ภารกิจหลักของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรอย่างหนึ่ง คือ การสำรวจ และเผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศการเกษตรเกี่ยวกับเนื้อที่เพาะปลูกและปริมาณผลผลิตของสินค้าเกษตรทุกชนิดเพื่อใช้ในการจัดทำนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ การได้มาของข้อมูลแต่เดิมนั้นมาจากการสำรวจด้วยวิธีสัมภาษณ์เกษตรกรตัวอย่างจากบัญชีรายชื่อหมู่บ้านที่มีการปลูกพืชนั้นๆ ทำให้ข้อมูลมีความผิดพลาดหรือคลาดเคลื่อนไปจากข้อเท็จจริง ซึ่งอาจเกิดจากบัญชีรายชื่อหมู่บ้านที่ปลูกพืชไม่ทันสมัยซึ่งเป็นปัญหาทางวิชาการในการสุ่มตัวอย่าง หรือในการสัมภาษณ์เกษตรอาจจะไม่บอกข้อเท็จจริง หรือบอกโดยประมาณ หรือผู้สำรวจไม่ปฏิบัติตามระเบียบวิธีการสำรวจ
จากปัญหาดังกล่าว สศก.จึงได้มีแนวคิดในการดำเนินงานโดยนำ เทคโนโลยีด้านภูมิสารสนเทศ (Geo-Informatics : GI) และเทคนิคการตั้งแปลงเก็บเกี่ยวผลผลิต (Crop Cutting)มาประยุกต์ใช้ในการสำรวจ ดังนี้
ปริมาณผลผลิต = เนื้อที่เพาะปลูกจาก GI X ผลผลิตต่อไร่ จาก Crop Cutting
GI เป็นนวัตกรรมใหม่ในการสำรวจและจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศทางการเกษตรที่สามารถแสดงให้เห็นถึงแหล่งที่ปลูกได้อย่างแน่นอนโดยใช้ ข้อมูลดาวเทียม และมีการตรวจสอบในพื้นที่จริงโดยใช้ภาพถ่ายทางอากาศและเครื่องมือหาตำแหน่ง หรือ GPS ในการเข้าถึงพื้นที่ และ Crop Cutting เป็นวิธีการที่ตั้งแปลงตัวอย่างเพื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตจริงในแปลงปลูกของเกษตรกร แล้วทำการ วัด นับ ชั่ง เพื่อคำนวณหาผลผลิตต่อไร่ นับว่าเป็นใช้เทคนิคทางวิชาการที่คาดว่าน่าจะได้ข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำ รวดเร็วกว่าการสำรวจด้วยวิธีอื่นและสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดจากวิธีการสำรวจแบบเดิมได้
เทคโนโลยี นี้ สศก. ได้รับความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญขององค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของ รัฐบาลญี่ปุ่น (JICA) ภายใต้โครงการพัฒนาสถิติและวิเคราะห์เศรษฐกิจการเกษตร (Agricultural Statistics and Economics Analysis Development Project : ASEAD ในการจัดหาผู้เชี่ยวชาญและเครื่องมือต่างๆ มาช่วยสนับสนุนการทำงานของสำนักงาน ในการนำเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ มาประยุกต์ใช้ เพื่อสำรวจเนื้อที่เพาะปลูกสินค้าเกษตรได้มีการนำข้อมูลดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ LANDSAT 5 มาทำการแปลและวิเคราะห์เพื่อจำแนกพื้นที่เพาะปลูกของพืชเศรษฐกิจและข้อมูลอื่นๆ เป็นรายจังหวัดทั่วประเทศ และทำการตรวจสอบผลการแปลและวิเคราะห์เนื้อที่เพาะปลูกในพื้นที่จริงโดยใช้ข้อมูลภาพถ่ายทางอากาศสี หรือภาพถ่ายดาวเทียมรายละเอียดสูง เช่น ดาวเทียม IKONOS รวมทั้งใช้เครื่องกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก (GPS) ในการเข้าถึงพื้นที่ตัวอย่างที่ทำการสำรวจตรวจสอบ เนื้อที่เพาะปลูกและเนื้อที่อื่นๆที่เป็นสภาพข้อเท็จจริง โดยในขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการประมวลผล ซึ่งได้ผลลัพธ์ประมาณ 25 จังหวัดและคาดว่าจะแล้วเสร็จทั้งหมดประมาณเดือนพฤษภาคมนี้ทั้ง 76 จังหวัด
สำหรับการหาผลผลิตต่อไร่ โดยวิธี Crop Cutting ของสินค้าเกษตรที่สำคัญได้ดำเนินการมาแล้ว 8 ชนิด ได้แก่ ข้าวนาปี มันสำปะหลัง อ้อยโรงงาน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถั่วเหลือง ลำไย สับปะรดโรงงาน และหอมหัวใหญ่
จากเนื้อที่และผลผลิตที่ได้ จากวิธีการสำรวจด้วย GI และ Crop Cutting นี้ จะนำมาคำนวณเป็นปริมาณการผลิตของพืชเศรษฐกิจที่สำคัญชนิดต่างๆเป็นรายปี ซึ่งช่วยให้ทั้งภาคเอกชนและรัฐบาล ได้รับข้อมูลสำหรับวางแผนพัฒนาการผลิตและการค้าได้อย่างถูกต้องรวดเร็ว ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรและประเทศต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
จากปัญหาดังกล่าว สศก.จึงได้มีแนวคิดในการดำเนินงานโดยนำ เทคโนโลยีด้านภูมิสารสนเทศ (Geo-Informatics : GI) และเทคนิคการตั้งแปลงเก็บเกี่ยวผลผลิต (Crop Cutting)มาประยุกต์ใช้ในการสำรวจ ดังนี้
ปริมาณผลผลิต = เนื้อที่เพาะปลูกจาก GI X ผลผลิตต่อไร่ จาก Crop Cutting
GI เป็นนวัตกรรมใหม่ในการสำรวจและจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศทางการเกษตรที่สามารถแสดงให้เห็นถึงแหล่งที่ปลูกได้อย่างแน่นอนโดยใช้ ข้อมูลดาวเทียม และมีการตรวจสอบในพื้นที่จริงโดยใช้ภาพถ่ายทางอากาศและเครื่องมือหาตำแหน่ง หรือ GPS ในการเข้าถึงพื้นที่ และ Crop Cutting เป็นวิธีการที่ตั้งแปลงตัวอย่างเพื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตจริงในแปลงปลูกของเกษตรกร แล้วทำการ วัด นับ ชั่ง เพื่อคำนวณหาผลผลิตต่อไร่ นับว่าเป็นใช้เทคนิคทางวิชาการที่คาดว่าน่าจะได้ข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำ รวดเร็วกว่าการสำรวจด้วยวิธีอื่นและสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดจากวิธีการสำรวจแบบเดิมได้
เทคโนโลยี นี้ สศก. ได้รับความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญขององค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของ รัฐบาลญี่ปุ่น (JICA) ภายใต้โครงการพัฒนาสถิติและวิเคราะห์เศรษฐกิจการเกษตร (Agricultural Statistics and Economics Analysis Development Project : ASEAD ในการจัดหาผู้เชี่ยวชาญและเครื่องมือต่างๆ มาช่วยสนับสนุนการทำงานของสำนักงาน ในการนำเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ มาประยุกต์ใช้ เพื่อสำรวจเนื้อที่เพาะปลูกสินค้าเกษตรได้มีการนำข้อมูลดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ LANDSAT 5 มาทำการแปลและวิเคราะห์เพื่อจำแนกพื้นที่เพาะปลูกของพืชเศรษฐกิจและข้อมูลอื่นๆ เป็นรายจังหวัดทั่วประเทศ และทำการตรวจสอบผลการแปลและวิเคราะห์เนื้อที่เพาะปลูกในพื้นที่จริงโดยใช้ข้อมูลภาพถ่ายทางอากาศสี หรือภาพถ่ายดาวเทียมรายละเอียดสูง เช่น ดาวเทียม IKONOS รวมทั้งใช้เครื่องกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก (GPS) ในการเข้าถึงพื้นที่ตัวอย่างที่ทำการสำรวจตรวจสอบ เนื้อที่เพาะปลูกและเนื้อที่อื่นๆที่เป็นสภาพข้อเท็จจริง โดยในขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการประมวลผล ซึ่งได้ผลลัพธ์ประมาณ 25 จังหวัดและคาดว่าจะแล้วเสร็จทั้งหมดประมาณเดือนพฤษภาคมนี้ทั้ง 76 จังหวัด
สำหรับการหาผลผลิตต่อไร่ โดยวิธี Crop Cutting ของสินค้าเกษตรที่สำคัญได้ดำเนินการมาแล้ว 8 ชนิด ได้แก่ ข้าวนาปี มันสำปะหลัง อ้อยโรงงาน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถั่วเหลือง ลำไย สับปะรดโรงงาน และหอมหัวใหญ่
จากเนื้อที่และผลผลิตที่ได้ จากวิธีการสำรวจด้วย GI และ Crop Cutting นี้ จะนำมาคำนวณเป็นปริมาณการผลิตของพืชเศรษฐกิจที่สำคัญชนิดต่างๆเป็นรายปี ซึ่งช่วยให้ทั้งภาคเอกชนและรัฐบาล ได้รับข้อมูลสำหรับวางแผนพัฒนาการผลิตและการค้าได้อย่างถูกต้องรวดเร็ว ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรและประเทศต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-