กรุงเทพ--18 ธ.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
ในโอกาสการเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการของนายบัวสอน บุบผาวัน นายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ระหว่างวันที่ 17-18 ธันวาคม 2549 นายกรัฐมนตรีลาวได้หารือข้อราชการกับพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม ที่ทำเนียบรัฐบาล โดยมี รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (ม.ร.ว. ปรีดิยาธร เทวกุล) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (นายนิตย์ พิบูลสงคราม) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายเกริกไกร จีระแพทย์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (นายปิยะสวัสดิ์ อัมระนันทน์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายธีระ สูตะบุตร) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (พลเอกบุญรอด สมทัศน์) เข้าร่วมการหารือด้วย
นายกรัฐมนตรีได้กล่าวต้อนรับนายกรัฐมนตรีลาวและคณะ ในโอกาสมาเยือนไทยอย่างเป็นทางการ สืบเนื่องจากการที่นายกรัฐมนตรีเดินทางไปเยือนลาวเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม ที่ผ่านมา เป็นประเทศแรกที่ได้เดินทางเยือนในฐานะนายกรัฐมนตรี โดยได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่น และได้แลกเปลี่ยนความคิดอย่างตรงไปตรงมากับนายกรัฐมนตรีลาว ซึ่งถือเป็นพื้นฐานแก่การดำเนินความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศให้ก้าวหน้าต่อไป นายกรัฐมนตรีได้กล่าวขอบคุณนายกรัฐมนตรีลาวที่เข้าเยี่ยมชมงานมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติ “ราชพฤกษ์ 2549” และให้การสนับสนุนการจัดงานดังกล่าวอย่างดี เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมเฉลิมฉลองในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี
นายกรัฐมนตรีลาวแสดงความยินดีที่ได้มีโอกาสเดินทางเยือนไทยและขอบคุณการต้อนรับอย่างอบอุ่นของรัฐบาลและประชาชนไทย สำหรับการเข้าร่วมงานมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรตินั้น รัฐบาลลาวรู้สึกเป็นเกียรติที่ได้เข้าร่วมจัดงาน และกระทรวงกสิกรรมและป่าไม้ของลาวมีความยินดีที่จะมอบสวนกลางแจ้งของลาวให้แก่ประเทศไทยเพื่อร่วมเฉลิมฉลองสิริราชสมบัติ 60 ปี และเพื่อแสดงถึงไมตรีจิตมิตรภาพระหว่างสองประเทศ
ทั้งสองฝ่ายยังได้หารือถึงการเปิดสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่สอง (มุกดาหาร-สะหวันนะเขต) ในวันที่ 20 ธันวาคม ที่จะถึงนี้ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ เป็นประธานฝ่ายไทย ร่วมกับนายบุญยัง วอละจิด รองประธานประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยสะพานมิตรภาพ 2 จะเป็นจุดเชื่อมโยงความร่วมมือไทย-ลาว ที่สำคัญแห่งหนึ่ง และจะนำไปสู่การขยายความร่วมมือระหว่างไทย-ลาว กับประเทศในอนุภูมิภาคอย่างกว้างขวาง และสามารถใช้ประโยชน์โดยเชื่อมโยงกับความร่วมมือ ACMECS และ East-West Economic Corridor ต่อไปได้ด้วย นอกจากนั้น ยังมีการหารือเรื่องอื่นๆ ในหลายเรื่อง อาทิ ความร่วมมือด้านไฟฟ้าและพลังงาน การสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขง (นครพนม-คำม่วน) และ (เชียงของ-ห้วยทราย) ความร่วมมือทางเศรษฐกิจภายใต้กรอบอาเซียนปัญหาชาวม้งเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย และการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนระหว่างกัน เป็นต้น
ในโอกาสนี้ รัฐบาลทั้งสองฝ่ายได้ลงนามในความตกลง 7 ฉบับ ได้แก่
1. ความตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลลาวว่าด้วยสะพานมิตรภาพ 2 (มุกดาหาร-สะหวันนะเขต) เพื่อกำหนดพื้นฐานทางกฎหมายของการบริหารการใช้สะพาน ซึ่งจะกำหนดเปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 20 ธันวาคม ศกนี้
2. หนังสือแลกเปลี่ยนแก้ไขความตกลงว่าด้วยการเดินทางข้ามแดนระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลลาว ฉบับลงนามเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2540 เพื่อเปิดจุดผ่านแดนถาวรระหว่างไทย-ลาวเพิ่ม 1 จุดที่สะพานมิตรภาพ 2 (จากเดิมที่มี 14 จุด) ได้แก่ ด่านบ้านบางทรายใหญ่และบ้านสงเปือย อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร ตรงข้ามกับด่านบ้านนาแก เมืองไกสอนพมวิหาน แขวงสะหวันนะเขต
3. บันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลลาวว่าด้วยความร่วมมือในการพัฒนาไฟฟ้าในลาว เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านการพัฒนาไฟฟ้าในลาวตั้งแต่บัดนี้ถึงปี 2558 ให้ได้ประมาณ 5,000 เมกะวัตต์ เพื่อจำหน่ายให้แก่ไทย (เพิ่มจากเดิมที่กำหนดไว้ 3,000 เมกะวัตต์ตามบันทึกความเข้าใจฯ ฉบับลงนามเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2539) รวมทั้งจะร่วมมือด้านการพัฒนาแหล่งพลังงานไฟฟ้าด้านความร้อนจากลาวด้วย
4. บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการให้ความสนับสนุนทางการเงินแก่ลาวเพื่อลงทุนในโครงการก่อสร้างเขื่อนและโรงไฟฟ้าพลังน้ำ น้ำงึม 2 เพื่อให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ลาวเพื่อลงทุนในโครงการน้ำงึม 2 โดยให้กู้วงเงินกู้ไม่เกิน 1,000 ล้านบาทและให้รัฐวิสาหกิจไฟฟ้าลาวออกพันธบัตรสกุลเงินบาทในประเทศไทยมูลค่าไม่เกิน 1,500 ล้านบาท โดยธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน. หรือ EXIM Bank) เป็นผู้ค้ำประกันพันธบัตรดังกล่าว
5. ข้อตกลงเบื้องต้นเพื่อการลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าและเหมืองถ่านหินในเมืองหงสา แขวงไชยะบุรี ลาว เพื่อให้ บมจ.บ้านปู ลงทุนในโครงการสร้างโรงไฟฟ้า และเหมืองถ่านหินในเมืองหงสา กำลังการผลิต 1,800 เมกะวัตต์ โดยกำหนดจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบของการฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) ของไทย ภายในปี 2555
6. สัญญาซื้อขายไฟฟ้าโครงการน้ำเทิน 1 โดยไทยจะรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการ น้ำเทิน 1 กำลังผลิต 523 เมกะวัตต์ กำหนดจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบ กฟผ. ในปี 2554
7. สัญญาซื้อขายไฟฟ้าโครงการน้ำงึม 3 โดยไทยจะรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการน้ำงึม 3 กำลังผลิต 440 เมกะวัตต์ กำหนดจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบ กฟผ. ภายในปี 2556
ภายหลังพิธีลงนาม นายกรัฐมนตรีได้เป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารกลางวันเพื่อเป็นเกียรติแก่นายกรัฐมนตรีลาวและคณะ ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนีบรัฐบาล จากนั้น เวลาประมาณ 16.00 น. นายกรัฐมนตรีได้นำนายกรัฐมนตรีลาวเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ก่อนที่นายกรัฐมนตรีลาวและคณะจะเดินทางกลับประเทศลาวในค่ำวันเดียวกัน
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
ในโอกาสการเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการของนายบัวสอน บุบผาวัน นายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ระหว่างวันที่ 17-18 ธันวาคม 2549 นายกรัฐมนตรีลาวได้หารือข้อราชการกับพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม ที่ทำเนียบรัฐบาล โดยมี รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (ม.ร.ว. ปรีดิยาธร เทวกุล) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (นายนิตย์ พิบูลสงคราม) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายเกริกไกร จีระแพทย์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (นายปิยะสวัสดิ์ อัมระนันทน์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายธีระ สูตะบุตร) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (พลเอกบุญรอด สมทัศน์) เข้าร่วมการหารือด้วย
นายกรัฐมนตรีได้กล่าวต้อนรับนายกรัฐมนตรีลาวและคณะ ในโอกาสมาเยือนไทยอย่างเป็นทางการ สืบเนื่องจากการที่นายกรัฐมนตรีเดินทางไปเยือนลาวเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม ที่ผ่านมา เป็นประเทศแรกที่ได้เดินทางเยือนในฐานะนายกรัฐมนตรี โดยได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่น และได้แลกเปลี่ยนความคิดอย่างตรงไปตรงมากับนายกรัฐมนตรีลาว ซึ่งถือเป็นพื้นฐานแก่การดำเนินความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศให้ก้าวหน้าต่อไป นายกรัฐมนตรีได้กล่าวขอบคุณนายกรัฐมนตรีลาวที่เข้าเยี่ยมชมงานมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติ “ราชพฤกษ์ 2549” และให้การสนับสนุนการจัดงานดังกล่าวอย่างดี เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมเฉลิมฉลองในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี
นายกรัฐมนตรีลาวแสดงความยินดีที่ได้มีโอกาสเดินทางเยือนไทยและขอบคุณการต้อนรับอย่างอบอุ่นของรัฐบาลและประชาชนไทย สำหรับการเข้าร่วมงานมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรตินั้น รัฐบาลลาวรู้สึกเป็นเกียรติที่ได้เข้าร่วมจัดงาน และกระทรวงกสิกรรมและป่าไม้ของลาวมีความยินดีที่จะมอบสวนกลางแจ้งของลาวให้แก่ประเทศไทยเพื่อร่วมเฉลิมฉลองสิริราชสมบัติ 60 ปี และเพื่อแสดงถึงไมตรีจิตมิตรภาพระหว่างสองประเทศ
ทั้งสองฝ่ายยังได้หารือถึงการเปิดสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่สอง (มุกดาหาร-สะหวันนะเขต) ในวันที่ 20 ธันวาคม ที่จะถึงนี้ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ เป็นประธานฝ่ายไทย ร่วมกับนายบุญยัง วอละจิด รองประธานประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยสะพานมิตรภาพ 2 จะเป็นจุดเชื่อมโยงความร่วมมือไทย-ลาว ที่สำคัญแห่งหนึ่ง และจะนำไปสู่การขยายความร่วมมือระหว่างไทย-ลาว กับประเทศในอนุภูมิภาคอย่างกว้างขวาง และสามารถใช้ประโยชน์โดยเชื่อมโยงกับความร่วมมือ ACMECS และ East-West Economic Corridor ต่อไปได้ด้วย นอกจากนั้น ยังมีการหารือเรื่องอื่นๆ ในหลายเรื่อง อาทิ ความร่วมมือด้านไฟฟ้าและพลังงาน การสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขง (นครพนม-คำม่วน) และ (เชียงของ-ห้วยทราย) ความร่วมมือทางเศรษฐกิจภายใต้กรอบอาเซียนปัญหาชาวม้งเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย และการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนระหว่างกัน เป็นต้น
ในโอกาสนี้ รัฐบาลทั้งสองฝ่ายได้ลงนามในความตกลง 7 ฉบับ ได้แก่
1. ความตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลลาวว่าด้วยสะพานมิตรภาพ 2 (มุกดาหาร-สะหวันนะเขต) เพื่อกำหนดพื้นฐานทางกฎหมายของการบริหารการใช้สะพาน ซึ่งจะกำหนดเปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 20 ธันวาคม ศกนี้
2. หนังสือแลกเปลี่ยนแก้ไขความตกลงว่าด้วยการเดินทางข้ามแดนระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลลาว ฉบับลงนามเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2540 เพื่อเปิดจุดผ่านแดนถาวรระหว่างไทย-ลาวเพิ่ม 1 จุดที่สะพานมิตรภาพ 2 (จากเดิมที่มี 14 จุด) ได้แก่ ด่านบ้านบางทรายใหญ่และบ้านสงเปือย อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร ตรงข้ามกับด่านบ้านนาแก เมืองไกสอนพมวิหาน แขวงสะหวันนะเขต
3. บันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลลาวว่าด้วยความร่วมมือในการพัฒนาไฟฟ้าในลาว เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านการพัฒนาไฟฟ้าในลาวตั้งแต่บัดนี้ถึงปี 2558 ให้ได้ประมาณ 5,000 เมกะวัตต์ เพื่อจำหน่ายให้แก่ไทย (เพิ่มจากเดิมที่กำหนดไว้ 3,000 เมกะวัตต์ตามบันทึกความเข้าใจฯ ฉบับลงนามเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2539) รวมทั้งจะร่วมมือด้านการพัฒนาแหล่งพลังงานไฟฟ้าด้านความร้อนจากลาวด้วย
4. บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการให้ความสนับสนุนทางการเงินแก่ลาวเพื่อลงทุนในโครงการก่อสร้างเขื่อนและโรงไฟฟ้าพลังน้ำ น้ำงึม 2 เพื่อให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ลาวเพื่อลงทุนในโครงการน้ำงึม 2 โดยให้กู้วงเงินกู้ไม่เกิน 1,000 ล้านบาทและให้รัฐวิสาหกิจไฟฟ้าลาวออกพันธบัตรสกุลเงินบาทในประเทศไทยมูลค่าไม่เกิน 1,500 ล้านบาท โดยธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน. หรือ EXIM Bank) เป็นผู้ค้ำประกันพันธบัตรดังกล่าว
5. ข้อตกลงเบื้องต้นเพื่อการลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าและเหมืองถ่านหินในเมืองหงสา แขวงไชยะบุรี ลาว เพื่อให้ บมจ.บ้านปู ลงทุนในโครงการสร้างโรงไฟฟ้า และเหมืองถ่านหินในเมืองหงสา กำลังการผลิต 1,800 เมกะวัตต์ โดยกำหนดจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบของการฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) ของไทย ภายในปี 2555
6. สัญญาซื้อขายไฟฟ้าโครงการน้ำเทิน 1 โดยไทยจะรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการ น้ำเทิน 1 กำลังผลิต 523 เมกะวัตต์ กำหนดจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบ กฟผ. ในปี 2554
7. สัญญาซื้อขายไฟฟ้าโครงการน้ำงึม 3 โดยไทยจะรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการน้ำงึม 3 กำลังผลิต 440 เมกะวัตต์ กำหนดจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบ กฟผ. ภายในปี 2556
ภายหลังพิธีลงนาม นายกรัฐมนตรีได้เป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารกลางวันเพื่อเป็นเกียรติแก่นายกรัฐมนตรีลาวและคณะ ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนีบรัฐบาล จากนั้น เวลาประมาณ 16.00 น. นายกรัฐมนตรีได้นำนายกรัฐมนตรีลาวเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ก่อนที่นายกรัฐมนตรีลาวและคณะจะเดินทางกลับประเทศลาวในค่ำวันเดียวกัน
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-