ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.ประเมินผลกระทบจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ราคาน้ำมันและอัตราเงินเฟ้อต่อภาคธุรกิจไทย รายงานข่าวจากธนาคาร
แห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ฝ่ายนโยบายสถาบันการเงิน ได้ติดตามผลกระทบจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ รวมถึง
ราคาน้ำมันและอัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้นต่อภาคธุรกิจของไทย และได้เสนอในรายงานแนวโน้มเงินเฟ้อ พบว่า ภาคธุรกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน
เริ่มได้รับผลกระทบด้านลบจากปัจจัยดังกล่าวแล้ว เห็นได้จากตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 ปี 48 ต่อเนื่องถึงต้นปี 49 ยอดขายเริ่มชะลอลงตามกำลังซื้อใน
ประเทศที่ลดลง ส่งผลให้ความสามารถในการทำกำไรลดลง นอกจากนี้ ความสามารถในการชำระหนี้ของภาคธุรกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงินในไตรมาส
ที่ 4 ของปีที่แล้ว เริ่มมีแนวโน้มลดลงเช่นกัน อย่างไรก็ตาม จากกำไรสุทธิที่ยังเป็นบวก และกำไรสะสมที่มีจำนวนมาก ธปท.ประเมินว่าภาคธุรกิจ
ไทยที่ไม่ใช่สถาบันการเงินในอนาคตน่าจะมีฐานะดีเพียงพอที่จะรองรับผลกระทบต่อปัจจัยลบเหล่านี้ได้ สำหรับภาคธุรกิจสถาบันการเงินนั้น ธปท.
พบว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินให้กู้ยืมของ ธพ. เริ่มมีผลต่อส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝาก สำหรับผลกระทบ
ที่จะเกิดกับสถาบันการเงินในช่วงต่อไปคือ ผลกระทบจากปัจจัยลบทางเศรษฐกิจซึ่งจะส่งผลต่อความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้สถาบันการเงิน
(โลกวันนี้, โพสต์ทูเดย์)
2. เศรษฐกิจภาคเหนือยังคงขยายตัวในช่วงไตรมาสแรกปี 49 ผู้อำนวยการอาวุโส ธนาคารแห่งประเทศไทยสำนักงานภาคเหนือ
เปิดเผยสรุปภาวะเศรษฐกิจภาคเหนือในช่วงไตรมาสแรกของปี 49 ว่ายังมีการขยายตัว ทั้งนี้ ในส่วนของการค้าต่างประเทศเกินดุลทั้งสิ้น
248.3 ล.ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่เกินดุล 239.0 ล.ดอลลาร์ สรอ. โดยการส่งออกผ่านด่านศุลกากรเพิ่มขึ้นจาก
ระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 14.7 ตามการขยายตัวของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.2 ด้านการลงทุนภาคเอกชนมีการ
ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง โดยการลงทุนเพื่อการผลิตขยายตัวร้อยละ 5.5 ขณะที่เงินลงทุนจากโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนขยายตัว
จากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 56.2 ส่วนการผลิตภาคอุตสาหกรรมมีการขยายตัว โดยส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์
สำหรับภาคบริการมีการขยายตัวเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน โดยปรับตัวดีขึ้นในช่วงต้นปี แต่ในเดือน มี.ค. เริ่มได้รับผลกระทบจากสถานการณ์
ทางการเมือง (ผู้จัดการรายวัน)
3. การส่งออกของไทยเมื่อเทียบกับเวียดนามอยู่ในสถานการณ์น่าวิตก แหล่งข่าวจากผู้ส่งออกไทย เปิดเผยถึงสถานการณ์การส่งออก
ของไทยเทียบกับประเทศใกล้เคียงว่า กำลังน่าวิตก โดยเฉพาะการค้ากับเวียดนาม ซึ่งพบว่าการส่งออกข้าว สิ่งทอ และสินค้าเกษตรมีอัตราขยายตัว
ที่สูงกว่าไทย โดยการส่งออกข้าวของไทยลดลง 13% ในปี 48 และลดลง 7% ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ ขณะที่เวียดนามส่งออกข้าวได้เพิ่มขึ้น
47.3% ในปี 48 และเพิ่มขึ้น 0.6% ในไตรมาสแรกปี 49 สำหรับสินค้าประเภทสิ่งทอปี 48 เวียดนามส่งออกเพิ่มขึ้น 9.6% ขณะที่การส่งออกของ
ไทยขยายตัว 5% และช่วงไตรมาสแรกปี 49 เวียดนามส่งออกเพิ่มขึ้น 31% ขณะที่ไทยส่งออกเพิ่มขึ้นเพียง 9% ทั้งนี้ แหล่งข่าวกล่าวว่า สินค้าที่น่า
เป็นห่วงที่สุด คือ ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ ซึ่งแม้ว่าจะเป็นสินค้าส่งออกอันดับ 1 ของไทย และเป็นสินค้าส่งออกอันดับ 6 ของ
เวียดนาม แต่ปัจจุบันเวียดนามมีศักยภาพในการพัฒนาการผลิตสินค้าในหมวดนี้ เนื่องจากบริษัทอินเทล กำลังเข้าไปลงทุนในเวียดนาม (มติชน)
4. คาดว่าปี 49 ธุรกิจเอสเอ็มอีจะขยายตัวชะลอลงจากปีก่อน ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
(สสว.) เปิดเผยว่า สสว.ได้วิเคราะห์สถานการณ์ราคาน้ำมันแพง เงินบาทแข็งค่า และอัตราดอกเบี้ยสูง ที่จะส่งผลกระทบต่อธุรกิจขนาดกลาง
และขนาดย่อม(เอสเอ็มอี) โดยจากการวิเคราะห์คาดว่า การขยายตัวของธุรกิจเอสเอ็มอีปี 49 จะอยู่ที่ 4.5% ลดลงจากปีก่อนที่ขยายตัว 5.7%
เพราะต้องเผชิญต้นทุนการผลิตและต้นทุนการเงินที่สูงขึ้น อย่างไรก็ตาม สสว.ได้กำหนดมาตรการทั้งระยะสั้น กลาง และยาว เพื่อให้เอสเอ็มอี
สามารถปรับตัวรับปัจจัยเสี่ยงที่เกิดขึ้น (กรุงเทพธุรกิจ)
สรุปข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ในเดือน เม.ย. ตลาดแรงงานของ สรอ. ขยายตัวน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่ 5 พ.ค. 49 ก.
แรงงาน สรอ. เปิดเผยว่า ในเดือน เม.ย. มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น 138,000 ตำแหน่ง ลดลงจาก 200,000 ตำแหน่งในเดือน มี. ค. และ
เดือน ก.พ. และน้อยกว่าที่นักวิเคราะห์จากวอลสตรีทได้คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านั้นว่าการจ้างงานจะเพิ่มขึ้น 200,000 ตำแหน่ง ขณะที่อัตราค่าจ้าง
แรงงานกลับเพิ่มขึ้นในอัตราเร็วที่สุดในรอบมากกว่า 4 ปีครึ่ง ส่วนอัตราการว่างงานในเดือน เม.ย. อยู่ที่ร้อยละ 4.7 ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือน
มี.ค. ทั้งนี้ตัวเลขการจ้างงานที่ขยายตัวไม่แข็งแกร่งเช่นนี้ส่งผลให้ราคาหุ้นและพันธบัตรปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างมาก เนื่องจากนักลงทุนคาดว่า ธ.กลาง
จะยังไม่ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายในเร็วๆนี้ (รอยเตอร์)
2. คาดว่าเศรษฐกิจจีนในปีนี้จะขยายตัวสูงถึงร้อยละ 9.5 รายงานจากเมืองไฮเดอราบัด ประเทศอินเดีย เมื่อวันที่ 6 พ.ค.49
นาย Li Yong รมช.คลังของจีน กล่าวว่า อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของจีนในปีนี้อาจจะสูงถึงร้อยละ 9.5 แต่ก็อาจจะลดลงเหลือร้อยละ
8-9 ถ้ามีการใช้นโยบายการเงินอย่างเข้มงวดในอนาคต ส่วนทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของจีนที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วจะชะลอตัวลง ในขณะ
ที่รัฐบาลจะดำเนินนโยบายการเงินและงบประมาณในปีนี้อย่างรอบคอบ รวมถึงอาจจะมีการปรับอัตราดอกเบี้ยถ้ามีความจำเป็น ทั้งนี้ เศรษฐกิจจีน
ในไตรมาสแรกปีนี้ขยายตัวร้อยละ 10.2 หลังจากที่ขยายตัวร้อยละ 9.9 ในปี 48 ซึ่งเป็นการขยายตัวสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ทำให้ ธ.กลางต้องปรับ
ขึ้นอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานเมื่อสัปดาห์ก่อนเป็นครั้งแรกในรอบ 18 เดือน ทำให้อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระยะเวลา 1 ปี อยู่ที่ร้อยละ 5.85 จากร้อยละ
5.58 นอกจากนี้ รัฐบาลจีนยังมีแผนการที่จะออกพันธบัตรขายในตลาดโลกในปีนี้แต่ยังไม่มีรายละเอียดของแผนดังกล่าว โดยในปี 47 จีนได้ออก
พันธบัตรสกุลเงินต่างประเทศขายในตลาดโลกคิดเป็นมูลค่า 1.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. แต่ได้มีการหยุดชะงักไปในปี 48 เนื่องจากมีความกังวล
เกี่ยวกับทุนสำรองเงินตราต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว (รอยเตอร์)
3. ดัชนีราคาผู้ผลิตของเกาหลีใต้ในเดือน เม.ย.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 เทียบต่อปี รายงานจากโซล เมื่อ 7 พ.ค.49 ธ.กลาง
เกาหลีใต้ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้ผลิตของเกาหลีใต้ในเดือน เม.ย.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบต่อปี เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 1.4 ใน
เดือนก่อนหน้า ส่วนดัชนีราคาผู้ผลิตของพลังงานไฟฟ้าและน้ำประปาเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.5 จากปีก่อนหน้าท่ามกลางราคาน้ำมันตลาดโลกที่เพิ่มสูงขึ้นอย่าง
ต่อเนื่อง ขณะที่ดัชนีราคาผลผลิตการเกษตรลดลงร้อยละ 9.9 ช่วยให้ระดับราคาผู้ผลิตโดยรวมลดลง ประกอบกับค่าเงินวอนเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับสูงสุด
ในรอบ 8 ปีครึ่งเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ สรอ.และเงินเยน ซึ่งคณะกรรมการนโยบายการเงินของ ธ.กลางเกาหลีใต้จะมีการประชุมเพื่อทบทวน
อัตราดอกเบี้ยนโยบายในวันพฤหัสบดีที่ 11 พ.ค.นี้ ซึ่งคาดว่า ธ.กลางเกาหลีใต้ขะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 หลังจากที่ปรับ
เพิ่มไปแล้ว 3 ครั้งตั้งแต่เดือน ต.ค.48 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม นักลงทุนและนักวิเคราะห์คาดว่า ธ.กลางอาจปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยอย่างน้อย
อีก 1 ครั้งในปีนี้ แต่ยังไม่มีการคาดการณ์ช่วงเวลาที่จะปรับเพิ่มที่แน่นอน อนึ่ง ดัชนีราคาผู้ผลิตเป็นดัชนีประกอบของดัชนีราคาผู้บริโภคในอนาคต ซึ่ง
ธ.กลางคาดการณ์ว่าดัชนีราคาผู้บริโภคจะเริ่มปรับตัวสูงขึ้นในช่วงปลายปีนี้ เนื่องจากความต้องการในประเทศขยายตัวสูงขึ้น (รอยเตอร์)
4. ธ.กลางมาเลเซียคงประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศในปี 49 ไว้ที่ร้อยละ 6.0 ต่อปี รายงานจาก
กัวลาลัมเปอร์ เมื่อ 6 พ.ค.49 ธ.กลางมาเลเซียยังคงประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศไว้ที่ร้อยละ 6.0 ต่อปี ทั้งนี้โดย
ดูจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่กำลังขยายตัวดีขึ้น อย่างไรก็ดียังมีปัจจัยเสี่ยงจากราคาน้ำมันที่อาจส่งผลให้ประเทศคู่ค้าสำคัญของมาเลเซียเช่น สรอ.และ
ญี่ปุ่นลดการนำเข้าสินค้าจากมาเลเซียลง โดยนักวิเคราะห์คาดว่าราคาน้ำมันที่สูงขึ้นจะส่งผลให้เศรษฐกิจมาเลเซียชะลอตัวลงร้อยละ 0.7 ในช่วง
2 ปีข้างหน้า นอกจากนี้ราคาน้ำมันยังส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อในเดือน มี.ค.49 ที่ผ่านมาพุ่งสูงขึ้นอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 7 ปีและส่งผลให้ ธ.กลาง
มาเลเซียขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 ต่อปีเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาเพื่อชะลอภาวะเงินเฟ้อ โดยนับเป็นการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งที่ 3
ในรอบ 5 เดือน ผลสำรวจความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์โดยรอยเตอร์เมื่อเดือนที่แล้วคาดว่าเศรษฐกิจมาเลเซียจะขยายตัวร้อยละ 5.5 ต่อปีใน
ปี 49 ดีขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 5.3 ต่อปีในปี 48 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 8 พ.ค. 49 4 พ.ค. 49 31 ม.ค. 48 แหล่งข้อม
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 37.827 38.557 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 37.6158/37.9008 38.3598/38.6471 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.83578 2..1875 - 2.2000 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 768.22/ 14.20 701.91/15.60 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 12,100/12,200 11,850/11,950 7,750/7,850 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 64.14 64.86 38.15 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเพิ่มลิตรละ 50 สตางค์ เมื่อ 5 พ.ค. 49 28.84*/26.19* 28.34/25.69 19.69/14.59 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท.ประเมินผลกระทบจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ราคาน้ำมันและอัตราเงินเฟ้อต่อภาคธุรกิจไทย รายงานข่าวจากธนาคาร
แห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ฝ่ายนโยบายสถาบันการเงิน ได้ติดตามผลกระทบจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ รวมถึง
ราคาน้ำมันและอัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้นต่อภาคธุรกิจของไทย และได้เสนอในรายงานแนวโน้มเงินเฟ้อ พบว่า ภาคธุรกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน
เริ่มได้รับผลกระทบด้านลบจากปัจจัยดังกล่าวแล้ว เห็นได้จากตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 ปี 48 ต่อเนื่องถึงต้นปี 49 ยอดขายเริ่มชะลอลงตามกำลังซื้อใน
ประเทศที่ลดลง ส่งผลให้ความสามารถในการทำกำไรลดลง นอกจากนี้ ความสามารถในการชำระหนี้ของภาคธุรกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงินในไตรมาส
ที่ 4 ของปีที่แล้ว เริ่มมีแนวโน้มลดลงเช่นกัน อย่างไรก็ตาม จากกำไรสุทธิที่ยังเป็นบวก และกำไรสะสมที่มีจำนวนมาก ธปท.ประเมินว่าภาคธุรกิจ
ไทยที่ไม่ใช่สถาบันการเงินในอนาคตน่าจะมีฐานะดีเพียงพอที่จะรองรับผลกระทบต่อปัจจัยลบเหล่านี้ได้ สำหรับภาคธุรกิจสถาบันการเงินนั้น ธปท.
พบว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินให้กู้ยืมของ ธพ. เริ่มมีผลต่อส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝาก สำหรับผลกระทบ
ที่จะเกิดกับสถาบันการเงินในช่วงต่อไปคือ ผลกระทบจากปัจจัยลบทางเศรษฐกิจซึ่งจะส่งผลต่อความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้สถาบันการเงิน
(โลกวันนี้, โพสต์ทูเดย์)
2. เศรษฐกิจภาคเหนือยังคงขยายตัวในช่วงไตรมาสแรกปี 49 ผู้อำนวยการอาวุโส ธนาคารแห่งประเทศไทยสำนักงานภาคเหนือ
เปิดเผยสรุปภาวะเศรษฐกิจภาคเหนือในช่วงไตรมาสแรกของปี 49 ว่ายังมีการขยายตัว ทั้งนี้ ในส่วนของการค้าต่างประเทศเกินดุลทั้งสิ้น
248.3 ล.ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่เกินดุล 239.0 ล.ดอลลาร์ สรอ. โดยการส่งออกผ่านด่านศุลกากรเพิ่มขึ้นจาก
ระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 14.7 ตามการขยายตัวของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.2 ด้านการลงทุนภาคเอกชนมีการ
ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง โดยการลงทุนเพื่อการผลิตขยายตัวร้อยละ 5.5 ขณะที่เงินลงทุนจากโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนขยายตัว
จากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 56.2 ส่วนการผลิตภาคอุตสาหกรรมมีการขยายตัว โดยส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์
สำหรับภาคบริการมีการขยายตัวเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน โดยปรับตัวดีขึ้นในช่วงต้นปี แต่ในเดือน มี.ค. เริ่มได้รับผลกระทบจากสถานการณ์
ทางการเมือง (ผู้จัดการรายวัน)
3. การส่งออกของไทยเมื่อเทียบกับเวียดนามอยู่ในสถานการณ์น่าวิตก แหล่งข่าวจากผู้ส่งออกไทย เปิดเผยถึงสถานการณ์การส่งออก
ของไทยเทียบกับประเทศใกล้เคียงว่า กำลังน่าวิตก โดยเฉพาะการค้ากับเวียดนาม ซึ่งพบว่าการส่งออกข้าว สิ่งทอ และสินค้าเกษตรมีอัตราขยายตัว
ที่สูงกว่าไทย โดยการส่งออกข้าวของไทยลดลง 13% ในปี 48 และลดลง 7% ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ ขณะที่เวียดนามส่งออกข้าวได้เพิ่มขึ้น
47.3% ในปี 48 และเพิ่มขึ้น 0.6% ในไตรมาสแรกปี 49 สำหรับสินค้าประเภทสิ่งทอปี 48 เวียดนามส่งออกเพิ่มขึ้น 9.6% ขณะที่การส่งออกของ
ไทยขยายตัว 5% และช่วงไตรมาสแรกปี 49 เวียดนามส่งออกเพิ่มขึ้น 31% ขณะที่ไทยส่งออกเพิ่มขึ้นเพียง 9% ทั้งนี้ แหล่งข่าวกล่าวว่า สินค้าที่น่า
เป็นห่วงที่สุด คือ ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ ซึ่งแม้ว่าจะเป็นสินค้าส่งออกอันดับ 1 ของไทย และเป็นสินค้าส่งออกอันดับ 6 ของ
เวียดนาม แต่ปัจจุบันเวียดนามมีศักยภาพในการพัฒนาการผลิตสินค้าในหมวดนี้ เนื่องจากบริษัทอินเทล กำลังเข้าไปลงทุนในเวียดนาม (มติชน)
4. คาดว่าปี 49 ธุรกิจเอสเอ็มอีจะขยายตัวชะลอลงจากปีก่อน ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
(สสว.) เปิดเผยว่า สสว.ได้วิเคราะห์สถานการณ์ราคาน้ำมันแพง เงินบาทแข็งค่า และอัตราดอกเบี้ยสูง ที่จะส่งผลกระทบต่อธุรกิจขนาดกลาง
และขนาดย่อม(เอสเอ็มอี) โดยจากการวิเคราะห์คาดว่า การขยายตัวของธุรกิจเอสเอ็มอีปี 49 จะอยู่ที่ 4.5% ลดลงจากปีก่อนที่ขยายตัว 5.7%
เพราะต้องเผชิญต้นทุนการผลิตและต้นทุนการเงินที่สูงขึ้น อย่างไรก็ตาม สสว.ได้กำหนดมาตรการทั้งระยะสั้น กลาง และยาว เพื่อให้เอสเอ็มอี
สามารถปรับตัวรับปัจจัยเสี่ยงที่เกิดขึ้น (กรุงเทพธุรกิจ)
สรุปข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ในเดือน เม.ย. ตลาดแรงงานของ สรอ. ขยายตัวน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่ 5 พ.ค. 49 ก.
แรงงาน สรอ. เปิดเผยว่า ในเดือน เม.ย. มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น 138,000 ตำแหน่ง ลดลงจาก 200,000 ตำแหน่งในเดือน มี. ค. และ
เดือน ก.พ. และน้อยกว่าที่นักวิเคราะห์จากวอลสตรีทได้คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านั้นว่าการจ้างงานจะเพิ่มขึ้น 200,000 ตำแหน่ง ขณะที่อัตราค่าจ้าง
แรงงานกลับเพิ่มขึ้นในอัตราเร็วที่สุดในรอบมากกว่า 4 ปีครึ่ง ส่วนอัตราการว่างงานในเดือน เม.ย. อยู่ที่ร้อยละ 4.7 ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือน
มี.ค. ทั้งนี้ตัวเลขการจ้างงานที่ขยายตัวไม่แข็งแกร่งเช่นนี้ส่งผลให้ราคาหุ้นและพันธบัตรปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างมาก เนื่องจากนักลงทุนคาดว่า ธ.กลาง
จะยังไม่ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายในเร็วๆนี้ (รอยเตอร์)
2. คาดว่าเศรษฐกิจจีนในปีนี้จะขยายตัวสูงถึงร้อยละ 9.5 รายงานจากเมืองไฮเดอราบัด ประเทศอินเดีย เมื่อวันที่ 6 พ.ค.49
นาย Li Yong รมช.คลังของจีน กล่าวว่า อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของจีนในปีนี้อาจจะสูงถึงร้อยละ 9.5 แต่ก็อาจจะลดลงเหลือร้อยละ
8-9 ถ้ามีการใช้นโยบายการเงินอย่างเข้มงวดในอนาคต ส่วนทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของจีนที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วจะชะลอตัวลง ในขณะ
ที่รัฐบาลจะดำเนินนโยบายการเงินและงบประมาณในปีนี้อย่างรอบคอบ รวมถึงอาจจะมีการปรับอัตราดอกเบี้ยถ้ามีความจำเป็น ทั้งนี้ เศรษฐกิจจีน
ในไตรมาสแรกปีนี้ขยายตัวร้อยละ 10.2 หลังจากที่ขยายตัวร้อยละ 9.9 ในปี 48 ซึ่งเป็นการขยายตัวสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ทำให้ ธ.กลางต้องปรับ
ขึ้นอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานเมื่อสัปดาห์ก่อนเป็นครั้งแรกในรอบ 18 เดือน ทำให้อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระยะเวลา 1 ปี อยู่ที่ร้อยละ 5.85 จากร้อยละ
5.58 นอกจากนี้ รัฐบาลจีนยังมีแผนการที่จะออกพันธบัตรขายในตลาดโลกในปีนี้แต่ยังไม่มีรายละเอียดของแผนดังกล่าว โดยในปี 47 จีนได้ออก
พันธบัตรสกุลเงินต่างประเทศขายในตลาดโลกคิดเป็นมูลค่า 1.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. แต่ได้มีการหยุดชะงักไปในปี 48 เนื่องจากมีความกังวล
เกี่ยวกับทุนสำรองเงินตราต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว (รอยเตอร์)
3. ดัชนีราคาผู้ผลิตของเกาหลีใต้ในเดือน เม.ย.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 เทียบต่อปี รายงานจากโซล เมื่อ 7 พ.ค.49 ธ.กลาง
เกาหลีใต้ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้ผลิตของเกาหลีใต้ในเดือน เม.ย.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบต่อปี เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 1.4 ใน
เดือนก่อนหน้า ส่วนดัชนีราคาผู้ผลิตของพลังงานไฟฟ้าและน้ำประปาเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.5 จากปีก่อนหน้าท่ามกลางราคาน้ำมันตลาดโลกที่เพิ่มสูงขึ้นอย่าง
ต่อเนื่อง ขณะที่ดัชนีราคาผลผลิตการเกษตรลดลงร้อยละ 9.9 ช่วยให้ระดับราคาผู้ผลิตโดยรวมลดลง ประกอบกับค่าเงินวอนเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับสูงสุด
ในรอบ 8 ปีครึ่งเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ สรอ.และเงินเยน ซึ่งคณะกรรมการนโยบายการเงินของ ธ.กลางเกาหลีใต้จะมีการประชุมเพื่อทบทวน
อัตราดอกเบี้ยนโยบายในวันพฤหัสบดีที่ 11 พ.ค.นี้ ซึ่งคาดว่า ธ.กลางเกาหลีใต้ขะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 หลังจากที่ปรับ
เพิ่มไปแล้ว 3 ครั้งตั้งแต่เดือน ต.ค.48 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม นักลงทุนและนักวิเคราะห์คาดว่า ธ.กลางอาจปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยอย่างน้อย
อีก 1 ครั้งในปีนี้ แต่ยังไม่มีการคาดการณ์ช่วงเวลาที่จะปรับเพิ่มที่แน่นอน อนึ่ง ดัชนีราคาผู้ผลิตเป็นดัชนีประกอบของดัชนีราคาผู้บริโภคในอนาคต ซึ่ง
ธ.กลางคาดการณ์ว่าดัชนีราคาผู้บริโภคจะเริ่มปรับตัวสูงขึ้นในช่วงปลายปีนี้ เนื่องจากความต้องการในประเทศขยายตัวสูงขึ้น (รอยเตอร์)
4. ธ.กลางมาเลเซียคงประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศในปี 49 ไว้ที่ร้อยละ 6.0 ต่อปี รายงานจาก
กัวลาลัมเปอร์ เมื่อ 6 พ.ค.49 ธ.กลางมาเลเซียยังคงประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศไว้ที่ร้อยละ 6.0 ต่อปี ทั้งนี้โดย
ดูจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่กำลังขยายตัวดีขึ้น อย่างไรก็ดียังมีปัจจัยเสี่ยงจากราคาน้ำมันที่อาจส่งผลให้ประเทศคู่ค้าสำคัญของมาเลเซียเช่น สรอ.และ
ญี่ปุ่นลดการนำเข้าสินค้าจากมาเลเซียลง โดยนักวิเคราะห์คาดว่าราคาน้ำมันที่สูงขึ้นจะส่งผลให้เศรษฐกิจมาเลเซียชะลอตัวลงร้อยละ 0.7 ในช่วง
2 ปีข้างหน้า นอกจากนี้ราคาน้ำมันยังส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อในเดือน มี.ค.49 ที่ผ่านมาพุ่งสูงขึ้นอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 7 ปีและส่งผลให้ ธ.กลาง
มาเลเซียขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 ต่อปีเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาเพื่อชะลอภาวะเงินเฟ้อ โดยนับเป็นการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งที่ 3
ในรอบ 5 เดือน ผลสำรวจความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์โดยรอยเตอร์เมื่อเดือนที่แล้วคาดว่าเศรษฐกิจมาเลเซียจะขยายตัวร้อยละ 5.5 ต่อปีใน
ปี 49 ดีขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 5.3 ต่อปีในปี 48 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 8 พ.ค. 49 4 พ.ค. 49 31 ม.ค. 48 แหล่งข้อม
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 37.827 38.557 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 37.6158/37.9008 38.3598/38.6471 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.83578 2..1875 - 2.2000 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 768.22/ 14.20 701.91/15.60 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 12,100/12,200 11,850/11,950 7,750/7,850 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 64.14 64.86 38.15 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเพิ่มลิตรละ 50 สตางค์ เมื่อ 5 พ.ค. 49 28.84*/26.19* 28.34/25.69 19.69/14.59 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--