วันนี้(11พย.49) ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีมติยกเลิกประกาศของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ฉบับที่ 7 เรื่องการห้ามชุมนุมทางการเมือง ว่า นอกจากประกาศของ คปค.ฉบับนี้แล้ว ควรยกเลิกประกาศ คปค.ฉบับที่ 15 และ 27 ที่ยกเว้นข้อ 3 และ 4 ที่เป็นบทลงโทษให้การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
กรรมการบริหารพรรคการเมืองที่ถูกตัดสินยุบพรรค เป็นเวลา 5 ปี ด้วย คือ เมื่อห้ามพรรคการเมืองประชุมหรือดำเนินกิจกรรมใดๆทางการเมือง อย่างไรก็ตาม ขณะนี้กำลังเข้าสู่กระบวนการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งแน่นอนที่สุดในการเสนอเข้าไปเป็นสมัชชาแห่งชาติเพื่อพิจารณาหาสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ กำหนดให้มีตัวแทนพรรคการเมืองเข้าร่วมด้วย ดังนั้น การจะส่งตัวแทนเข้าไปร่วมหรือไม่ จำเป็นต้องมีการประชุมหารือกัน ดังนั้น เมื่อมีประกาศ คปค.ฉบับที่ 15 และ 27 อยู่ ก็จะทำให้พรรคการเมืองไม่สามารถดำเนินการหาตัวแทนไปร่วมสมัชชาแห่งชาติ ตนจึงอยากเรียกร้องให้รัฐบาลพิจารณายกเลิกประกาศ คปค.ฉบับที่ 15 และ 27
โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวอีกว่า ส่วนการยกเลิกกฎอัยการศึกที่ยังคงอยู่ น่าจะเกิดผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของต่างประเทศ เพราะความหมายของกฎอัยการศึกทำให้เสมือนหนึ่งว่าภาพลักษณ์ของประเทศไทยอยู่ในภาวะสงครามหรือไม่ปกติ ดังนั้น ถ้ายกเลิกกฎอัยการศึก จะทำให้ความเชื่อมั่นในสายตาต่างประเทศเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น ส่วนจะยกเลิกกฎอัยการศึกทั้งประเทศหรือบางพื้นที่นั้นขึ้นอยู่กับเหตุผลที่จะอธิบายให้สังคมได้รับทราบ ถ้ารัฐบาลสามารถอธิบายเหตุผลในการคงบังคับใช้กฎอัยการศึกในบางพื้นที่ได้ ประชาชนก็จะอาจเข้าใจได้ ทั้งนี้ ส่วนข้อวิตกกังวลที่ว่าหากยกเลิกกฎอัยการศึกแล้วอาจก่อให้เกิดปัญหาในการชุมนุมหรือเกิดคลื่นใต้น้ำออกมาให้ผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศนั้น ตนคิดว่าการทำงานของ คมช.และรัฐบาลจะมีส่วนสำคัญช่วยทำให้ประเทศกลับเข้าสู่ภาะปกติได้อีกทางหนึ่ง หากเป็นที่ยอมรับของสังคมได้ สิ่งเหล่านั้นก็คงไม่สามารถเกิดได้ง่าย
ผู้สื่อข่าวถามว่า พรรคประชาธิปัตย์ไม่รู้สึกกังวลต่อคดียุบพรรค จึงยังคงให้ใช้ประกาศของ คปค.ฉบับที่ 27 ข้อที่ 3 และ 4 ซึ่งเป็นบทลงโทษในคดียุบพรรค มีผลต่อไป นายองอาจ กล่าวว่า เราไม่วิตกกังวลในเรื่องนี้ เพราะถ้าใครติดตามการยื่นคำร้องของพรรคไทยรักไทยต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) เรื่องการพิจารณายุบพรรคประชาธิปัตย์ จะเห็นได้ว่าเป็นการยื่นคำร้องแบบแก้เกี้ยว และใส่ร้ายป้ายสีพรรคโดยไม่เป็นธรรม หลังจากที่พรรคไทยรักไทยถูกพิจารณายุบพรรคก่อนหน้านั้นเป็นเวลานานนับเดือน อีกทั้ง คำร้องของพรรคประชาธิปัตย์ที่ได้ยื่นชี้แจงในหลายเรื่องหลายประเด็น ก็ถูกอัยการสูงสุดตัดออกไปเกือบหมดในการพิจารณาเบื้องต้น เหลือเพียงไม่กี่ประเด็นที่ส่งไปยังศาลรัฐธรรมนูญให้พิจารณา
“ผมอยากให้ตุลาการรัฐธรรมนูญเปิดให้มีการพิจารณาคดียุบพรรคอย่างเปิดเผยทุกนัด เพื่อให้ประชาชนได้รับรู้รับทราบ ก็จะก่อให้เกิดการยอมรับในการดำเนินการพิจารณาของตุลาการรัฐธรรมนูญ”โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 11 พ.ย. 2549--จบ--
กรรมการบริหารพรรคการเมืองที่ถูกตัดสินยุบพรรค เป็นเวลา 5 ปี ด้วย คือ เมื่อห้ามพรรคการเมืองประชุมหรือดำเนินกิจกรรมใดๆทางการเมือง อย่างไรก็ตาม ขณะนี้กำลังเข้าสู่กระบวนการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งแน่นอนที่สุดในการเสนอเข้าไปเป็นสมัชชาแห่งชาติเพื่อพิจารณาหาสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ กำหนดให้มีตัวแทนพรรคการเมืองเข้าร่วมด้วย ดังนั้น การจะส่งตัวแทนเข้าไปร่วมหรือไม่ จำเป็นต้องมีการประชุมหารือกัน ดังนั้น เมื่อมีประกาศ คปค.ฉบับที่ 15 และ 27 อยู่ ก็จะทำให้พรรคการเมืองไม่สามารถดำเนินการหาตัวแทนไปร่วมสมัชชาแห่งชาติ ตนจึงอยากเรียกร้องให้รัฐบาลพิจารณายกเลิกประกาศ คปค.ฉบับที่ 15 และ 27
โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวอีกว่า ส่วนการยกเลิกกฎอัยการศึกที่ยังคงอยู่ น่าจะเกิดผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของต่างประเทศ เพราะความหมายของกฎอัยการศึกทำให้เสมือนหนึ่งว่าภาพลักษณ์ของประเทศไทยอยู่ในภาวะสงครามหรือไม่ปกติ ดังนั้น ถ้ายกเลิกกฎอัยการศึก จะทำให้ความเชื่อมั่นในสายตาต่างประเทศเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น ส่วนจะยกเลิกกฎอัยการศึกทั้งประเทศหรือบางพื้นที่นั้นขึ้นอยู่กับเหตุผลที่จะอธิบายให้สังคมได้รับทราบ ถ้ารัฐบาลสามารถอธิบายเหตุผลในการคงบังคับใช้กฎอัยการศึกในบางพื้นที่ได้ ประชาชนก็จะอาจเข้าใจได้ ทั้งนี้ ส่วนข้อวิตกกังวลที่ว่าหากยกเลิกกฎอัยการศึกแล้วอาจก่อให้เกิดปัญหาในการชุมนุมหรือเกิดคลื่นใต้น้ำออกมาให้ผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศนั้น ตนคิดว่าการทำงานของ คมช.และรัฐบาลจะมีส่วนสำคัญช่วยทำให้ประเทศกลับเข้าสู่ภาะปกติได้อีกทางหนึ่ง หากเป็นที่ยอมรับของสังคมได้ สิ่งเหล่านั้นก็คงไม่สามารถเกิดได้ง่าย
ผู้สื่อข่าวถามว่า พรรคประชาธิปัตย์ไม่รู้สึกกังวลต่อคดียุบพรรค จึงยังคงให้ใช้ประกาศของ คปค.ฉบับที่ 27 ข้อที่ 3 และ 4 ซึ่งเป็นบทลงโทษในคดียุบพรรค มีผลต่อไป นายองอาจ กล่าวว่า เราไม่วิตกกังวลในเรื่องนี้ เพราะถ้าใครติดตามการยื่นคำร้องของพรรคไทยรักไทยต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) เรื่องการพิจารณายุบพรรคประชาธิปัตย์ จะเห็นได้ว่าเป็นการยื่นคำร้องแบบแก้เกี้ยว และใส่ร้ายป้ายสีพรรคโดยไม่เป็นธรรม หลังจากที่พรรคไทยรักไทยถูกพิจารณายุบพรรคก่อนหน้านั้นเป็นเวลานานนับเดือน อีกทั้ง คำร้องของพรรคประชาธิปัตย์ที่ได้ยื่นชี้แจงในหลายเรื่องหลายประเด็น ก็ถูกอัยการสูงสุดตัดออกไปเกือบหมดในการพิจารณาเบื้องต้น เหลือเพียงไม่กี่ประเด็นที่ส่งไปยังศาลรัฐธรรมนูญให้พิจารณา
“ผมอยากให้ตุลาการรัฐธรรมนูญเปิดให้มีการพิจารณาคดียุบพรรคอย่างเปิดเผยทุกนัด เพื่อให้ประชาชนได้รับรู้รับทราบ ก็จะก่อให้เกิดการยอมรับในการดำเนินการพิจารณาของตุลาการรัฐธรรมนูญ”โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 11 พ.ย. 2549--จบ--