สศอ. เผยอุตฯ ชิ้นส่วนยานยนต์ไทยเยี่ยม ขยายตัวดี ส่งออกสดใส ตามแรงหนุนจากฐานการผลิตยานยนต์ที่แข็งแกร่ง ลุยตลาดใหม่ต่อเนื่อง ชี้ตลาด กัมพูชา-สหราชอาณาจักร-บราซิล ชิ้นส่วนจักรยานยนต์ อนาคตสดใส
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ได้สรุปภาวะอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ไทยไตรมาสที่ 2 ปี 2549 พบว่าเป็นอุตสาหกรรมที่มีการขยายตัวได้ดีอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลมาจากการเป็นฐานการผลิตยานยนต์ที่แข็งแกร่งขึ้นตามลำดับของไทย โดยมีการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์(OEM) ในช่วงครึ่งปีแรก 2549 มีมูลค่า 41,803.74 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.85 ชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ มีมูลค่าส่งออก 2,441.40 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.27 เมื่อเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2548
สำหรับการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์(OEM) มีมูลค่า 5,897.49 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.62 เมื่อเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2548 แต่ชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ มีมูลค่าส่งออก 252.42 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 29.32 ทั้งนี้ เนื่องจากการส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ของไทยได้รับผลกระทบจากการที่จีนได้มีการปรับเป้าหมายที่จะส่งออกชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์ให้เร็วขึ้น จากเป้าหมายเดิมที่กำหนดไว้ 10 ปี เป็นภายใน 5 ปี โดยเมื่อปี 2548 จีนได้เริ่มมีการผลิตและส่งออกรถจักรยานยนต์ และชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์เพิ่มมากขึ้น และลดการนำเข้าชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ด้วย ซึ่งจากเหตุดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่อผู้ผลิต และส่งออกรถจักยานยนต์และชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ทั่วโลก
“ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์จากประเทศไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2549 ได้แก่ ญี่ปุ่น มาเลเซีย และแอฟริกาใต้ โดยมีการขยายตัว เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 21.92, 24.52 และ 24.66 ตามลำดับ ส่วนประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ ได้แก่ ฟิลิปปินส์ มีการขยายตัวร้อยละ 109.04 แต่ยังมีประเทศที่มีการส่งออกหดตัว ได้แก่ อินโดนีเซีย และเวียดนาม ซึ่งมีการหดตัวร้อยละ 32.80 และ 47.65 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ผู้ส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ของไทยได้ขยายการส่งออกไปในตลาดอื่นมากขึ้น ได้แก่ กัมพูชา สหราชอาณาจักร และบราซิล เพื่อเป็นการเปิดตลาดใหม่และหนีคู่แข่งที่สำคัญอย่างประเทศจีน โดยมีการขยายตัวร้อยละ 225.08, 164.36 และ 116.20 ตามลำดับ ซึ่งถือว่าเป็นตลาดที่สดใส”
นอกจากนี้ ดร.อรรชกา ยังได้กล่าวอีกว่า จากการขยายตัวของการส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์ไตรมาสที่ 2 ที่ สศอ. ได้ทำการวิเคราะห์และได้รายงานตัวเลขออกไป สามารถคาดการณ์ได้ว่าในช่วงครึ่งปีหลัง 2549 การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์(OEM) และชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ จะยังคงมีการขยายตัว สำหรับการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์(OEM) เพื่อนำไปประกอบเป็นรถจักรยานยนต์สำเร็จรูปในประเทศผู้นำเข้า ยังขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง แต่สำหรับการส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ของไทยมีลู่ทางที่ไม่แจ่มใสนัก เนื่องจากต้องเผชิญการแข่งขันอย่างรุนแรงจากประเทศจีน จึงต้องเร่งที่จะปรับปรุงคุณภาพมาตรฐานผลิตภัณฑ์ให้เทียบเท่าหรือสูงกว่ามาตรฐานสากล ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐและเอกชนในการดำเนินการเร่งปรับปรุงมาตรฐานของไทย เพื่อพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ของไทย เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคจากผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้คุณภาพตามมาตรฐาน
วันที่ 13 กันยายน 2549
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ได้สรุปภาวะอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ไทยไตรมาสที่ 2 ปี 2549 พบว่าเป็นอุตสาหกรรมที่มีการขยายตัวได้ดีอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลมาจากการเป็นฐานการผลิตยานยนต์ที่แข็งแกร่งขึ้นตามลำดับของไทย โดยมีการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์(OEM) ในช่วงครึ่งปีแรก 2549 มีมูลค่า 41,803.74 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.85 ชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ มีมูลค่าส่งออก 2,441.40 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.27 เมื่อเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2548
สำหรับการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์(OEM) มีมูลค่า 5,897.49 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.62 เมื่อเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2548 แต่ชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ มีมูลค่าส่งออก 252.42 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 29.32 ทั้งนี้ เนื่องจากการส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ของไทยได้รับผลกระทบจากการที่จีนได้มีการปรับเป้าหมายที่จะส่งออกชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์ให้เร็วขึ้น จากเป้าหมายเดิมที่กำหนดไว้ 10 ปี เป็นภายใน 5 ปี โดยเมื่อปี 2548 จีนได้เริ่มมีการผลิตและส่งออกรถจักรยานยนต์ และชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์เพิ่มมากขึ้น และลดการนำเข้าชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ด้วย ซึ่งจากเหตุดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่อผู้ผลิต และส่งออกรถจักยานยนต์และชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ทั่วโลก
“ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์จากประเทศไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2549 ได้แก่ ญี่ปุ่น มาเลเซีย และแอฟริกาใต้ โดยมีการขยายตัว เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 21.92, 24.52 และ 24.66 ตามลำดับ ส่วนประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ ได้แก่ ฟิลิปปินส์ มีการขยายตัวร้อยละ 109.04 แต่ยังมีประเทศที่มีการส่งออกหดตัว ได้แก่ อินโดนีเซีย และเวียดนาม ซึ่งมีการหดตัวร้อยละ 32.80 และ 47.65 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ผู้ส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ของไทยได้ขยายการส่งออกไปในตลาดอื่นมากขึ้น ได้แก่ กัมพูชา สหราชอาณาจักร และบราซิล เพื่อเป็นการเปิดตลาดใหม่และหนีคู่แข่งที่สำคัญอย่างประเทศจีน โดยมีการขยายตัวร้อยละ 225.08, 164.36 และ 116.20 ตามลำดับ ซึ่งถือว่าเป็นตลาดที่สดใส”
นอกจากนี้ ดร.อรรชกา ยังได้กล่าวอีกว่า จากการขยายตัวของการส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์ไตรมาสที่ 2 ที่ สศอ. ได้ทำการวิเคราะห์และได้รายงานตัวเลขออกไป สามารถคาดการณ์ได้ว่าในช่วงครึ่งปีหลัง 2549 การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์(OEM) และชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ จะยังคงมีการขยายตัว สำหรับการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์(OEM) เพื่อนำไปประกอบเป็นรถจักรยานยนต์สำเร็จรูปในประเทศผู้นำเข้า ยังขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง แต่สำหรับการส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ของไทยมีลู่ทางที่ไม่แจ่มใสนัก เนื่องจากต้องเผชิญการแข่งขันอย่างรุนแรงจากประเทศจีน จึงต้องเร่งที่จะปรับปรุงคุณภาพมาตรฐานผลิตภัณฑ์ให้เทียบเท่าหรือสูงกว่ามาตรฐานสากล ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐและเอกชนในการดำเนินการเร่งปรับปรุงมาตรฐานของไทย เพื่อพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ของไทย เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคจากผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้คุณภาพตามมาตรฐาน
วันที่ 13 กันยายน 2549
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-