ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต ณ สิ้นไตรมาส 2 ปี 49 ลดลงร้อยละ 6.71 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานยอดการ
ใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเดือน มิ.ย.49 มีปริมาณการใช้จ่ายรวม 58,944.31 ล้านบาท ลดลง 4,240.31 ล้านบาท จากยอดการใช้จ่ายสิ้นเดือน
มี.ค.49 ที่ 63,184.62 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนลดลงร้อยละ 6.71 ซึ่งลดลงจากการใช้ภายในประเทศและการเบิกเงินสดล่วงหน้า ส่วนยอด
ใช้จ่ายในต่างประเทศปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อย โดยปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตภายในประเทศสิ้นเดือน มิ.ย.มีจำนวน 42,312.35 ล้านบาท
ลดลง 2,906.31 ล้านบาท จากยอดการใช้จ่ายเดือน มี.ค.จำนวน 45,218.66 ล้านบาท คิดเป็นอัตราลดลงร้อยละ 6.43 ส่วนยอดเบิกเงินสด
ล่วงหน้าเดือน มิ.ย.มีจำนวน 14,387.40 ล้านบาท ลดลง 1,382.99 ล้านบาท จากยอดเบิกเงินสดเดือน มี.ค.ที่ 15,770.39 ล้านบาท หรือ
คิดเป็นสัดส่วนลดลงร้อยละ 8.77 ขณะที่ยอดใช้จ่ายในต่างประเทศเดือน มิ.ย.เป็นเงิน 2,244.56 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 48.99 ล้านบาท จากเดือน
มี.ค.ที่มียอดใช้จ่าย 2,195.57 ล้านบาท แม้ว่ายอดการใช้จ่ายสิ้นไตรมาส 2 จะเพิ่มขึ้นจากสิ้นไตรมาสแรกของปีนี้ แต่ข้อมูลยอดสินเชื่อคงค้าง
จากการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตยังคงเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ รองผู้ว่าการ สายเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธปท.กล่าวว่า ยอดสินเชื่อบัตรเครดิตที่เพิ่มขึ้นนั้น
ชะลอลงจากในอดีตซึ่งเคยขยายตัวถึงร้อยละ 30 มากแล้ว และแนวโน้มสิ้นเชื่อบัตรเครดิตก็ขยายตัวชะลอมา 1-2 ปี อีกทั้งหลังจากที่ ธปท.มี
กฎเกณฑ์เกี่ยวกับการให้สินเชื่อบัตรเครดิตที่เข้มงวดขึ้น ก็ทำให้ธนาคารมีความระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อบัตรเครดิตมากขึ้น (กรุงเทพธุรกิจ,
ผู้จัดการรายวัน, โพสต์ทูเดย์, ไทยรัฐ, เดลินิวส์, มติชน)
2. เงินรับฝากภาคครัวเรือนในไตรมาส 2 ปี 49 ของ ธ.เฉพาะกิจของรัฐเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.36 รายงานจากธนาคารแห่ง
ประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยเงินรับฝากจากภาคครัวเรือนในไตรมาส 2 ปี 49 ของ ธ.เฉพาะกิจของรัฐทั้ง 3 แห่ง ได้แก่ ธ.ออมสิน
ธ.อาคารสงเคราะห์ (ธอส.) และ ธ.เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) มีจำนวน 961,689 ล้านบาท เพิ่มจากไตรมาสก่อน
60,598 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.72 จากไตรมาสก่อนที่มีเงินรับฝากจากภาคครัวเรือนจำนวน 901,091 ล้านบาท และเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับ
ช่วงเดียวกันของปีก่อน 109,309 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ11.36 แบ่งเป็น ธ.ออมสินมีเงินรับฝากในไตรมาส 2 ปี 49 ลดลงร้อยละ 0.16
เทียบต่อปี ขณะที่ ธอส.เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 31.81 ส่วน ธ.ก.ส.เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.16 เมื่อเทียบต่อปี (แนวหน้า)
3. ผลการดำเนินงานของ บจ. ในช่วง 5 ปีย้อนหลังเติบโตในอัตราที่น้อยลงเมื่อไม่นับรวมกลุ่มพลังงาน จากการรวบรวมข้อมูลผลการ
ดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ในช่วง 5 ปีย้อนหลัง ตั้งแต่ปี 44-48 และไตรมาสแรกปี 49 พบว่า บจ. มีอัตราการเติบโตอย่าง
ต่อเนื่อง แต่เป็นไปในลักษณะที่ขะลอตัวลดลง โดยปี 44 บจ.มีกำไรสุทธิรวม 167,281.31 ล้านบาท ขณะที่ปี 45 กำไรสุทธิรวม
208,519.68 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 24.65 สำหรับปี 46 กำไรสุทธิรวม 317,454.10 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 52.24 ปี 47
กำไรสุทธิรวม 459,627.48 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 44.78 และในปี 48 กำพไรสุทธิรวม 525,633.73 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.36 หาก
พิจารณาผลการดำเนินงานออกเป็นรายกลุ่มปรากฏว่า กลุ่มอุตสาหกรรมที่กำไรสุทธิจากการดำเนินงานสูงสุด คือ กลุ่มทรัพยากร ซึ่งประกอบด้วย
หมวดพลังงานและหมวดเหมืองแร่ โดยอัตราการเติบโตของธุรกิจกลุ่มทรัพยากรได้มีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยปี 44 ธุรกิจกลุ่มทรัพยากร
มีกำไรสุทธิรวม 18,112.94 ล้านบาท ส่วนปี 45 มีกำไรเพิ่มขึ้นร้อยละ 158.49 ขณะที่ปี 46 มีกำไรเพิ่มขึ้นร้อยละ 37.89 ปี 48 กำไรเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 32.14 ดังนั้น เป็นที่สังเกตว่า แม้อัตราการเติบโตกำไรสุทธิของ บจ.จะเติบโตอย่างต่อเนื่อง แต่อัตราการเติบโตกลับปรับตัวขึ้นลงตามการ
เติบโตของกลุ่มพลังงาน ซึ่งหลายฝ่ายให้ความเป็นห่วงในเรื่องดังกล่าว (ผู้จัดการรายวัน)
4. สบน.หวั่น ธพ.ปรับขึ้นดอกเบี้ยส่งผลหระทบหนี้สาธารณะของไทย รายงานจากสำนักงานการบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผย
ถึงกรณีที่ ธพ.ต่าง ๆ ทยอยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนั้นจะส่งผลกระทบต่อหนี้สาธารณะของไทยค่อนข้างมาก เนื่องจากจะทำให้การก่อหนี้ใหม่ของรัฐบาล
ต้องรับภาระที่ต้นทุนสูงขึ้น แม้ว่าปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากต่างประเทศจะถูกกว่าในประเทศก็ตาม แต่มีความเสี่ยงมากกว่าเพราะมีปัจจัยอื่น ๆ
เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เช่น ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน เป็นต้น (ผู้จัดการรายวัน, บ้านเมือง, แนวหน้า)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คาดว่าเศรษฐกิจของยูโรโซนในไตรมาสที่ 2 จะขยายตัวอย่างรวดเร็วที่สุดในรอบเกือบ 6 ปี รายงานจากปารีส เมื่อวันที่
14 ส.ค. 49 สหภาพยุโรปคาดว่า ในไตรมาสที่ 2/49 เศรษฐกิจยูโรโซนจะขยายตัวจากไตรมาสแรกร้อยละ 0.9 ขยายตัวอย่างรวดเร็วที่สุดใน
รอบเกือบ 6 ปีนับตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ปี 43 ทำให้คาดว่า ธ.กลางยุโรปจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกครั้งหลังจากที่ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ
0.25 เมื่อต้นเดือนนี้ และมากกว่า อังกฤษ สรอ. และญี่ปุ่นที่เศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2/49 เติบโตจากไตรมาสก่อนหน้าร้อยละ 0.8 0.6 และ
0.2 ตามลำดับ เนื่องจากเศรษฐกิจของแต่ละประเทศในยูโรโซนโดยเฉพาะ ฝรั่งเศสเติบโตถึงร้อยละ 1.1 — 1.2 ซึ่งมากกว่าไตรมาสแรก
1 เท่า และเยอรมนีขยายตัวมากถึงร้อยละ 0.9 ทั้งนี้คาดว่าคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปจะปรับเพิ่มคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของ
ยูโรโซนในปี 49 จากร้อยละ 2.1 ในปัจจุบัน และปรับเพิ่มประมาณการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 3 เป็นขยายตัวระหว่างร้อยละ
0.5 -0.9 เพิ่มขึ้นจากที่คาดการณ์ไว้เดิมที่ระหว่างร้อยละ 0.3 -0.7 ส่วนไตรมาสที่ 4 ปรับลดประมาณการณ์การเติบโตลงที่ร้อยละ
0.4 — 0.7 จากประมาณการณ์เดิมร้อยละ 0.5 — 1.0 เนื่องจากคาดว่าเศรษฐกิจเยอรมนีมีสัญญานชะลอตัว และอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ
ยูโรโซนจะสูงถึงร้อยละ 3.5 ในปลายปีนี้ (รอยเตอร์)
2. เศรษฐกิจของเยอรมนีในไตรมาส 2 ปีนี้ขยายตัวสูงสุดในรอบกว่า 5 ปี รายงานจากกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี เมื่อวันที่
14 ก.ค.49 สนง.สถิติแห่งชาติของเยอรมนี เปิดเผยว่า เศรษฐกิจของเยอรมนีในไตรมาส 2 ปีนี้ขยายตัวร้อยละ 0.9 สูงสุดในรอบกว่า 5 ปี
เทียบกับที่นักเศรษฐศาสตร์คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 0.8 โดยมีปัจจัยบวกจากการลงทุนในภาคการก่อสร้างเติบโตอย่างแข็งแกร่งช่วยชดเชยการ
ส่งออกที่ชะลอตัวลง ซึ่งนักวิเคราะห์คาดว่าจะส่งผลให้ ธ.กลางของสหภาพยุโรปต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในการประชุมเดือน ต.ค.นี้ หลัง
จากที่ปรับขึ้นมาแล้วในเดือนนี้จนอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.0 และอาจจะปรับขึ้นอีกในเดือน ธ.ค.49 นอกจากนี้ สนง.สถิติฯ ได้ปรับตัวเลขการขยาย
ตัวทางเศรษฐกิจในไตรมาสแรกปีนี้เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 0.7 จากร้อยละ 0.4 และปรับตัวเลขในไตรมาสสุดท้ายปี 48 เป็นร้อยละ 0.3 จากเดิมที่
ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งทำให้หลายฝ่ายปรับประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจในปีนี้เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 2 (รอยเตอร์)
3. ราคาบ้านในอังกฤษเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 ในเดือน มิ.ย.49 รายงานจากลอนดอนเมื่อ 14 ส.ค.49
The Department for Communities and Local Government เปิดเผยว่า ราคาบ้านในอังกฤษในเดือน มิ.ย.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2
เทียบต่อปี หลังจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6 ในเดือนพ.ค.49 โดยราคาเฉลี่ยอยู่ที่หลังละ 190,883 ปอนด์ เพิ่มขึ้นจากราคาเฉลี่ยหลังละ
190,065 ปอนด์ในเดือน พ.ค.49 ทั้งนี้ การขยายตัวของราคาบ้านได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ เนื่องจากผลการสำรวจที่พบว่ายอดขายบ้าน
เพิ่มสูงขึ้น สะท้อนภาวะความแข็งแกร่งของตลาดบ้านหลังจากที่ประสบภาวะชะลอตัวในช่วงปีที่ผ่านมา อนึ่ง ลอนดอนยังคงเป็นพื้นที่ที่ราคาบ้านแพง
ที่สุด โดยราคาบ้านเฉลี่ยอยู่ที่หลังละ 280,000 ปอนด์ อย่างไรก็ตาม การขยายตัวของราคาบ้านต่อปีกลับลดลงที่ระดับร้อยละ 5.8 จากร้อยละ
7 ในเดือนก่อนหน้า (รอยเตอร์)
4. ยอดค้าปลีกของจีนในเดือน ก.ค.49 ขยายตัวในอัตราร้อยละ 13.7 ต่อปีชะลอตัวจากเดือนก่อน รายงานจากปักกิ่ง เมื่อ 14
ส.ค. 49 สนง.สถิติแห่งชาติของจีนรายงานยอดค้าปลีกของประเทศขยายตัวในอัตราร้อยละ 13.7 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปีก่อน ชะลอตัว
จากเดือน มิ.ย.49 ซึ่งขยายตัวในอัตราร้อยละ 13.9 ต่อปี และต่ำกว่าที่คาดไว้ว่าจะขยายตัวในอัตราร้อยละ 14 ต่อปี โดยยอดค้าปลีกในช่วง
7 เดือนแรกของปี 49 ขยายตัวในอัตราร้อยละ 13.4 ต่อปี หลังจากที่ตลอดทั้งปี 48 และปี 47 ขยายตัวร้อยละ 12.9 และร้อยละ 13.3 ต่อปี
ตามลำดับ ทั้งนี้เป็นผลมาจากรายได้ที่เพิ่มขึ้นของชาวจีน โดยประชากรที่อาศัยอยู่ในเมืองและในชนบทมีรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.2 และร้อยละ
11.9 ตามลำดับในช่วงครึ่งปีแรกปี 49 เมื่อเทียบกับปีก่อน แต่อย่างไรก็ดีการใช้จ่ายในประเทศของจีนยังอยู่ในอัตราที่ต่ำเมื่อเทียบกับการลงทุนซึ่ง
ขยายตัวถึงร้อยละ 31.3 ในช่วงครึ่งปีแรกปี 49 ที่ผ่านมารัฐบาลจึงพยายามกระตุ้นการใช้จ่ายในประเทศเพื่อหวังลดการพึ่งพาการส่งออกและการ
ลงทุน แต่ยังมีอุปสรรคในการเพิ่มรายได้ของเกษตรกรและการขาดระบบสวัสดิการสังคมในชนบท ทั้งนี้ตัวเลขยอดค้าปลีกของจีนสามารถให้ภาพการ
ใช้จ่ายในประเทศแต่เพียงบางส่วนเท่านั้น เนื่องจากไม่ได้รวมธุรกรรมของภาคบริการ นอกจากนี้ยังไม่ได้ปรับตัวเลขตามอัตราเงินเฟ้อเพื่อแสดง
ปริมาณสินค้าที่จำหน่ายได้จริงอีกด้วย (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 15 ส.ค. 49 11 ส.ค. 49 31 ม.ค. 49 แหล่งข้อมู
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 37.376 39.078 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 37.1739/37.4606 38.9113/39.2013 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 5.12375 4.29375 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 708.42/ 11.50 762.63/12.66 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 11,100/11,200 11,300/11,400 10,350/10,450 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 69.14 70.02 60.96 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 1 ส.ค. 49 30.19*/27.54 30.19*/27.54 27.24/24.69 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต ณ สิ้นไตรมาส 2 ปี 49 ลดลงร้อยละ 6.71 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานยอดการ
ใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเดือน มิ.ย.49 มีปริมาณการใช้จ่ายรวม 58,944.31 ล้านบาท ลดลง 4,240.31 ล้านบาท จากยอดการใช้จ่ายสิ้นเดือน
มี.ค.49 ที่ 63,184.62 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนลดลงร้อยละ 6.71 ซึ่งลดลงจากการใช้ภายในประเทศและการเบิกเงินสดล่วงหน้า ส่วนยอด
ใช้จ่ายในต่างประเทศปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อย โดยปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตภายในประเทศสิ้นเดือน มิ.ย.มีจำนวน 42,312.35 ล้านบาท
ลดลง 2,906.31 ล้านบาท จากยอดการใช้จ่ายเดือน มี.ค.จำนวน 45,218.66 ล้านบาท คิดเป็นอัตราลดลงร้อยละ 6.43 ส่วนยอดเบิกเงินสด
ล่วงหน้าเดือน มิ.ย.มีจำนวน 14,387.40 ล้านบาท ลดลง 1,382.99 ล้านบาท จากยอดเบิกเงินสดเดือน มี.ค.ที่ 15,770.39 ล้านบาท หรือ
คิดเป็นสัดส่วนลดลงร้อยละ 8.77 ขณะที่ยอดใช้จ่ายในต่างประเทศเดือน มิ.ย.เป็นเงิน 2,244.56 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 48.99 ล้านบาท จากเดือน
มี.ค.ที่มียอดใช้จ่าย 2,195.57 ล้านบาท แม้ว่ายอดการใช้จ่ายสิ้นไตรมาส 2 จะเพิ่มขึ้นจากสิ้นไตรมาสแรกของปีนี้ แต่ข้อมูลยอดสินเชื่อคงค้าง
จากการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตยังคงเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ รองผู้ว่าการ สายเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธปท.กล่าวว่า ยอดสินเชื่อบัตรเครดิตที่เพิ่มขึ้นนั้น
ชะลอลงจากในอดีตซึ่งเคยขยายตัวถึงร้อยละ 30 มากแล้ว และแนวโน้มสิ้นเชื่อบัตรเครดิตก็ขยายตัวชะลอมา 1-2 ปี อีกทั้งหลังจากที่ ธปท.มี
กฎเกณฑ์เกี่ยวกับการให้สินเชื่อบัตรเครดิตที่เข้มงวดขึ้น ก็ทำให้ธนาคารมีความระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อบัตรเครดิตมากขึ้น (กรุงเทพธุรกิจ,
ผู้จัดการรายวัน, โพสต์ทูเดย์, ไทยรัฐ, เดลินิวส์, มติชน)
2. เงินรับฝากภาคครัวเรือนในไตรมาส 2 ปี 49 ของ ธ.เฉพาะกิจของรัฐเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.36 รายงานจากธนาคารแห่ง
ประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยเงินรับฝากจากภาคครัวเรือนในไตรมาส 2 ปี 49 ของ ธ.เฉพาะกิจของรัฐทั้ง 3 แห่ง ได้แก่ ธ.ออมสิน
ธ.อาคารสงเคราะห์ (ธอส.) และ ธ.เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) มีจำนวน 961,689 ล้านบาท เพิ่มจากไตรมาสก่อน
60,598 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.72 จากไตรมาสก่อนที่มีเงินรับฝากจากภาคครัวเรือนจำนวน 901,091 ล้านบาท และเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับ
ช่วงเดียวกันของปีก่อน 109,309 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ11.36 แบ่งเป็น ธ.ออมสินมีเงินรับฝากในไตรมาส 2 ปี 49 ลดลงร้อยละ 0.16
เทียบต่อปี ขณะที่ ธอส.เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 31.81 ส่วน ธ.ก.ส.เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.16 เมื่อเทียบต่อปี (แนวหน้า)
3. ผลการดำเนินงานของ บจ. ในช่วง 5 ปีย้อนหลังเติบโตในอัตราที่น้อยลงเมื่อไม่นับรวมกลุ่มพลังงาน จากการรวบรวมข้อมูลผลการ
ดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ในช่วง 5 ปีย้อนหลัง ตั้งแต่ปี 44-48 และไตรมาสแรกปี 49 พบว่า บจ. มีอัตราการเติบโตอย่าง
ต่อเนื่อง แต่เป็นไปในลักษณะที่ขะลอตัวลดลง โดยปี 44 บจ.มีกำไรสุทธิรวม 167,281.31 ล้านบาท ขณะที่ปี 45 กำไรสุทธิรวม
208,519.68 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 24.65 สำหรับปี 46 กำไรสุทธิรวม 317,454.10 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 52.24 ปี 47
กำไรสุทธิรวม 459,627.48 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 44.78 และในปี 48 กำพไรสุทธิรวม 525,633.73 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.36 หาก
พิจารณาผลการดำเนินงานออกเป็นรายกลุ่มปรากฏว่า กลุ่มอุตสาหกรรมที่กำไรสุทธิจากการดำเนินงานสูงสุด คือ กลุ่มทรัพยากร ซึ่งประกอบด้วย
หมวดพลังงานและหมวดเหมืองแร่ โดยอัตราการเติบโตของธุรกิจกลุ่มทรัพยากรได้มีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยปี 44 ธุรกิจกลุ่มทรัพยากร
มีกำไรสุทธิรวม 18,112.94 ล้านบาท ส่วนปี 45 มีกำไรเพิ่มขึ้นร้อยละ 158.49 ขณะที่ปี 46 มีกำไรเพิ่มขึ้นร้อยละ 37.89 ปี 48 กำไรเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 32.14 ดังนั้น เป็นที่สังเกตว่า แม้อัตราการเติบโตกำไรสุทธิของ บจ.จะเติบโตอย่างต่อเนื่อง แต่อัตราการเติบโตกลับปรับตัวขึ้นลงตามการ
เติบโตของกลุ่มพลังงาน ซึ่งหลายฝ่ายให้ความเป็นห่วงในเรื่องดังกล่าว (ผู้จัดการรายวัน)
4. สบน.หวั่น ธพ.ปรับขึ้นดอกเบี้ยส่งผลหระทบหนี้สาธารณะของไทย รายงานจากสำนักงานการบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผย
ถึงกรณีที่ ธพ.ต่าง ๆ ทยอยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนั้นจะส่งผลกระทบต่อหนี้สาธารณะของไทยค่อนข้างมาก เนื่องจากจะทำให้การก่อหนี้ใหม่ของรัฐบาล
ต้องรับภาระที่ต้นทุนสูงขึ้น แม้ว่าปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากต่างประเทศจะถูกกว่าในประเทศก็ตาม แต่มีความเสี่ยงมากกว่าเพราะมีปัจจัยอื่น ๆ
เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เช่น ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน เป็นต้น (ผู้จัดการรายวัน, บ้านเมือง, แนวหน้า)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คาดว่าเศรษฐกิจของยูโรโซนในไตรมาสที่ 2 จะขยายตัวอย่างรวดเร็วที่สุดในรอบเกือบ 6 ปี รายงานจากปารีส เมื่อวันที่
14 ส.ค. 49 สหภาพยุโรปคาดว่า ในไตรมาสที่ 2/49 เศรษฐกิจยูโรโซนจะขยายตัวจากไตรมาสแรกร้อยละ 0.9 ขยายตัวอย่างรวดเร็วที่สุดใน
รอบเกือบ 6 ปีนับตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ปี 43 ทำให้คาดว่า ธ.กลางยุโรปจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกครั้งหลังจากที่ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ
0.25 เมื่อต้นเดือนนี้ และมากกว่า อังกฤษ สรอ. และญี่ปุ่นที่เศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2/49 เติบโตจากไตรมาสก่อนหน้าร้อยละ 0.8 0.6 และ
0.2 ตามลำดับ เนื่องจากเศรษฐกิจของแต่ละประเทศในยูโรโซนโดยเฉพาะ ฝรั่งเศสเติบโตถึงร้อยละ 1.1 — 1.2 ซึ่งมากกว่าไตรมาสแรก
1 เท่า และเยอรมนีขยายตัวมากถึงร้อยละ 0.9 ทั้งนี้คาดว่าคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปจะปรับเพิ่มคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของ
ยูโรโซนในปี 49 จากร้อยละ 2.1 ในปัจจุบัน และปรับเพิ่มประมาณการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 3 เป็นขยายตัวระหว่างร้อยละ
0.5 -0.9 เพิ่มขึ้นจากที่คาดการณ์ไว้เดิมที่ระหว่างร้อยละ 0.3 -0.7 ส่วนไตรมาสที่ 4 ปรับลดประมาณการณ์การเติบโตลงที่ร้อยละ
0.4 — 0.7 จากประมาณการณ์เดิมร้อยละ 0.5 — 1.0 เนื่องจากคาดว่าเศรษฐกิจเยอรมนีมีสัญญานชะลอตัว และอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ
ยูโรโซนจะสูงถึงร้อยละ 3.5 ในปลายปีนี้ (รอยเตอร์)
2. เศรษฐกิจของเยอรมนีในไตรมาส 2 ปีนี้ขยายตัวสูงสุดในรอบกว่า 5 ปี รายงานจากกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี เมื่อวันที่
14 ก.ค.49 สนง.สถิติแห่งชาติของเยอรมนี เปิดเผยว่า เศรษฐกิจของเยอรมนีในไตรมาส 2 ปีนี้ขยายตัวร้อยละ 0.9 สูงสุดในรอบกว่า 5 ปี
เทียบกับที่นักเศรษฐศาสตร์คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 0.8 โดยมีปัจจัยบวกจากการลงทุนในภาคการก่อสร้างเติบโตอย่างแข็งแกร่งช่วยชดเชยการ
ส่งออกที่ชะลอตัวลง ซึ่งนักวิเคราะห์คาดว่าจะส่งผลให้ ธ.กลางของสหภาพยุโรปต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในการประชุมเดือน ต.ค.นี้ หลัง
จากที่ปรับขึ้นมาแล้วในเดือนนี้จนอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.0 และอาจจะปรับขึ้นอีกในเดือน ธ.ค.49 นอกจากนี้ สนง.สถิติฯ ได้ปรับตัวเลขการขยาย
ตัวทางเศรษฐกิจในไตรมาสแรกปีนี้เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 0.7 จากร้อยละ 0.4 และปรับตัวเลขในไตรมาสสุดท้ายปี 48 เป็นร้อยละ 0.3 จากเดิมที่
ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งทำให้หลายฝ่ายปรับประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจในปีนี้เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 2 (รอยเตอร์)
3. ราคาบ้านในอังกฤษเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 ในเดือน มิ.ย.49 รายงานจากลอนดอนเมื่อ 14 ส.ค.49
The Department for Communities and Local Government เปิดเผยว่า ราคาบ้านในอังกฤษในเดือน มิ.ย.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2
เทียบต่อปี หลังจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6 ในเดือนพ.ค.49 โดยราคาเฉลี่ยอยู่ที่หลังละ 190,883 ปอนด์ เพิ่มขึ้นจากราคาเฉลี่ยหลังละ
190,065 ปอนด์ในเดือน พ.ค.49 ทั้งนี้ การขยายตัวของราคาบ้านได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ เนื่องจากผลการสำรวจที่พบว่ายอดขายบ้าน
เพิ่มสูงขึ้น สะท้อนภาวะความแข็งแกร่งของตลาดบ้านหลังจากที่ประสบภาวะชะลอตัวในช่วงปีที่ผ่านมา อนึ่ง ลอนดอนยังคงเป็นพื้นที่ที่ราคาบ้านแพง
ที่สุด โดยราคาบ้านเฉลี่ยอยู่ที่หลังละ 280,000 ปอนด์ อย่างไรก็ตาม การขยายตัวของราคาบ้านต่อปีกลับลดลงที่ระดับร้อยละ 5.8 จากร้อยละ
7 ในเดือนก่อนหน้า (รอยเตอร์)
4. ยอดค้าปลีกของจีนในเดือน ก.ค.49 ขยายตัวในอัตราร้อยละ 13.7 ต่อปีชะลอตัวจากเดือนก่อน รายงานจากปักกิ่ง เมื่อ 14
ส.ค. 49 สนง.สถิติแห่งชาติของจีนรายงานยอดค้าปลีกของประเทศขยายตัวในอัตราร้อยละ 13.7 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปีก่อน ชะลอตัว
จากเดือน มิ.ย.49 ซึ่งขยายตัวในอัตราร้อยละ 13.9 ต่อปี และต่ำกว่าที่คาดไว้ว่าจะขยายตัวในอัตราร้อยละ 14 ต่อปี โดยยอดค้าปลีกในช่วง
7 เดือนแรกของปี 49 ขยายตัวในอัตราร้อยละ 13.4 ต่อปี หลังจากที่ตลอดทั้งปี 48 และปี 47 ขยายตัวร้อยละ 12.9 และร้อยละ 13.3 ต่อปี
ตามลำดับ ทั้งนี้เป็นผลมาจากรายได้ที่เพิ่มขึ้นของชาวจีน โดยประชากรที่อาศัยอยู่ในเมืองและในชนบทมีรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.2 และร้อยละ
11.9 ตามลำดับในช่วงครึ่งปีแรกปี 49 เมื่อเทียบกับปีก่อน แต่อย่างไรก็ดีการใช้จ่ายในประเทศของจีนยังอยู่ในอัตราที่ต่ำเมื่อเทียบกับการลงทุนซึ่ง
ขยายตัวถึงร้อยละ 31.3 ในช่วงครึ่งปีแรกปี 49 ที่ผ่านมารัฐบาลจึงพยายามกระตุ้นการใช้จ่ายในประเทศเพื่อหวังลดการพึ่งพาการส่งออกและการ
ลงทุน แต่ยังมีอุปสรรคในการเพิ่มรายได้ของเกษตรกรและการขาดระบบสวัสดิการสังคมในชนบท ทั้งนี้ตัวเลขยอดค้าปลีกของจีนสามารถให้ภาพการ
ใช้จ่ายในประเทศแต่เพียงบางส่วนเท่านั้น เนื่องจากไม่ได้รวมธุรกรรมของภาคบริการ นอกจากนี้ยังไม่ได้ปรับตัวเลขตามอัตราเงินเฟ้อเพื่อแสดง
ปริมาณสินค้าที่จำหน่ายได้จริงอีกด้วย (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 15 ส.ค. 49 11 ส.ค. 49 31 ม.ค. 49 แหล่งข้อมู
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 37.376 39.078 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 37.1739/37.4606 38.9113/39.2013 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 5.12375 4.29375 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 708.42/ 11.50 762.63/12.66 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 11,100/11,200 11,300/11,400 10,350/10,450 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 69.14 70.02 60.96 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 1 ส.ค. 49 30.19*/27.54 30.19*/27.54 27.24/24.69 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--