แท็ก
ธปท.
ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท. ผ่อนผันให้นักลงทุนสถาบันลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศปี 49 ได้ไม่เกิน 2 พันล้านดอลลาร์
สรอ. ธปท. ออกประกาศฉบับใหม่เมื่อวันที่ 20 เม.ย.49 ผ่อนผันให้ผู้ลงทุนประเภทสถาบันลงทุนในหลักทรัพย์ต่าง
ประเทศในปี 49 ได้ไม่เกินวงเงินรวม 2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยหลักทรัพย์ต่างประเทศที่สามารถลงทุนได้
ประกอบด้วย ตราสารหนี้ที่ออกโดยรัฐบาลต่างประเทศ หรือองค์กรระหว่างประเทศ หรือรัฐวิสาหกิจต่างประเทศที่
ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือระดับ Investment Grade หน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศ แต่ไม่รวม
ถึงหน่วยลงทุนของกองทุนรวมประเภทเฮดจ์ฟันด์ และหลักทรัพย์ที่ออกภายใต้โครงการกองทุนพันธบัตรเอเชียของ
ประเทศกลุ่ม EMEAP ที่ประเทศไทยเป็นสมาชิก นอกจากนี้ ยังผ่อนผันให้ผู้ลงทุนประเภทสถาบันลงทุนในตราสารหนี้
ไทยที่ออกเป็นเงินตราต่างประเทศและจำหน่ายในต่างประเทศ โดยไม่จำกัดว่าเป็นตราสารที่ออกจำหน่ายเมื่อใด
ทั้งนี้ ผู้ลงทุนสถาบันประเภทบริษัทประกันชีวิต กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนประกันสังคม และสถาบัน
การเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้ง ให้ยื่นขออนุญาตต่อ ธปท. สำหรับผู้ลงทุนประเภทกองทุนรวมและกองทุนสำรอง
เลี้ยงชีพ ให้ยื่นขอต่อ สนง.กลต. ซึ่ง ธปท. ได้จัดสรรวงเงินไว้ให้แล้ว หากวงเงินเดิมไม่เพียงพอ กลต. จะแจ้ง
ขอเพิ่มวงเงินลงทุนจาก ธปท. อีกครั้ง อนึ่ง ในปี 48 มีนักลงทุนประเภทสถาบันขออนุญาตนำเงินออกไปลงทุนใน
หลักทรัพย์ต่างประเทศประมาณ 1.7-1.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (ผู้จัดการรายวัน, โพสต์ทูเดย์,
กรุงเทพธุรกิจ)
2. ธปท. จะดูแลไม่ให้ค่าเงินบาทผันผวนเกินไป นายบัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการสายเสถียรภาพ
การเงิน ธปท. กล่าวว่า ธปท. จะติดตามความเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทอย่างใกล้ชิด โดยจะดูแลไม่ให้ค่า
เงินบาทผันผวนเกินไป อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นเป็นไปในทิศทางเดียวกับค่าเงินในภูมิภาคที่
แข็งค่าขึ้นเนื่องจากค่าเงินดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง และมีเงินทุนจากต่างประเทศไหลเข้ามาใน
ภูมิภาค (เดลินิวส์)
3. ธปท. ปรับลดเงินลงทุนโครงการเมกะโปรเจ็กต์ นางสุชาดา กิระกุล ผอ.อาวุโสฝ่ายเศรษฐกิจ
ในประเทศ ธปท. กล่าวถึงกรณีที่ ครม. ได้เลื่อนกำหนดการเสนอเงื่อนไขการลงทุนในโครงการเมกะโปรเจ็กต์
ออกไปว่า ไม่น่าจะมีผลกระทบโดยรวมต่อภาวะเศรษฐกิจให้ต่ำลงกว่าที่ประเมินไว้มากนัก เพราะเดิมประเมินไว้
ว่าในปีนี้จะมีเงินลงทุนในโครงการเมกะโปรเจ็กต์เกิดขึ้นจริงเพียง 135,000 ล้านบาท จากวงเงินทั้งสิ้น
270,000 ล้านบาท ประกอบกับการลงทุนหลายเรื่องที่มีวงเงินมากกว่า 1 พันล้านบาท ซึ่งถือเป็นโครงการ
เมกะโปรเจ็กต์เช่นกัน ได้ลงนามสัญญาไปแล้วสามารถเดินหน้าต่อไปทันที เช่น การซื้อเครื่องบินของ
บมจ. การบินไทย โครงการวางท่อแยกก๊าซของ บมจ.ปตท. เป็นต้น สำหรับในรายงานแนวโน้มเงินเฟ้อของ
ธปท. ที่จะแถลงในวันที่ 26 เม.ย.นี้ จะมีการปรับลดเม็ดเงินลงทุนในโครงการเมกะโปรเจ็กต์ปีนี้ลงจากประมาณ
การครั้งก่อนเล็กน้อย เช่นเดียวกับเงินลงทุนในปีหน้าก็จะมีการปรับลดลงเช่นเดียวกัน แต่จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ
สมมติฐานะของเงื่อนไขด้านเวลาที่ว่า งปม.ใหม่ปี 50 จะผ่านสภาภายในกี่เดือน หากประเมินว่าจะเปิดสภาได้ใน
เร็ว ๆ นี้ การผ่าน งปม. ก็อาจจะล่าช้าเพียง 1 เดือนเท่านั้น ส่วนผลกระทบที่จะมีต่อการลงทุนของภาคเอกชน
คงมีไม่มากนัก แม้จะมีบางโครงการล่าช้าออกไปบ้าง แต่รัฐยังคงต้องมีการลงทุนโครงการอื่น ๆ ต่อไปที่อาจไม่ถึง
1 พันล้านบาท และในบางโครงการที่รัฐบาลชุดใหม่เห็นว่ามีประโยชน์และจำเป็นก็คงเดินหน้าต่อ ซึ่ง ธปท. เชื่อ
ว่าการลงทุนของภาครัฐจะยังเป็นตัวช่วยให้เกิดการจ้างงานและการลงทุนอื่น ๆ ต่อไป (มติชน)
4. ไทยกลับมาเกินดุลการค้าครั้งแรกของปีนี้ในเดือน มี.ค. จำนวน 324 ล้านดอลลาร์ สรอ.
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รมว.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ไทยเกินดุลการค้าในเดือน มี.ค.49 จำนวน
324.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. เป็นการกลับมาเกินดุลครั้งแรกในรอบปีนี้ เนื่องจากการส่งออกมีการขยายตัวร้อยละ
15.9 มูลค่า 11,099 ล้านดอลลาร์ สรอ. สูงสุดในรอบ 5 ปี และการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 1.3 มูลค่า
10,775 ล้านดอลลาร์ สรอ. สูงสุดในรอบ 9 เดือน ส่งผลให้ดุลการค้าไทยช่วงเดือน ม.ค.-มี.ค.49 ติดลบลดลง
เหลือ 404.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงถึงร้อยละ 86 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ติดลบ 2,876 ล้านดอลลาร์
สรอ. สำหรับการนำเข้าที่สูงขึ้นเป็นผลมาจากการนำเข้าสินค้าเชื้อเพลิงที่สูงขึ้นในด้านมูลค่าจากราคาน้ำมันใน
ตลาดโลกสูงขึ้น ส่วนแนวโน้มการนำเข้าในเดือน เม.ย. คาดว่าตัวเลขจะใกล้เคียงกับเดือน มี.ค. ประมาณ
10,649 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 9 โดยปัจจัยหลักยังอยู่ที่การนำเข้าน้ำมัน รวมทั้งค่าเงินบาทแข็งค่า
ขึ้น ซึ่งคาดว่าผู้ประกอบการจะใช้โอกาสนี้นำเข้าวัตถุดิบและเครื่องจักรเพื่อมาผลิตสินค้าเพิ่มขึ้น (โพสต์ทูเดย์,
มติชน, เดลินิวส์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกของ สรอ. ณ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 15 เม.ย.49 ลดลง
จำนวน 10,000 คน รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ 20 เม.ย.49 ก.แรงงาน สรอ. เปิดเผยว่า จำนวนผู้ขอรับ
สวัสดิการว่างงานครั้งแรกของ สรอ. ณ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 15 เม.ย.49 อยู่ที่จำนวน 303,000 คน จากจำนวน
313,000 คน ในสัปดาห์ก่อนหน้า หรือลดลงจำนวน 10,000 คน ขณะที่ผลสำรวจของนักเศรษฐศาสตร์วอลล์สตรีท
โดยรอยเตอร์คาดการณ์ว่าจะมีจำนวน 306,000 คน ทั้งนี้ ก.แรงงานกล่าวว่า ตัวเลขดังกล่าวได้ปรับปัจจัยทาง
ฤดูกาล ที่มีความผันผวนเกี่ยวกับตัวเลขการปลดคนงานในช่วงสิ้นสุดเทศกาลอีสเตอร์และฤดูใบไม้ผลิแล้ว สำหรับยอด
การขอรับสวัสดิการว่างงานเฉลี่ย 4 สัปดาห์ ซึ่งสามารถบ่งชี้สถานการณ์แรงงานในรอบสัปดาห์ได้ชัดเจน เนื่องจาก
ปรับด้วยปัจจัยที่มีความผันผวนในรอบสัปดาห์แล้ว ลดลงจำนวน 2,250 คน อยู่ที่จำนวน 305,250 คน นับเป็นการ
ลดลงอยู่ในระดับต่ำสุดตั้งแต่สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 25 ก.พ.49 อนึ่ง ตัวเลขการขอรับสวัสดิการว่างงานเฉลี่ย
4 สัปดาห์มีความผันผวนขึ้นลงอยู่ที่ระดับประมาณ 300,000 คน ตั้งแต่ต้นปี 49 (รอยเตอร์)
2. ดัชนีราคาผู้บริโภคของยูโรโซนในเดือน มี.ค.49 ขยายตัวร้อยละ 0.6 รายงานจากบรัสเซลส์
เมื่อ 20 เม.ย.49 The European Union’s statistics office (Eurostat) เปิดเผยว่า ดัชนีราคา
ผู้บริโภคของ 12 ประเทศเขตเศรษฐกิจยุโรปที่ใช้เงินสกุลยูโร (ยูโรโซน) ในเดือน มี.ค.49 ขยายตัวร้อยละ
0.6 เทียบต่อเดือน ขณะที่เมื่อเทียบต่อปีขยายตัวร้อยละ 2.2 ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งขยายตัวร้อยละ 2.3
โดยเป็นการขยายตัวตามการคาดการณ์ของตลาดทั้งเมื่อเทียบต่อเดือนและเทียบต่อปี ซึ่ง Eurostat กล่าวว่า
การเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันสำหรับการขนส่ง ก๊าซ และพลังงานความร้อน ยังคงเป็นปัจจัยหลักสำหรับการขยายตัว
ของดัชนีราคาผู้บริโภคต่อปี โดยราคาพลังงานในเดือน มี.ค.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.5 เทียบต่อปี แต่ชะลอลงจาก
ที่ขยายตัวร้อยละ 12.5 และ 13.6 ในเดือน ก.พ. และ ม.ค.49 สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานซึ่งไม่รวม
ราคาอาหารและพลังงานที่มีความผันผวนในเดือน มี.ค.49 เพิ่มขึ้นตามความคาดหมายของตลาดที่ร้อยละ 0.6
เทียบต่อปี ขณะที่เมื่อเทียบต่อปีเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 สูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 อนึ่ง เนื่อง
จาก The European Central Bank (ECB) ต้องการรักษาระดับอัตราการขยายตัวของดัชนีราคาผู้บริโภคต่อปี
ไว้ที่ต่ำกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 2 ดังนั้น ตลาดจึงมีการคาดการณ์ว่า ECB อาจปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายใน
เดือน มิ.ย.ที่จะถึงนี้ เพื่อบรรเทาผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้ออันเป็นผลจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น รวมถึงการ
ขยายตัวของสินเชื่อที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งสอดคล้องกับคำกล่าวของนักเศรษฐศาสตร์จาก ECB ซึ่งได้กล่าว
ไว้เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมาว่า มีความเป็นไปได้ที่ ECB จะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายตามการคาดการณ์ของ
ตลาด (รอยเตอร์)
3. ดัชนีราคาผู้บริโภคของอังกฤษในเดือน มี.ค.49 ชะลอตัวลงมาอยู่ที่ร้อยละ 1.8 ต่อปีต่ำสุดใน
รอบกว่า 1 ปี รายงานจากลอนดอน เมื่อ 20 เม.ย.49 สนง.สถิติแห่งชาติของอังกฤษรายงานดัชนีราคาผู้บริโภค
ในเดือน มี.ค.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 ต่อปี อยู่ในระดับต่ำสุดในรอบกว่า 1 ปีและต่ำกว่าที่คาดไว้ว่าจะคงที่อยู่ที่
ร้อยละ 2.0 ต่อปี โดยส่วนใหญ่เป็นผลมาจากราคาอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่ใช่แอลกอฮอลล์ที่ลดลงร้อยละ 0.4
เมื่อเทียบต่อปี ลดลงมากสุดนับตั้งแต่เดือน พ.ย.47 อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์คาดว่าตัวเลขดังกล่าวจะไม่ทำให้
ธ.กลางอังกฤษตัดสินใจลดอัตราดอกเบี้ยลงเนื่องจากคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะเพิ่มสูงขึ้นอีกในอีกหลายเดือนข้างหน้า
จากผลกระทบของราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ราคาสูงกว่า 74 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล
และราคาค่าใช้สาธารณูปโภค เช่น ไฟฟ้า น้ำประปา ก๊าซและพลังงานในรูปแบบอื่น ๆ ที่เพิ่มสูงขึ้นในอัตราสูงสุด
ในรอบกว่า 9 ปี นักวิเคราะห์จึงคาดว่า ธ.กลางอังกฤษจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมครั้งหน้าไว้ที่
ร้อยละ 4.5 ต่อปีต่อไป (รอยเตอร์)
4. คาดว่าในปีนี้เศรษฐกิจมาเลเซียจะขยายตัวร้อยละ 5.5 รายงานจากกัวลาลัมเปอร์ เมื่อวันที่
20 เม.ย. 49 ผลการสำรวจของสถาบันวิจัยทางเศรษฐกิจของมาเลเซีย ซึ่งตลาดการเงินจับตามองอย่างใกล้ชิด
คาดว่าในปี 49 เศรษฐกิจมาเลเซียจะยังคงขยายตัวร้อยละ 5.5 ตามการคาดการณ์ครั้งก่อนเมื่อเดือน ม.ค.
ขณะที่อัตราดอกเบี้ย และเงินริงกิตแข็งค่าขึ้น ทั้งนี้คาดว่า เศรษฐกิจมาเลเซียได้รับประโยชน์จากการฟื้นตัวของ
ราคาสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ และอุปสงค์ในประเทศ ซึ่งการคาดการณ์ดังกล่าวต่ำกว่าการคาดการณ์ของทางการที่
คาดว่าเศรษฐกิจจะเติบโตร้อยละ 6.0 ขณะที่ปีที่แล้วเติบโตร้อยละ 5.3 อย่างไรก็ตามอุปสงค์ต่างประเทศที่
แข็งแกร่งมีส่วนช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจ ขณะที่การบริโภคภาคเอกชนชะลอลงเนื่องจากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันและ
อัตราดอกเบี้ย ตามดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ต่ำกว่า 100 ซึ่งสะท้อนถึง แนวโน้มภาคครัวเรือนที่ไม่พึงพอใจต่อ
ราคาน้ำมันและอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ซึ่งก่อนหน้านั้นรัฐบาลได้ปรับเพิ่มราคาน้ำมันที่จุดบริการน้ำมันประมาณร้อยละ
20 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนระยะยาวที่จะลดให้การอุดหนุนน้ำมันเชื้อเพลิงลง 1.2 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ.
(รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 21 เม.ย. 49 20 เม.ย. 49 31 ม.ค. 48 แหล่งข้อ
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 37.706 38.557 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 37.5752/37.8624 38.3598/38.6471 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.80719 2..1875 - 2.2000 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 774.57/ 26.32 701.91/15.60 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,950/11,050 11,250/11,350 7,750/7,850 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 65.75 67.1 38.15 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 9 เม.ย. 49 27.94*/26.29* 27.94*/26.29* 19.69/14.59 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท. ผ่อนผันให้นักลงทุนสถาบันลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศปี 49 ได้ไม่เกิน 2 พันล้านดอลลาร์
สรอ. ธปท. ออกประกาศฉบับใหม่เมื่อวันที่ 20 เม.ย.49 ผ่อนผันให้ผู้ลงทุนประเภทสถาบันลงทุนในหลักทรัพย์ต่าง
ประเทศในปี 49 ได้ไม่เกินวงเงินรวม 2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยหลักทรัพย์ต่างประเทศที่สามารถลงทุนได้
ประกอบด้วย ตราสารหนี้ที่ออกโดยรัฐบาลต่างประเทศ หรือองค์กรระหว่างประเทศ หรือรัฐวิสาหกิจต่างประเทศที่
ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือระดับ Investment Grade หน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศ แต่ไม่รวม
ถึงหน่วยลงทุนของกองทุนรวมประเภทเฮดจ์ฟันด์ และหลักทรัพย์ที่ออกภายใต้โครงการกองทุนพันธบัตรเอเชียของ
ประเทศกลุ่ม EMEAP ที่ประเทศไทยเป็นสมาชิก นอกจากนี้ ยังผ่อนผันให้ผู้ลงทุนประเภทสถาบันลงทุนในตราสารหนี้
ไทยที่ออกเป็นเงินตราต่างประเทศและจำหน่ายในต่างประเทศ โดยไม่จำกัดว่าเป็นตราสารที่ออกจำหน่ายเมื่อใด
ทั้งนี้ ผู้ลงทุนสถาบันประเภทบริษัทประกันชีวิต กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนประกันสังคม และสถาบัน
การเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้ง ให้ยื่นขออนุญาตต่อ ธปท. สำหรับผู้ลงทุนประเภทกองทุนรวมและกองทุนสำรอง
เลี้ยงชีพ ให้ยื่นขอต่อ สนง.กลต. ซึ่ง ธปท. ได้จัดสรรวงเงินไว้ให้แล้ว หากวงเงินเดิมไม่เพียงพอ กลต. จะแจ้ง
ขอเพิ่มวงเงินลงทุนจาก ธปท. อีกครั้ง อนึ่ง ในปี 48 มีนักลงทุนประเภทสถาบันขออนุญาตนำเงินออกไปลงทุนใน
หลักทรัพย์ต่างประเทศประมาณ 1.7-1.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (ผู้จัดการรายวัน, โพสต์ทูเดย์,
กรุงเทพธุรกิจ)
2. ธปท. จะดูแลไม่ให้ค่าเงินบาทผันผวนเกินไป นายบัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการสายเสถียรภาพ
การเงิน ธปท. กล่าวว่า ธปท. จะติดตามความเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทอย่างใกล้ชิด โดยจะดูแลไม่ให้ค่า
เงินบาทผันผวนเกินไป อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นเป็นไปในทิศทางเดียวกับค่าเงินในภูมิภาคที่
แข็งค่าขึ้นเนื่องจากค่าเงินดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง และมีเงินทุนจากต่างประเทศไหลเข้ามาใน
ภูมิภาค (เดลินิวส์)
3. ธปท. ปรับลดเงินลงทุนโครงการเมกะโปรเจ็กต์ นางสุชาดา กิระกุล ผอ.อาวุโสฝ่ายเศรษฐกิจ
ในประเทศ ธปท. กล่าวถึงกรณีที่ ครม. ได้เลื่อนกำหนดการเสนอเงื่อนไขการลงทุนในโครงการเมกะโปรเจ็กต์
ออกไปว่า ไม่น่าจะมีผลกระทบโดยรวมต่อภาวะเศรษฐกิจให้ต่ำลงกว่าที่ประเมินไว้มากนัก เพราะเดิมประเมินไว้
ว่าในปีนี้จะมีเงินลงทุนในโครงการเมกะโปรเจ็กต์เกิดขึ้นจริงเพียง 135,000 ล้านบาท จากวงเงินทั้งสิ้น
270,000 ล้านบาท ประกอบกับการลงทุนหลายเรื่องที่มีวงเงินมากกว่า 1 พันล้านบาท ซึ่งถือเป็นโครงการ
เมกะโปรเจ็กต์เช่นกัน ได้ลงนามสัญญาไปแล้วสามารถเดินหน้าต่อไปทันที เช่น การซื้อเครื่องบินของ
บมจ. การบินไทย โครงการวางท่อแยกก๊าซของ บมจ.ปตท. เป็นต้น สำหรับในรายงานแนวโน้มเงินเฟ้อของ
ธปท. ที่จะแถลงในวันที่ 26 เม.ย.นี้ จะมีการปรับลดเม็ดเงินลงทุนในโครงการเมกะโปรเจ็กต์ปีนี้ลงจากประมาณ
การครั้งก่อนเล็กน้อย เช่นเดียวกับเงินลงทุนในปีหน้าก็จะมีการปรับลดลงเช่นเดียวกัน แต่จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ
สมมติฐานะของเงื่อนไขด้านเวลาที่ว่า งปม.ใหม่ปี 50 จะผ่านสภาภายในกี่เดือน หากประเมินว่าจะเปิดสภาได้ใน
เร็ว ๆ นี้ การผ่าน งปม. ก็อาจจะล่าช้าเพียง 1 เดือนเท่านั้น ส่วนผลกระทบที่จะมีต่อการลงทุนของภาคเอกชน
คงมีไม่มากนัก แม้จะมีบางโครงการล่าช้าออกไปบ้าง แต่รัฐยังคงต้องมีการลงทุนโครงการอื่น ๆ ต่อไปที่อาจไม่ถึง
1 พันล้านบาท และในบางโครงการที่รัฐบาลชุดใหม่เห็นว่ามีประโยชน์และจำเป็นก็คงเดินหน้าต่อ ซึ่ง ธปท. เชื่อ
ว่าการลงทุนของภาครัฐจะยังเป็นตัวช่วยให้เกิดการจ้างงานและการลงทุนอื่น ๆ ต่อไป (มติชน)
4. ไทยกลับมาเกินดุลการค้าครั้งแรกของปีนี้ในเดือน มี.ค. จำนวน 324 ล้านดอลลาร์ สรอ.
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รมว.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ไทยเกินดุลการค้าในเดือน มี.ค.49 จำนวน
324.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. เป็นการกลับมาเกินดุลครั้งแรกในรอบปีนี้ เนื่องจากการส่งออกมีการขยายตัวร้อยละ
15.9 มูลค่า 11,099 ล้านดอลลาร์ สรอ. สูงสุดในรอบ 5 ปี และการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 1.3 มูลค่า
10,775 ล้านดอลลาร์ สรอ. สูงสุดในรอบ 9 เดือน ส่งผลให้ดุลการค้าไทยช่วงเดือน ม.ค.-มี.ค.49 ติดลบลดลง
เหลือ 404.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงถึงร้อยละ 86 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ติดลบ 2,876 ล้านดอลลาร์
สรอ. สำหรับการนำเข้าที่สูงขึ้นเป็นผลมาจากการนำเข้าสินค้าเชื้อเพลิงที่สูงขึ้นในด้านมูลค่าจากราคาน้ำมันใน
ตลาดโลกสูงขึ้น ส่วนแนวโน้มการนำเข้าในเดือน เม.ย. คาดว่าตัวเลขจะใกล้เคียงกับเดือน มี.ค. ประมาณ
10,649 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 9 โดยปัจจัยหลักยังอยู่ที่การนำเข้าน้ำมัน รวมทั้งค่าเงินบาทแข็งค่า
ขึ้น ซึ่งคาดว่าผู้ประกอบการจะใช้โอกาสนี้นำเข้าวัตถุดิบและเครื่องจักรเพื่อมาผลิตสินค้าเพิ่มขึ้น (โพสต์ทูเดย์,
มติชน, เดลินิวส์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกของ สรอ. ณ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 15 เม.ย.49 ลดลง
จำนวน 10,000 คน รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ 20 เม.ย.49 ก.แรงงาน สรอ. เปิดเผยว่า จำนวนผู้ขอรับ
สวัสดิการว่างงานครั้งแรกของ สรอ. ณ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 15 เม.ย.49 อยู่ที่จำนวน 303,000 คน จากจำนวน
313,000 คน ในสัปดาห์ก่อนหน้า หรือลดลงจำนวน 10,000 คน ขณะที่ผลสำรวจของนักเศรษฐศาสตร์วอลล์สตรีท
โดยรอยเตอร์คาดการณ์ว่าจะมีจำนวน 306,000 คน ทั้งนี้ ก.แรงงานกล่าวว่า ตัวเลขดังกล่าวได้ปรับปัจจัยทาง
ฤดูกาล ที่มีความผันผวนเกี่ยวกับตัวเลขการปลดคนงานในช่วงสิ้นสุดเทศกาลอีสเตอร์และฤดูใบไม้ผลิแล้ว สำหรับยอด
การขอรับสวัสดิการว่างงานเฉลี่ย 4 สัปดาห์ ซึ่งสามารถบ่งชี้สถานการณ์แรงงานในรอบสัปดาห์ได้ชัดเจน เนื่องจาก
ปรับด้วยปัจจัยที่มีความผันผวนในรอบสัปดาห์แล้ว ลดลงจำนวน 2,250 คน อยู่ที่จำนวน 305,250 คน นับเป็นการ
ลดลงอยู่ในระดับต่ำสุดตั้งแต่สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 25 ก.พ.49 อนึ่ง ตัวเลขการขอรับสวัสดิการว่างงานเฉลี่ย
4 สัปดาห์มีความผันผวนขึ้นลงอยู่ที่ระดับประมาณ 300,000 คน ตั้งแต่ต้นปี 49 (รอยเตอร์)
2. ดัชนีราคาผู้บริโภคของยูโรโซนในเดือน มี.ค.49 ขยายตัวร้อยละ 0.6 รายงานจากบรัสเซลส์
เมื่อ 20 เม.ย.49 The European Union’s statistics office (Eurostat) เปิดเผยว่า ดัชนีราคา
ผู้บริโภคของ 12 ประเทศเขตเศรษฐกิจยุโรปที่ใช้เงินสกุลยูโร (ยูโรโซน) ในเดือน มี.ค.49 ขยายตัวร้อยละ
0.6 เทียบต่อเดือน ขณะที่เมื่อเทียบต่อปีขยายตัวร้อยละ 2.2 ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งขยายตัวร้อยละ 2.3
โดยเป็นการขยายตัวตามการคาดการณ์ของตลาดทั้งเมื่อเทียบต่อเดือนและเทียบต่อปี ซึ่ง Eurostat กล่าวว่า
การเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันสำหรับการขนส่ง ก๊าซ และพลังงานความร้อน ยังคงเป็นปัจจัยหลักสำหรับการขยายตัว
ของดัชนีราคาผู้บริโภคต่อปี โดยราคาพลังงานในเดือน มี.ค.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.5 เทียบต่อปี แต่ชะลอลงจาก
ที่ขยายตัวร้อยละ 12.5 และ 13.6 ในเดือน ก.พ. และ ม.ค.49 สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานซึ่งไม่รวม
ราคาอาหารและพลังงานที่มีความผันผวนในเดือน มี.ค.49 เพิ่มขึ้นตามความคาดหมายของตลาดที่ร้อยละ 0.6
เทียบต่อปี ขณะที่เมื่อเทียบต่อปีเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 สูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 อนึ่ง เนื่อง
จาก The European Central Bank (ECB) ต้องการรักษาระดับอัตราการขยายตัวของดัชนีราคาผู้บริโภคต่อปี
ไว้ที่ต่ำกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 2 ดังนั้น ตลาดจึงมีการคาดการณ์ว่า ECB อาจปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายใน
เดือน มิ.ย.ที่จะถึงนี้ เพื่อบรรเทาผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้ออันเป็นผลจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น รวมถึงการ
ขยายตัวของสินเชื่อที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งสอดคล้องกับคำกล่าวของนักเศรษฐศาสตร์จาก ECB ซึ่งได้กล่าว
ไว้เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมาว่า มีความเป็นไปได้ที่ ECB จะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายตามการคาดการณ์ของ
ตลาด (รอยเตอร์)
3. ดัชนีราคาผู้บริโภคของอังกฤษในเดือน มี.ค.49 ชะลอตัวลงมาอยู่ที่ร้อยละ 1.8 ต่อปีต่ำสุดใน
รอบกว่า 1 ปี รายงานจากลอนดอน เมื่อ 20 เม.ย.49 สนง.สถิติแห่งชาติของอังกฤษรายงานดัชนีราคาผู้บริโภค
ในเดือน มี.ค.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 ต่อปี อยู่ในระดับต่ำสุดในรอบกว่า 1 ปีและต่ำกว่าที่คาดไว้ว่าจะคงที่อยู่ที่
ร้อยละ 2.0 ต่อปี โดยส่วนใหญ่เป็นผลมาจากราคาอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่ใช่แอลกอฮอลล์ที่ลดลงร้อยละ 0.4
เมื่อเทียบต่อปี ลดลงมากสุดนับตั้งแต่เดือน พ.ย.47 อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์คาดว่าตัวเลขดังกล่าวจะไม่ทำให้
ธ.กลางอังกฤษตัดสินใจลดอัตราดอกเบี้ยลงเนื่องจากคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะเพิ่มสูงขึ้นอีกในอีกหลายเดือนข้างหน้า
จากผลกระทบของราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ราคาสูงกว่า 74 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล
และราคาค่าใช้สาธารณูปโภค เช่น ไฟฟ้า น้ำประปา ก๊าซและพลังงานในรูปแบบอื่น ๆ ที่เพิ่มสูงขึ้นในอัตราสูงสุด
ในรอบกว่า 9 ปี นักวิเคราะห์จึงคาดว่า ธ.กลางอังกฤษจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมครั้งหน้าไว้ที่
ร้อยละ 4.5 ต่อปีต่อไป (รอยเตอร์)
4. คาดว่าในปีนี้เศรษฐกิจมาเลเซียจะขยายตัวร้อยละ 5.5 รายงานจากกัวลาลัมเปอร์ เมื่อวันที่
20 เม.ย. 49 ผลการสำรวจของสถาบันวิจัยทางเศรษฐกิจของมาเลเซีย ซึ่งตลาดการเงินจับตามองอย่างใกล้ชิด
คาดว่าในปี 49 เศรษฐกิจมาเลเซียจะยังคงขยายตัวร้อยละ 5.5 ตามการคาดการณ์ครั้งก่อนเมื่อเดือน ม.ค.
ขณะที่อัตราดอกเบี้ย และเงินริงกิตแข็งค่าขึ้น ทั้งนี้คาดว่า เศรษฐกิจมาเลเซียได้รับประโยชน์จากการฟื้นตัวของ
ราคาสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ และอุปสงค์ในประเทศ ซึ่งการคาดการณ์ดังกล่าวต่ำกว่าการคาดการณ์ของทางการที่
คาดว่าเศรษฐกิจจะเติบโตร้อยละ 6.0 ขณะที่ปีที่แล้วเติบโตร้อยละ 5.3 อย่างไรก็ตามอุปสงค์ต่างประเทศที่
แข็งแกร่งมีส่วนช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจ ขณะที่การบริโภคภาคเอกชนชะลอลงเนื่องจากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันและ
อัตราดอกเบี้ย ตามดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ต่ำกว่า 100 ซึ่งสะท้อนถึง แนวโน้มภาคครัวเรือนที่ไม่พึงพอใจต่อ
ราคาน้ำมันและอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ซึ่งก่อนหน้านั้นรัฐบาลได้ปรับเพิ่มราคาน้ำมันที่จุดบริการน้ำมันประมาณร้อยละ
20 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนระยะยาวที่จะลดให้การอุดหนุนน้ำมันเชื้อเพลิงลง 1.2 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ.
(รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 21 เม.ย. 49 20 เม.ย. 49 31 ม.ค. 48 แหล่งข้อ
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 37.706 38.557 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 37.5752/37.8624 38.3598/38.6471 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.80719 2..1875 - 2.2000 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 774.57/ 26.32 701.91/15.60 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,950/11,050 11,250/11,350 7,750/7,850 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 65.75 67.1 38.15 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 9 เม.ย. 49 27.94*/26.29* 27.94*/26.29* 19.69/14.59 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--