตของเศรษฐกิจจีน ซึ่งในปีนี้ได้มี การควบรวมกิจการของบริษัทจีนกับ
บริษัทต่างชาติใหญ่ๆ เช่น IBM และ UNOCAL เป็นต้น ซึ่งจีนได้เปลี่ยนสถานะตนเองจากผู้ถูกซื้อกลายเป็นผู้ซื้อ และ
นับได้ว่าปี 2548 เป็นปีหนึ่งแห่งการควบรวมกิจการของเศรษฐกิจจีน และสามารถบ่งชี้ได้ว่าจีนเริ่มดำเนินยุทธศาสตร์
การขยายตัวออกสู่โลกภายนอกแล้ว ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าบริษัทจีนส่วนหนึ่งมีความเข้มแข็งและมีรากฐานที่ดีพอต่อการเริ่ม
ก้าวเข้าเวทีระดับโลกด้วยเช่นกัน
4. จากรายงานข่าวของ นิวยอร์ ไทมส์ ได้มีนักเศรษฐศาสตร์บางรายให้ความเห็นว่า ปัจจุบันเศรษฐกิจ
ของจีนกำลังรุ่งเรืองและมีขนาดใหญ่อย่างเห็นได้ชัด โดยไต่อันดับขึ้นเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่อันดับ 4 ของโลก
ในปัจจุบันถึงกับมีการทำนายว่าในอนาคตจีนจะเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจแทนที่สหรัฐฯได้ภายในปี 2578 หรืออีก 29 ปี
ข้างหน้า
อย่างไรก็ตามเมื่อเปรียบเทียบเศรษฐกิจสหรัฐฯ และจีนในขณะนี้ จีนยังยากจนกว่าสหรัฐฯ มากและยังเป็น
เศรษฐกิจที่พึ่งการลงทุนจากต่างประเทศค่อนข้างมาก
ที่มา: http://www.depthai.go.th