วันนี้(13 ก.ค.)เวลา 14.00 น.ที่สำนักงานอัยการสูงสุด สนามหลวง นายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์และคณะได้เข้ายื่นหนังสือต่อนายพชร ยุติธรรมดำรง อัยการสูงสุด เพื่อขอให้อัยการสูงสุดประสานกระทรวงยุติธรรมสหรัฐทำการตรวจสอบกรณีสินบนข้ามชาติ คดีทุจริตการซื้อขายรถดับเพลิงเรือดับเพลิงและอุปกรณ์บรรเทาสาธารณภัย โดยมีนายประพันธ์ นัยโกวิท รองอัยการสูงสุดเป็นผู้รับมอบหนังสือดังกล่าว
หนังสือดังกล่าวระบุว่า ตนในฐานะประธานคณะทำงานตรวจสอบการทุจริตของพรรคประชาธิปัตย์ ได้ตรวจสอบการจัดซื้อรถดับเพลิง เรือดับเพลิงและอุปกรณ์บรรเทาสาธารณภัยของกทม. ภายใต้ข้อตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลออสเตรีย ปรากฏพฤติกรรมและหลักฐานมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่า การจัดซื้อโดยวิธีพิเศษ ในระบบการค้าต่างตอบแทนดังกล่าว ส่อพฤติกรรมสมรู้ร่วมคิดทุจริตเป็นขบวนการ ตั้งแต่ระดับนโยบายจนถึงระดับปฏิบัติ มีการกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่เข้าข่ายผิดกฎหมาย พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทุจริต, พ.ร.บ.ความผิดว่าด้วยการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 โดยตรวจพบว่ามีความไม่โปร่งใส ตั้งแต่ขั้นตอนการเสนอโครงการ การอนุมัติ และการทำสัญญาซื้อขาย ทำให้เกิดความเสียหายต่อราชการโดยอาศัยมติคณะรัฐมนตรีและรูปแบบการค้าต่างตอบแทน โดยไม่มีการกำหนดราคากลาง ไม่มีการกำหนดสเปค และไม่วิเคราะห์ความเหมาะสมของโครงการจัดซื้อรถดับเพลิงเรือดับเพลิงและอุปกรณ์ฯ จำนวน 15 รายการ
จากการสอบสวน ปรากฏหลักฐานตั้งแต่นายโภคิน พลกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย มีหนังสือถึงเลขาธิการคณะรัฐมนตรี วันที่ 31 พ.ค.2547 เสนอเรื่องเพื่อขอให้ ครม.อนุมัติโครงการเมื่อวันที่ 22 มิ.ย.2547 โดยนายสุรเกียรติ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ โดยมีหนังสือสนับสนุนโครงการและรับรองบริษัทผู้ขายว่าเป็นบริษัทชั้นนำของออสเตรีย ต่อมารัฐบาลไทยทำข้อตกลงกับรัฐบาลออสเตรียแบบจีทูจี โดยนายโภคิน ได้ลงนามในข้อตกลงความเข้าใจ กับเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐออสเตรีย ซึ่งเข้าลักษณะข้อตกลงซื้อขาย ไม่ใช่เป็นเพียงบันทึกความเข้าใจ จากนั้นวันที่ 24 ส.ค.2547 ครม.ได้อนุมัติการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ ตั้งแต่งบฯรายจ่ายปี 2547-2553 ในโครงการดังกล่าววงเงิน 6,687 ล้านบาท และอนุมัติวงเงินเพิ่มเติมเป็นค่าธรรมเนียมในการเปิดแอลซี อีก 20 ล้านบาท โดยที่ยังไม่มีการทำสัญญาซื้อขาย และสัญญาการค้าต่างตอบแทน ต่อมาวันที่ 27 ส.ค.2447 นายสมัคร สุนทรเวช รักษาการผู้ว่าฯ กทม. ได้ลงนามในสัญญาซื้อขายกับบริษัท สไตเออร์ เดมเลอร์ พุด และวันที่ 30 ก.ย.2547 กรมการค้าต่างประเทศจึงได้ทำสัญญาการค้าต่างตอบแทนกับบริษัทผู้ขาย ซึ่งข้อตกลงและสัญญาทั้ง 3 ฉบับ ไม่ได้ผ่านการตรวจทานหรือรับรองจากสำนักอัยการสูงสุดแต่อย่างใด และราคาสินค้าสูงกว่าความเป็นจริงอย่างมาก ทำให้รัฐเสียหายเป็นจำนวนเงิน 2,500-3,000 ล้านบาท
จากพฤติกรรมดังกล่าวจึงเชื่อได้ว่า มีการจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนในทางมิชอบเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อตกลงหรือสัญญาซื้อขายที่ฉ้อฉล ติดสินบนข้ามชาติ เช่นเดียวกับกรณีสินบนข้ามชาติ CTX ของสนามบินสุวรรณภูมิ จึงขอความร่วมมือให้อัยการประสานกระทรวงยุติธรรมสหรัฐ ภายใต้อนุสัญญาความร่วมมือทางคดีอาญาระหว่างไทย-สหรัฐ เพื่อสอบสวน บริษัท สไตเออร์ฯ สเปเชียลฟาห์รซอย เอจี แอนด์ โค เคจี และบริษัทเยเนอรัล ไดนามิกซ์ รวมทั้งนายมาริโอ มีนาร์ อดีตรองประธานบริษัทสไตเออร์ฯ และนายวูล์ฟแกงค์ ฮอฟแมนน์ ผู้จัดการภาคพื้นตะวันออกไกล บริษัท สไตเออร์ฯ และบุคคลที่เกี่ยวข้องตามกฎหมายเอฟซีพีเอ เพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชน
นายอลงกรณ์ กล่าวว่าการยื่นหนังสือต่ออัยการครั้งนี้เป็นการใช้ช่องทางกฎหมาย ที่จะสามารถทำการตรวจสอบบริษัทข้ามชาติได้ โดยใช้ช่องทางกฎหมายซึ่งไทยมีข้อตกลงกับสหรัฐภายใต้อนุสัญญาความร่วมมือทางคดีอาญา และเชื่อว่าสหรัฐฯ น่าจะสอบสวนขยายผลถึงผู้รับสินบนดังกล่าวได้ นอกจากนี้จะสอบถามความคืบหน้ากรณีสินบนข้ามชาติ CTX ซึ่งทราบมาว่าทางสหรัฐฯได้สรุปผลส่งไปยังอัยการแล้ว ภายหลังนายประพันธ์ รับหนังสือดังกล่าวแล้ว จะได้ส่งให้อัยการสูงสุดพิจารณาต่อไป
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 13 ก.ค. 2549--จบ--
หนังสือดังกล่าวระบุว่า ตนในฐานะประธานคณะทำงานตรวจสอบการทุจริตของพรรคประชาธิปัตย์ ได้ตรวจสอบการจัดซื้อรถดับเพลิง เรือดับเพลิงและอุปกรณ์บรรเทาสาธารณภัยของกทม. ภายใต้ข้อตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลออสเตรีย ปรากฏพฤติกรรมและหลักฐานมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่า การจัดซื้อโดยวิธีพิเศษ ในระบบการค้าต่างตอบแทนดังกล่าว ส่อพฤติกรรมสมรู้ร่วมคิดทุจริตเป็นขบวนการ ตั้งแต่ระดับนโยบายจนถึงระดับปฏิบัติ มีการกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่เข้าข่ายผิดกฎหมาย พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทุจริต, พ.ร.บ.ความผิดว่าด้วยการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 โดยตรวจพบว่ามีความไม่โปร่งใส ตั้งแต่ขั้นตอนการเสนอโครงการ การอนุมัติ และการทำสัญญาซื้อขาย ทำให้เกิดความเสียหายต่อราชการโดยอาศัยมติคณะรัฐมนตรีและรูปแบบการค้าต่างตอบแทน โดยไม่มีการกำหนดราคากลาง ไม่มีการกำหนดสเปค และไม่วิเคราะห์ความเหมาะสมของโครงการจัดซื้อรถดับเพลิงเรือดับเพลิงและอุปกรณ์ฯ จำนวน 15 รายการ
จากการสอบสวน ปรากฏหลักฐานตั้งแต่นายโภคิน พลกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย มีหนังสือถึงเลขาธิการคณะรัฐมนตรี วันที่ 31 พ.ค.2547 เสนอเรื่องเพื่อขอให้ ครม.อนุมัติโครงการเมื่อวันที่ 22 มิ.ย.2547 โดยนายสุรเกียรติ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ โดยมีหนังสือสนับสนุนโครงการและรับรองบริษัทผู้ขายว่าเป็นบริษัทชั้นนำของออสเตรีย ต่อมารัฐบาลไทยทำข้อตกลงกับรัฐบาลออสเตรียแบบจีทูจี โดยนายโภคิน ได้ลงนามในข้อตกลงความเข้าใจ กับเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐออสเตรีย ซึ่งเข้าลักษณะข้อตกลงซื้อขาย ไม่ใช่เป็นเพียงบันทึกความเข้าใจ จากนั้นวันที่ 24 ส.ค.2547 ครม.ได้อนุมัติการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ ตั้งแต่งบฯรายจ่ายปี 2547-2553 ในโครงการดังกล่าววงเงิน 6,687 ล้านบาท และอนุมัติวงเงินเพิ่มเติมเป็นค่าธรรมเนียมในการเปิดแอลซี อีก 20 ล้านบาท โดยที่ยังไม่มีการทำสัญญาซื้อขาย และสัญญาการค้าต่างตอบแทน ต่อมาวันที่ 27 ส.ค.2447 นายสมัคร สุนทรเวช รักษาการผู้ว่าฯ กทม. ได้ลงนามในสัญญาซื้อขายกับบริษัท สไตเออร์ เดมเลอร์ พุด และวันที่ 30 ก.ย.2547 กรมการค้าต่างประเทศจึงได้ทำสัญญาการค้าต่างตอบแทนกับบริษัทผู้ขาย ซึ่งข้อตกลงและสัญญาทั้ง 3 ฉบับ ไม่ได้ผ่านการตรวจทานหรือรับรองจากสำนักอัยการสูงสุดแต่อย่างใด และราคาสินค้าสูงกว่าความเป็นจริงอย่างมาก ทำให้รัฐเสียหายเป็นจำนวนเงิน 2,500-3,000 ล้านบาท
จากพฤติกรรมดังกล่าวจึงเชื่อได้ว่า มีการจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนในทางมิชอบเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อตกลงหรือสัญญาซื้อขายที่ฉ้อฉล ติดสินบนข้ามชาติ เช่นเดียวกับกรณีสินบนข้ามชาติ CTX ของสนามบินสุวรรณภูมิ จึงขอความร่วมมือให้อัยการประสานกระทรวงยุติธรรมสหรัฐ ภายใต้อนุสัญญาความร่วมมือทางคดีอาญาระหว่างไทย-สหรัฐ เพื่อสอบสวน บริษัท สไตเออร์ฯ สเปเชียลฟาห์รซอย เอจี แอนด์ โค เคจี และบริษัทเยเนอรัล ไดนามิกซ์ รวมทั้งนายมาริโอ มีนาร์ อดีตรองประธานบริษัทสไตเออร์ฯ และนายวูล์ฟแกงค์ ฮอฟแมนน์ ผู้จัดการภาคพื้นตะวันออกไกล บริษัท สไตเออร์ฯ และบุคคลที่เกี่ยวข้องตามกฎหมายเอฟซีพีเอ เพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชน
นายอลงกรณ์ กล่าวว่าการยื่นหนังสือต่ออัยการครั้งนี้เป็นการใช้ช่องทางกฎหมาย ที่จะสามารถทำการตรวจสอบบริษัทข้ามชาติได้ โดยใช้ช่องทางกฎหมายซึ่งไทยมีข้อตกลงกับสหรัฐภายใต้อนุสัญญาความร่วมมือทางคดีอาญา และเชื่อว่าสหรัฐฯ น่าจะสอบสวนขยายผลถึงผู้รับสินบนดังกล่าวได้ นอกจากนี้จะสอบถามความคืบหน้ากรณีสินบนข้ามชาติ CTX ซึ่งทราบมาว่าทางสหรัฐฯได้สรุปผลส่งไปยังอัยการแล้ว ภายหลังนายประพันธ์ รับหนังสือดังกล่าวแล้ว จะได้ส่งให้อัยการสูงสุดพิจารณาต่อไป
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 13 ก.ค. 2549--จบ--