วันนี้ (13 ก.ย.49) เวลา 14.30 น. ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายเกียรติ สิทธิอมร กรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ในฐานะคณะทำงานด้านเศรษฐกิจของพรรคประชาธิปัตย์กล่าวถึงกรณีที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้เปิดเผยรายงานความเป็นนอมินีของบริษัทกุหลาบแก้วเมื่อวานนี้ (12 ก.ย.49) ว่า มีข้อสังเกตอยู่ 4 ข้อ คือ 1.เห็นได้ชัดว่าเทมาเส็กเป็นเจ้าของบริษัทกุหลาบแก้ว 100% เพราะเป็นผู้ชำระเงินค่าหุ้นและค้ำประกันเงินกู้ให้ผู้ถือหุ้นฝ่ายไทยชำระเงินค่าหุ้นตั้งแต่วันที่ 17 มกราคม 2549 เป็นต้นมา จนถึงกรณีที่มีการเพิ่มทุนในวันที่ 15 กุมภาพันธ์เป็น 164 ล้านบาท ผู้ถือหุ้นฝ่ายไทยที่ให้ข้อเท็จจริงกับทางกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ก็ให้ข้อมูลที่ไม่ตรงกับข้อมูลทางการเงินของธนาคาร
2.เทมาเส็กส่งผู้บริหารระดับสูง 3 คนเข้ามาป็นกรรมการมีอำนาจ สิทธิ์ขาดด้านการเงินทั้งหมดของทุกบริษัท รวมทั้งบริษัทกุหลาบแก้ว และบริษัทซีดาร์ โฮลดิ้ง จำกัด และไซเปรส โฮลดิ้ง จำกัดซึ่งเป็นบริษัทที่เข้ามาถือหุ้นในชินคอร์ปซึ่งไม่ตรงกับที่จดทะเบียนไว้กับกระทรวพาณิชย์ เห็นได้ชัดว่ามีพฤติกรรมหลีกเลี่ยงกฎหมายการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
ประการที่ 3.หลังจาก 15 มีนาคม 2549 มีความพยายามที่จะปรับโครงสร้างโดยการเพิ่มทุนเป็น 4,000 ล้านบาทในบริษัทกุหลาบแก้วโดยมี ดะโต๊ะสุรินทร์ (นายสุรินทร์ อุปพัทธกุล) เข้ามาถือหุ้นถึง 68% ในกุหลาบแก้วแต่นายสุรินทร์ได้รับเงินโอนจากนิติบุคคลต่างด้าวที่จดทะเบียนในบรีติชเวอร์จิน รับมอบอำนาจในการลงทุนจากบริษัทกรีนแลนด์ทั้งคู่เป็นนิติบุคคลทั้งสิ้น การที่ดะโต๊ะสุรินทร์เข้ามาลงทุนในกุหลาบแก้วก็เป็นการถือหุ้นแทนนิติบุคคลต่างด้าวอย่างชัดเจนจะอ้างว่าเป็นเงินของคนไทยมิได้
4.ทั้งหมดโดนตอกย้ำที่เงื่อนไขของส่วนแบ่งกำไรที่ 3% สำหรับผู้ถือหุ้นฝ่ายไทยเหตุผลที่ผู้ถือหุ้นฝ่ายไทยมีคำอธิบายว่า 3% เป็นส่วนแบ่งที่ยอมรับได้เมื่อเทียบกับอัตราดอกเบี้ย แต่เมื่อไปดูอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ทำไมเกินไปมาก เหตุผลดังกล่าวจึงฟังไม่ขึ้น
นายเกียรติ กล่าวอีกว่า ทั้ง 4 ประการเห็นได้ชัดว่า หลักฐานมัดแน่น ไม่มีเหตุผลใดที่จะไปปรับโครงสร้างถ้าไม่มีอะไรผิด ยิ่งปรับความผิดก็ยังคงอยู่ ยิ่งการตรวจสอบของกรมพัฒนาฯ ที่ผ่านมาและปรากฎอยู่ในรายงานถี่ถ้วนเพียงพอแล้วไม่มีความจำเป็นใดๆ ที่ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รักษาการรองนายกรัฐมนตรีและรักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายยรรยง พวงราช รอง ปลัดกระทรวงพาณิชย์ และนายปรีชา เลาหพงศ์ชนะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์จะต้องมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาเพื่อกำกับดูและข้อเท็จจริงอีก
“กรมพัฒนาธุรกิจการค้าอยู่ในสถานะที่จะชี้ได้แล้วว่า เป็นการถือหุ้นแทน ต้องไม่สับสนในการส่งต่อการชี้มูลความผิดและการให้หลักฐานไปยังพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดีต่อไปส่วนนั้นเป็นการกระทำผิดของผู้กระทำผิดตามกฎหมาย” นายเกียรติกล่าว
นายเกียรติกล่าวต่อไปว่า อาทิตย์ที่แล้วตนได้คุยกับนายยรรยงเกี่ยวกับกรณีการตั้งคณะกรรมการซ้อนนั้น ตนได้ตรวจสอบดูเอกสารที่นายยรรยงให้ตรวจพบว่า คณะกรรมการที่แต่งตั้งขึ้นมาในครั้งนี้มีการอ้างถีงพระราชบัญญัติอีก 2 ฉบับ 1.พ.ร.บ.ต่างด้าว โดยเฉพาะ ม.46 ซึ่งมาตรานี้เป็นการพูดถึงการตั้งนายทะเบียนและสำนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจตามกฎหมายทางกระทรวงพาณิชย์ได้สร้างไปแวตั้งแต่ปี 2547 ลงนามโดย นายวัฒนา เมืองสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ในขณะนั้น และ ม.46 เห็นได้ชัดว่าพูดถึงการตั้งนายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่เท่านั้นไม่ได้หมายความถึงการตั้งคณะทำงานขึ้นมา เพราะฉะนั้นว่า มาตราดังกล่าวไม่เกี่ยวข้อง
“กฎหมายอีกฉบับหนึ่งที่อ้างถึงในคำสั่งคือ ม.20 และ ม.38 ของ พ.ร.บ.ระเบียบการบริหารราชการแผ่นดิน 2 มาตรานี้ระบุเพียงว่ารัฐมนตรีว่าการเป็นผู้บังคับบัญชาของข้าราชการและสามารถให้รัฐมนตรีช่วยว่าการดำเนินการแทนได้ อีกส่วนหนึ่งที่ระบุไว้คืออำนาจในการดำเนินการอื่นๆ สามารถตั้งคณะกรรมการขึ้นมาได้ในกรณีที่กฎหมายมิได้มอบอำนาจไว้เป็นอย่างอื่น ดังนั้นระบุชัดว่า อำนาจในการดำเนินดารใดๆก็แล้วแต่อยู่ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เห็นได้ชัดว่าทั้ง 2 พ.ร.บ.ที่อ้างถึงนั้นไม่เกี่ยวข้องกับเขตอำนาจของ พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจการค้า ดังนั้นการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาไม่มีอำนาจใดๆในการดำเนินการ ใดก็ตามภายใต้ พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจฯอย่างชัดเจน”นายเกียรติกล่าว
ต่อข้อถามถึงกรณีแอร์เอเชียจะต้องระงับการบินหรือไม่ในเมื่อแอร์เอเชียไม่ใช่บริษัทของคนไทย นายเกียรติกล่าวว่า ทั้งบันทึกของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และ พ.ร.บ.การเดินอากาศ พ.ศ.2497 ทั้ง สำนักงานและกฎหมายที่เกี่ยวข้องตรงกันว่าผู้ขอใบอนุญาติจะต้องมีบุคคลหรือมีบริษัททีมีผู้ถือหุ้นเป็นคนไทยเป็นบุคคลธรรมดาไม่น้อยกว่า 51 % ตรงนี้ตรงกันหมด ดังนั้นช่วงเวลาก่อนที่จะมีการปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้นหลังจากที่มีการซื้อขายหุ้นชินคอร์ปมนตลาดหลักทรัพย์ในวันที่ 23 มกราคม 2549 จนถึงวันที่มีการปรับโครงสร้างในวันที่ 23 มีนาคม 2549 ชัดเจนว่า มีความผิดตามมาตา 16/4ของ พ.ร.บ.การเดินอากาศ และมีโทษตาม ม.68/5 ทั้งโทษจำและโทษปรับ
นายเกียรติกล่าวต่อไปว่า อีกส่วนหนึ่งที่ตรงกันคือ นายพงศ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมไม่มีอำนาจสี่งให้เปลี่ยนแปลงคุณสมบัติผู้ขออนุญาติและถ้าจะมีการกำหนดคุณสมบัติเป็นอื่นต้องกำหนดผ่านกฎกระทรวงเท่านั้นซึ่งก็ไม่มีกฎกระทรวงรองรับ ดังนั้นการที่ นายชัยศักดิ์ อังค์สุวรรณ อธิบดีกรมการขนส่งทางอากาศให้สัมภาษณ์ว่า หลังจากพบว่ามีความผิดและเตียมที่จะออกใบอนุญาติให้ใหม่นั้นต้องกลับไปทบทวนใหม่ นายพงศ์ศักดิ์ไม่มีอำนาจ
“การที่ไปอ้างว่ามีการแก้ไขเรียบร้อยแล้ววันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2549 และออกใบอนุญาติใหม่ใหม่ขัดกับคำวินิจฉัยของกฤษฎีกาเรื่องนี้คือกระบวนการของกลุ่มทุนต่างชาติในการเข้ามาครอบงำกิจการทั้งบริษัทแม่และบริษัทลูกของชินคอร์ป”นายเกียรติกล่าว
นายเกียรติ ตั้งคำถามถึงผู้ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้โดยตรงว่า 1.นายสมคิดต้องยอมรับว่า การครอบงำธุรกิจในกลุ่มชินคอร์ปและเทมาเส็กมีกหลักฐานเพียงพอที่จะให้กรมพัฒนาธุรกิจฯ ชี้ชัดว่าเป็นการถือหุ้นแทน นายสมคิดจำนวนด้วยหลักฐานปฏิเสธมิได้ และขอให้กระทรวงพาณิชย์เลิกถ่วงเวลา ยุบคณะที่ทำงานขึ้นมาเพราะไม่ถูกต้อง เลิกเล่นลิเกให้คนดู
2.ขอให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้าส่งเรื่องให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีต่อไปทันทีไม่เช่นนั้นจะเกินเลยขั้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ถึงขั้นขัดขวางกระบวนการยุติธรรม
3.นายสมคิดในฐานะรองนายกฯกำกับดูแลกระทรวงการคลังต้องสั่งให้สรรพากรเข้าตรวจสอบการเสียภาษีของดะโต๊ะสุรินทร์ทันที เนื่องจากรับเงินได้จากบริษทในต่างประเทศเข้าบัญชีตัวเอง 2,720 ล้านบาทก่อนที่จะเข้าไปในบัญชี บ.กุหลาบแล้ว
นายเกียรติ กล่าวต่อไปว่า ตอนเช้าตนได้ข่าวว่า นายทนง พิทยะ รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับการถือหุ้นนอมินีว่า การถือหุ้นแทนนั้น ผู้ถือหุ้นแทนต้องรับผิดเสียก่อน ตนคิดว่าตลกมากเหมือนกับการจับขโมยที่ขโมยของแล้วมีหลักฐานที่ขโมยไปแล้วต้องให้โจรรับสารภาพถึงจะเอาผิดได้ นายทนงควรกลับไปทบทวนพื้นฐานกฎหมายของนายทนงใหม่
“ผมฝากว่าทั้ง นายสมคิด นายปรีชา และนายยรรยง ควรจะเลิกทำตัวเป็นนอมินีของผู้กระทำความผิดเพราะพฤติกรรมที่ผ่านมาส่อเค้าว่า ไม่ได้ไปตรวจสอบการถือหุ้นแทนกลับเป็นผู้มีพฤติกรรมเป็นนอมินีของผู้กระทำความผิด และนายพงศ์ศักดิ์ต้องชี้แจงการอนุมัติการให้ใบอนุญาติแอร์เอเชียโดยไม่มีอำนาจตามกฎหมายในการปรับแก้คุณสมบัติของแอร์เอเชียเพราะยังอยู่ในช่วงของการสอบสวนของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าอยู่ด้วย” นายเกียรติกล่าว
นายเกียรติกล่าวต่อไปว่า พรรคประชาธิปัตย์เคยตรวจสอบบริษัทเอเชียเอเวเอชั่น พบว่าเป็นสำนักงานร้าง วันนี้ตนส่งคนไปตรวจสอบพบว่าบริษัทเอเชียฯ ตั้งอยู่ชั้น 15 แต่อยู่ในบริษัทแห่งหนึ่งในกลุ่มชินคอร์ป ตัวบริษัทตั้งอยู่ข้างใน พฤติกรรมอะไรงไม่ต้องธิบาย สังคมมองครั้งเดียวก็คงจะมองออก ตนเห็นว่า ผู้ที่เกี่ยวข้องกับเรี่องนั้งหมดควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมิเช่นนั้นจะเป็นการขัดขวางกระบวนการยุติธรรม
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 13 ก.ย. 2549--จบ--
2.เทมาเส็กส่งผู้บริหารระดับสูง 3 คนเข้ามาป็นกรรมการมีอำนาจ สิทธิ์ขาดด้านการเงินทั้งหมดของทุกบริษัท รวมทั้งบริษัทกุหลาบแก้ว และบริษัทซีดาร์ โฮลดิ้ง จำกัด และไซเปรส โฮลดิ้ง จำกัดซึ่งเป็นบริษัทที่เข้ามาถือหุ้นในชินคอร์ปซึ่งไม่ตรงกับที่จดทะเบียนไว้กับกระทรวพาณิชย์ เห็นได้ชัดว่ามีพฤติกรรมหลีกเลี่ยงกฎหมายการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
ประการที่ 3.หลังจาก 15 มีนาคม 2549 มีความพยายามที่จะปรับโครงสร้างโดยการเพิ่มทุนเป็น 4,000 ล้านบาทในบริษัทกุหลาบแก้วโดยมี ดะโต๊ะสุรินทร์ (นายสุรินทร์ อุปพัทธกุล) เข้ามาถือหุ้นถึง 68% ในกุหลาบแก้วแต่นายสุรินทร์ได้รับเงินโอนจากนิติบุคคลต่างด้าวที่จดทะเบียนในบรีติชเวอร์จิน รับมอบอำนาจในการลงทุนจากบริษัทกรีนแลนด์ทั้งคู่เป็นนิติบุคคลทั้งสิ้น การที่ดะโต๊ะสุรินทร์เข้ามาลงทุนในกุหลาบแก้วก็เป็นการถือหุ้นแทนนิติบุคคลต่างด้าวอย่างชัดเจนจะอ้างว่าเป็นเงินของคนไทยมิได้
4.ทั้งหมดโดนตอกย้ำที่เงื่อนไขของส่วนแบ่งกำไรที่ 3% สำหรับผู้ถือหุ้นฝ่ายไทยเหตุผลที่ผู้ถือหุ้นฝ่ายไทยมีคำอธิบายว่า 3% เป็นส่วนแบ่งที่ยอมรับได้เมื่อเทียบกับอัตราดอกเบี้ย แต่เมื่อไปดูอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ทำไมเกินไปมาก เหตุผลดังกล่าวจึงฟังไม่ขึ้น
นายเกียรติ กล่าวอีกว่า ทั้ง 4 ประการเห็นได้ชัดว่า หลักฐานมัดแน่น ไม่มีเหตุผลใดที่จะไปปรับโครงสร้างถ้าไม่มีอะไรผิด ยิ่งปรับความผิดก็ยังคงอยู่ ยิ่งการตรวจสอบของกรมพัฒนาฯ ที่ผ่านมาและปรากฎอยู่ในรายงานถี่ถ้วนเพียงพอแล้วไม่มีความจำเป็นใดๆ ที่ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รักษาการรองนายกรัฐมนตรีและรักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายยรรยง พวงราช รอง ปลัดกระทรวงพาณิชย์ และนายปรีชา เลาหพงศ์ชนะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์จะต้องมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาเพื่อกำกับดูและข้อเท็จจริงอีก
“กรมพัฒนาธุรกิจการค้าอยู่ในสถานะที่จะชี้ได้แล้วว่า เป็นการถือหุ้นแทน ต้องไม่สับสนในการส่งต่อการชี้มูลความผิดและการให้หลักฐานไปยังพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดีต่อไปส่วนนั้นเป็นการกระทำผิดของผู้กระทำผิดตามกฎหมาย” นายเกียรติกล่าว
นายเกียรติกล่าวต่อไปว่า อาทิตย์ที่แล้วตนได้คุยกับนายยรรยงเกี่ยวกับกรณีการตั้งคณะกรรมการซ้อนนั้น ตนได้ตรวจสอบดูเอกสารที่นายยรรยงให้ตรวจพบว่า คณะกรรมการที่แต่งตั้งขึ้นมาในครั้งนี้มีการอ้างถีงพระราชบัญญัติอีก 2 ฉบับ 1.พ.ร.บ.ต่างด้าว โดยเฉพาะ ม.46 ซึ่งมาตรานี้เป็นการพูดถึงการตั้งนายทะเบียนและสำนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจตามกฎหมายทางกระทรวงพาณิชย์ได้สร้างไปแวตั้งแต่ปี 2547 ลงนามโดย นายวัฒนา เมืองสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ในขณะนั้น และ ม.46 เห็นได้ชัดว่าพูดถึงการตั้งนายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่เท่านั้นไม่ได้หมายความถึงการตั้งคณะทำงานขึ้นมา เพราะฉะนั้นว่า มาตราดังกล่าวไม่เกี่ยวข้อง
“กฎหมายอีกฉบับหนึ่งที่อ้างถึงในคำสั่งคือ ม.20 และ ม.38 ของ พ.ร.บ.ระเบียบการบริหารราชการแผ่นดิน 2 มาตรานี้ระบุเพียงว่ารัฐมนตรีว่าการเป็นผู้บังคับบัญชาของข้าราชการและสามารถให้รัฐมนตรีช่วยว่าการดำเนินการแทนได้ อีกส่วนหนึ่งที่ระบุไว้คืออำนาจในการดำเนินการอื่นๆ สามารถตั้งคณะกรรมการขึ้นมาได้ในกรณีที่กฎหมายมิได้มอบอำนาจไว้เป็นอย่างอื่น ดังนั้นระบุชัดว่า อำนาจในการดำเนินดารใดๆก็แล้วแต่อยู่ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เห็นได้ชัดว่าทั้ง 2 พ.ร.บ.ที่อ้างถึงนั้นไม่เกี่ยวข้องกับเขตอำนาจของ พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจการค้า ดังนั้นการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาไม่มีอำนาจใดๆในการดำเนินการ ใดก็ตามภายใต้ พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจฯอย่างชัดเจน”นายเกียรติกล่าว
ต่อข้อถามถึงกรณีแอร์เอเชียจะต้องระงับการบินหรือไม่ในเมื่อแอร์เอเชียไม่ใช่บริษัทของคนไทย นายเกียรติกล่าวว่า ทั้งบันทึกของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และ พ.ร.บ.การเดินอากาศ พ.ศ.2497 ทั้ง สำนักงานและกฎหมายที่เกี่ยวข้องตรงกันว่าผู้ขอใบอนุญาติจะต้องมีบุคคลหรือมีบริษัททีมีผู้ถือหุ้นเป็นคนไทยเป็นบุคคลธรรมดาไม่น้อยกว่า 51 % ตรงนี้ตรงกันหมด ดังนั้นช่วงเวลาก่อนที่จะมีการปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้นหลังจากที่มีการซื้อขายหุ้นชินคอร์ปมนตลาดหลักทรัพย์ในวันที่ 23 มกราคม 2549 จนถึงวันที่มีการปรับโครงสร้างในวันที่ 23 มีนาคม 2549 ชัดเจนว่า มีความผิดตามมาตา 16/4ของ พ.ร.บ.การเดินอากาศ และมีโทษตาม ม.68/5 ทั้งโทษจำและโทษปรับ
นายเกียรติกล่าวต่อไปว่า อีกส่วนหนึ่งที่ตรงกันคือ นายพงศ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมไม่มีอำนาจสี่งให้เปลี่ยนแปลงคุณสมบัติผู้ขออนุญาติและถ้าจะมีการกำหนดคุณสมบัติเป็นอื่นต้องกำหนดผ่านกฎกระทรวงเท่านั้นซึ่งก็ไม่มีกฎกระทรวงรองรับ ดังนั้นการที่ นายชัยศักดิ์ อังค์สุวรรณ อธิบดีกรมการขนส่งทางอากาศให้สัมภาษณ์ว่า หลังจากพบว่ามีความผิดและเตียมที่จะออกใบอนุญาติให้ใหม่นั้นต้องกลับไปทบทวนใหม่ นายพงศ์ศักดิ์ไม่มีอำนาจ
“การที่ไปอ้างว่ามีการแก้ไขเรียบร้อยแล้ววันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2549 และออกใบอนุญาติใหม่ใหม่ขัดกับคำวินิจฉัยของกฤษฎีกาเรื่องนี้คือกระบวนการของกลุ่มทุนต่างชาติในการเข้ามาครอบงำกิจการทั้งบริษัทแม่และบริษัทลูกของชินคอร์ป”นายเกียรติกล่าว
นายเกียรติ ตั้งคำถามถึงผู้ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้โดยตรงว่า 1.นายสมคิดต้องยอมรับว่า การครอบงำธุรกิจในกลุ่มชินคอร์ปและเทมาเส็กมีกหลักฐานเพียงพอที่จะให้กรมพัฒนาธุรกิจฯ ชี้ชัดว่าเป็นการถือหุ้นแทน นายสมคิดจำนวนด้วยหลักฐานปฏิเสธมิได้ และขอให้กระทรวงพาณิชย์เลิกถ่วงเวลา ยุบคณะที่ทำงานขึ้นมาเพราะไม่ถูกต้อง เลิกเล่นลิเกให้คนดู
2.ขอให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้าส่งเรื่องให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีต่อไปทันทีไม่เช่นนั้นจะเกินเลยขั้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ถึงขั้นขัดขวางกระบวนการยุติธรรม
3.นายสมคิดในฐานะรองนายกฯกำกับดูแลกระทรวงการคลังต้องสั่งให้สรรพากรเข้าตรวจสอบการเสียภาษีของดะโต๊ะสุรินทร์ทันที เนื่องจากรับเงินได้จากบริษทในต่างประเทศเข้าบัญชีตัวเอง 2,720 ล้านบาทก่อนที่จะเข้าไปในบัญชี บ.กุหลาบแล้ว
นายเกียรติ กล่าวต่อไปว่า ตอนเช้าตนได้ข่าวว่า นายทนง พิทยะ รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับการถือหุ้นนอมินีว่า การถือหุ้นแทนนั้น ผู้ถือหุ้นแทนต้องรับผิดเสียก่อน ตนคิดว่าตลกมากเหมือนกับการจับขโมยที่ขโมยของแล้วมีหลักฐานที่ขโมยไปแล้วต้องให้โจรรับสารภาพถึงจะเอาผิดได้ นายทนงควรกลับไปทบทวนพื้นฐานกฎหมายของนายทนงใหม่
“ผมฝากว่าทั้ง นายสมคิด นายปรีชา และนายยรรยง ควรจะเลิกทำตัวเป็นนอมินีของผู้กระทำความผิดเพราะพฤติกรรมที่ผ่านมาส่อเค้าว่า ไม่ได้ไปตรวจสอบการถือหุ้นแทนกลับเป็นผู้มีพฤติกรรมเป็นนอมินีของผู้กระทำความผิด และนายพงศ์ศักดิ์ต้องชี้แจงการอนุมัติการให้ใบอนุญาติแอร์เอเชียโดยไม่มีอำนาจตามกฎหมายในการปรับแก้คุณสมบัติของแอร์เอเชียเพราะยังอยู่ในช่วงของการสอบสวนของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าอยู่ด้วย” นายเกียรติกล่าว
นายเกียรติกล่าวต่อไปว่า พรรคประชาธิปัตย์เคยตรวจสอบบริษัทเอเชียเอเวเอชั่น พบว่าเป็นสำนักงานร้าง วันนี้ตนส่งคนไปตรวจสอบพบว่าบริษัทเอเชียฯ ตั้งอยู่ชั้น 15 แต่อยู่ในบริษัทแห่งหนึ่งในกลุ่มชินคอร์ป ตัวบริษัทตั้งอยู่ข้างใน พฤติกรรมอะไรงไม่ต้องธิบาย สังคมมองครั้งเดียวก็คงจะมองออก ตนเห็นว่า ผู้ที่เกี่ยวข้องกับเรี่องนั้งหมดควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมิเช่นนั้นจะเป็นการขัดขวางกระบวนการยุติธรรม
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 13 ก.ย. 2549--จบ--