ทางรอดธุรกิจสิ่งทอไทย
มองมุมใหม่ :ผศ.ดร.ธีรยุส วัฒนาศุภโชค คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพธุรกิจ วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549
อุตสาหกรรมสิ่งทอไทยมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจโดยรวม เพราะเป็นหนึ่งในธุรกิจที่สร้างรายได้ติดอันดับต้น รวมถึงยังเป็นธุรกิจที่มีการจ้างงานสูง ก่อให้เกิดการกระจายรายได้สู่ประชากร ทั้งที่เป็นแรงงานมีฝีมือและแรงงานไร้ฝีมือ อีกทั้งยังมีความเกี่ยวเนื่องโยงใยกันไปในธุรกิจอื่น นับจากวัตถุดิบ ฝ้าย ไหม ไปจนถึงการทอผ้าผืน และการตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป เรียกว่าตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ แต่มาถึงวันนี้ ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับสิ่งทอกำลังประสบปัญหาภัยคุกคามจากการแข่งขันของประเทศคู่แข่ง ที่มีต้นทุนค่าแรงงานต่ำมากๆ อย่างเวียดนามและจีน โดยเฉพาะจีนเป็นอุปสรรคที่รุนแรงมาก สินค้าด้านสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปก็มีการเจาะตลาดเข้ามาในประเทศ โดยใช้สงครามราคาที่รุนแรง ชิงส่วนแบ่งตลาดในระดับล่างจนถึงกลางไปได้มาก ทั้งยังมีการเคลื่อนย้ายฐานการผลิตไปยังจีนจนสามารถประหยัดต้นทุน ยิ่งก่อให้เกิดปัญหาทางด้านการแข่งขันกับการ์เมนท์ในบ้านเราอย่างมาก หลายท่านอาจบอกว่า สิ่งทอจากจีนยังมีคุณภาพต่ำ รวมถึงรูปแบบการดีไซน์ก็ยังเชย ยังไม่น่าจะเข้ามาแข่งขัน กับสิ่งทอของบ้านเราได้ ประเด็นนี้ต้องคงจะประมาทไม่ได้ เพราะเสื้อผ้าจากจีนมิใช่มีแต่ของคุณภาพต่ำ ดีไซน์ไม่สวยเท่านั้น แต่ยังมีการพัฒนาคุณภาพและเพิ่มมูลค่าไปในหลายส่วน เช่น รูปแบบที่มีการลอกเลียนยุโรปมาอย่างรวดเร็ว การตัดเย็บคัตติ้งที่เนี้ยบขึ้น รวมถึงคุณภาพเนื้อผ้าหลากหลาย และแรงงานที่มีทักษะมากขึ้น ทำให้เริ่มรุกเข้ามาในตลาดระดับกลาง เรียกว่า ขยับขึ้นมาจ่อคอหอยบ้านเราแล้ว และในราคาที่ถูกกว่าด้วย ในอนาคตที่ไม่ไกลนัก ภัยคุกคามนี้จะยิ่งทวีความรุนแรงทำให้เราต้องรีบหามาตรการเพื่อความอยู่รอด ซึ่งแน่นอนว่า แนวคิดกลยุทธ์ที่จะเขยิบหนีคู่แข่งขันจากเมืองจีนนั้น คงต้องมีการ "เพิ่มมูลค่า" ในสินค้าดังที่ได้พูดคุยกันกว้างขวาง แต่จะมีเทคนิคอย่างไรนั้น ลองพิจารณากรณีศึกษาหนึ่งที่น่าสนใจ นั่นคือ กลยุทธ์รับมือคู่แข่งจากจีนของธุรกิจสิ่งทออิตาลี หากกล่าวถึงธุรกิจเสื้อผ้าแฟชั่นชั้นนำของโลก ต้องนึกถึงอิตาลี ซึ่งเป็นทั้งผู้นำแห่งหนึ่งของโลกที่มีความแข็งแกร่ง และมีความสำคัญต่อธุรกิจโดยรวมของประเทศ โดยอิตาลีก็ได้รับผลกระทบจากการรุกคืบของจีนเช่นไทย อาจกล่าวได้ว่า กำลังจะถึงกาลอวสานของโรมเสียแล้ว เนื่องจากผู้ผลิตต้นทุนต่ำในเอเชีย ต่างก็รุกคืบเข้ามาก๊อบปี้ ทั้งในเรื่องการดีไซน์และเทคโนโลยีตัดเย็บอย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้ประกอบการในอิตาลีต้องปิดโรงงานไป ส่งผลต่อความสูญเสียทางเศรษฐกิจมหาศาล เนื่องจากอุตสาหกรรม ที่มีการจ้างงานถึง 22% ของการจ้างงานรวม ในวันนี้ ธุรกิจสิ่งทอเสื้อผ้าของอิตาลี เริ่มที่จะต่อสู้กลับแล้วเพื่อเอาตัวรอด และก็นับว่าประสบความสำเร็จในระดับหนึ่งที่น่าพอใจ แม้ว่ากิจการขนาดเล็กที่ผลิตสินค้าคุณภาพต่ำ เริ่มที่จะอยู่ไม่ได้และปิดตัวไปมาก แต่กิจการขนาดกลางของอิตาลี ที่ผลิตสินค้าคุณภาพสูง ราคาแพง และจับตลาดกลุ่มบนนั้น มีผลประกอบการที่น่าพอใจอย่างยิ่ง ซ้ำยังสามารถขยายตัวเพิ่มเติมได้อีก เนื่องจากกิจการนี้ได้ใช้จุดเด่นในการเป็นธุรกิจครอบครัว มีความยืดหยุ่นสามารถปรับตัว และพัฒนาอย่างรวดเร็วให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค รวมถึงการเพิ่มนวัตกรรมใหม่ๆ เข้าไปอย่างมีประสิทธิภาพ และวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์ของตนเองให้อยู่ในระดับสูงเท่านั้น ทำให้คู่แข่งจากจีนไม่สามารถเข้ามาแข่งขันในตลาดระดับนี้ได้ โดยมุ่งเน้นถึงความเป็นแบรนด์ระดับสูง ที่มีความแตกต่างจากสินค้าจากจีนอย่างสิ้นเชิง และทำการออกแบบและผลิตในยุโรปเท่านั้น ก็เป็นสิ่งที่สร้างความแตกต่างในสายตาของผู้บริโภคได้อย่างมากเช่นกัน แม้ว่าบางแบรนด์อาจไม่ได้ติดหูติดตาลูกค้านัก แต่การขายความเป็น "อิตาลี" ก็นับว่ายังมีความขลังอยู่มากกับกลุ่มลูกค้าระดับสูงนี้
กิจการขนาดกลางและขนาดย่อมของอิตาลี ยังมีการใช้กลยุทธ์พันธมิตรธุรกิจ รวมตัวกันเป็นกลุ่มเพื่อรวมทรัพยากร และความเชี่ยวชาญซึ่งกันและกัน อันนำไปสู่การวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่ๆ ร่วมกัน ทำให้สามารถลดต้นทุนและย่นระยะเวลาการพัฒนาสินค้าอย่างมาก รวมถึงได้รับสินค้าใหม่ๆ ที่มีคุณภาพสูงออกมา เช่น การรวมตัวกันเพื่อพัฒนามาตรฐานของผ้าไหมอิตาลี ทำให้ผ้าไหมรุ่นใหม่ของอิตาลี นอกจากจะมีดีไซน์ที่เก๋ไก๋แล้ว ยังเน้นที่การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต เพื่อทำให้เนื้อผ้าออกมามีความแตกต่างจากสินค้าเดิมๆ ซึ่งจะมีความทนทานต่อทั้งการฉีกขาด สารเคมี การเปรอะเปื้อนจากสิ่งสกปรกต่างๆ ทำให้การดูแลรักษาง่ายขึ้น รวมถึงลดการระคายเคืองและสารตกค้างในผ้าไหม ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัยกว่าของจีนมาก และการลอกเลียนแบบก็ทำได้ยากกว่า ใช้เวลามากกว่าการก๊อบปี้ดีไซน์แต่เพียงอย่างเดียว จากการร่วมกันพัฒนา ทำให้ธุรกิจผลิตไหมของอิตาลี เจริญเติบโต หากนับการส่งออกสินค้าผ้าไหมของอิตาลี ไปยังจีนคู่แข่งรายสำคัญนี้ จะพบว่าเพิ่มขึ้นถึง 155% ในปีที่ผ่านมา โดยส่งออกไปจับลูกค้าระดับสูงยังประเทศต่างๆ ซึ่งทำให้ราคาของสินค้าโดยเฉลี่ยจากอิตาลีสูงขึ้นมาก นำมาสู่ผลกำไรที่สูงขึ้น และแยกตัวเองออกมาจากผู้ผลิตจากจีนสิ้นเชิง ซึ่งผู้ประกอบการธุรกิจจากอิตาลีให้คำจำกัดความของธุรกิจตนเอง ว่า "เฟอร์รารี่แห่งธุรกิจสิ่งทอของโลก" ในอนาคต บทเรียนของอิตาลีพอจะให้แนวคิดหลายประการกับบ้านเรา ว่าหากไม่สามารถปรับตัว พัฒนาในเรื่องรูปแบบ เทคโนโลยี แบรนดิ้ง เพื่อยกระดับให้ลูกค้าเห็นถึงความแตกต่างอย่างชัดเจนของสินค้าจากไทยและจีนแล้ว ก็ยากที่จะอยู่รอดในอนาคต แน่นอนว่า การพัฒนาเพิ่มมูลค่า รวมถึงการสร้างแบรนด์ ไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องอาศัยทักษะ ทรัพยากร ประสบการณ์มากพอควร การร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการภายในประเทศด้วยกันเอง หรืออาจเป็นการร่วมมือกับพันธมิตรต่างชาติ ที่มีความเชี่ยวชาญในสิ่งที่เราขาดอยู่ เนื่องจากเราไม่อยากจะให้จีนครอบครองธุรกิจนี้ไปโดยสิ้นเชิง การคานอำนาจกัน เพื่อลดการต่อรองและการผูกขาดจากจีน
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-
มองมุมใหม่ :ผศ.ดร.ธีรยุส วัฒนาศุภโชค คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพธุรกิจ วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549
อุตสาหกรรมสิ่งทอไทยมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจโดยรวม เพราะเป็นหนึ่งในธุรกิจที่สร้างรายได้ติดอันดับต้น รวมถึงยังเป็นธุรกิจที่มีการจ้างงานสูง ก่อให้เกิดการกระจายรายได้สู่ประชากร ทั้งที่เป็นแรงงานมีฝีมือและแรงงานไร้ฝีมือ อีกทั้งยังมีความเกี่ยวเนื่องโยงใยกันไปในธุรกิจอื่น นับจากวัตถุดิบ ฝ้าย ไหม ไปจนถึงการทอผ้าผืน และการตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป เรียกว่าตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ แต่มาถึงวันนี้ ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับสิ่งทอกำลังประสบปัญหาภัยคุกคามจากการแข่งขันของประเทศคู่แข่ง ที่มีต้นทุนค่าแรงงานต่ำมากๆ อย่างเวียดนามและจีน โดยเฉพาะจีนเป็นอุปสรรคที่รุนแรงมาก สินค้าด้านสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปก็มีการเจาะตลาดเข้ามาในประเทศ โดยใช้สงครามราคาที่รุนแรง ชิงส่วนแบ่งตลาดในระดับล่างจนถึงกลางไปได้มาก ทั้งยังมีการเคลื่อนย้ายฐานการผลิตไปยังจีนจนสามารถประหยัดต้นทุน ยิ่งก่อให้เกิดปัญหาทางด้านการแข่งขันกับการ์เมนท์ในบ้านเราอย่างมาก หลายท่านอาจบอกว่า สิ่งทอจากจีนยังมีคุณภาพต่ำ รวมถึงรูปแบบการดีไซน์ก็ยังเชย ยังไม่น่าจะเข้ามาแข่งขัน กับสิ่งทอของบ้านเราได้ ประเด็นนี้ต้องคงจะประมาทไม่ได้ เพราะเสื้อผ้าจากจีนมิใช่มีแต่ของคุณภาพต่ำ ดีไซน์ไม่สวยเท่านั้น แต่ยังมีการพัฒนาคุณภาพและเพิ่มมูลค่าไปในหลายส่วน เช่น รูปแบบที่มีการลอกเลียนยุโรปมาอย่างรวดเร็ว การตัดเย็บคัตติ้งที่เนี้ยบขึ้น รวมถึงคุณภาพเนื้อผ้าหลากหลาย และแรงงานที่มีทักษะมากขึ้น ทำให้เริ่มรุกเข้ามาในตลาดระดับกลาง เรียกว่า ขยับขึ้นมาจ่อคอหอยบ้านเราแล้ว และในราคาที่ถูกกว่าด้วย ในอนาคตที่ไม่ไกลนัก ภัยคุกคามนี้จะยิ่งทวีความรุนแรงทำให้เราต้องรีบหามาตรการเพื่อความอยู่รอด ซึ่งแน่นอนว่า แนวคิดกลยุทธ์ที่จะเขยิบหนีคู่แข่งขันจากเมืองจีนนั้น คงต้องมีการ "เพิ่มมูลค่า" ในสินค้าดังที่ได้พูดคุยกันกว้างขวาง แต่จะมีเทคนิคอย่างไรนั้น ลองพิจารณากรณีศึกษาหนึ่งที่น่าสนใจ นั่นคือ กลยุทธ์รับมือคู่แข่งจากจีนของธุรกิจสิ่งทออิตาลี หากกล่าวถึงธุรกิจเสื้อผ้าแฟชั่นชั้นนำของโลก ต้องนึกถึงอิตาลี ซึ่งเป็นทั้งผู้นำแห่งหนึ่งของโลกที่มีความแข็งแกร่ง และมีความสำคัญต่อธุรกิจโดยรวมของประเทศ โดยอิตาลีก็ได้รับผลกระทบจากการรุกคืบของจีนเช่นไทย อาจกล่าวได้ว่า กำลังจะถึงกาลอวสานของโรมเสียแล้ว เนื่องจากผู้ผลิตต้นทุนต่ำในเอเชีย ต่างก็รุกคืบเข้ามาก๊อบปี้ ทั้งในเรื่องการดีไซน์และเทคโนโลยีตัดเย็บอย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้ประกอบการในอิตาลีต้องปิดโรงงานไป ส่งผลต่อความสูญเสียทางเศรษฐกิจมหาศาล เนื่องจากอุตสาหกรรม ที่มีการจ้างงานถึง 22% ของการจ้างงานรวม ในวันนี้ ธุรกิจสิ่งทอเสื้อผ้าของอิตาลี เริ่มที่จะต่อสู้กลับแล้วเพื่อเอาตัวรอด และก็นับว่าประสบความสำเร็จในระดับหนึ่งที่น่าพอใจ แม้ว่ากิจการขนาดเล็กที่ผลิตสินค้าคุณภาพต่ำ เริ่มที่จะอยู่ไม่ได้และปิดตัวไปมาก แต่กิจการขนาดกลางของอิตาลี ที่ผลิตสินค้าคุณภาพสูง ราคาแพง และจับตลาดกลุ่มบนนั้น มีผลประกอบการที่น่าพอใจอย่างยิ่ง ซ้ำยังสามารถขยายตัวเพิ่มเติมได้อีก เนื่องจากกิจการนี้ได้ใช้จุดเด่นในการเป็นธุรกิจครอบครัว มีความยืดหยุ่นสามารถปรับตัว และพัฒนาอย่างรวดเร็วให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค รวมถึงการเพิ่มนวัตกรรมใหม่ๆ เข้าไปอย่างมีประสิทธิภาพ และวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์ของตนเองให้อยู่ในระดับสูงเท่านั้น ทำให้คู่แข่งจากจีนไม่สามารถเข้ามาแข่งขันในตลาดระดับนี้ได้ โดยมุ่งเน้นถึงความเป็นแบรนด์ระดับสูง ที่มีความแตกต่างจากสินค้าจากจีนอย่างสิ้นเชิง และทำการออกแบบและผลิตในยุโรปเท่านั้น ก็เป็นสิ่งที่สร้างความแตกต่างในสายตาของผู้บริโภคได้อย่างมากเช่นกัน แม้ว่าบางแบรนด์อาจไม่ได้ติดหูติดตาลูกค้านัก แต่การขายความเป็น "อิตาลี" ก็นับว่ายังมีความขลังอยู่มากกับกลุ่มลูกค้าระดับสูงนี้
กิจการขนาดกลางและขนาดย่อมของอิตาลี ยังมีการใช้กลยุทธ์พันธมิตรธุรกิจ รวมตัวกันเป็นกลุ่มเพื่อรวมทรัพยากร และความเชี่ยวชาญซึ่งกันและกัน อันนำไปสู่การวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่ๆ ร่วมกัน ทำให้สามารถลดต้นทุนและย่นระยะเวลาการพัฒนาสินค้าอย่างมาก รวมถึงได้รับสินค้าใหม่ๆ ที่มีคุณภาพสูงออกมา เช่น การรวมตัวกันเพื่อพัฒนามาตรฐานของผ้าไหมอิตาลี ทำให้ผ้าไหมรุ่นใหม่ของอิตาลี นอกจากจะมีดีไซน์ที่เก๋ไก๋แล้ว ยังเน้นที่การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต เพื่อทำให้เนื้อผ้าออกมามีความแตกต่างจากสินค้าเดิมๆ ซึ่งจะมีความทนทานต่อทั้งการฉีกขาด สารเคมี การเปรอะเปื้อนจากสิ่งสกปรกต่างๆ ทำให้การดูแลรักษาง่ายขึ้น รวมถึงลดการระคายเคืองและสารตกค้างในผ้าไหม ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัยกว่าของจีนมาก และการลอกเลียนแบบก็ทำได้ยากกว่า ใช้เวลามากกว่าการก๊อบปี้ดีไซน์แต่เพียงอย่างเดียว จากการร่วมกันพัฒนา ทำให้ธุรกิจผลิตไหมของอิตาลี เจริญเติบโต หากนับการส่งออกสินค้าผ้าไหมของอิตาลี ไปยังจีนคู่แข่งรายสำคัญนี้ จะพบว่าเพิ่มขึ้นถึง 155% ในปีที่ผ่านมา โดยส่งออกไปจับลูกค้าระดับสูงยังประเทศต่างๆ ซึ่งทำให้ราคาของสินค้าโดยเฉลี่ยจากอิตาลีสูงขึ้นมาก นำมาสู่ผลกำไรที่สูงขึ้น และแยกตัวเองออกมาจากผู้ผลิตจากจีนสิ้นเชิง ซึ่งผู้ประกอบการธุรกิจจากอิตาลีให้คำจำกัดความของธุรกิจตนเอง ว่า "เฟอร์รารี่แห่งธุรกิจสิ่งทอของโลก" ในอนาคต บทเรียนของอิตาลีพอจะให้แนวคิดหลายประการกับบ้านเรา ว่าหากไม่สามารถปรับตัว พัฒนาในเรื่องรูปแบบ เทคโนโลยี แบรนดิ้ง เพื่อยกระดับให้ลูกค้าเห็นถึงความแตกต่างอย่างชัดเจนของสินค้าจากไทยและจีนแล้ว ก็ยากที่จะอยู่รอดในอนาคต แน่นอนว่า การพัฒนาเพิ่มมูลค่า รวมถึงการสร้างแบรนด์ ไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องอาศัยทักษะ ทรัพยากร ประสบการณ์มากพอควร การร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการภายในประเทศด้วยกันเอง หรืออาจเป็นการร่วมมือกับพันธมิตรต่างชาติ ที่มีความเชี่ยวชาญในสิ่งที่เราขาดอยู่ เนื่องจากเราไม่อยากจะให้จีนครอบครองธุรกิจนี้ไปโดยสิ้นเชิง การคานอำนาจกัน เพื่อลดการต่อรองและการผูกขาดจากจีน
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-