สศก. เผย ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศมีความต้องการเพิ่มขึ้นทุกปี ทำให้การส่งออกลดลง ซึ่งไม่เพียงพอต่อความต้องการ มีปริมาณไม่แน่นอน และมีการแข่งขันสูงกับพืชชนิดอื่นที่ให้ผลตอบแทนดีกว่า เกษตรกรจึงหันปลูกพืชหมุนเวียนกันไป โดยมีราคาเป็นตัวกำหนดทิศทางในการตัดสินใจ
นายอุดม สิทธิเดช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 5 (สศข. 5) จังหวัดนครราชสีมา สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่าพืชเศรษฐกิจหลักของไทย ซึ่งได้แก่ ข้าวนาปี ข้าวนาปรัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ยางพารา มันสำปะหลังโรงงาน อ้อยโรงงาน ถั่วลิสง ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ฝ้าย และปอแก้ว จะมีการปลูกสลับหมุนเวียนกันไปในแต่ละปี ส่งผลต่อเนื่องในการปลูกให้มีความแตกต่างกันทั้งเพิ่มขึ้นและลดลง โดย “ราคา” จะเป็นตัวกำหนดทิศทางในการตัดสินใจปลูกพืชของเกษตรกร โดยเฉพาะข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมอาหารสัตว์ ซึ่งประมาณ 94% ของผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ของประเทศและมีความต้องการเพิ่มขึ้นทุกปี เป็นการเพิ่มมูลค่ามากกว่าการส่งออกในรูปแบบข้าวโพดเมล็ด อีกทั้งความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นมากหลังจากที่มีการขยายการเลี้ยงสัตว์ตั้งแต่ปี 2535 เป็นต้นมา เป็นผลให้การส่งออกลดลง และปัจจุบันการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มีไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ภายในประเทศ มีปริมาณไม่แน่นอน เนื่องจากการผลิตขึ้นอยู่กับดินฟ้าอากาศ ทำให้มีความเสี่ยงต่อความเสียหายจากความแห้งแล้งมาก อีกทั้งข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ต้องแข่งขันกับพืชเศรษฐกิจชนิดอื่นที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เกษตรกรจึงหันไปปลูกพืชเศรษฐกิจชนิดอื่นทดแทน
ซึ่งปีเพาะปลูก 2548/49 ในเขตอีสานล่าง มีพื้นที่การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มากที่สุดอยู่ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดศรีสะเกษ และจังหวัดอุบลราชธานี รวมเนื้อที่ประมาณ 968,826 ไร่ ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ 560 กิโลกรัม ราคา ณ ความชื้น 14% เฉลี่ย 5.17 บาทต่อกิโลกรัม (ข้อมูลจากสถานการณ์การผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ปี 2548/49 ของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร) และในปีเพาะปลูก 2549/50 ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มีพื้นที่เพาะปลูกลดลงประมาณร้อยละ 30 ของพื้นที่เพาะปลูกแต่ละจังหวัด รวมเนื้อที่ปลูกทั้งหมดประมาณ 290,647ไร่ (ข้อมูลจากการสำรวจ Area Survey) ผลผลิตต่อไร่เฉลี่ยประมาณ 530 กิดลกรัม (ข้อมูลจากการสำรวจ Crop Cutting) ลดลงจากปีที่ผ่านมา และราคา ณ ความชื้น 14% เฉลี่ย 5.80 บาท เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา (ข้อมูลจากรายงานราคารายเดือน ของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร) โดยพืชเศรษฐกิจที่ปลูกทดแทนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ คือ มันสำปะหลังโรงงาน ยางพารา และอ้อยโรงงาน ซึ่งมีราคาดีและให้ผลตอบแทนสูงกว่าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นายอุดม สิทธิเดช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 5 (สศข. 5) จังหวัดนครราชสีมา สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่าพืชเศรษฐกิจหลักของไทย ซึ่งได้แก่ ข้าวนาปี ข้าวนาปรัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ยางพารา มันสำปะหลังโรงงาน อ้อยโรงงาน ถั่วลิสง ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ฝ้าย และปอแก้ว จะมีการปลูกสลับหมุนเวียนกันไปในแต่ละปี ส่งผลต่อเนื่องในการปลูกให้มีความแตกต่างกันทั้งเพิ่มขึ้นและลดลง โดย “ราคา” จะเป็นตัวกำหนดทิศทางในการตัดสินใจปลูกพืชของเกษตรกร โดยเฉพาะข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมอาหารสัตว์ ซึ่งประมาณ 94% ของผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ของประเทศและมีความต้องการเพิ่มขึ้นทุกปี เป็นการเพิ่มมูลค่ามากกว่าการส่งออกในรูปแบบข้าวโพดเมล็ด อีกทั้งความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นมากหลังจากที่มีการขยายการเลี้ยงสัตว์ตั้งแต่ปี 2535 เป็นต้นมา เป็นผลให้การส่งออกลดลง และปัจจุบันการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มีไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ภายในประเทศ มีปริมาณไม่แน่นอน เนื่องจากการผลิตขึ้นอยู่กับดินฟ้าอากาศ ทำให้มีความเสี่ยงต่อความเสียหายจากความแห้งแล้งมาก อีกทั้งข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ต้องแข่งขันกับพืชเศรษฐกิจชนิดอื่นที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เกษตรกรจึงหันไปปลูกพืชเศรษฐกิจชนิดอื่นทดแทน
ซึ่งปีเพาะปลูก 2548/49 ในเขตอีสานล่าง มีพื้นที่การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มากที่สุดอยู่ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดศรีสะเกษ และจังหวัดอุบลราชธานี รวมเนื้อที่ประมาณ 968,826 ไร่ ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ 560 กิโลกรัม ราคา ณ ความชื้น 14% เฉลี่ย 5.17 บาทต่อกิโลกรัม (ข้อมูลจากสถานการณ์การผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ปี 2548/49 ของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร) และในปีเพาะปลูก 2549/50 ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มีพื้นที่เพาะปลูกลดลงประมาณร้อยละ 30 ของพื้นที่เพาะปลูกแต่ละจังหวัด รวมเนื้อที่ปลูกทั้งหมดประมาณ 290,647ไร่ (ข้อมูลจากการสำรวจ Area Survey) ผลผลิตต่อไร่เฉลี่ยประมาณ 530 กิดลกรัม (ข้อมูลจากการสำรวจ Crop Cutting) ลดลงจากปีที่ผ่านมา และราคา ณ ความชื้น 14% เฉลี่ย 5.80 บาท เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา (ข้อมูลจากรายงานราคารายเดือน ของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร) โดยพืชเศรษฐกิจที่ปลูกทดแทนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ คือ มันสำปะหลังโรงงาน ยางพารา และอ้อยโรงงาน ซึ่งมีราคาดีและให้ผลตอบแทนสูงกว่าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-